นักลงทุนที่เข้าใจหลักการลงทุนของวอร์เรน บัฟเฟตต์อย่างแจ่มแจ้งจะรู้ว่าการลงทุนในหุ้นก็เหมือนลงทุนในธุรกิจ ต้องเพียรพยายามฝึกปรือทักษะในการวิเคราะห์ และคัดเลือก
ธุรกิจที่ดีในราคาที่เหมาะสมอย่างไม่ย่อท้อ แต่หลายคนกลับต้องผิดหวัง เพราะผลตอบแทนที่ได้รับนั้นไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้
จริงๆ แล้วนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอะไรผิดหรอกค่ะ แค่เพราะ
“ยังไม่ได้ทำ” อะไรบางอย่างเท่านั้นเอง
นั่นก็คือการบริหารจัดการพอร์ต หรือที่เรียกกันว่า Portfolio Management ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่นักลงทุนควรเรียนรู้และฝึกฝนให้ชำนาญ เพราะในโลกของการลงทุนนั้น ทักษะการเลือกหุ้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
นักลงทุนที่ต้องการประสบความสำเร็จจะมองแค่การได้กำไรขาดทุนของหุ้นรายตัวไม่ได้ จำเป็นต้องมองภาพรวมของพอร์ตและกลยุทธ์การลงทุนให้ออกจึงจะสามารถพัฒนาการลงทุนของตนเองให้ดียิ่งขึ้น สร้างผลตอบแทนทบต้นที่ดี และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเงินลงทุนได้
ดังนั้น การติดตามผลการลงทุนและปรับพอร์ตเพื่อให้ในพอร์ตมีแต่หุ้นที่เปี่ยมศักยภาพ จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนระดับเซียนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากหุ้นในพอร์ตมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง พวกเขาจะรับรู้และรับมือกับมันได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที นอกจากนี้ยังต้องมีการติดตามผลการลงทุนและปรับพอร์ตด้วยหลักการอย่างสม่ำเสมอไม่ใช่ว่าชอบธุรกิจไหนมากกว่า ก็จะเก็บธุรกิจนั้นไว้ แล้วไปขายธุรกิจที่ชอบน้อยกว่าทิ้งเสีย เพราะถ้าธุรกิจที่ไม่ชอบนั้นทำกำไรได้มากกว่า ก็เท่ากับว่าเราโยนโอกาสดีๆ ทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
ฉะนั้น ก่อนจะปรับพอร์ตหุ้นแต่ละครั้ง นักลงทุนต้องคิดวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของพอร์ต ไม่ยากค่ะ เพียงคุณตอบคำถาม 5 ข้อ ที่เป็นแนวทางในการปรับพอร์ต ดังนี้ค่ะ
1. ปรับพอร์ตหุ้นเพื่ออะไร
นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์จะขายธุรกิจที่ทำผลงานได้ไม่ค่อยดีทิ้งเพื่อไปซื้อธุรกิจที่ทำผลงานได้ดีกว่า และมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีในระยะยาวแทน ดังนั้น เขาจะคอยติดตามอ่านงบการเงินของหุ้นที่อยู่ในพอร์ตอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทที่ถือหุ้นอยู่นั้นยังทำผลประกอบการได้ดี จะเห็นได้ว่า การปรับพอร์ตนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์งบการเงินเป็นหลัก ไม่ได้ปรับเพราะครบระยะเวลา 3 เดือน หรือ 12 เดือน หรือเพราะได้ยินข่าวไม่ดีเกี่ยวกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งแต่อย่างใด ดังนั้น หากหุ้นทุกตัวในพอร์ตของเรายังมีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง งบการเงินที่ออกมาไม่ได้แสดงถึงความผิดปกติ หรือส่งสัญญาณอันตราย การปรับพอร์ตอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีก็ได้
