เห็นดราม่าเรื่องการรักษาของบุคคลากรทางการแพทย์ทุกวันนี้ออกมาเยอะมาก ด่าว่ากันสาระพัดทั้งที่บางทีเห็นแต่คลิปยังไม่ทันได้รู้รายละเอียดใดๆ ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์กับเขาแต่พูดราวกับรู้ทุกเรื่อง เลยทำให้มีความคิดขึ้นมาว่าถ้าให้เปลี่ยนจากบังคับเกณฑ์ทหารมาเป็นให้เกณฑ์ประชาชนทั้งชายและหญิงอายุซักประมาณช่วง20-40ปี มาทำงานในโรงพยาบาลชุมชนตามภูมฺิลำเนาตัวเองซัก 6 เดือน โดย
ให้ 1 เดือนแรก เรียนรู้ภาคทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับสุขศึกษาและการดูแลส่งเสริมสุขภาพ การปฐมพยาบาล การกู้ชีพพื้นฐาน(ปั๊มหัวใจ) และการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น
ให้ 1 เดือนต่อมา ต้องอยู่ทำงานคู่กับหมอตลอดเวลาที่หมอทำงานอยู่ในรพ. หมอหนึ่งคนทำงานยังไงต้องเป็นหมออยู่เวรห้องฉุกเฉิน-ตรวจผู้ป่วยใน-ออกตรวจผู้ป่วยนอก-ถูกตามไปดูคนไข้ ก็ต้องไปด้วยกันตลอด
ให้ 2 เดือนต่อมา ทำงานและอยู่เวรกับพยาบาลห้องฉุกเฉินและพยาบาลที่ไปกับรถส่งต่อผู้ป่วย 1 เดือน ทำงานและอยู่เวรกับพยาบาลหอผู้ป่วยในอีก 1 เดือน
2 เดือนสุดท้าย ให้ทำงานห้องตรวจทั่วไปและโรคเรื้อรัง(โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่จะให้มีหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบซักถามหาสาเหตุที่คุมน้ำตาลไม่ได้และแนะนำเรื่องการคุมอาหารอย่างถูกต้อง)
ทั้งนี้
1.เพื่อเป็นประโยชน์ในการให้บุคคลทั่วไปมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัวได้มากกว่านี้ จำนวนผู้ป่วยก็จะลดน้อยลง หากเป็นโรคที่หนักก็จะสามารถได้รับการรักษาเร็วขึ้นเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่แพทย์ต้องดูแลลดลง หากเป็นโรคที่ยาก แพทย์ก็จะมีเวลาในการตรวจและหาสาเหตุมากขึ้น โอกาสที่จะวินิจฉัยและรักษาได้ก็มีมากขึ้น นอกจากนั้นเมื่อจำนวนผู้ป่วยลดลง ค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องจ่ายเพื่อดูแลค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยก็จะลดลงตามมา เงินส่วนที่เหลือก็จะสามารถนำไปพัฒนาการรักษาให้ดีขึ้นทั้งเครื่องมือที่จำนวนจะเพียงพอขึ้น ทันสมัยขึ้น เทคนิคการรักษาใหม่ๆราคาแพงแต่ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น รพ.ที่กำลังขาดทุนก็จะไม่ขาดทุน เงินเดือนบุคลากรที่ควรจะได้รับจาการทำงานหนักก็จะไม่ต้องตกเบิกกันข้ามปีข้ามชาติ พี่ตูนหรือใครๆจะได้ไม่ต้องไปวิ่งรอบประเทศเพื่อหาเงินบริจาคมาอุดทุกโรงพยาบาลเพราะหากยังเป็นเหมือนทุกวันนี้ต่อให้วิ่งไปตลอดชีวิตก็ไม่มีทางที่จะเพียงพอ
2.เพื่อจะได้เข้าใจขั้นตอนในการให้บริการของโรงพยาบาลและบุคคลาการทางการแพทย์มากกว่านี้ เข้าใจโรคและสภาวะความเจ็บป่วยของผู้ที่เข้ารับการรักษาในแต่ละแบบมากกว่านี้ ตั้งแต่โรคเล็กน้อยที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล โรคเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตลอดจนโรคเรื้อรังระยะสุดท้าย เพื่อลดปัญหาการวิพากษ์วิจารณ์กรณีต่างที่เกิดขึ้นจากการให้การรักษา ทั้งที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์จริงและไม่ทราบความเป็นจริงในทุกๆด้าน เพื่อที่จะลดการบั่นทอนกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมขณะนี้ ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรที่ขาดแคลนอยู่แล้วลาออกมากขึ้น ระบบก็จะยิ่งแย่ลงไปอีก
