สปท.พลังงานจี้ตรวจสอบNGO
สปท.ทิ้งทวนนโยบายปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ฝาก "อนันตพร" สานต่อ 17เรื่อง เน้นรัฐต้องสำรองน้ำมันดิบ 30 วัน ใช้งบประมาณ 8 หมื่นล้านบาท พร้อมจี้ให้ตรวจสอบแหล่งที่มาเงินอุดหนุนเอ็นจีโอ ขัดขวางการพัฒนาด้านพลังงาน
นายคุรุจิต นาครทรรพ ประธานกรรมาธิการขับการเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เปิดเผยว่า สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ(สปท.) ได้เข้าพบพล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนหมดวาระวันที่ 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เพื่อเสนอรายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน 17 เรื่อง ให้ทางรัฐบาลสานต่อโดยเฉพาะเรื่องผลการศึกษาการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของภาครัฐพบว่าปริมาณสำรองที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 30 วัน ซึ่งเพียงพอต่อความมั่นคงด้านพลังงาน จากแผนเดิมที่ทางกระทรวงพลังงานเคยศึกษาไว้ถึง 90 วัน
ทั้งนี้ เนื่องจากการสำรองน้ำมันดิบภาครัฐดังกล่าวเมื่อบวก กับปริมาณสำรองตามกฎหมายของภาคเอกชนอยู่ที่ 25 วัน แบ่งเป็นปริมาณสำรองน้ำมันดิบ 6% และสำรองน้ำมันสำเร็จรูป 1% รวมแล้วจะอยู่ที่ 55 วัน และแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำเข้าน้ำมันจำนวนมาก แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีการสำรองน้ำมันมากถึง 90 วัน เนื่องจากน้ำมันดิบในปัจจุบันสามารถนำเข้าจากหลายแหล่งไม่เพียงแต่ตะวันออกกลางเท่านั้น ประกอบกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอยู่ในระดับต่ำ
อีกทั้งงบประมาณที่นำมาใช้ลงทุนสำรองน้ำมันเพียง 8 หมื่นล้านบาท (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบที่ 75 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล) แต่การดำเนินการไม่จำเป็นต้องทำทีเดียวทั้งหมด อาจดำเนินการเป็นระยะ ซึ่งระยะแรกจะอยู่ที่ 7.5 วัน ใช้เงินลงทุน 2.2 หมื่นล้านบาท, ระยะที่สอง 7.5 วัน และระยะที่สาม 15 วัน เพื่อกระจายการลงทุน รวมถึงมีเวลาในการหาพื้นที่ การสร้าง/เช่าคลัง ส่วนเงินลงทุนในส่วนนี้จะมาจากงบประมาณ เงินกู้ หรือพันธบัตร
นอกจากนี้ สปท.ยังได้เสนอให้มีการตรวจสอบแหล่งเงินทุนของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ซึ่งเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์พลังงานชาติ ที่ต้องการให้เอ็นจีโอ มีธรรมาภิบาลเปิดเผยข้อมูลด้านแหล่งเงินทุน วัตถุประ สงค์การดำเนินงาน ผลงานที่ผ่านมา รวมถึงควรยกเลิกวีซ่าเข้าเมือง หากพิสูจน์ได้ว่ามีการเคลื่อนไหวหรือดำเนินกิจการที่ผิดกฎหมายและก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ ซึ่งเอ็นจีโอควรต้องมีความโปร่งใสเช่นเดียวกับภาครัฐที่มีการตรวจสอบมากมายจากหลายองค์กร
โดยพบว่าเอ็นจีโอบางกลุ่มมีการดำเนินงานเกินขอบเขต วุ่นวายและก่อให้เกิดปัญหาต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ การรับฟังความเห็นโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา รวมถึงการเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมหมดอายุ เป็นต้น ดังนั้น สปท.จึงไปศึกษาข้อมูลหลายด้านรวมถึงข้อมูลจากต่างประเทศแล้ว เพื่อให้เอ็นจีโอมีความโปร่งใส จึงต้องมีการเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินทุน วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
