คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณทั้งสองความเห็นย่อย 3-1, 3-2 และทุกๆความเห็นที่ผ่านมาทั้งหมดครับ
ผมเองก็ไม่ค่อยกล้าที่จะไปถามเจ้าอาวาส
แต่เมื่อสงสัยจนเก็บไว้ไม่ได้ จึงฝากพระลูกวัดไปถามให้
พระลูกวัดมาตอบว่า ไปถามอาจารย์มหา เปรียญ ๙ ผู้ปรับปรุงแก้ไข้ใหม่ ในบทสวดของสุภาพสตรี
หนังสือที่แจกให้คุณโยมนี้ อาจารย์มหาเป็นผู้แต่ง
ฟังมาว่า ท่านสอบได้คะแนนเอก สนามหลวง แผนกบาลี ๖ ปีซ้อน
ผมถามว่า ท่านอธิบาย ตรงคำที่ต่างกันระหว่างเพศอย่างไร
พระตอบว่า จดตามที่ท่านบอกมา ท่านอธิบายว่า
ภาษาไทย มีหลักไวยากรณ์ ฉันใด ภาษาบาลี ก็ฉันนั้น
และไม่ใช่แต่สองภาษานี้ ภาษาอื่น ก็เช่นกัน
ดังนั้น ภาษาไทย ผู้ชาย เรียกคำแทนตัวว่า ผม พูดรับว่า ครับ ส่วนผู้หญิง ดิฉัน และ ค่ะ เป็นต้น
ภาษาบาลีก็เช่นกัน เมื่อถึงตอนที่เป็นส่วนแยกเพศ ก็ต้องปรับเปลี่ยนให้ถูกและตรงกับเพศ จึงจะถูกต้อง
ท่านอธิบายต่อว่า เนื่องจากคาถาชินบัญชร มีความเป็นมาจากลังกา และตามประวัติแรกเริ่ม แต่งถวายพระราชโอรส
ดังนั้น จึงใช้คำสวดสำหรับผู้ชาย แต่ทุกวันนี้ที่เมืองไทย ผู้หญิงก็นิยมสวด จึงต้องปรับปรุงบางคำใหม่ ให้ตรงกับเพศ จึงถูกต้อง
ผมฝากถามต่อว่า พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์สาวกที่ปรากฏในบทสวด ท่านนืพพานไปแล้ว เชิญท่านมาได้หรือ
พระไปถาม แล้วมาตอบผมว่า อาจารย์มหา บอกว่า พุทธคุณ คือพระมหากรุณาธิคุณ พระมหาปัญญาธิคุณ และพระมหาบริสุทธาธิคุณ พระมหาธรรมาธิคุณ และพระมหาสาวกคุณ หรือพระอรหันตคุณ ของพระพุทธองค์ พระธรรม และพระอรหันต์สาวก มีอยู่จริง ไม่สิ้นสูญ
ดังนั้น การอัญเชิญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เป็นต้น มาสถิตในกายและจิต ไม่ได้ผิดหลักใด
ที่แท้ กลับถูกหลัก เพราะว่า เราสรรเสริญความดีของคนดี เราก็ชื่อว่า ได้ทำดี ทำสิ่งที่สมควรทำ สมกับพุทธวจนะที่ว่า บุคคลควรยกย่องสรรเสริญบูชา ผู้ควรค่าแก่การยกย่องสรรเสริญและบูชา
ผมขอถือโอกาสนี้ นำมาเล่าสู่กันฟังครับ.
