คณิตศาสตร์ คือ ภาษา ๆ หนึ่ง (ในมุมมองของเจ้าของกระทู้) ในกระทู้นี้เจ้าของกระทู้จะแปลภาษาที่อธิบายภาวะของนิพพานในพระไตรปิฎกให้อยู่ในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ดังนี้
=========================================================
ในกามภูสูตรที่ ๑ [1] ท่านกล่าวว่า ราคา โทสะ โมหะ ชื่อว่าทุกข์
ในปฏิปทาวรรคที่ ๒ [2] ท่านกล่าวว่าผู้ที่มีราคะ โทสะ โมหะ แรงกล้า ย่อมประสบทุกข์โทมนัส อยู่เนื่อง ๆ
ดังนั้น ความทุกข์ (Suffering, S) และความสุข (Happiness, H) จึงมีความสัมพันธ์กับ ราคะ โทสะ โมหะ ดังนี้
กำหนดให้ X(t) = ราคะ Y(t) = โทสะ Z(t) = โมหะ (แก้ไขเล็กน้อยตามคำแนะนำของคุณสองนิ้วชี้ คคห ที่ 9)
S = f(X, Y, Z)
H = 1/S
นิพพานคือความดับสนิทของทุกข์ ดังนั้น สภาวะของนิพพานคือ
S = 0, H=1/0 = infinity (เขียนให้ถูกตามหลักคณิตศาสตร์ว่า H = lim_(S-->0) 1/S )
dS/dt = 0
นิพพาน คือ ความดับทุกข์ (S = 0) ดับแบบดับสนิทไม่มีเกิดขึ้นอีก (dS/dt = 0)
=========================================================
ข้อสังเกต X Y Z มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับศูนย์
S(0,0,0) = 0 ความทุกข์จะเป็นศูนย์เมื่อ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นศูนย์เท่านั้น
S(X,Y,Z) >= 0 ความทุกข์จะมากกว่าหรือเท่าศูนย์เสมอ
คาถาธรรมบท สุขวรรคที่ ๑๕ [3] ท่านกล่าวว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ)
ความสุขในนิพพาน คือความสุขที่ไม่มีประมาณ (ปรมํ) ที่เกิดจาก 1/0 นั่นเอง
ความสอดคล้องกับพระไตรปิฎก
=====================
อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๒ [4]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพาน...ก็นิพพานเป็นไฉน...
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะความสิ้นโมหะ นี้คือนิพพาน ...
ข้อความนี้แทนด้วยสมการ S(0,0,0) = 0
นิพพานสูตรที่ ๑ [5]
[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
....ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
บทว่า
(S ในที่นี้อาจขยายความรวมถึงสิ่งปรุงแต่ง หรือ สังขาร ตามนัยของ ไตรลักษณ์ ที่สืบเนื่องจาก ราคะ โทสะ โมหะ ด้วย)
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ (เทียบเคียงได้กับการมีเลข 0 ในระบบจำนวน)
ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น (เทียบเคียงได้กับ เลขศูนย์ที่แทนความไม่มี)
เราย่อมไม่กล่าว (เพราะขัดแย้งกับคุณลักษณะของนิพพาน 2 ข้อ) ซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ จุติ เป็นการอุปบัติ
คำว่า การมา การไป การจุติ (ตาย) การอุบัติ (เกิด) เทียบได้กับ dS/st =/= 0 ขัดแย้งกับ dS/dt = 0
คำว่า การตั้งอยู่ เทียบได้กับ S =/= 0 ขัดแย้งกับ S = 0
อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ เพราะ S = 0 จึงไม่ต้องการอาณาบริเวณเพื่อการตั้งอยู่
มิได้เป็นไป เพราะ dS/dt = 0
หาอารมณ์มิได้ เพราะ S = 0
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ เนื่องจาก S >= 0 ดังนั้น S = 0 เป็นค่าน้อยสุดที่เป็นไปได้ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นที่สุดแห่งทุกข์
สรุป การกล่าวว่า สภาวะของนิพพานแทนด้วย S = 0 และ dS/dt = 0 จึงมีความสมเหตุสมผล
กระทู้นี้รวบรวมพระสูตรที่กล่าวถึงนิพพาน
http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/2009/05/Y7853117/Y7853117.html
การอ้างอิง
[1] กามภูสูตรที่ ๑,
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=7416&Z=7455&pagebreak=0
[2] ปฏิปทาวรรคที่ ๒
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=4083&Z=4159&pagebreak=0
[3] คาถาธรรมบท สุขวรรคที่ ๑๕
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=799&Z=829
[4] อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๒ ข้อ [741]
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=9079&Z=9327&pagebreak=0
[5] นิพพานสูตรที่ ๑
