จริงเปล่าครับที่คนอเมริกาถ้าเขาไม่เจ็บป่วยเจียนตายจริง ๆ เขาจะไม่ไปหาหมอเลย เพราะค่ารักษาที่นั่นแพงมาก ๆ

แล้วมันแพงขนาดไหนได้อะครับ สงสัยจัง แพงกว่าของบ้านเราหรือเปล่า

แล้วสวัสดิการที่นั่นเป็นยังไงบ้างครับ ดีกว่าไทยหรือเปล่า เห็นดูหนังเรื่อง Pay It Forward

คนต้องรอเข้าคิว จะป่วยจนปางตายหรือป่วยเล็กป่วยน้อยยังไงก็ต้องรอเข้าคิวเท่านั้น

จนในเรื่องเด็กคนนึงเกือบตายเพราะอาการหนักมาก ดีที่มีคนมาเปลี่ยนคิวให้ ทำให้เด็กรอด

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 28
พบแพทย์ในอเมริกา
-------------------------

การพบแพทย์ในอเมริกาเป็นสิ่งที่คนเดินกินข้าวแกงแบบธรรมดาไม่อยากพบ
อเมริกาเป็นต้นแบบของทุนนิยม ดังนั้นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการพัฒนาทุกวงการวิชาชีพคือแรงจูงใจ โดยเฉพาะแรงจูงใจด้านค่าตอบแทน
ทุนนิยมแบบอเมริกันคือทุนนิยมเสรี คือมีการควบคุมกลไกลราคาน้อยที่สุด ให้ระบบดีมานซัพพลายทำงานเป็นธรรมชาติที่สุด

เมื่อเป็นเช่นนั้น วิชาชีพพิเศษๆที่ใช้ความชำนาญและความรู้เฉพาะ ค่าแรงแพงทุกวิชาชีพ ค่าแพทย์แพงมาก

นอกจากค่าตอบแทนแล้ว อเมริกาเป็นประเทศที่วางมาตรฐานการแพทย์ให้กับวงการสาธารณสุขทั่วโลก ที่นี่จึงต้องได้มาตรฐานทุกอย่าง คำว่ามาตรฐานจึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการจัดการสูงขึ้นมากด้วยเช่นกัน ซึ่งหมวดนี้รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ต่างๆด้วย ที่นี่ไม่มียาก็อป ยาออริจินัลนี่แพงมากถึงมากที่สุด เช่นยาปฏิชีวนะแผงนึงก็ต้องมีสักเจ็ดร้อยบาท แถมต้องมีใบสั่งจากหมอด้วย
นี่เรียกว่า สามสูงเลย ค่าหมอสูง ค่ารพ.สูง ค่ายาสูง

เมื่อทุกอย่างสูงไปหมด การเจ็บป่วยสักครั้งเปรียบเหมือนโดนปล้น หรืออุบัติเหตุจราจร ซึ่งคาดเดาไม่ได้เลยว่าจะต้องจ่ายเท่าไหร่ในการเจ็บป่วยหนึ่งครั้ง (เดี๋ยวจะเล่าว่าเดาไม่ได้อย่างไร)

เมื่อค่าเสียหายจากการเจ็บป่วยสูง ธุรกิจประกันจึงเฟื่องฟูมากและกลายเป็นภาคบังคับสำหรับทุกคน ซึ่งแน่นอนว่าคนที่ทำงานในระบบต้องมีประกันทุกคน คนที่ไม่มีกฏหมายรองรับก็หาประกันยากชีวิตจึงแขวนบนเส้นด้ายสุขภาพตลอด

ถึงแม้มีประกันแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะเดินอาดๆเข้าไปพบหมอ เพราะประกันทั่วๆไปไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยทั่วไปประกันจะจ่ายให้ 80% เราจ่าย 20%

ฟังดูเหมือนเราจะจ่ายไม่มาก แต่มาเจอค่าใช้จ่ายจริงๆที่นี่แล้วจะขอบคุณระบบสาธารณสุขไทยที่โดนก่นด่าได้ทุกวันนี่แหละ

การพบแพทย์ที่นี่ก็มีแบ่งระดับ primary เช่นพวกสถานีอนามัยหรือคลินิกชุมชน secondary รพ.อำเภอ tertiary รพ.จังหวัดหรือรพ.ศูนย์ เหมือนที่ไทยทำนั่นแหละ

