คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ตามที่คุณพิมพ์มา ผมเข้าใจว่า 2 บรรทัดแรกจะมาในรูปแบบคาถา (ฉันท์บาลี) จึงทำให้รูปไวยากรณ์ไม่สมบูรณ์
ส่วน 2 บรรทัดหลัง จะออกลักษณะของคาถาเกจิ (หมายถึงที่พระเกจิชอบสวดงึมงัม ๆ แล้วเป่าหรือเสก) อันนี้ก็ไวยากรณ์ไม่สมบูรณ์ ออกแนวบาลีผสมไทย ซึ่งก็จะทำให้การแปลออกมาเป็นไทยให้ได้รูปประโยค แล้วเข้าใจยากมาก จึงจะแปลแบบเป็นคำให้ละกันครับ
1. ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง = ผู้มีความต้องการบุตร พึงได้บุตร ผู้มีความต้องการทรัพย์ ถึงได้ทรัพย์ ฯ (น่าจะอวยพร)
2. อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา = แถวนี้ มีการต่อคำและอักษรที่ผิดปกติตามหลักบาลี เลยไม่รู้จะแปลให้รู้เรื่องได้ยังไง ถ้าแปลเป็นคำ ๆ ก็จะได้ว่า "อัตถิ = ประโยชน์ / กาเย,กายะ = ร่างกาย / กายะญายะ,ญายะ = (ผิดปกติ ถ้าเป็นคำไทยก็ประมาณ "รพะ" เลยแปลไม่ได้) / เทวานัง = เทวดา / ตัง = นั้น (เป็นวิเสสนะของนามบางตัวที่ไม่ปรากฏแต่ไม่ใช่ของเทวานัง) / สุตตะวา = ฟัง, เพราะฟัง ฯ (แถวนี้เลยไม่รู้เรื่อง)
3. อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ = คำว่า "อิติปิโสภะคะวา = พระผู้มีพระภาคเจ้า (พระพุทธเจ้า) พระองค์นั้น / ยะมะราชาโน = ท้าวยมบาล / ท้าวเวสสุวัณโณ = ท้าวเวสสุวรรณ ราชาผู้ปกครองหมู่ยักข์ ฯ (มาเป็นศัพท์ ๆ เหมอืนแถว 2 ออกแนวคำสวดพระเกจิ ที่รวมหัวใจของบทหรือคำอวยพรสำคัญ ๆ มาบทละนิดละหน่อยเอามาย่อเป็นคำสวดเพื่อเสก เป่า หรือให้พร)
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ = - มรณัง = ความตาย / สุขัง = ความสุข / อะระหัง = พระอรหันต์, หนทางที่เหมาะสม / สุคะโต = เสด็จไปดี,ดำเนินไปดี (คำนี้มักใช้กับพระพุทธเจ้า หมายความว่า ท่านทรงเสด็จไปในวิถีที่เหมาะสม) / นะโมพุทธายะ = ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ฯ
...แปลได้แค่นี้แหละครับ เพราะเหตุผลตามที่บอกไป คือ ส่วนใหญ่เป็นการหยิบคำสำคัญ ๆ ในบทที่แตกต่างกัน เอามารวมกันเป็นคาถาเดียว ที่พระเกจิหลาย ๆ รูป ชอบใช้...เหมือนคำสุดท้ายว่า นะ โม พุท ธา ยะ...ซึ่งแต่ละคำ ก็จะหมายถึงพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ในกัปนี้ และถ้ารวมกัน ยังสามารถแปลความหมายได้ตามที่บอกไว้ข้างบน...
ส่วน 2 บรรทัดหลัง จะออกลักษณะของคาถาเกจิ (หมายถึงที่พระเกจิชอบสวดงึมงัม ๆ แล้วเป่าหรือเสก) อันนี้ก็ไวยากรณ์ไม่สมบูรณ์ ออกแนวบาลีผสมไทย ซึ่งก็จะทำให้การแปลออกมาเป็นไทยให้ได้รูปประโยค แล้วเข้าใจยากมาก จึงจะแปลแบบเป็นคำให้ละกันครับ
1. ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง = ผู้มีความต้องการบุตร พึงได้บุตร ผู้มีความต้องการทรัพย์ ถึงได้ทรัพย์ ฯ (น่าจะอวยพร)
2. อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา = แถวนี้ มีการต่อคำและอักษรที่ผิดปกติตามหลักบาลี เลยไม่รู้จะแปลให้รู้เรื่องได้ยังไง ถ้าแปลเป็นคำ ๆ ก็จะได้ว่า "อัตถิ = ประโยชน์ / กาเย,กายะ = ร่างกาย / กายะญายะ,ญายะ = (ผิดปกติ ถ้าเป็นคำไทยก็ประมาณ "รพะ" เลยแปลไม่ได้) / เทวานัง = เทวดา / ตัง = นั้น (เป็นวิเสสนะของนามบางตัวที่ไม่ปรากฏแต่ไม่ใช่ของเทวานัง) / สุตตะวา = ฟัง, เพราะฟัง ฯ (แถวนี้เลยไม่รู้เรื่อง)
3. อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ = คำว่า "อิติปิโสภะคะวา = พระผู้มีพระภาคเจ้า (พระพุทธเจ้า) พระองค์นั้น / ยะมะราชาโน = ท้าวยมบาล / ท้าวเวสสุวัณโณ = ท้าวเวสสุวรรณ ราชาผู้ปกครองหมู่ยักข์ ฯ (มาเป็นศัพท์ ๆ เหมอืนแถว 2 ออกแนวคำสวดพระเกจิ ที่รวมหัวใจของบทหรือคำอวยพรสำคัญ ๆ มาบทละนิดละหน่อยเอามาย่อเป็นคำสวดเพื่อเสก เป่า หรือให้พร)
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ = - มรณัง = ความตาย / สุขัง = ความสุข / อะระหัง = พระอรหันต์, หนทางที่เหมาะสม / สุคะโต = เสด็จไปดี,ดำเนินไปดี (คำนี้มักใช้กับพระพุทธเจ้า หมายความว่า ท่านทรงเสด็จไปในวิถีที่เหมาะสม) / นะโมพุทธายะ = ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ฯ
...แปลได้แค่นี้แหละครับ เพราะเหตุผลตามที่บอกไป คือ ส่วนใหญ่เป็นการหยิบคำสำคัญ ๆ ในบทที่แตกต่างกัน เอามารวมกันเป็นคาถาเดียว ที่พระเกจิหลาย ๆ รูป ชอบใช้...เหมือนคำสุดท้ายว่า นะ โม พุท ธา ยะ...ซึ่งแต่ละคำ ก็จะหมายถึงพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ในกัปนี้ และถ้ารวมกัน ยังสามารถแปลความหมายได้ตามที่บอกไว้ข้างบน...