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะกระทบพื้นฐานของหุ้นในพอร์ตหรือไม่
แน่นอนค่ะว่า นักลงทุนไม่ควรให้ข่าวหรือกระแสต่างๆ เข้ามามีผลกระทบต่อการตัดสินใจมากเกินไป โดยเฉพาะข่าวลือ แต่ข่าวบางอย่าง หากวิเคราะห์ดีๆ แล้ว ก็เป็นเหมือนสัญญาณเตือนให้เราลงทุนอย่างระมัดระวังมากขึ้น เช่น หากมีข่าวว่าบริษัท A ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของบริษัท B ล้มละลาย หุ้น B ที่อยู่ในพอร์ตก็ต้องได้รับผลกระทบแน่นอน จะร้ายแรงขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับว่า รายได้กี่เปอร์เซนต์ของบริษัท B นั้นมาจากบริษัท A สมมติ B มีรายได้จากบริษัท A ถึง 50% อย่างนี้เราก็ควรจะขายหุ้นบริษัท B ทิ้งไป หากน้อยกว่านั้นก็อาจจะปรับลดสัดส่วนของหุ้น B ในพอร์ตลงมาครึ่งหนึ่งเพื่อเตรียมรับความเสี่ยง แต่ไม่ว่าจะกรณีไหน นักลงทุนจำเป็นต้องเข้าใจในธุรกิจของหุ้นที่ตนเองถืออยู่เป็นอย่างดี จึงจะรู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างไรกับหุ้นที่อยู่ในพอร์ตบ้างอย่างไรก็ตาม เหรียญนั้นมีสองด้านเสมอ มีคนเสียก็ต้องมีคนได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลเสียต่อหุ้นในพอร์ตของเรา แต่อาจมีหุ้นตัวอื่นในตลาดที่ได้ประโยชน์ และนั่นก็เป็นที่มาของคำถามต่อไป
3. มีโอกาสการลงทุนที่ดีกว่าหรือไม่
นักลงทุนระดับเซียนไม่เคยหยุดค้นหาธุรกิจที่ดีเพื่อลงทุน งานอดิเรกของพวกเขาคือการทำความรู้จักหุ้นใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ หากวันหนึ่งไปเจอหุ้นที่ทำกำไรได้ดีกว่าหุ้นบางตัวที่ถืออยู่ในพอร์ต พวกเขาก็อาจจะปรับพอร์ตโดยการขายหุ้นที่ทำกำไรได้น้อยกว่าทิ้ง แล้วซื้อหุ้นใหม่ที่ทำกำไรได้มากกว่าแทน ดังนั้น หากเราไปเจอหุ้นที่ดีกว่าตัวที่กำลังถืออยู่ ก็เป็นโอกาสดีที่จะได้ปรับพอร์ต หรือในกรณีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน นอกจากจะรู้ว่าหุ้นตัวใดในพอร์ตจะได้รับผลกระทบแล้ว เรายังต้องรู้ด้วยว่าหุ้นตัวใดในตลาดจะได้ประโยชน์ และไปลงทุนกับหุ้นที่ได้ประโยชน์เหล่านั้นแทน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทขุดเจาะและผลิตน้ำมันมีรายได้ลดลงเพราะค่าน้ำมันถูก แต่สถานีจ่ายน้ำมันกลับได้กำไรจากเหตุการณ์เดียวกัน เราก็ขายบริษัทขุดเจาะน้ำมันทิ้งแล้วไปซื้อหุ้นสถานีจ่ายน้ำมันแทน หรือแม้แต่กรณีที่หุ้นในตลาดราคาแพงเกินไป เราก็อาจจะหันไปซื้อพันธบัตรแทนเพราะมีความปลอดภัยมากกว่า เป็นต้น
4. ก่อนหน้านี้วิเคราะห์หุ้นอย่างถี่ถ้วนหรือยัง
แม้นักลงทุนจะวิเคราะห์หุ้นทุกตัวที่ซื้อมาแล้วเป็นอย่างดี แต่ด้วยข้อมูลที่มีมากมายมหาศาล ทำให้บางครั้งเราไม่ทันมองเห็นข้อเสียบางอย่าง เช่น ลืมตัดกำไรพิเศษออกจากการวิเคราะห์ ทำให้รายได้ดูสูงกว่าความเป็นจริง มารู้ตัวอีกทีก็ถือหุ้นไปสักพักแล้ว หรืออย่างกรณีของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ยอมรับว่าการลงทุนในหุ้น Tesco นั้น ถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ของตนเอง และได้ขายหุ้นดังกล่าวทิ้งหลังพบว่าบริษัทมีปัญหาฉ้อโกงทางบัญชี หากเราตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ก็ไม่ต้องลังเลว่าจะปรับพอร์ตดีหรือไม่ เพราะเราหมดความมั่นใจในธุรกิจไปแล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะลงทุนกับบริษัทนั้นต่อไป ควรจะนำเงินส่วนนั้นไปลงทุนกับธุรกิจที่เราเชื่อมั่นจะดีกว่า
