11ก.ค.60 ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.อ.หญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ถึงเรื่องการวิจัยยางพาราของการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานราชการสนับสนุนการใช้ยางในประเทศไม่ว่าจะเป็นการทำถนน ผิวถนน หรือฐานรากต่างๆ ซึ่งในการพิจารณาทำถนนครั้งต่อไปขอให้มีการใช้ยางภายในประเทศ
นอกจากนี้ นายกฯ ยังได้สั่งการให้กระทรวงกลาโหมดูแลเรื่องการจัดสร้างสนามกีฬาในหน่วย เช่นการสร้างสนามฟุตซอล โดยใช้กรมการทหารช่างของหน่วย ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเพิ่มเติมการใช้ยางภายในประเทศได้
พ.อ.หญิงทักษดา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ นายกฯยังให้ความสำคัญในเรื่องการลดพื้นที่เพาะปลูกยางในประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาต้นทาง มีการย้ำบ่อยๆ เนื่องจากต้นทางมีการผลิตมากก็ทำให้ยางราคาตก เพราะฉะนั้น ให้ปลูกผลไม้ที่มีราคาสูงทดแทน แต่ไม่ใช่ปลูกผลไม้ชนิดเดียวกันทั้งหมด โดยต้องมีการควบคุมพื้นที่ในการปลูกผลไม้ไม่ให้เยอะจนเกินไป ไม่เช่นนั้นราคาก็จะลดลงอีก
ที่มา แนวหน้า
http://www.naewna.com/politic/280152
.......................................
พ้มเติบโตมากับสวนยาง เรียนจบมากับสวนยาง ตอนยาง กก.ละ 10 กว่าบาท มังคุด ราคา กก.ละประมาณ 7-8 บาท ทุเรียนพันธ์เพิ่งจะรู้จัก
หลายปีก่อนพ้มได้ยินกับพูด ที่ฟังแล้วให้ได้คิด "ยาง เปรียบเสมือนเงินสด(รายวัน) ผลไม้เหมือนโบนัส (รายปี)"
เกษตรกรสวยางทางภาคใต้ ที่เป็นเจ้าของสวนยางรายใหญ่แทบนับหัวได้ ส่วนรายย่อยนั้นมีมากเกินนับได้
เมื่อชาวสวนยางรายย่อยมากกว่ารายใหญ่ การปรับเปลียนอาชีพแต่ละครั้งก็ต้องกูหนี้ยืมสินมาลงทุนโดยมี ธกส.เป็นแหล่งทุน
พ้มจำได้ ครั้งหนึ่งเราถูกส่งเสริมให้ปลูกโกโก้ ต่อมา กาแฟ ให้ปรับเปลียนจากสวนสมรม มาเป็นสวนเชิงเดี่ยว ทุเรียนบ้านต้นโตเท่านขนาดหนึ่งคนโอบ
ไปจนถึง 2-3 คน โอบ ถูกทยอยตัดโค่น ขึ้นรถบรรทุกสิบล้อออกจากหมู่บ้านพ้มวันละหลายเที่ยว ทุเรียนพันธ์เริ่มเข้ามา สางสาดเขาบอกราคาไม่ดี
รสชาดไม่อร่อย ให้ปลูกลองกองแทน เงาะบ้านเริ่มหาย เงาะโรงเรียนเข้ามาแทน ยางพาราพันธ์พื้นเมืองน้ำยางออกน้อย ถูกปรับเปลียนเป็นยางพันธ์ดี
พืชดังเดิมจากที่ไม่เคยได้รับปุ๋ยเคมี เริ่มได้รับปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า กรัมม็อกโซน ราวอัพ แกนลอนยาฉีด กองทุนสวนยางมีให้เอาไปใช้ก่อนผ่อนที่หลัง
ชาวบ้านถูกต้อนเข้าโรงเรียนมีการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือการปลูกยางแบบขั้นบันได จากสวนยางพื้นเมืองปลูกด้วยเมล็ดตามไหล่ มีรากยั่งลึก
มีรากแก้ว เป็นยางพันธ์ดีชำถุงไม่มีรากแก้ว เข้ามาแทนที่ หลายปีผ่านไปน้ำท่วมกระทูนชาวสวนยางตกเป็นจำเลยบุกรุกป่า และหลังจากนั้นชาวสวนยาง
ก็ตกเป็นจำเลยทุกครั้งที่ดินถล่มภูเขาพัง
มาบัดนี้ เศรษกิจตกต่ำราคายางถูก ....พวกเราก็ยังตกเป็นเบี้ยล่างให้คนในรัฐบาลได้เปรียบเปรยในทางลบ
แล้วใครกันที่ส่งเสริมให้เราเป็นอย่างนี้ ไม่มีใคร อยากเป็นที่เป็นอยู่ อย่างทุกวันนี้หรอกครับ..