นายคุรุจิต กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในกระบวนการรับฟังความเห็น โดยต้องให้สัดส่วนประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังความเห็นมากกว่าคนนอกพื้นที่ โดยควรมีสัดส่วนคนในพื้นที่ถึง 70% ที่เหลือ 10% เป็นตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ อีก 10% เป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของโครงการ และ 10% เป็นนักวิชาการ บุคคลภายนอก เป็นต้น อาจช่วยแก้ปัญหาการล้มเวทีประชาพิจารณ์เหมือนที่เคยเกิดขึ้นได้
สำหรับประเด็นการเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ซึ่งล่าช้ามา 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต(พีเอสซี) และระบบจ้างผลิต(เอสซี) ก็ต้องดูความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เมื่อกฎหมายออกมาแล้วก็ควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนั้นไม่ว่าจะใช้ระบบใดก็ต้องยอมรับ ซึ่งไม่ควรดูเพียงรายได้เท่านั้นแต่ต้องดูถึงการผลิตพลังงานที่ต่อเนื่องด้วย เพราะกำลังการผลิตในอ่าวไทยที่ลดลงย่อมต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน แอลพีจี แอลเอ็นจี และถ่านหิน เพิ่มขึ้น
นายคุรุจิต กล่าวเพิ่มเติมว่ารายงานของ สปท. จำนวน 11 เรื่อง และของวิป สปท.อีก 6 เรื่อง ซึ่งมีบางเรื่องที่กระทรวงพลังงานเห็นชอบและดำเนินการไปบ้างแล้ว อาทิ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง, การอนุรักษ์พลังงานโดยใช้ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (Building Energy Code : BEC) เป็นต้น อย่างไรก็ตามการศึกษาปฏิรูปประเทศด้านพลังงานยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องการให้กระทรวงพลังงานสานต่อ โดย สปท.สิ้นสุดวาระตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2560
-----------------------------------------------------------------------------------
Cr. ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ถึงเวลาที่จะต้องตรวจสอบ NGO บ้าง
สปท.ทิ้งทวนนโยบายปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ฝาก "อนันตพร" สานต่อ 17เรื่อง เน้นรัฐต้องสำรองน้ำมันดิบ 30 วัน ใช้งบประมาณ 8 หมื่นล้านบาท พร้อมจี้ให้ตรวจสอบแหล่งที่มาเงินอุดหนุนเอ็นจีโอ ขัดขวางการพัฒนาด้านพลังงาน
นายคุรุจิต นาครทรรพ ประธานกรรมาธิการขับการเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เปิดเผยว่า สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ(สปท.) ได้เข้าพบพล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนหมดวาระวันที่ 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เพื่อเสนอรายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน 17 เรื่อง ให้ทางรัฐบาลสานต่อโดยเฉพาะเรื่องผลการศึกษาการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนของภาครัฐพบว่าปริมาณสำรองที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 30 วัน ซึ่งเพียงพอต่อความมั่นคงด้านพลังงาน จากแผนเดิมที่ทางกระทรวงพลังงานเคยศึกษาไว้ถึง 90 วัน
ทั้งนี้ เนื่องจากการสำรองน้ำมันดิบภาครัฐดังกล่าวเมื่อบวก กับปริมาณสำรองตามกฎหมายของภาคเอกชนอยู่ที่ 25 วัน แบ่งเป็นปริมาณสำรองน้ำมันดิบ 6% และสำรองน้ำมันสำเร็จรูป 1% รวมแล้วจะอยู่ที่ 55 วัน และแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำเข้าน้ำมันจำนวนมาก แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีการสำรองน้ำมันมากถึง 90 วัน เนื่องจากน้ำมันดิบในปัจจุบันสามารถนำเข้าจากหลายแหล่งไม่เพียงแต่ตะวันออกกลางเท่านั้น ประกอบกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอยู่ในระดับต่ำ
