หนังเก่าเล่าใหม่ 066: The Third Man (Carol Reed, 1949)
"หนึ่งในภาพยนตร์สืบสวนสอบสวนที่ดีที่สุดในโลก ตัวภาพยนตร์นั้นเต็มไปด้วยลูกเล่นที่ทำให้ตกตะลึงได้ตลอดทั้งเรื่อง" The Third Man จัดเป็นหนังคลาสสิคประเภท ‘Film-Noir’ ที่แสดงอารมณ์หม่นหมอง อาศัยโทนสีขาวดำแบบเข้มจัดที่แสดงสภาวะสะท้อนจิตใจของตัวละครและตัวภาพยนตร์ไม่ได้มีตัวเอกตัวรองหรือตัวดีตัวร้ายแบบชัดเจน หน้าที่ของหนังประเภทนี้คือการพาเราไปสำรวจจิตใจมนุษย์ที่ไม่ได้แยกดีกับเลวอย่างเด่นชัด นอกจากแนวทางแบบที่กล่าวมาของหนังแล้ว 'The Third Man' ยังเป็นหนังที่อยู่ในหมวด 'Mystery' และ 'Thriller' อีกด้วย ตัวภาพยนตร์เล่าเรื่องราวของนักเขียนคนหนึ่งที่พยายามสืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของเพื่อนสนิทจากอุบัติเหตุรถชน เขาพบว่ามีข้อสงสัยต่างๆมากมายเกี่ยวกับคดีนี้ จนทำให้ตัวเขาออกสืบค้นหาความจริงและมันก็กลายเป็นคดีที่ไม่ใช่แค่อุบัติเหตุธรรมดา ทั้งหมดนำพาไปถึงจุดที่คดีพลิกจนนำมาถึงการตามหา "บุคคลที่ 3" เรื่องราวทั้งหมดจึงสลับซับซ้อน+ซ่อนปมปัญหามากมาย
ภาพยนตร์แสดงนำโดย 'Joseph Cotten' รับบทเป็นนักเขียนที่ออกสืบคดี และ 'Alida Valli' ตัวละครหญิงที่จำเป็นต้องมีในหนังแนวนี้เพราะถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของงานแนว ‘Film-Noir’ รวมถึงนักแสดงสำคัญที่สุดของเรื่องคือ 'Orson Welles' ถือเป็นตัวละครที่สำคัญที่สุดในเรื่องนี้ และการปรากฏตัวของเขาในเรื่องนั้นทำได้มีเสน่ห์+ยอดเยี่ยม+น่าทึ่งอย่างมากถึงมากที่สุด การตัดต่อภาพหรือการลำดับภาพทำได้ลงตัว+รวดเร็วฉับไว เราทำได้เพียงเป็นผู้ตามเพราะเราไม่สามารถที่จะนำหน้าหรือคิดไปก่อนได้เลยว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เป็นหนังแนวทดลองในยุคนั้นที่น่าสนใจที่สุดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะฉากไล่ล่าคนร้ายทำให้เราตะลึงในการตัดสลับภาพหรือวิธีการจัดแสงที่ส่งอารมณ์ทำให้รู้สึกวุ่นวาย สับสน แต่กลับสนุกชวนลุ้นได้ไปพร้อมกัน อีกส่วนหนึ่งที่ดีเช่นกันคือมุมกล้องที่หนังใช้นั้น เจ๋งมากๆ การเล่นแสงเงาของหนังทำได้มีมิติทั้งความคมชัดหรือความหม่นหมองของตัวละครแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ แม้เราจะไม่ชอบเพลงประกอบของหนังเรื่องนี้เท่าไหร่เพราะแลดูเหมือนเราจะไม่ถูกจริตกับเพลงประกอบในเรื่องรวมถึงไม่ได้สอดคล้องกับเหตุการณ์เท่าที่ควร อาจเป็นการจงใจทดลองอะไรบางอย่าของตัวผู้กำกับก็ได้ถ้าจะคิดต่อในมุมนี้ ดังนั้น ส่วนที่ช่วยทำให้ 'The Third Man' ดีและเท่ห์ไปพร้อมกันคงเป็นงานภาพ+ตัดต่อภาพ ที่จะต้องมีอย่างน้อยสักสองถึงสามฉากที่ทำให้เรารู้สึกคารวะ 'Robert Krasker' ในการทำ 'Cinematography' ได้ดีขนาดนี้ รวมถึงการกำกับของ 'Carol Reed' ที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน
ท้ายสุด 'The Third Man' ถือเป็นงานคุณภาพขึ้นหิ้งที่คนรุ่นหลังสามารถหยิบมาดูซ้ำเพื่อศึกษาวิธีต่างๆที่หนังใช้ ภาพและฉากของหนังเรื่องนี้ยังคงตรึงตาตรึงใจเป็นเอกลักษณ์ที่หาหนังเรื่องไหนมาเปรียบเทียบได้ยาก ภาพยนตร์เหมาะสำหรับคนที่ชอบดูหนังเก่าๆ ชอบหนังแนวสืบคดี หักมุม อารมณ์หม่นเศร้า คงจะตอบโจทย์คอหนังแนวนี้ได้ไม่มากก็น้อย โดยรวมแล้วถ้าใครมีเวลาว่างอยากศึกษาหนังยุคเก่าๆ 'The Third Man' ถือเป็นตัวเลือกที่ดีลำดับต้นๆให้เราได้ศึกษากันอย่างสนุกสนานแน่นอน
ขอให้มีความสุขกับการชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่างหนัง
ฝากกด like Page ด้วยนะครับ
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
