ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจในกระทู้นี้ก่อนนะครับ ว่า จะรบกวนสงวนเรื่องการขายของในกระทู้นี้นะครับ
เพราะความตั้งใจผมคือ อยากเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ ในการรักษาโรคมะเร็งและภูมิแพ้ จริงๆ
ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงโอกาสในการช่วยชีวิตคนอื่น ครับ
สารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์คืออะไร มีใครรู้บ้างครับ
สารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์ (พีเอสพี) หรือ Polysaccharide Peptide (PSP) เป็นตัวยาสำคัญที่ใช้ในการออกฤทธิ์ (active ingredient) เพื่อการบำบัดรักษาโรค โดยสารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์มีสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น สารเทนนิน และสารเรซชอร์ซินอล (resorcinol) ซึ่งเป็นสารประกอบฟีนอล ตลอดจนสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น สารเควอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่ง Suthana 2013, Ng 1997 และ Wang et al. 1996 ได้อธิบายไว้ว่า สารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งในด้านต่างๆ ดังนี้
• ลดการแพร่กระจาย (Metastasis) หรือลดความรุนแรง (Inhibition) ของมะเร็ง โดยการยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ (Antiproliferation) โดยการหยุดวงวัฏจักรของเซลล์ (Cell Cycle Arrest) ในช่วง S Phase อันจะชักนำไปสู่การตายของเซลล์แบบอะพอพโตซิส (Apoptosis Induction)
• การยับยั้งการตอบสนองของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน จึงทำให้เกิดการยับยั้งการอักเสบที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer-related Inflammation) ได้
• การยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่(Angiogenesis) โดยการยับยั้งตัวรับ (Receptor) สำหรับ VEGF (Vascular Endothelial Growth Factor) ของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดซึ่งส่งผลไปขัดขวางการสร้างหลอดเลือดใหม่ในหรือสู่ก้อนมะเร็งได้
• การดื้อยาแบบหลายขนานของเซลล์มะเร็ง (Multidrug Resistance)
• การยับยั้งการส่งสัญญาณภายในเซลล์และการแสดงออกของยีนที่ขึ้นอยู่กัยทรานสคริปชันแฟคเตอร์ NFKB – Nuclear Factor Kappa B (Blockage of cell signal transduction and NFKB-dependent gene expression)
• การทำให้เกิดความเสียหายต่อไมโทคอนเดรียซึ่งส่งผลต่อสถานะในเชิงพลังงานและการดำรงชีพต่อของเซลล์มะเร็ง (Cellular energetic state from Mitochondrial damage affected the anticancer mechanism)
• การยับยั้งความอ่อนเพลีย(Tiredness)จากการรักษาของโรค โดยเป็นสารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลเชิงซ้อนขนาดเล็ก) และโปรตีน (กรดอะมิโน) ที่สามารถให้พลังงานกับสิ่งมีชีวิตได้
อีกทั้งเป็นสารที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลเป็นโมเลกุลน้ำตาลเชิงซ้อนขนาดเล็กมาก (คาร์โบไฮเดรต) โดยดูได้จากโครงสร้างทางเคมีและมีกรดอะมีโน (โปรตีน) เป็นแกนกลางในการยึดเกาะคาร์โบไฮเดรต จึงทำให้สารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์สามารถสามารถดูดซึม (Absorption) ผ่านเข้าสู่ร่างกายผ่านกระบวนการย่อย (Digestion) และเผาผลาญอาหาร (Metabolism) ได้โดยง่ายและรวดเร็วกว่าสารที่มีโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตทั่วไปที่มีโครงสร้างทางเคมีแบบเชิงซ้อนธรรมดา จึงทำให้มีการออกฤทธิ์ของยาได้ดีและรวดเร็ว
จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้มีพัฒนาการหรือวิวัฒนาการในเรื่องของยารักษาโรคที่ก้าวไปไกลกว่าสมัยก่อนมาก โดยเฉพาะในเรื่องของยาทางเลือกไม่ว่าจะเป็นในรูปของ สารสังเคราะห์ เช่นไวตามินต่างๆ หรือ สารสกัดจากสมุนไพร ก็ตามการค้าคว้าวิจัยในปัจจุบันก็ได้ก้าวล้ำหน้าไปมาก ซึ่งเทคโนโลยีทางชีวภาพ (Bio-Technology) ในปัจจุบันสามารถระบุสารออกฤทธิ์สำคัญ (Active Ingredients) ได้ว่า สารที่ได้คืออะไร ดูดซึมอย่างไร ที่ไหน ออกฤทธิ์อย่างไร สรรพคุณเป็นอย่างไร และ ขับออกเมื่อไหร่อย่างไร