แล้วคุณทั้งหลายที่ทำตามคำแนะนำของภาครัฐวันนี้ .....วันหน้าก็คงไม่พ้นเหมือนพวกพ้มชาวสวนยางวันนี้...
หัวอกชาวสวนยาง ขอพูดบ้าง..
นอกจากนี้ นายกฯ ยังได้สั่งการให้กระทรวงกลาโหมดูแลเรื่องการจัดสร้างสนามกีฬาในหน่วย เช่นการสร้างสนามฟุตซอล โดยใช้กรมการทหารช่างของหน่วย ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเพิ่มเติมการใช้ยางภายในประเทศได้
พ.อ.หญิงทักษดา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ นายกฯยังให้ความสำคัญในเรื่องการลดพื้นที่เพาะปลูกยางในประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาต้นทาง มีการย้ำบ่อยๆ เนื่องจากต้นทางมีการผลิตมากก็ทำให้ยางราคาตก เพราะฉะนั้น ให้ปลูกผลไม้ที่มีราคาสูงทดแทน แต่ไม่ใช่ปลูกผลไม้ชนิดเดียวกันทั้งหมด โดยต้องมีการควบคุมพื้นที่ในการปลูกผลไม้ไม่ให้เยอะจนเกินไป ไม่เช่นนั้นราคาก็จะลดลงอีก
ที่มา แนวหน้า http://www.naewna.com/politic/280152
.......................................
พ้มเติบโตมากับสวนยาง เรียนจบมากับสวนยาง ตอนยาง กก.ละ 10 กว่าบาท มังคุด ราคา กก.ละประมาณ 7-8 บาท ทุเรียนพันธ์เพิ่งจะรู้จัก
หลายปีก่อนพ้มได้ยินกับพูด ที่ฟังแล้วให้ได้คิด "ยาง เปรียบเสมือนเงินสด(รายวัน) ผลไม้เหมือนโบนัส (รายปี)"
เกษตรกรสวยางทางภาคใต้ ที่เป็นเจ้าของสวนยางรายใหญ่แทบนับหัวได้ ส่วนรายย่อยนั้นมีมากเกินนับได้
เมื่อชาวสวนยางรายย่อยมากกว่ารายใหญ่ การปรับเปลียนอาชีพแต่ละครั้งก็ต้องกูหนี้ยืมสินมาลงทุนโดยมี ธกส.เป็นแหล่งทุน
พ้มจำได้ ครั้งหนึ่งเราถูกส่งเสริมให้ปลูกโกโก้ ต่อมา กาแฟ ให้ปรับเปลียนจากสวนสมรม มาเป็นสวนเชิงเดี่ยว ทุเรียนบ้านต้นโตเท่านขนาดหนึ่งคนโอบ
ไปจนถึง 2-3 คน โอบ ถูกทยอยตัดโค่น ขึ้นรถบรรทุกสิบล้อออกจากหมู่บ้านพ้มวันละหลายเที่ยว ทุเรียนพันธ์เริ่มเข้ามา สางสาดเขาบอกราคาไม่ดี
รสชาดไม่อร่อย ให้ปลูกลองกองแทน เงาะบ้านเริ่มหาย เงาะโรงเรียนเข้ามาแทน ยางพาราพันธ์พื้นเมืองน้ำยางออกน้อย ถูกปรับเปลียนเป็นยางพันธ์ดี
พืชดังเดิมจากที่ไม่เคยได้รับปุ๋ยเคมี เริ่มได้รับปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า กรัมม็อกโซน ราวอัพ แกนลอนยาฉีด กองทุนสวนยางมีให้เอาไปใช้ก่อนผ่อนที่หลัง
ชาวบ้านถูกต้อนเข้าโรงเรียนมีการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือการปลูกยางแบบขั้นบันได จากสวนยางพื้นเมืองปลูกด้วยเมล็ดตามไหล่ มีรากยั่งลึก
มีรากแก้ว เป็นยางพันธ์ดีชำถุงไม่มีรากแก้ว เข้ามาแทนที่ หลายปีผ่านไปน้ำท่วมกระทูนชาวสวนยางตกเป็นจำเลยบุกรุกป่า และหลังจากนั้นชาวสวนยาง
ก็ตกเป็นจำเลยทุกครั้งที่ดินถล่มภูเขาพัง
มาบัดนี้ เศรษกิจตกต่ำราคายางถูก ....พวกเราก็ยังตกเป็นเบี้ยล่างให้คนในรัฐบาลได้เปรียบเปรยในทางลบ
แล้วใครกันที่ส่งเสริมให้เราเป็นอย่างนี้ ไม่มีใคร อยากเป็นที่เป็นอยู่ อย่างทุกวันนี้หรอกครับ..
แล้วคุณทั้งหลายที่ทำตามคำแนะนำของภาครัฐวันนี้ .....วันหน้าก็คงไม่พ้นเหมือนพวกพ้มชาวสวนยางวันนี้...