3.เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรที่ทำงานในรพ.เป็นการชดเชยบุคลากรที่ขาดแคลนอยู่ในขณะนี้ แม้จะบอกว่าไม่ได้เรียนมาไม่มีความรู้ แต่แค่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นที่เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรจะทำได้ ก็สามารถแบ่งเบาภาระงานในโรงพยาบาลได้มากแล้ว
ปล. อยากฝากไว้ว่า
-อย่าคิดจะฝากชีวิตไว้กับหมอเพียงอย่างเดียว หมอไม่ใช่เทวดา ไม่มียาวิเศษรักษาได้ทุกโรคหรือกินแล้วหายทันที ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุดแล้วไม่ได้หมายความว่าจะพิการไม่ได้ ตายไม่ได้
-ถ้าสุขภาพพื้นฐานของตัวเองยังไม่ดูแลให้ดี แล้วใครจะมาดูแลแทนได้ หากดูแลตัวเองดีแล้วแต่ยังป่วยก็ถือว่าเกิดได้ตามสัจธรรมของโลก เป็นงานที่หมอควรต้องรักษาและเชื่อได้ว่าหมอจะทำสุดความสามารถแน่นอน แต่หากไม่ดูแลตัวเอง ทำแต่พฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพ ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าพฤติกรรมของตัวเองเป็นสาเหตุของโรคที่เป็นอยู่ แล้วยังสมควรอยู่หรือที่จะมาเรียกร้องให้คนอื่นมารักษาโดยอ้างว่าเป็นหน้าที่ของเขา เรียนมาแล้ว เลือกมาแล้ว แกต้องทำไป ห้ามบ่น ต้องรักษาให้ได้ ห้ามช้า ห้ามตาย ห้ามผิดพลาด ถ้าทำไม่ได้ก็ลาออกไป ถ้ายังเป็นอย่างนี้ต่อไปซักวันคงไม่เหลือคนทำงานอีกต่อไปแล้ว
-คนที่เลือกมาทำงานด้านนี้เชื่อว่าเค้าตั้งใจพยายามทำให้ดี ทำให้เต็มที่ทุกวันอยู่แล้ว แต่เค้าก็เป็นมนุษย์แบบคนอื่น อารมณ์เสียได้ เหนื่อยได้ ป่วยได้ บางทีมันก็ไม่สามารถจะควบคุมทุกอย่างได้หรอก ขนาดคนที่ด่าว่ากันในสังคมยังควบคุมตัวเองไม่ได้เลย ไม่มีใครอยากถูกด่าว่าเป็นไอ้ใจนรก ไอ้คนไร้จรรยาบรรณ ไอ้..... มากมายอย่างที่สังคมว่ามา แต่อยากให้ลองมาอยู่ในจุดที่เค้ายืนอยู่บ้างว่าจะรู้สึกอย่างไร มาสัมผัสชีวิตที่เค้าต้องเป็นอยู่ทุกวันจะได้รู้ว่าแต่ละวันเค้าต้องเจอกับอะไรบ้าง............
ถ้าให้เปลี่ยนจากบังคับเกณฑ์ทหารมาเป็นให้เกณฑ์ประชาชนมาทำงานในโรงพยาบาลชุมชนซัก 6 เดือนจะดีไหม
ให้ 1 เดือนแรก เรียนรู้ภาคทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับสุขศึกษาและการดูแลส่งเสริมสุขภาพ การปฐมพยาบาล การกู้ชีพพื้นฐาน(ปั๊มหัวใจ) และการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น
ให้ 1 เดือนต่อมา ต้องอยู่ทำงานคู่กับหมอตลอดเวลาที่หมอทำงานอยู่ในรพ. หมอหนึ่งคนทำงานยังไงต้องเป็นหมออยู่เวรห้องฉุกเฉิน-ตรวจผู้ป่วยใน-ออกตรวจผู้ป่วยนอก-ถูกตามไปดูคนไข้ ก็ต้องไปด้วยกันตลอด
ให้ 2 เดือนต่อมา ทำงานและอยู่เวรกับพยาบาลห้องฉุกเฉินและพยาบาลที่ไปกับรถส่งต่อผู้ป่วย 1 เดือน ทำงานและอยู่เวรกับพยาบาลหอผู้ป่วยในอีก 1 เดือน
2 เดือนสุดท้าย ให้ทำงานห้องตรวจทั่วไปและโรคเรื้อรัง(โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่จะให้มีหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบซักถามหาสาเหตุที่คุมน้ำตาลไม่ได้และแนะนำเรื่องการคุมอาหารอย่างถูกต้อง)
ทั้งนี้