ยาที่ได้จากสารสังเคราะห์ก็ยังคงเป็นยาหลักๆ ที่ใช้ในการรักษาอยู่ในปัจจุบัน แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว (Western Countries) มีการเริ่มนำสารสกัดจากสมุนไพรเข้ามาใช้แทนสารสังเคราะห์มากขึ้นๆ ทุกวัน ยิ่งไปกว่านั้นยาที่ได้จากการสกัดสมุนไพรโดยปกติจะมีราคาที่สูงกว่ายาที่ได้จากสารสังเคราะห์ด้วย ที่เป็นแบบนี้เพราะ
1. สมุนไพรมีความปลอดภัยกว่า
2. สมุนไพรคือสิ่งที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งจะมีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณอุปสงค์ (Supply) ที่จำกัด
3. ขบวนการสกัดก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการสกัดที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของสมุนไพร
4. องค์ความรู้ยังค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับความหลากหลายทางชีวภาพที่โลกเรามีอยู่
5. ต้องอาศัยเงินทุนมาก ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเป็นยา
ดังนั้น การที่เราคนไทยมองว่าสมุนไพรเป็น "ของถูก" ก็อาจจะต้องเริ่มเปลี่ยนมุมมองหรือความเชื่อนี้ เพราะการนำสมุนไพรมาพัฒนาเป็นยาที่ดีแล้วคงไม่ใช่การนำสมุนไพรมา ล้าง อบ บด และต้ม อีกต่อไป
มีพืชหลายชนิดที่สามารถสกัดเอา สารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์ หรือพีเอสพี มาใช้ประโยชน์ได้ แม้กระทั่งข้าวก็มี บางรายก็ได้จากยีสต์ หรือที่จะคุ้นเคยกันมากก็มาจากเห็ด และสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ามีสารพีเอสพีนั้นจะเป็น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือSupplements แทบทั้งสิ้น
ทำไมเป็นเพียงแค่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมล่ะ?
เหตุผลที่สำคัญที่สุดก็คือ ความเข้มข้นของสารพีเอสพี นั่นเอง เพราะผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเหล่านั้นจะมีความเข้มข้นของสารพีเอสพีเพียงแค่ไม่เกินร้อยละ 10 หรือน้อยกว่า 10% ซึ่งทางการแพทย์แล้วเป็นปริมาณที่น้อยเกินกว่าที่จะเอามาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้นั่นเอง ดังนั้นจากผลการวิจัยทางคลินิกในมนุษย์การนำสารพีเอสพีมาเพื่อใช้เป็นยาในการรักษาแล้วปริมาณความเข้มข้นที่แนะนำ คือ มากกว่า 38.5% จึงจะก่อให้เกิดประสิทธิผลทางการรักษาได้ครับ
ข้อมูลอาจจะดูเป็นวิชาการมากกว่าปกตินะครับ แต่มีประโยชน์จริงๆครับ
สารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์ หรือ สารพีเอสพี กับโรคมะเร็งและภูมิแพ้
เพราะความตั้งใจผมคือ อยากเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ ในการรักษาโรคมะเร็งและภูมิแพ้ จริงๆ
ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงโอกาสในการช่วยชีวิตคนอื่น ครับ
สารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์คืออะไร มีใครรู้บ้างครับ
สารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์ (พีเอสพี) หรือ Polysaccharide Peptide (PSP) เป็นตัวยาสำคัญที่ใช้ในการออกฤทธิ์ (active ingredient) เพื่อการบำบัดรักษาโรค โดยสารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์มีสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น สารเทนนิน และสารเรซชอร์ซินอล (resorcinol) ซึ่งเป็นสารประกอบฟีนอล ตลอดจนสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น สารเควอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่ง Suthana 2013, Ng 1997 และ Wang et al. 1996 ได้อธิบายไว้ว่า สารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งในด้านต่างๆ ดังนี้
• ลดการแพร่กระจาย (Metastasis) หรือลดความรุนแรง (Inhibition) ของมะเร็ง โดยการยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ (Antiproliferation) โดยการหยุดวงวัฏจักรของเซลล์ (Cell Cycle Arrest) ในช่วง S Phase อันจะชักนำไปสู่การตายของเซลล์แบบอะพอพโตซิส (Apoptosis Induction)
• การยับยั้งการตอบสนองของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน จึงทำให้เกิดการยับยั้งการอักเสบที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer-related Inflammation) ได้
• การยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่(Angiogenesis) โดยการยับยั้งตัวรับ (Receptor) สำหรับ VEGF (Vascular Endothelial Growth Factor) ของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดซึ่งส่งผลไปขัดขวางการสร้างหลอดเลือดใหม่ในหรือสู่ก้อนมะเร็งได้
• การดื้อยาแบบหลายขนานของเซลล์มะเร็ง (Multidrug Resistance)