หนังเก่าเล่าใหม่ 066: The Third Man (Carol Reed, 1949) เขียนโดย Form Corleone
"หนึ่งในภาพยนตร์สืบสวนสอบสวนที่ดีที่สุดในโลก ตัวภาพยนตร์นั้นเต็มไปด้วยลูกเล่นที่ทำให้ตกตะลึงได้ตลอดทั้งเรื่อง" The Third Man จัดเป็นหนังคลาสสิคประเภท ‘Film-Noir’ ที่แสดงอารมณ์หม่นหมอง อาศัยโทนสีขาวดำแบบเข้มจัดที่แสดงสภาวะสะท้อนจิตใจของตัวละครและตัวภาพยนตร์ไม่ได้มีตัวเอกตัวรองหรือตัวดีตัวร้ายแบบชัดเจน หน้าที่ของหนังประเภทนี้คือการพาเราไปสำรวจจิตใจมนุษย์ที่ไม่ได้แยกดีกับเลวอย่างเด่นชัด นอกจากแนวทางแบบที่กล่าวมาของหนังแล้ว 'The Third Man' ยังเป็นหนังที่อยู่ในหมวด 'Mystery' และ 'Thriller' อีกด้วย ตัวภาพยนตร์เล่าเรื่องราวของนักเขียนคนหนึ่งที่พยายามสืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของเพื่อนสนิทจากอุบัติเหตุรถชน เขาพบว่ามีข้อสงสัยต่างๆมากมายเกี่ยวกับคดีนี้ จนทำให้ตัวเขาออกสืบค้นหาความจริงและมันก็กลายเป็นคดีที่ไม่ใช่แค่อุบัติเหตุธรรมดา ทั้งหมดนำพาไปถึงจุดที่คดีพลิกจนนำมาถึงการตามหา "บุคคลที่ 3" เรื่องราวทั้งหมดจึงสลับซับซ้อน+ซ่อนปมปัญหามากมาย
ภาพยนตร์แสดงนำโดย 'Joseph Cotten' รับบทเป็นนักเขียนที่ออกสืบคดี และ 'Alida Valli' ตัวละครหญิงที่จำเป็นต้องมีในหนังแนวนี้เพราะถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของงานแนว ‘Film-Noir’ รวมถึงนักแสดงสำคัญที่สุดของเรื่องคือ 'Orson Welles' ถือเป็นตัวละครที่สำคัญที่สุดในเรื่องนี้ และการปรากฏตัวของเขาในเรื่องนั้นทำได้มีเสน่ห์+ยอดเยี่ยม+น่าทึ่งอย่างมากถึงมากที่สุด การตัดต่อภาพหรือการลำดับภาพทำได้ลงตัว+รวดเร็วฉับไว เราทำได้เพียงเป็นผู้ตามเพราะเราไม่สามารถที่จะนำหน้าหรือคิดไปก่อนได้เลยว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เป็นหนังแนวทดลองในยุคนั้นที่น่าสนใจที่สุดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะฉากไล่ล่าคนร้ายทำให้เราตะลึงในการตัดสลับภาพหรือวิธีการจัดแสงที่ส่งอารมณ์ทำให้รู้สึกวุ่นวาย สับสน แต่กลับสนุกชวนลุ้นได้ไปพร้อมกัน อีกส่วนหนึ่งที่ดีเช่นกันคือมุมกล้องที่หนังใช้นั้น เจ๋งมากๆ การเล่นแสงเงาของหนังทำได้มีมิติทั้งความคมชัดหรือความหม่นหมองของตัวละครแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ แม้เราจะไม่ชอบเพลงประกอบของหนังเรื่องนี้เท่าไหร่เพราะแลดูเหมือนเราจะไม่ถูกจริตกับเพลงประกอบในเรื่องรวมถึงไม่ได้สอดคล้องกับเหตุการณ์เท่าที่ควร อาจเป็นการจงใจทดลองอะไรบางอย่าของตัวผู้กำกับก็ได้ถ้าจะคิดต่อในมุมนี้ ดังนั้น ส่วนที่ช่วยทำให้ 'The Third Man' ดีและเท่ห์ไปพร้อมกันคงเป็นงานภาพ+ตัดต่อภาพ ที่จะต้องมีอย่างน้อยสักสองถึงสามฉากที่ทำให้เรารู้สึกคารวะ 'Robert Krasker' ในการทำ 'Cinematography' ได้ดีขนาดนี้ รวมถึงการกำกับของ 'Carol Reed' ที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน
ท้ายสุด 'The Third Man' ถือเป็นงานคุณภาพขึ้นหิ้งที่คนรุ่นหลังสามารถหยิบมาดูซ้ำเพื่อศึกษาวิธีต่างๆที่หนังใช้ ภาพและฉากของหนังเรื่องนี้ยังคงตรึงตาตรึงใจเป็นเอกลักษณ์ที่หาหนังเรื่องไหนมาเปรียบเทียบได้ยาก ภาพยนตร์เหมาะสำหรับคนที่ชอบดูหนังเก่าๆ ชอบหนังแนวสืบคดี หักมุม อารมณ์หม่นเศร้า คงจะตอบโจทย์คอหนังแนวนี้ได้ไม่มากก็น้อย โดยรวมแล้วถ้าใครมีเวลาว่างอยากศึกษาหนังยุคเก่าๆ 'The Third Man' ถือเป็นตัวเลือกที่ดีลำดับต้นๆให้เราได้ศึกษากันอย่างสนุกสนานแน่นอน
ขอให้มีความสุขกับการชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่างหนัง
ฝากกด like Page ด้วยนะครับ
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/