5. ตลาดกำลังตื่นตระหนกหรือไม่
ช่วง Panic เป็นช่วงที่ราคาหุ้นในตลาดกำลังตกลงอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากความตื่นตระหนกของผู้คนที่พากันเทขายหุ้น ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง สงคราม หรือวิกฤตฟองสบู่แตก ในจังหวะที่ทั้งตลาดกำลังตกต่ำนี่เอง ที่นักลงทุนหลายคนใช้เป็นโอกาสในการปรับพอร์ตครั้งใหญ่ ขายหุ้นที่มีโอกาสทำกำไร (Upside Gain) น้อย ไปซื้อหุ้นที่มีสูงกว่าแทน ณ จุดนี้ เชื่อว่าพอร์ตของนักลงทุนคงติดลบไม่ต่างกัน แต่นักลงทุนที่ปรับพอร์ตเก่งกว่า ก็จะสามารถพลิกพอร์ตกลับมาเขียวได้เร็วกว่า และอาจจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเดิมด้วย
อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ค่ะว่า ขั้นตอนการลงทุนของนักลงทุนระดับเซียนนั้น นอกจากจะต้องวิเคราะห์ คัดเลือกหุ้นอย่างดีแล้ว ยังต้องมีการติดตามผลและปรับปรุงกลยุทธ์การลงทุนควบคู่ด้วย จึงจะได้ผลตอบแทนสูงอย่างที่ต้องการ ขอเพียงนักลงทุนปฏิบัติตาม
หลักการลงทุนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ตั้งคำถามทั้ง 5 ข้อนี้ก่อนการปรับพอร์ตทุกครั้ง เป้าหมายทางการเงินที่วาดฝันไว้ก็อยู่ไม่ไกลแล้วค่ะ
[Advertorial]
5 คำถามก่อนปรับพอร์ตหุ้นให้เป็นเซียน
จริงๆ แล้วนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอะไรผิดหรอกค่ะ แค่เพราะ “ยังไม่ได้ทำ” อะไรบางอย่างเท่านั้นเอง
นั่นก็คือการบริหารจัดการพอร์ต หรือที่เรียกกันว่า Portfolio Management ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่นักลงทุนควรเรียนรู้และฝึกฝนให้ชำนาญ เพราะในโลกของการลงทุนนั้น ทักษะการเลือกหุ้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
นักลงทุนที่ต้องการประสบความสำเร็จจะมองแค่การได้กำไรขาดทุนของหุ้นรายตัวไม่ได้ จำเป็นต้องมองภาพรวมของพอร์ตและกลยุทธ์การลงทุนให้ออกจึงจะสามารถพัฒนาการลงทุนของตนเองให้ดียิ่งขึ้น สร้างผลตอบแทนทบต้นที่ดี และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเงินลงทุนได้
ดังนั้น การติดตามผลการลงทุนและปรับพอร์ตเพื่อให้ในพอร์ตมีแต่หุ้นที่เปี่ยมศักยภาพ จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนระดับเซียนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากหุ้นในพอร์ตมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง พวกเขาจะรับรู้และรับมือกับมันได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที นอกจากนี้ยังต้องมีการติดตามผลการลงทุนและปรับพอร์ตด้วยหลักการอย่างสม่ำเสมอไม่ใช่ว่าชอบธุรกิจไหนมากกว่า ก็จะเก็บธุรกิจนั้นไว้ แล้วไปขายธุรกิจที่ชอบน้อยกว่าทิ้งเสีย เพราะถ้าธุรกิจที่ไม่ชอบนั้นทำกำไรได้มากกว่า ก็เท่ากับว่าเราโยนโอกาสดีๆ ทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
