Harry Lime เป็นตัวแทนของความชั่วร้าย บาปของมนุษย์ ฝักใฝ่ความรุนแรง เห็นเงินมีค่ากว่ามนุษย์ ส่วน Anna Schmidt ที่ในตอนท้ายก็ยังจงรักพักดีต่อคนรักนั่นก็แปลว่าคนเรายังมืดบอด พร้อมๆ กับฉากหนังที่ถ่าให้เห็นถึงซากปรักหักพังจากสงคราม ใจของ The Third Man ที่จะบอกกับเราคงหนีไม่พ้นความหวาดกลัวต่อสงครามที่อาจเกิดขึ้นอีกหลังสงครามโลกคครั้งที่สอง
องค์ประกอบทุกส่วนในหนังเรื่องนี้เรียกได้ว่าถูกเอาใจใส่คัดสรรมาอย่าลงตัว ทั้งเพลงประกอบที่เอาจริงๆ ก็มีแต่เสียงซิตเทอร์ แต่ผู้กำกับก็ใส่ลงไปประกอบในทุกฉากได้อย่างมหัศจรรย์ การถ่ายภาพที่เราว่ามันล้ำยคล้ำสมัยเอามากๆ ดัตช์แองเกิ้ล แสดงถึงความไม่ไว้วางใจ หวาดกลัวของตัวละคร และแน่นอนมันสื่อความหวาดหวั่นในสงคราม ประกอบกับการเล่นแสงเงาในหนังเหมือนกับ Nosferatu (1922) ของ F. W. Murnau หนังสไตล์ German Expressionism (ขบวนการทางศิลปะที่เฟื่องฟูในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
การแสดงทั้งคณะก็จัดเต็มมากๆ และโดดเด่นสุดๆ จนรู้สึกว่าคนอื่นๆ ดรอปไปหมด คือ Orson Welles ที่สลัดคราบนายตำรวจมืดสกปรกใน Touch of Evil (1958) และตาเฒ่าเหี่ยวเฉาในคฤหาสน์ซานาดู ใน Citizen Kane (1941) ได้อย่างหมดจด ทุกคำพูดที่เขาเอ่ยออกมามันทรงพลังมาก ชวนเชื่อและดึงดูด (เรา bias หรือไม่ก็ไม่อาจทราบได้) จนรู้สึกว่าถ้าเอาเวลส์มาแสดงในสมัยนี้ เขาก็คงจะได้ชิงออสการ์เป็นแน่แท้
ปล. ตอนจบสงสารพระเอกมาก ถ้าอยู่ในสถานการณ์นั้นคงอายมากๆ
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยน่ะครับ
https://www.facebook.com/survival.king
Tempy Movies Review รีวิวหนัง: The Third Man {Carol Reed}, 1949
Harry Lime เป็นตัวแทนของความชั่วร้าย บาปของมนุษย์ ฝักใฝ่ความรุนแรง เห็นเงินมีค่ากว่ามนุษย์ ส่วน Anna Schmidt ที่ในตอนท้ายก็ยังจงรักพักดีต่อคนรักนั่นก็แปลว่าคนเรายังมืดบอด พร้อมๆ กับฉากหนังที่ถ่าให้เห็นถึงซากปรักหักพังจากสงคราม ใจของ The Third Man ที่จะบอกกับเราคงหนีไม่พ้นความหวาดกลัวต่อสงครามที่อาจเกิดขึ้นอีกหลังสงครามโลกคครั้งที่สอง
องค์ประกอบทุกส่วนในหนังเรื่องนี้เรียกได้ว่าถูกเอาใจใส่คัดสรรมาอย่าลงตัว ทั้งเพลงประกอบที่เอาจริงๆ ก็มีแต่เสียงซิตเทอร์ แต่ผู้กำกับก็ใส่ลงไปประกอบในทุกฉากได้อย่างมหัศจรรย์ การถ่ายภาพที่เราว่ามันล้ำยคล้ำสมัยเอามากๆ ดัตช์แองเกิ้ล แสดงถึงความไม่ไว้วางใจ หวาดกลัวของตัวละคร และแน่นอนมันสื่อความหวาดหวั่นในสงคราม ประกอบกับการเล่นแสงเงาในหนังเหมือนกับ Nosferatu (1922) ของ F. W. Murnau หนังสไตล์ German Expressionism (ขบวนการทางศิลปะที่เฟื่องฟูในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
การแสดงทั้งคณะก็จัดเต็มมากๆ และโดดเด่นสุดๆ จนรู้สึกว่าคนอื่นๆ ดรอปไปหมด คือ Orson Welles ที่สลัดคราบนายตำรวจมืดสกปรกใน Touch of Evil (1958) และตาเฒ่าเหี่ยวเฉาในคฤหาสน์ซานาดู ใน Citizen Kane (1941) ได้อย่างหมดจด ทุกคำพูดที่เขาเอ่ยออกมามันทรงพลังมาก ชวนเชื่อและดึงดูด (เรา bias หรือไม่ก็ไม่อาจทราบได้) จนรู้สึกว่าถ้าเอาเวลส์มาแสดงในสมัยนี้ เขาก็คงจะได้ชิงออสการ์เป็นแน่แท้
ปล. ตอนจบสงสารพระเอกมาก ถ้าอยู่ในสถานการณ์นั้นคงอายมากๆ
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยน่ะครับ https://www.facebook.com/survival.king