1.เพื่อเป็นประโยชน์ในการให้บุคคลทั่วไปมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัวได้มากกว่านี้ จำนวนผู้ป่วยก็จะลดน้อยลง หากเป็นโรคที่หนักก็จะสามารถได้รับการรักษาเร็วขึ้นเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่แพทย์ต้องดูแลลดลง หากเป็นโรคที่ยาก แพทย์ก็จะมีเวลาในการตรวจและหาสาเหตุมากขึ้น โอกาสที่จะวินิจฉัยและรักษาได้ก็มีมากขึ้น นอกจากนั้นเมื่อจำนวนผู้ป่วยลดลง ค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องจ่ายเพื่อดูแลค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยก็จะลดลงตามมา เงินส่วนที่เหลือก็จะสามารถนำไปพัฒนาการรักษาให้ดีขึ้นทั้งเครื่องมือที่จำนวนจะเพียงพอขึ้น ทันสมัยขึ้น เทคนิคการรักษาใหม่ๆราคาแพงแต่ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น รพ.ที่กำลังขาดทุนก็จะไม่ขาดทุน เงินเดือนบุคลากรที่ควรจะได้รับจาการทำงานหนักก็จะไม่ต้องตกเบิกกันข้ามปีข้ามชาติ พี่ตูนหรือใครๆจะได้ไม่ต้องไปวิ่งรอบประเทศเพื่อหาเงินบริจาคมาอุดทุกโรงพยาบาลเพราะหากยังเป็นเหมือนทุกวันนี้ต่อให้วิ่งไปตลอดชีวิตก็ไม่มีทางที่จะเพียงพอ
2.เพื่อจะได้เข้าใจขั้นตอนในการให้บริการของโรงพยาบาลและบุคคลาการทางการแพทย์มากกว่านี้ เข้าใจโรคและสภาวะความเจ็บป่วยของผู้ที่เข้ารับการรักษาในแต่ละแบบมากกว่านี้ ตั้งแต่โรคเล็กน้อยที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล โรคเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตลอดจนโรคเรื้อรังระยะสุดท้าย เพื่อลดปัญหาการวิพากษ์วิจารณ์กรณีต่างที่เกิดขึ้นจากการให้การรักษา ทั้งที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์จริงและไม่ทราบความเป็นจริงในทุกๆด้าน เพื่อที่จะลดการบั่นทอนกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมขณะนี้ ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรที่ขาดแคลนอยู่แล้วลาออกมากขึ้น ระบบก็จะยิ่งแย่ลงไปอีก
3.เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรที่ทำงานในรพ.เป็นการชดเชยบุคลากรที่ขาดแคลนอยู่ในขณะนี้ แม้จะบอกว่าไม่ได้เรียนมาไม่มีความรู้ แต่แค่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นที่เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรจะทำได้ ก็สามารถแบ่งเบาภาระงานในโรงพยาบาลได้มากแล้ว
ปล. อยากฝากไว้ว่า
-อย่าคิดจะฝากชีวิตไว้กับหมอเพียงอย่างเดียว หมอไม่ใช่เทวดา ไม่มียาวิเศษรักษาได้ทุกโรคหรือกินแล้วหายทันที ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุดแล้วไม่ได้หมายความว่าจะพิการไม่ได้ ตายไม่ได้
-ถ้าสุขภาพพื้นฐานของตัวเองยังไม่ดูแลให้ดี แล้วใครจะมาดูแลแทนได้ หากดูแลตัวเองดีแล้วแต่ยังป่วยก็ถือว่าเกิดได้ตามสัจธรรมของโลก เป็นงานที่หมอควรต้องรักษาและเชื่อได้ว่าหมอจะทำสุดความสามารถแน่นอน แต่หากไม่ดูแลตัวเอง ทำแต่พฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพ ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าพฤติกรรมของตัวเองเป็นสาเหตุของโรคที่เป็นอยู่ แล้วยังสมควรอยู่หรือที่จะมาเรียกร้องให้คนอื่นมารักษาโดยอ้างว่าเป็นหน้าที่ของเขา เรียนมาแล้ว เลือกมาแล้ว แกต้องทำไป ห้ามบ่น ต้องรักษาให้ได้ ห้ามช้า ห้ามตาย ห้ามผิดพลาด ถ้าทำไม่ได้ก็ลาออกไป ถ้ายังเป็นอย่างนี้ต่อไปซักวันคงไม่เหลือคนทำงานอีกต่อไปแล้ว
-คนที่เลือกมาทำงานด้านนี้เชื่อว่าเค้าตั้งใจพยายามทำให้ดี ทำให้เต็มที่ทุกวันอยู่แล้ว แต่เค้าก็เป็นมนุษย์แบบคนอื่น อารมณ์เสียได้ เหนื่อยได้ ป่วยได้ บางทีมันก็ไม่สามารถจะควบคุมทุกอย่างได้หรอก ขนาดคนที่ด่าว่ากันในสังคมยังควบคุมตัวเองไม่ได้เลย ไม่มีใครอยากถูกด่าว่าเป็นไอ้ใจนรก ไอ้คนไร้จรรยาบรรณ ไอ้..... มากมายอย่างที่สังคมว่ามา แต่อยากให้ลองมาอยู่ในจุดที่เค้ายืนอยู่บ้างว่าจะรู้สึกอย่างไร มาสัมผัสชีวิตที่เค้าต้องเป็นอยู่ทุกวันจะได้รู้ว่าแต่ละวันเค้าต้องเจอกับอะไรบ้าง............