ฉะนั้น ก่อนจะปรับพอร์ตหุ้นแต่ละครั้ง นักลงทุนต้องคิดวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของพอร์ต ไม่ยากค่ะ เพียงคุณตอบคำถาม 5 ข้อ ที่เป็นแนวทางในการปรับพอร์ต ดังนี้ค่ะ
1. ปรับพอร์ตหุ้นเพื่ออะไร
นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์จะขายธุรกิจที่ทำผลงานได้ไม่ค่อยดีทิ้งเพื่อไปซื้อธุรกิจที่ทำผลงานได้ดีกว่า และมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีในระยะยาวแทน ดังนั้น เขาจะคอยติดตามอ่านงบการเงินของหุ้นที่อยู่ในพอร์ตอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทที่ถือหุ้นอยู่นั้นยังทำผลประกอบการได้ดี จะเห็นได้ว่า การปรับพอร์ตนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์งบการเงินเป็นหลัก ไม่ได้ปรับเพราะครบระยะเวลา 3 เดือน หรือ 12 เดือน หรือเพราะได้ยินข่าวไม่ดีเกี่ยวกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งแต่อย่างใด ดังนั้น หากหุ้นทุกตัวในพอร์ตของเรายังมีผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง งบการเงินที่ออกมาไม่ได้แสดงถึงความผิดปกติ หรือส่งสัญญาณอันตราย การปรับพอร์ตอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีก็ได้
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะกระทบพื้นฐานของหุ้นในพอร์ตหรือไม่
แน่นอนค่ะว่า นักลงทุนไม่ควรให้ข่าวหรือกระแสต่างๆ เข้ามามีผลกระทบต่อการตัดสินใจมากเกินไป โดยเฉพาะข่าวลือ แต่ข่าวบางอย่าง หากวิเคราะห์ดีๆ แล้ว ก็เป็นเหมือนสัญญาณเตือนให้เราลงทุนอย่างระมัดระวังมากขึ้น เช่น หากมีข่าวว่าบริษัท A ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของบริษัท B ล้มละลาย หุ้น B ที่อยู่ในพอร์ตก็ต้องได้รับผลกระทบแน่นอน จะร้ายแรงขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับว่า รายได้กี่เปอร์เซนต์ของบริษัท B นั้นมาจากบริษัท A สมมติ B มีรายได้จากบริษัท A ถึง 50% อย่างนี้เราก็ควรจะขายหุ้นบริษัท B ทิ้งไป หากน้อยกว่านั้นก็อาจจะปรับลดสัดส่วนของหุ้น B ในพอร์ตลงมาครึ่งหนึ่งเพื่อเตรียมรับความเสี่ยง แต่ไม่ว่าจะกรณีไหน นักลงทุนจำเป็นต้องเข้าใจในธุรกิจของหุ้นที่ตนเองถืออยู่เป็นอย่างดี จึงจะรู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างไรกับหุ้นที่อยู่ในพอร์ตบ้างอย่างไรก็ตาม เหรียญนั้นมีสองด้านเสมอ มีคนเสียก็ต้องมีคนได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลเสียต่อหุ้นในพอร์ตของเรา แต่อาจมีหุ้นตัวอื่นในตลาดที่ได้ประโยชน์ และนั่นก็เป็นที่มาของคำถามต่อไป
3. มีโอกาสการลงทุนที่ดีกว่าหรือไม่