http://84000.org/tipitaka//pitaka2/v.php?B=25&A=3977&Z=3992&pagebreak=0
การแทนสภาวะของนิพพานด้วยสมการทางคณิตศาสตร์
=========================================================
ในกามภูสูตรที่ ๑ [1] ท่านกล่าวว่า ราคา โทสะ โมหะ ชื่อว่าทุกข์
ในปฏิปทาวรรคที่ ๒ [2] ท่านกล่าวว่าผู้ที่มีราคะ โทสะ โมหะ แรงกล้า ย่อมประสบทุกข์โทมนัส อยู่เนื่อง ๆ
ดังนั้น ความทุกข์ (Suffering, S) และความสุข (Happiness, H) จึงมีความสัมพันธ์กับ ราคะ โทสะ โมหะ ดังนี้
กำหนดให้ X(t) = ราคะ Y(t) = โทสะ Z(t) = โมหะ (แก้ไขเล็กน้อยตามคำแนะนำของคุณสองนิ้วชี้ คคห ที่ 9)
S = f(X, Y, Z)
H = 1/S
นิพพานคือความดับสนิทของทุกข์ ดังนั้น สภาวะของนิพพานคือ
S = 0, H=1/0 = infinity (เขียนให้ถูกตามหลักคณิตศาสตร์ว่า H = lim_(S-->0) 1/S )
dS/dt = 0
นิพพาน คือ ความดับทุกข์ (S = 0) ดับแบบดับสนิทไม่มีเกิดขึ้นอีก (dS/dt = 0)
=========================================================
ข้อสังเกต X Y Z มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับศูนย์
S(0,0,0) = 0 ความทุกข์จะเป็นศูนย์เมื่อ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นศูนย์เท่านั้น
S(X,Y,Z) >= 0 ความทุกข์จะมากกว่าหรือเท่าศูนย์เสมอ
คาถาธรรมบท สุขวรรคที่ ๑๕ [3] ท่านกล่าวว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ)
ความสุขในนิพพาน คือความสุขที่ไม่มีประมาณ (ปรมํ) ที่เกิดจาก 1/0 นั่นเอง
ความสอดคล้องกับพระไตรปิฎก
=====================
อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๒ [4]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพาน...ก็นิพพานเป็นไฉน...
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะความสิ้นโมหะ นี้คือนิพพาน ...
ข้อความนี้แทนด้วยสมการ S(0,0,0) = 0
นิพพานสูตรที่ ๑ [5]
[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
....ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
บทว่า
(S ในที่นี้อาจขยายความรวมถึงสิ่งปรุงแต่ง หรือ สังขาร ตามนัยของ ไตรลักษณ์ ที่สืบเนื่องจาก ราคะ โทสะ โมหะ ด้วย)
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ (เทียบเคียงได้กับการมีเลข 0 ในระบบจำนวน)
ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น (เทียบเคียงได้กับ เลขศูนย์ที่แทนความไม่มี)
เราย่อมไม่กล่าว (เพราะขัดแย้งกับคุณลักษณะของนิพพาน 2 ข้อ) ซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ จุติ เป็นการอุปบัติ
คำว่า การมา การไป การจุติ (ตาย) การอุบัติ (เกิด) เทียบได้กับ dS/st =/= 0 ขัดแย้งกับ dS/dt = 0
คำว่า การตั้งอยู่ เทียบได้กับ S =/= 0 ขัดแย้งกับ S = 0
อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ เพราะ S = 0 จึงไม่ต้องการอาณาบริเวณเพื่อการตั้งอยู่
มิได้เป็นไป เพราะ dS/dt = 0
หาอารมณ์มิได้ เพราะ S = 0
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ เนื่องจาก S >= 0 ดังนั้น S = 0 เป็นค่าน้อยสุดที่เป็นไปได้ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นที่สุดแห่งทุกข์
สรุป การกล่าวว่า สภาวะของนิพพานแทนด้วย S = 0 และ dS/dt = 0 จึงมีความสมเหตุสมผล
กระทู้นี้รวบรวมพระสูตรที่กล่าวถึงนิพพาน
http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/2009/05/Y7853117/Y7853117.html
การอ้างอิง
[1] กามภูสูตรที่ ๑, http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=7416&Z=7455&pagebreak=0
[2] ปฏิปทาวรรคที่ ๒ http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=4083&Z=4159&pagebreak=0
[3] คาถาธรรมบท สุขวรรคที่ ๑๕ http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=799&Z=829
[4] อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๒ ข้อ [741] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=9079&Z=9327&pagebreak=0
[5] นิพพานสูตรที่ ๑ http://84000.org/tipitaka//pitaka2/v.php?B=25&A=3977&Z=3992&pagebreak=0