การทำชั่ว คือการกระทำที่ไร้คุณธรรม
ที่ว่าได้ชั่วก็เพราะมีนิสัยชั่วเกิดขึ้นในจิต
ถ้าทำบ่อยๆ นิสัยชั่วก็พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
จนเกาะแน่นเป็นลักษณะนิสัยของผู้นั้นยากที่จะแก้ไขได้
.
เหมือนดินพอกหางหมู ความชั่วหรือนิสัยชั่วที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ นั้น
ย่อมชักนำเขาไปในทางที่ชั่ว ในที่สุด
เขาก็จะพบกับหายนะอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
เพราะวิบากชั่วซึ่งแฝงอยู่ในจิตของเขานั่นเอง
จะคอยกระซิบ กระตุ้นเตือนให้บุคคลผู้นั้นคิด พูด
กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันจะนำไปสู่ผลร้าย
คือทำให้เขาตัดสินใจผิด ก้าวผิด
เมื่อถึงคราวที่กรรมจะให้ผลเพราะวิบากแก่กล้าสุกรอบแล้วนั้น
แม้คนมีปัญญาก็อับปัญญา ซึ่งท่านเรียกว่า
นกแร้งมีสายตาไกลสามารถมองเห็นซากศพได้เป็นร้อยๆ โยชน์
แต่พอถึงคราวเคราะห์ (ถึงคราวกรรมจะให้ผล) บ่วงอยู่ใกล้ก็มองไม่เห็น
เดินเข้าไปติดบ่วงจนได้
.
ตรงกันข้าม ถ้าถึงคราวกรรมดีจะให้ผล
วิบากแห่งกรรมซึ่งสั่งสมอยู่ในจิต ย่อมบันดาลให้เขา
ทำ พูด คิดไปในทางที่ถูกอันจะนำไปสู่ผลดีอันนั้น
.
พิจารณาในแง่นี้แล้ว ควรเว้นกรรมชั่ว สั่งสมแต่กรรมดี
เพื่อจะได้มีวิบากอันดีอยู่ในจิต นี่คือการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
.
ย้ำอีกทีว่า คนประพฤติกระทำอย่างใดย่อมได้ความเป็นอย่างนั้นขึ้นในตน
เช่น หัดเป็นโจรเป็นนักเลง ย่อมได้ความเป็นโจรเป็นนักเลงขึ้นในตน
หัดเป็นคนดีในทางไหน ย่อมได้ความเป็นคนดีในทางนั้นขึ้นในตน
ด้วยเหตุนี้ คนที่มีความปรารถนาจะเป็นอย่างใด
แล้วเริ่มหัดประพฤติกระทำอยู่เสมอๆ เขาย่อมได้เป็นอย่างนั้นแน่นอน
ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เร็วหรือช้าสุดแล้วแต่คุณสมบัตินั้น
จะสุกรอบหรือแก่กล้า (Maturation) เมื่อใด
.
นี่คือคำอธิบายพระพุทธภาษิตที่ว่า
บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
ย่อมต้องได้รับมรดกแห่งกรรมนั้น
===
แหล่งที่มา : เพจอาจารย์วศิน อินทสระ
...
สรุป :
ที่ว่าได้ชั่วก็เพราะมีนิสัยชั่วเกิดขึ้นในจิต นั่นแหละ... ทำชั่วได้ชั่ว... ตรงกันข้าม ทำดีความดีก็ได้เกิดขึ้นในจิตใจตนแล้ว...
ที่มักตัดพ้อกันว่า... ทำดีไม่เห็นได้ดี ทำชั่วได้ดีมีถมไป... มันเลยไม่จริง ฉะนั้นอย่าถือคำพูดแบบนี้เป็นสาระแก่นสาร
สิ่งที่จะพึงหวังได้จากการทำดีก็พอจะมีอยู่ คือ... หวังที่ตัวเองนั้นจะดี ด้วยสามัญสำนึกว่า... การทำดีนั่นเป็นสิ่งที่สมควรแก่การทำ
ขอบคุณครับ
ว่าด้วย...บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น...