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
พระคาถาเริ่มต้น
ตรงที่สวดก่อนขึ้นพระคาถาน่ะค่ะ
ที่หลังจากตั้งนะโมสามจบ จะสวดว่า
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ลองหาจากกูเกิ้ลดูแล้ว แต่ไม่เจอ
ถ้าผู้ใดทราบ หรือมีลิงค์คำแปลส่วนนี้ รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ
ขอบพระคุณค่ะ
🙄 ช่างบังเอิญว่า ผมได้รับแจกหนังสือชื่อ สนทนาเรื่องคาถาชินบัญชร มาจากพระวัดเก็ตโฮ่ จ. ภูเก็ต
พอมาเจอกระทู้นี้ จึงไปถามพระรูปที่แจกหนังสือให้ผม ผมจดคำตอบท่านมาครับ
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิกาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตฺวา
คำแปลไทยและความหมาย
คนที่รู้จักดูแลรักษากายและจิตใจให้ดี
ทราบว่า ตนเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแล้ว
หากต้องการบุตรธิดา ควรได้บุตรธิดาสมใจ
หากต้องการทรัพย์ไซร้ ก็ควรได้ทรัพย์สมหวังดังมุ่งหมาย
อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน เวสสะวัณโณ
มรณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
คำแปลไทยและความหมาย
แม้เพราะเหตุดังกล่าวไว้ในเบื้องต้นนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ห่างไกลจากกิเลส ตัดสิ้นเหตุแห่งสังสารวัฎ ควรค่าแก่อามิสบูชาและธรรมบูชา ตรัสไว้ดีแล้วว่า ยมทูตและยมราช มีจริง ท้าวเวสสุวัณ มี ความตาย มี ความสุข ก็มี
ดังนี้ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า.
ป.ล. 😅 พระท่านแปลยกทีละคำและกระจายรากศัพท์ชัดเจนพร้อมอธิบายความหมายชัดแจ้งทุกคำ แต่ยาวมาก ผมจดมาแค่สั้นๆ แบบกระชับความครับ สวัสดี.
https://m.ppantip.com/topic/37831267
ตรงที่สวดก่อนขึ้นพระคาถาน่ะค่ะ
ที่หลังจากตั้งนะโมสามจบ จะสวดว่า
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ลองหาจากกูเกิ้ลดูแล้ว แต่ไม่เจอ
ถ้าผู้ใดทราบ หรือมีลิงค์คำแปลส่วนนี้ รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ
ขอบพระคุณค่ะ
🙄 ช่างบังเอิญว่า ผมได้รับแจกหนังสือชื่อ สนทนาเรื่องคาถาชินบัญชร มาจากพระวัดเก็ตโฮ่ จ. ภูเก็ต
พอมาเจอกระทู้นี้ จึงไปถามพระรูปที่แจกหนังสือให้ผม ผมจดคำตอบท่านมาครับ
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิกาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตฺวา
คำแปลไทยและความหมาย
คนที่รู้จักดูแลรักษากายและจิตใจให้ดี
ทราบว่า ตนเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแล้ว
หากต้องการบุตรธิดา ควรได้บุตรธิดาสมใจ
หากต้องการทรัพย์ไซร้ ก็ควรได้ทรัพย์สมหวังดังมุ่งหมาย
อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน เวสสะวัณโณ
มรณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
คำแปลไทยและความหมาย
แม้เพราะเหตุดังกล่าวไว้ในเบื้องต้นนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ห่างไกลจากกิเลส ตัดสิ้นเหตุแห่งสังสารวัฎ ควรค่าแก่อามิสบูชาและธรรมบูชา ตรัสไว้ดีแล้วว่า ยมทูตและยมราช มีจริง ท้าวเวสสุวัณ มี ความตาย มี ความสุข ก็มี
ดังนี้ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า.
ป.ล. 😅 พระท่านแปลยกทีละคำและกระจายรากศัพท์ชัดเจนพร้อมอธิบายความหมายชัดแจ้งทุกคำ แต่ยาวมาก ผมจดมาแค่สั้นๆ แบบกระชับความครับ สวัสดี.
https://m.ppantip.com/topic/37831267
แสดงความคิดเห็น
รบกวนผู้รู้ภาษาบาลี เกี่ยวกับคำแปลพระคาถาชินบัญชรค่ะ
ตรงที่สวดก่อนขึ้นพระคาถาน่ะค่ะ
ที่หลังจากตั้งนะโมสามจบ จะสวดว่า
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ลองหาจากกูเกิ้ลดูแล้ว แต่ไม่เจอ
ถ้าผู้ใดทราบ หรือมีลิงค์คำแปลส่วนนี้ รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ
ขอบพระคุณค่ะ