เขาปล่อยดาวเทียมสู่วงโคจรค้างฟ้ากันยังไง

ปกติดูปล่อยจรวด ปล่อยดาวเทียม เขาก็ถ่ายทอดแค่ตอนปล่อยจรวดจนถึง deploy ดาวเทียม ซึ่งจากความสูงนั้นคงอยู่แค่วงโคจรระดับต่ำหรือ เท่ากับสถานีอวกาศ สูงไม่กี่ร้อยกิโลเมตร แต่หลังจากนั้นไม่รู้ว่าเขาควบคุมดาวเทียมให้ไปถึงวงโคจรค้างฟ้า หรือ 35700 กิโลเมตร ได้ยังไง ใช้เชื้อเพลิงจากไหนต่อในเมื่อไม่มีจรวดแล้ว

อีกอย่างหนึ่ง ปกติฐานยิงจรวดจะอยู่ที่แหลมคานาเวอรัลในฟลอริดา(อเมริกา) หรือไบโคนูร์ในคาซัคสถาน(รัสเซีย) ซึ่งอยู่ละติจูดสูงพอสมควร (28 และ 45 องศาเหนือ) เวลาปล่อยวงโคจรตอนแรกก็จะเอียงตามจุดปล่อย แล้วเขาปรับความเอียงยังไงให้เป็น 0 องศา (เพราะต้องทำงานที่เส้นศูนย์สูตร) รวมถึงตำแหน่งลองจิจูดที่ประจำการด้วย เช่นไทยคม 8 อยู่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก

แค่นี้ก็รู้ว่าปล่อยดาวเทียมก็ยุ่งยาก ไม่ใช่แค่ส่งจรวด แต่ต้องปรับวงโคจรให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการด้วย
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
การส่งดาวเทียมขึ้นสู่  Geostationary Orbit  มีขั้นตอนดังนี้ครับ






ส่วนจรวดสมัยใหม่  อย่างเช่นของ SpaceX  จะไม่มีขั้นตอน Parking orbit แบบในภาพบนครับ
เพราะจรวดมีเชื้อเพลิงมากพอ  การส่งจากโลกจึงเป็นไปตามนี้ครับ
1. เมื่อจรวดขึ้นจากพื้นโลกแล้ว  มันจะไม่มีการ parking orbit  
    แต่ก็จะเข้าขั้นตอน Geostationary transfer orbit ไปเลย  (เส้นสีเหลือง)
2.  เมื่อเข้า transfer orbit แล้ว  ก็จะ burn เครื่องยนต์ AKM ครั้งที่ 1 (เส้นสีม่วง)
3. Burn เครื่องยนต์ AKM ครั้งที่ 2  (เส้นสีฟ้า)
4. Burn เครื่องยนต์ AKM ครั้งที่ 3  (เส้นสีเขียว) .... และนี่ ก็จะเข้าสู่ Geostationary orbit ครับ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


การปรับตำแหน่งให้ไปทำงานที่เส้นศูนย์สูตร และ ที่ Longitude ที่ต้องการ  จะใช้ AKM หมดเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่