นักลงทุนระดับเซียนไม่เคยหยุดค้นหาธุรกิจที่ดีเพื่อลงทุน งานอดิเรกของพวกเขาคือการทำความรู้จักหุ้นใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ หากวันหนึ่งไปเจอหุ้นที่ทำกำไรได้ดีกว่าหุ้นบางตัวที่ถืออยู่ในพอร์ต พวกเขาก็อาจจะปรับพอร์ตโดยการขายหุ้นที่ทำกำไรได้น้อยกว่าทิ้ง แล้วซื้อหุ้นใหม่ที่ทำกำไรได้มากกว่าแทน ดังนั้น หากเราไปเจอหุ้นที่ดีกว่าตัวที่กำลังถืออยู่ ก็เป็นโอกาสดีที่จะได้ปรับพอร์ต หรือในกรณีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน นอกจากจะรู้ว่าหุ้นตัวใดในพอร์ตจะได้รับผลกระทบแล้ว เรายังต้องรู้ด้วยว่าหุ้นตัวใดในตลาดจะได้ประโยชน์ และไปลงทุนกับหุ้นที่ได้ประโยชน์เหล่านั้นแทน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทขุดเจาะและผลิตน้ำมันมีรายได้ลดลงเพราะค่าน้ำมันถูก แต่สถานีจ่ายน้ำมันกลับได้กำไรจากเหตุการณ์เดียวกัน เราก็ขายบริษัทขุดเจาะน้ำมันทิ้งแล้วไปซื้อหุ้นสถานีจ่ายน้ำมันแทน หรือแม้แต่กรณีที่หุ้นในตลาดราคาแพงเกินไป เราก็อาจจะหันไปซื้อพันธบัตรแทนเพราะมีความปลอดภัยมากกว่า เป็นต้น
4. ก่อนหน้านี้วิเคราะห์หุ้นอย่างถี่ถ้วนหรือยัง
แม้นักลงทุนจะวิเคราะห์หุ้นทุกตัวที่ซื้อมาแล้วเป็นอย่างดี แต่ด้วยข้อมูลที่มีมากมายมหาศาล ทำให้บางครั้งเราไม่ทันมองเห็นข้อเสียบางอย่าง เช่น ลืมตัดกำไรพิเศษออกจากการวิเคราะห์ ทำให้รายได้ดูสูงกว่าความเป็นจริง มารู้ตัวอีกทีก็ถือหุ้นไปสักพักแล้ว หรืออย่างกรณีของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ยอมรับว่าการลงทุนในหุ้น Tesco นั้น ถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ของตนเอง และได้ขายหุ้นดังกล่าวทิ้งหลังพบว่าบริษัทมีปัญหาฉ้อโกงทางบัญชี หากเราตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ก็ไม่ต้องลังเลว่าจะปรับพอร์ตดีหรือไม่ เพราะเราหมดความมั่นใจในธุรกิจไปแล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะลงทุนกับบริษัทนั้นต่อไป ควรจะนำเงินส่วนนั้นไปลงทุนกับธุรกิจที่เราเชื่อมั่นจะดีกว่า
5. ตลาดกำลังตื่นตระหนกหรือไม่
ช่วง Panic เป็นช่วงที่ราคาหุ้นในตลาดกำลังตกลงอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากความตื่นตระหนกของผู้คนที่พากันเทขายหุ้น ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง สงคราม หรือวิกฤตฟองสบู่แตก ในจังหวะที่ทั้งตลาดกำลังตกต่ำนี่เอง ที่นักลงทุนหลายคนใช้เป็นโอกาสในการปรับพอร์ตครั้งใหญ่ ขายหุ้นที่มีโอกาสทำกำไร (Upside Gain) น้อย ไปซื้อหุ้นที่มีสูงกว่าแทน ณ จุดนี้ เชื่อว่าพอร์ตของนักลงทุนคงติดลบไม่ต่างกัน แต่นักลงทุนที่ปรับพอร์ตเก่งกว่า ก็จะสามารถพลิกพอร์ตกลับมาเขียวได้เร็วกว่า และอาจจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเดิมด้วย
อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ค่ะว่า ขั้นตอนการลงทุนของนักลงทุนระดับเซียนนั้น นอกจากจะต้องวิเคราะห์ คัดเลือกหุ้นอย่างดีแล้ว ยังต้องมีการติดตามผลและปรับปรุงกลยุทธ์การลงทุนควบคู่ด้วย จึงจะได้ผลตอบแทนสูงอย่างที่ต้องการ ขอเพียงนักลงทุนปฏิบัติตามหลักการลงทุนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ตั้งคำถามทั้ง 5 ข้อนี้ก่อนการปรับพอร์ตทุกครั้ง เป้าหมายทางการเงินที่วาดฝันไว้ก็อยู่ไม่ไกลแล้วค่ะ
[Advertorial]