อีกทั้งงบประมาณที่นำมาใช้ลงทุนสำรองน้ำมันเพียง 8 หมื่นล้านบาท (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบที่ 75 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล) แต่การดำเนินการไม่จำเป็นต้องทำทีเดียวทั้งหมด อาจดำเนินการเป็นระยะ ซึ่งระยะแรกจะอยู่ที่ 7.5 วัน ใช้เงินลงทุน 2.2 หมื่นล้านบาท, ระยะที่สอง 7.5 วัน และระยะที่สาม 15 วัน เพื่อกระจายการลงทุน รวมถึงมีเวลาในการหาพื้นที่ การสร้าง/เช่าคลัง ส่วนเงินลงทุนในส่วนนี้จะมาจากงบประมาณ เงินกู้ หรือพันธบัตร
นอกจากนี้ สปท.ยังได้เสนอให้มีการตรวจสอบแหล่งเงินทุนของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ซึ่งเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์พลังงานชาติ ที่ต้องการให้เอ็นจีโอ มีธรรมาภิบาลเปิดเผยข้อมูลด้านแหล่งเงินทุน วัตถุประ สงค์การดำเนินงาน ผลงานที่ผ่านมา รวมถึงควรยกเลิกวีซ่าเข้าเมือง หากพิสูจน์ได้ว่ามีการเคลื่อนไหวหรือดำเนินกิจการที่ผิดกฎหมายและก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ ซึ่งเอ็นจีโอควรต้องมีความโปร่งใสเช่นเดียวกับภาครัฐที่มีการตรวจสอบมากมายจากหลายองค์กร
โดยพบว่าเอ็นจีโอบางกลุ่มมีการดำเนินงานเกินขอบเขต วุ่นวายและก่อให้เกิดปัญหาต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ การรับฟังความเห็นโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา รวมถึงการเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมหมดอายุ เป็นต้น ดังนั้น สปท.จึงไปศึกษาข้อมูลหลายด้านรวมถึงข้อมูลจากต่างประเทศแล้ว เพื่อให้เอ็นจีโอมีความโปร่งใส จึงต้องมีการเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินทุน วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
นายคุรุจิต กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในกระบวนการรับฟังความเห็น โดยต้องให้สัดส่วนประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังความเห็นมากกว่าคนนอกพื้นที่ โดยควรมีสัดส่วนคนในพื้นที่ถึง 70% ที่เหลือ 10% เป็นตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ อีก 10% เป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของโครงการ และ 10% เป็นนักวิชาการ บุคคลภายนอก เป็นต้น อาจช่วยแก้ปัญหาการล้มเวทีประชาพิจารณ์เหมือนที่เคยเกิดขึ้นได้
สำหรับประเด็นการเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ซึ่งล่าช้ามา 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต(พีเอสซี) และระบบจ้างผลิต(เอสซี) ก็ต้องดูความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เมื่อกฎหมายออกมาแล้วก็ควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนั้นไม่ว่าจะใช้ระบบใดก็ต้องยอมรับ ซึ่งไม่ควรดูเพียงรายได้เท่านั้นแต่ต้องดูถึงการผลิตพลังงานที่ต่อเนื่องด้วย เพราะกำลังการผลิตในอ่าวไทยที่ลดลงย่อมต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน แอลพีจี แอลเอ็นจี และถ่านหิน เพิ่มขึ้น
นายคุรุจิต กล่าวเพิ่มเติมว่ารายงานของ สปท. จำนวน 11 เรื่อง และของวิป สปท.อีก 6 เรื่อง ซึ่งมีบางเรื่องที่กระทรวงพลังงานเห็นชอบและดำเนินการไปบ้างแล้ว อาทิ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง, การอนุรักษ์พลังงานโดยใช้ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (Building Energy Code : BEC) เป็นต้น อย่างไรก็ตามการศึกษาปฏิรูปประเทศด้านพลังงานยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องการให้กระทรวงพลังงานสานต่อ โดย สปท.สิ้นสุดวาระตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2560
-----------------------------------------------------------------------------------
Cr. ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560