• การยับยั้งการส่งสัญญาณภายในเซลล์และการแสดงออกของยีนที่ขึ้นอยู่กัยทรานสคริปชันแฟคเตอร์ NFKB – Nuclear Factor Kappa B (Blockage of cell signal transduction and NFKB-dependent gene expression)
• การทำให้เกิดความเสียหายต่อไมโทคอนเดรียซึ่งส่งผลต่อสถานะในเชิงพลังงานและการดำรงชีพต่อของเซลล์มะเร็ง (Cellular energetic state from Mitochondrial damage affected the anticancer mechanism)
• การยับยั้งความอ่อนเพลีย(Tiredness)จากการรักษาของโรค โดยเป็นสารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลเชิงซ้อนขนาดเล็ก) และโปรตีน (กรดอะมิโน) ที่สามารถให้พลังงานกับสิ่งมีชีวิตได้
อีกทั้งเป็นสารที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลเป็นโมเลกุลน้ำตาลเชิงซ้อนขนาดเล็กมาก (คาร์โบไฮเดรต) โดยดูได้จากโครงสร้างทางเคมีและมีกรดอะมีโน (โปรตีน) เป็นแกนกลางในการยึดเกาะคาร์โบไฮเดรต จึงทำให้สารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์สามารถสามารถดูดซึม (Absorption) ผ่านเข้าสู่ร่างกายผ่านกระบวนการย่อย (Digestion) และเผาผลาญอาหาร (Metabolism) ได้โดยง่ายและรวดเร็วกว่าสารที่มีโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตทั่วไปที่มีโครงสร้างทางเคมีแบบเชิงซ้อนธรรมดา จึงทำให้มีการออกฤทธิ์ของยาได้ดีและรวดเร็ว
จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้มีพัฒนาการหรือวิวัฒนาการในเรื่องของยารักษาโรคที่ก้าวไปไกลกว่าสมัยก่อนมาก โดยเฉพาะในเรื่องของยาทางเลือกไม่ว่าจะเป็นในรูปของ สารสังเคราะห์ เช่นไวตามินต่างๆ หรือ สารสกัดจากสมุนไพร ก็ตามการค้าคว้าวิจัยในปัจจุบันก็ได้ก้าวล้ำหน้าไปมาก ซึ่งเทคโนโลยีทางชีวภาพ (Bio-Technology) ในปัจจุบันสามารถระบุสารออกฤทธิ์สำคัญ (Active Ingredients) ได้ว่า สารที่ได้คืออะไร ดูดซึมอย่างไร ที่ไหน ออกฤทธิ์อย่างไร สรรพคุณเป็นอย่างไร และ ขับออกเมื่อไหร่อย่างไร
ยาที่ได้จากสารสังเคราะห์ก็ยังคงเป็นยาหลักๆ ที่ใช้ในการรักษาอยู่ในปัจจุบัน แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว (Western Countries) มีการเริ่มนำสารสกัดจากสมุนไพรเข้ามาใช้แทนสารสังเคราะห์มากขึ้นๆ ทุกวัน ยิ่งไปกว่านั้นยาที่ได้จากการสกัดสมุนไพรโดยปกติจะมีราคาที่สูงกว่ายาที่ได้จากสารสังเคราะห์ด้วย ที่เป็นแบบนี้เพราะ
1. สมุนไพรมีความปลอดภัยกว่า
2. สมุนไพรคือสิ่งที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งจะมีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณอุปสงค์ (Supply) ที่จำกัด
3. ขบวนการสกัดก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการสกัดที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของสมุนไพร
4. องค์ความรู้ยังค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับความหลากหลายทางชีวภาพที่โลกเรามีอยู่
5. ต้องอาศัยเงินทุนมาก ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเป็นยา
ดังนั้น การที่เราคนไทยมองว่าสมุนไพรเป็น "ของถูก" ก็อาจจะต้องเริ่มเปลี่ยนมุมมองหรือความเชื่อนี้ เพราะการนำสมุนไพรมาพัฒนาเป็นยาที่ดีแล้วคงไม่ใช่การนำสมุนไพรมา ล้าง อบ บด และต้ม อีกต่อไป
มีพืชหลายชนิดที่สามารถสกัดเอา สารโพลีแซคคาไรด์เปปไทด์ หรือพีเอสพี มาใช้ประโยชน์ได้ แม้กระทั่งข้าวก็มี บางรายก็ได้จากยีสต์ หรือที่จะคุ้นเคยกันมากก็มาจากเห็ด และสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ามีสารพีเอสพีนั้นจะเป็น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือSupplements แทบทั้งสิ้น
ทำไมเป็นเพียงแค่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมล่ะ?
เหตุผลที่สำคัญที่สุดก็คือ ความเข้มข้นของสารพีเอสพี นั่นเอง เพราะผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเหล่านั้นจะมีความเข้มข้นของสารพีเอสพีเพียงแค่ไม่เกินร้อยละ 10 หรือน้อยกว่า 10% ซึ่งทางการแพทย์แล้วเป็นปริมาณที่น้อยเกินกว่าที่จะเอามาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้นั่นเอง ดังนั้นจากผลการวิจัยทางคลินิกในมนุษย์การนำสารพีเอสพีมาเพื่อใช้เป็นยาในการรักษาแล้วปริมาณความเข้มข้นที่แนะนำ คือ มากกว่า 38.5% จึงจะก่อให้เกิดประสิทธิผลทางการรักษาได้ครับ
ข้อมูลอาจจะดูเป็นวิชาการมากกว่าปกตินะครับ แต่มีประโยชน์จริงๆครับ