ที่ว่าได้ชั่วก็เพราะมีนิสัยชั่วเกิดขึ้นในจิต
ถ้าทำบ่อยๆ นิสัยชั่วก็พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
จนเกาะแน่นเป็นลักษณะนิสัยของผู้นั้นยากที่จะแก้ไขได้
.
เหมือนดินพอกหางหมู ความชั่วหรือนิสัยชั่วที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ นั้น
ย่อมชักนำเขาไปในทางที่ชั่ว ในที่สุด
เขาก็จะพบกับหายนะอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
เพราะวิบากชั่วซึ่งแฝงอยู่ในจิตของเขานั่นเอง
จะคอยกระซิบ กระตุ้นเตือนให้บุคคลผู้นั้นคิด พูด
กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันจะนำไปสู่ผลร้าย
คือทำให้เขาตัดสินใจผิด ก้าวผิด
เมื่อถึงคราวที่กรรมจะให้ผลเพราะวิบากแก่กล้าสุกรอบแล้วนั้น
แม้คนมีปัญญาก็อับปัญญา ซึ่งท่านเรียกว่า
นกแร้งมีสายตาไกลสามารถมองเห็นซากศพได้เป็นร้อยๆ โยชน์
แต่พอถึงคราวเคราะห์ (ถึงคราวกรรมจะให้ผล) บ่วงอยู่ใกล้ก็มองไม่เห็น
เดินเข้าไปติดบ่วงจนได้
.
ตรงกันข้าม ถ้าถึงคราวกรรมดีจะให้ผล
วิบากแห่งกรรมซึ่งสั่งสมอยู่ในจิต ย่อมบันดาลให้เขา
ทำ พูด คิดไปในทางที่ถูกอันจะนำไปสู่ผลดีอันนั้น
.
พิจารณาในแง่นี้แล้ว ควรเว้นกรรมชั่ว สั่งสมแต่กรรมดี
เพื่อจะได้มีวิบากอันดีอยู่ในจิต นี่คือการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
.
ย้ำอีกทีว่า คนประพฤติกระทำอย่างใดย่อมได้ความเป็นอย่างนั้นขึ้นในตน
เช่น หัดเป็นโจรเป็นนักเลง ย่อมได้ความเป็นโจรเป็นนักเลงขึ้นในตน
หัดเป็นคนดีในทางไหน ย่อมได้ความเป็นคนดีในทางนั้นขึ้นในตน
ด้วยเหตุนี้ คนที่มีความปรารถนาจะเป็นอย่างใด
แล้วเริ่มหัดประพฤติกระทำอยู่เสมอๆ เขาย่อมได้เป็นอย่างนั้นแน่นอน
ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เร็วหรือช้าสุดแล้วแต่คุณสมบัตินั้น
จะสุกรอบหรือแก่กล้า (Maturation) เมื่อใด
.
นี่คือคำอธิบายพระพุทธภาษิตที่ว่า
บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
ย่อมต้องได้รับมรดกแห่งกรรมนั้น
===
แหล่งที่มา : เพจอาจารย์วศิน อินทสระ
...
สรุป : ที่ว่าได้ชั่วก็เพราะมีนิสัยชั่วเกิดขึ้นในจิต นั่นแหละ... ทำชั่วได้ชั่ว... ตรงกันข้าม ทำดีความดีก็ได้เกิดขึ้นในจิตใจตนแล้ว...
ที่มักตัดพ้อกันว่า... ทำดีไม่เห็นได้ดี ทำชั่วได้ดีมีถมไป... มันเลยไม่จริง ฉะนั้นอย่าถือคำพูดแบบนี้เป็นสาระแก่นสาร
สิ่งที่จะพึงหวังได้จากการทำดีก็พอจะมีอยู่ คือ... หวังที่ตัวเองนั้นจะดี ด้วยสามัญสำนึกว่า... การทำดีนั่นเป็นสิ่งที่สมควรแก่การทำ
ขอบคุณครับ