ที่นี่เข้มงวดกับการพบแพทย์ให้ตรงกับความรุนแรงของโรคมาก โดยทั่วไปแล้วหากเจ็บป่วยเล็กๆน้อย ก็ต้องเดินไปหาคลินิคชุมชนก่อน คลินิคพวกนี้เปิดในเวลาราชการเท่านั้น เราจะให้ใบสั่งยาไปรับยากลับบ้าน ค่าใช้จ่ายตรงขั้นนี้ โดยเฉลี่ยก็ 100-300 ดอลลาร์ เราจ่ายแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ก็สบายๆใช่มั้ยครับ ตกแค่ สี่ร้อยถึงพันกว่าบาทยังพอจ่ายได้

ถ้าเกิดเจ็บป่วยนอกเวลาราชการละ ก็มีสองช้อยส์ ซึ่งคุณต้องเลือกให้ดีว่าจะเข้าประตูไหน ระหว่าง urgency กับ emergency

ถ้าคุณปวดหัวมาก จนทนไม่ได้ตอนตีสอง คุณเดินเข้า urgency แพทย์ประจำห้องจะตรวจร่างกาย ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติมาก อาจจะฉีดยา ให้คุณนอนพัก บริการในห้องนี้ก็จะเริ่มต้นที่ประมาณ 1,000 ดอลล่าร์ ถ้าโชคดีฉีดยาหายกลับบ้าน เราก็จ่าย 200 ดอลลาร์หรือเจ็ดพันกว่าบาทแล้วก็หายปวดหัวกลับบ้าน

แต่ถ้าวันนั้นเปรี้ยวอยากลองเดินเข้า emergency room ดู คุณจะโดนมะรุมมะตุ้มจากหมอหลายๆแผนกที่ประจำการในห้องฉุกเฉิน ทุกหมอที่มาคุยมาตรวจเขาได้ค่าตอบแทนหมด ทุกบริการในนี้ราคาคูณอีกสิบเท่า ถ้าคุณเดินออกมาจาก ER แล้วเจอบิลค่ารักษา 10,000 ดอลลาร์ คุณก็จะกลับไปปวดหัวอีกเดือนนึง ซึ่งค่าบริการในห้องฉุกเฉินนี้เริ่มต้นที่หมื่นดอลลาร์นี่แหละครับ ถ้าป่วยถูกโรคที่ต้องส่งตรวจมาก ส่งเข้าผ่าตัดฉุกเฉินด้วยก็คูณไปอีกหลายเท่าตัวเลยครับ

ห้อง emergency แบบอเมริกันคือห้องที่ต้องรีดเค้นศักยภาพของแพทย์สูงที่สุด เพราะมีปัจจัยเรื่องเวลาเป็นตัวแปรสำคัญที่สุด เปลี่ยนรอดเป็นตายจากตายเป็นรอดในหน่วยวินาที เมื่อมูลค่าของเวลามันสูง ศักยภาพ บุคลากร จึงต้องดีที่สุดพร้อมที่สุด ใครเข้ามาที่นี่ก็ต้องจ่ายแพงที่สุด

คนอเมริกันเลยกลัว ER มาก ถ้าเข้า ER แล้วออกมาคงได้ป่วยอีกรอบตอนเจอบิลรักษานี่แหละ

เมื่อค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพสูงมาก คนอเมริกันเลยดูแลเอาใจใส่สุขภาพมาก จัดการตัวเองได้เมื่อเจอปัญหาสุขภาพง่ายๆ การดูแลรับผิดชอบตัวเองคือสิ่งแรกที่อเมริกันชนคิด ถ้าให้คนอื่นดูแลคุณก็จ่ายค่าตอบแทนนั้นด้วย คติของอเมริกันชนคือดูแลสุขภาพดีกว่า ง่ายกว่าและถูกกว่าการรักษาสุขภาพ

นโยบายรักษาฟรีของไทยคือตัวอย่างระบบสุขภาพที่มหัศจรรย์มากสำหรับโลกใบนี้ การเอามาเล่าให้ชาวอเมริกันฟัง ว่าประเทศโลกที่สามที่ไม่ได้ร่ำรวย แต่สามารถสร้างระบบสวัสดิการที่รักษาประชาชนทุกคนฟรี และดำเนินนโยบายมานานนับสิบปีได้ มันคือเรื่องเหลือเชื่อสำหรับเขาเลย