ป.ล. ๑ อันที่จริง ผมเคยคิดพิมพ์ เฉพาะคำต่างระหว่างเพศลงในกระทู้นี้
แต่คิดมาคิดไป มีหลายที่ จึงลำบากใจ
เพราะว่า นอกจากความต่างระหว่างเพศ ยังมีเรื่องฉันทลักษณ์เข้ามาอีก
พระท่านบอกผมว่า คาถานี้ มีสองฉันท์ คือ ปัฐยาวัตร ๘ และอินทรวิเชียร ๑๑
ท่านจึงแก้ในส่วนที่ผิดคณะฉันท์ ดังนั้น จึงมีมากมายหลายจุด สุดที่จะพิมพ์ได้ครับ
ป.ล.๒ ในหนังสือ 'สนทนาเรื่องคาถาชินบัญชร' ฉบับวัดเก็ตโฮ่ จ.ภูเก็ต มีหลายที่และหลายจุด ที่มีความต่างจากฉบับอื่นๆ คือ
ผมขอยกตัวอย่าง จุดแรก ดังนี้
ฉบับวัดเก็ตโฮ่ - ระสัคคัญจะตุสัจจานัง
ฉบับลังกา - จะตุสัจจังมะตะระสัง
ฉบับสมเด็จเด็จโต - จะตุสัจจาสะภัง ระสัง
ฉบับสมเด็จพระญาณสังวร - จะตุสัจจามะตะระสัง
พระวัดเก็ตโฮ่ อธิบายว่า คาถานี้ ตรงที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นปัฐยาวัตรคำฉันท์ มีบาทละ ๘ คำ
ว่าตามหลัก จะมีบาทคี่และบาทคู่ มีเสียงครุและลหุ คือ เสียงหนักเบา
ตามตัวอย่างนี้ มี ๘ คำ และคำที่ ๕,๖ และ ๗ ในบาทคี่
คำ ๓ คำ ตามตำแหน่งนี้ ต้องเป็นเสียงลหุ, ครุและครุ
หมายความว่า คำที่ ๕ มีเสียงเบา ส่วนคำที่ ๖ และ ๗ มีเสียงหนัก
พระอธิบายให้ผมฟังเยอะ แต่ผมไม่เป็นเรื่องคำฉันท์ แต่เชื่อว่า ท่านรู้จริง
ท่านยังบอกทุกจุดที่ผิดพลาด ผิดอย่างไร แต่ผมสุดจะอธิบายได้
เพราะเราไม่สันทัดในคำฉันท์และคำบาลีครับ.
ผมเองก็ไม่ค่อยกล้าที่จะไปถามเจ้าอาวาส
แต่เมื่อสงสัยจนเก็บไว้ไม่ได้ จึงฝากพระลูกวัดไปถามให้
พระลูกวัดมาตอบว่า ไปถามอาจารย์มหา เปรียญ ๙ ผู้ปรับปรุงแก้ไข้ใหม่ ในบทสวดของสุภาพสตรี
หนังสือที่แจกให้คุณโยมนี้ อาจารย์มหาเป็นผู้แต่ง
ฟังมาว่า ท่านสอบได้คะแนนเอก สนามหลวง แผนกบาลี ๖ ปีซ้อน
ผมถามว่า ท่านอธิบาย ตรงคำที่ต่างกันระหว่างเพศอย่างไร
พระตอบว่า จดตามที่ท่านบอกมา ท่านอธิบายว่า
ภาษาไทย มีหลักไวยากรณ์ ฉันใด ภาษาบาลี ก็ฉันนั้น
และไม่ใช่แต่สองภาษานี้ ภาษาอื่น ก็เช่นกัน
ดังนั้น ภาษาไทย ผู้ชาย เรียกคำแทนตัวว่า ผม พูดรับว่า ครับ ส่วนผู้หญิง ดิฉัน และ ค่ะ เป็นต้น
ภาษาบาลีก็เช่นกัน เมื่อถึงตอนที่เป็นส่วนแยกเพศ ก็ต้องปรับเปลี่ยนให้ถูกและตรงกับเพศ จึงจะถูกต้อง
ท่านอธิบายต่อว่า เนื่องจากคาถาชินบัญชร มีความเป็นมาจากลังกา และตามประวัติแรกเริ่ม แต่งถวายพระราชโอรส
ดังนั้น จึงใช้คำสวดสำหรับผู้ชาย แต่ทุกวันนี้ที่เมืองไทย ผู้หญิงก็นิยมสวด จึงต้องปรับปรุงบางคำใหม่ ให้ตรงกับเพศ จึงถูกต้อง
