ถามเรื่องแสง และ เวลา หน่อยครับ

กระทู้คำถาม
1. เคยได้ยินเรื่องเล่ามาจากไหนซักที่ตอนเด็กๆ ว่า ถ้าเราเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วแสงจะย้อนเวลาได้
ผมเลยลอง เอาสมการ สัมพัทธภาพ ที่คำนวณความต่างของเวลา มาแทนตัวแปร ความเร็วให้มากกว่า ความเร็วแสงดู
ก็พบว่าเป็นรูทติดลบ ผมจึงแทนค่านั้นเป็นจำนวนจินตภาพไป แล้วสังเกตุว่า ถ้าเรายกกำลัง 2 ทั้งสองฝั่ง
เวลามันจะกลายเป็นค่าลบ แปลว่าถ้าเราเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าแสง เราจะย้อนเวลาได้จริงๆ หรือครับ หรือผมคำนวณผิด
แต่ผมรู้สึกว่ามันค่อนข้างขัดแย้งกัน ตรงที่ ถ้าเกิดว่า ทันทีที่เรา เริ่มเร็วกว่าแสง จะเกิดการย้อนเวลาเกิดขึ้น
ก็แปลว่า เราจะถูกย้อนเวลากลับไปก่อนหน้าที่เราจะ reach ความเร็วแสง แบบนี้เราก็ไม่มีทางจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงเลยสิครับ
สรุปคำถาม เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงย้อนเวลาได้จริงไหม?

2. ถ้าผมเอาคลอโรฟิลเข้มข้น บริสุทธิ์ 100% มาไว้ในห้องมืดไม่มีแสง จากนั้น ฉายแสงเลเซอร์สีแดงไปยัง
คลอโรฟิล ผมยังจะมองเห็นสีเขียวจากคลอโรฟิลได้ไหมครับ หรือ มองไม่เห็น หรือ มองเห็นเป็นสีแดง

ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
1. เรื่องเร็วกว่าแสง
กรณีการเคลื่อนที่เร็วกว่าแสง  ในทางฟิสิกส์ทำไม่ได้ครับ  เพราะจะใช้พลังงานมาก
เนื่องจากมวลในระบบจะเพิ่มขึ้นไปจนใกล้ Infinity ครับ  จขกท.ลองดูจากสมการ
การแปลงมวลในระบบ กับ มวลนิ่ง ครับ  จะเห็นว่าหากเราแทนค่าความวัตถุด้วยความเร็วแสง
จะทำให้เกิดการ Divide by zero ครับ



2. ถ้าผมเอาคลอโรฟิลเข้มข้น บริสุทธิ์ 100% มาไว้ในห้องมืดไม่มีแสง จากนั้น ฉายแสงเลเซอร์สีแดงไปยัง
คลอโรฟิล ผมยังจะมองเห็นสีเขียวจากคลอโรฟิลได้ไหมครับ หรือ มองไม่เห็น หรือ มองเห็นเป็นสีแดง


ก่อนอื่น  ผมขออธิบายเรื่อง สี ของคลอโรฟิลก่อนครับ   สีเขียวของคลอโรฟิลเกิดจากการที่คลอโรฟิล
มัน absorb (ดูดกลืน) แสงในย่านความยาวคลื่นสีอื่นไปหมดเลย  โดยไม่ดูดกลืนแสงในย่านสีเขียว
ทำให้แสงแบบทั่ว ๆ ไป คือ แสงจากดวงอาทิตย์ที่มีหลายย่านครบตั้งแต่ แดง ไปจนถึง ม่วง
จะถูกดูดกลืนไปหมด  เหลือแสงสีเขียวที่ออกมาสู่ตาเราได้  คลอโรฟิลจึงมีสีเขียวครับ

นี่คือภาพของดัชนีการ Absorb แสงในความยาวคลื่นต่าง ๆ ของคลอโรฟิล
จะเห็นว่าแสงในความยาวคลื่นสั้นกว่า 580 nm  ถูก absorb ไปมาก



ทีนี้ .... หากเราเอา LASER สีแดงยิงไปที่คลอโรฟิล  แสง LASER ซึ่งมีแต่แสงที่มีความยาวคลื่นสีแดงอย่างเดียว
ก็จะถูกดูดกลืนไปมากครับ  ทำให้เราเห็น สีแดง สะท้อนออกจากคลอโรฟิลนั้นได้  แต่ก็จางลงมาก

สรุป  เราจะมองเห็นคลอโรฟิลเป็นสีแดงจาง ๆ  ครับ


แต่ .... ที่ จขกท.ถามมานี้  จะมีปรากฏการณ์หนึ่งที่เรียกว่า Fluorescence ครับ
ปรากฏการณ์ Fluorescence นี้ คือการที่วัตถุชนิดหนึ่งที่ได้รับการกระตุ้น เช่น ฉายแสง
จากแสงที่มีความยาวคลื่นหนึ่ง  แต่กลับมีการแพร่ Photon ที่มีความยาวคลื่น มากกว่า ออกมา
ตัวอย่างเช่น  หากส่อง Green LASER ไปที่วัตถุชนิดหนึ่ง  มันอาจ แสดง เป็นจุดสีแดงออกมา
นั่นก็คือ Photon แสงสีเขียวจะไปกระตุ้น Electron ใน excite state และปล่อย Photon ใน
ย่านความยาวคลื่นที่ ต่ำกว่า คือเป็นแสงสีแดงออกมาแทนครับ  ที่เห็นกันบ่อยมาก คือ
การฉายแสงย่าน Ultraviolet ไปกระทบวัตถุหลายอย่าง  และมันจะปล่อย Photon ย่าน
สีต่ำกว่า UV ออกมา  เช่น  อาจเรืองแสงสีฟ้า  ม่วง

แต่กรณี RED LASER จะไม่มีปรากฏการณ์นี้  เพราะสีแดงคือสีที่มีความยาวคลื่นมากสุดที่มนุษย์มองเห็นแล้ว

นี่คือภาพแสดงปรากฏการณ์ Fluorescence ของ หิน ชนิดต่าง ๆ กันเมื่อถูกฉายด้วยแสง UV
หินแต่ละก้อนจะมีธาตุต่างกัน  จึงแสดงสีจากปรากฏการณ์ Fluorescence ที่ต่างกันด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่