แน่นอนว่าผลของนโยบายนี้ที่ช่วยชีวิตคนไทยนับล้านๆคน แต่ในมุมสะท้อนมันคือการสร้างภาระที่ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามกลไกลตลาดแก่บุคลากรทางการแพทย์ด้วย

สิ่งที่อยากขอจากประชาชนมากที่สุดคือนโยบายนี่จะทรงประสิทธิภาพมากขึ้น

หากการดูแลสุขภาพเป็นหน้าที่หนึ่งที่ประชาชนใส่ใจ

ขอแค่นี้เอง ไม่ยากเกินไปนะครับ

Cc: Somkiat Osotsapa
ความคิดเห็นที่ 25
ขอพูดถึงประเทศไทยนิด
ถ้าเทียบกับ "ความรวยของประเทศ" ผมว่าประเทศไทยจัดว่าเอื้ออาทรที่สุดแล้ว (แม้คนจะบ่นเรื่องรพ.รัฐหน้างอ พูดจิก คอยนาน และบางทีทำเรื่องยุ่งยาก ก็เถอะ)
เพราะสุดท้าย ต่อให้คุณไม่มีเงินเลย คุณก็จะยังคงได้รับการรักษาฟรีๆ แม้จะเป็นผ่าตัดใหญ่ๆที่ไปเอกชนโดนฟันหลักหลายแสน หรือการรักษาโรคมะเร็งแบบครบคอร์ส ทั้งผ่าตัด เคมีบำบัด

สวัสดิการคนไทย จัดสรรเรื่องการรักษาพยาบาลผ่านภาษีนี่ล่ะครับ เหมือนๆกับประเทศตามยุโรปแทบจะเกือบเป๊ะๆ ต่างกันตรงรายละเอียดปลีกย่อย บางกลุ่มก็จะยังต้องบังคับจ่ายประกันภาครัฐอยู่
จริงอยู่ว่าบริการของรพ.รัฐหลายๆแห่งยังไม่สร้างความประทับใจให้ประชาชนมากนัก (แต่ถ้าคุณรู้จักเลือก รพ.รัฐดีๆมีเยอะเหมือนกันนะ) ซึ่งถ้าดูความรวยของประเทศเราแล้ว ดูปัญหาบุคลากร หมอหนีไปเอกชน ลาออก ดูจำนวนคนที่ไปแออัดตามรพ.รัฐแต่ละแห่ง ฯลฯ ... ผมว่าไทยนี่ถือว่าเอื้ออาทรสุดๆละ
ส่วนยุโรปภาษีหนัก อเมริกาภาษีอาจจะไม่เท่ายุโรป แต่ก็เยอะกว่าไทยมาก ประเทศก็รวยกว่าไทย แล้วยังจะต้องทำประกันเพิ่มอีก

รพ.รัฐของไทย ถ้าสุดท้ายมาตรฐานการรักษาไม่พลาด (โรคทั่วๆไปส่วนใหญ่ก็รักษาได้ตามปกติแหละครับ) ... การที่จนท.หน้าหงิกพูดจิก ... นึกไปนึกมาก็เป็นการช่วยกรองคนมีตังค์ให้หนีไปเอกชนส่วนนึงนะ ... เพราะถ้าพูดเพราะขึ้นมา รพ.รัฐตายแน่ๆทำงานกันไม่ไหวแน่นอน (เลยแอบสงสัยว่าที่หน้าหงิกๆพูดจิกๆกันนี่ เป็นนโยบายของรพ.รัฐป่าว? 555+)
ความคิดเห็นที่ 16
ไทยก็พอสมควร

ก่อนที่ไม่มีโครงการ 30 บาท

ชาวบ้านถึงกับขายไร่ขายนา

เราโชคดีที่สุดแล้ว
ความคิดเห็นที่ 29
ถูกจนเราไม่ดูแลสุขภาพครับ สำหรับคนไทย
ฝรั่งต้องซื้อประกันไว้ ประกันสุขภาพ ประกันฟัน
เชื่อไหมครับ   มะเร็งบุหรี่ ตับแข็งกินเหล้าเอง  >>>>  30 บาท ครับ
ดีสุดๆ
ความคิดเห็นที่ 21
มิน่าในหนังโดนยิงยัง ไปแคะกระสุนออกเอง ผ้ามัด ไฟล้น ปิดปากแผลเรียบร้อย รุ่งขึ้นกลับมาบู๊ใหม่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่