ผมฝากถามต่อว่า พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์สาวกที่ปรากฏในบทสวด ท่านนืพพานไปแล้ว เชิญท่านมาได้หรือ
พระไปถาม แล้วมาตอบผมว่า อาจารย์มหา บอกว่า พุทธคุณ คือพระมหากรุณาธิคุณ พระมหาปัญญาธิคุณ และพระมหาบริสุทธาธิคุณ พระมหาธรรมาธิคุณ และพระมหาสาวกคุณ หรือพระอรหันตคุณ ของพระพุทธองค์ พระธรรม และพระอรหันต์สาวก มีอยู่จริง ไม่สิ้นสูญ
ดังนั้น การอัญเชิญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เป็นต้น มาสถิตในกายและจิต ไม่ได้ผิดหลักใด
ที่แท้ กลับถูกหลัก เพราะว่า เราสรรเสริญความดีของคนดี เราก็ชื่อว่า ได้ทำดี ทำสิ่งที่สมควรทำ สมกับพุทธวจนะที่ว่า บุคคลควรยกย่องสรรเสริญบูชา ผู้ควรค่าแก่การยกย่องสรรเสริญและบูชา
ผมขอถือโอกาสนี้ นำมาเล่าสู่กันฟังครับ.
ป.ล. ๑ อันที่จริง ผมเคยคิดพิมพ์ เฉพาะคำต่างระหว่างเพศลงในกระทู้นี้
แต่คิดมาคิดไป มีหลายที่ จึงลำบากใจ
เพราะว่า นอกจากความต่างระหว่างเพศ ยังมีเรื่องฉันทลักษณ์เข้ามาอีก
พระท่านบอกผมว่า คาถานี้ มีสองฉันท์ คือ ปัฐยาวัตร ๘ และอินทรวิเชียร ๑๑
ท่านจึงแก้ในส่วนที่ผิดคณะฉันท์ ดังนั้น จึงมีมากมายหลายจุด สุดที่จะพิมพ์ได้ครับ
ป.ล.๒ ในหนังสือ 'สนทนาเรื่องคาถาชินบัญชร' ฉบับวัดเก็ตโฮ่ จ.ภูเก็ต มีหลายที่และหลายจุด ที่มีความต่างจากฉบับอื่นๆ คือ
ผมขอยกตัวอย่าง จุดแรก ดังนี้
ฉบับวัดเก็ตโฮ่ - ระสัคคัญจะตุสัจจานัง
ฉบับลังกา - จะตุสัจจังมะตะระสัง
ฉบับสมเด็จเด็จโต - จะตุสัจจาสะภัง ระสัง
ฉบับสมเด็จพระญาณสังวร - จะตุสัจจามะตะระสัง
พระวัดเก็ตโฮ่ อธิบายว่า คาถานี้ ตรงที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นปัฐยาวัตรคำฉันท์ มีบาทละ ๘ คำ
ว่าตามหลัก จะมีบาทคี่และบาทคู่ มีเสียงครุและลหุ คือ เสียงหนักเบา
ตามตัวอย่างนี้ มี ๘ คำ และคำที่ ๕,๖ และ ๗ ในบาทคี่
คำ ๓ คำ ตามตำแหน่งนี้ ต้องเป็นเสียงลหุ, ครุและครุ
หมายความว่า คำที่ ๕ มีเสียงเบา ส่วนคำที่ ๖ และ ๗ มีเสียงหนัก
พระอธิบายให้ผมฟังเยอะ แต่ผมไม่เป็นเรื่องคำฉันท์ แต่เชื่อว่า ท่านรู้จริง
ท่านยังบอกทุกจุดที่ผิดพลาด ผิดอย่างไร แต่ผมสุดจะอธิบายได้
เพราะเราไม่สันทัดในคำฉันท์และคำบาลีครับ.
แสดงความคิดเห็น
สนทนาเรื่อง คาถาชินบัญชร
และใช้บทสวดเดียวกัน เหมือนกันหรือต่างกันครับ.