วันนี้ขอนำเสนออุปกรณ์อย่างหนึ่งประจำครัวไฟภาคอีสานในสมัยก่อน คือ "คีไฟ"
ในเฮือนไทยภาคอีสานที่ยกพื้นสูงนั้น จะมีเตาไฟสำหรับประกอบอาหารด้วยฟืน เรียกว่า "คีไฟ" โดยมักจะทำเป็นพื้นที่ปรุงอาหารเฉพาะ ยาว 1 วา กว้าง 2 ศอก (1 วา = 4 ศอก 1 ศอก = 50 ซม.) ไว้กลางครัวไฟ ทำเป็นกรอบไม้ 6-8 นิ้ว ปูพื้นด้วยไม้ และใช้ดินเหนียวปั้นเป็นเตา เตาที่เห็นมาก็จะมีลักษณะเหมือนสามเส้าบ้าง (เอาก้อนหินสามก้อนมาตั้งเหมือนวิชาลูกเสือ) ทำขาเหล็กขึ้นมาบ้าง และเหนือคีไฟประมาณเมตรครึ่ง จะทำเป็นหิ้งไว้แขวนเมล็ดพืชหรือสิ่งของที่ไม่ต้องการให้มีมอดมารบกวน เพราะควันไฟจากคีไฟจะรมควันเมล็ดพืชเหล่านั้น รวมถึงฝาครัวไฟที่มักทำจากไม้ไผ่ก็จะปลอดภัยจากมอดเช่นกัน
แต่ทีนี้ ครัวไฟผมก็ไม่ได้กว้าง การที่จะทำคีไฟตามแบบสมัยโบราณนั้น กินที่ไปเกือบครึ่งของห้องครัว งานนี้จึงต้องทำคีไฟขนาดจิ๋ว จุดประสงค์หลักเพื่อต้มน้ำร้อนกินกาแฟในเช้าวันหยุด และที่เจ๋งกว่านั้นคือ มันต้องเคลื่อนย้ายได้ด้วย เผื่อยกเอาไปกินหมูจุ่มกลางบ้านยามค่ำ ๆ จะได้ยกได้สะดวกโยธิน
เมื่อวานผมว่าง ๆ ก็เลยยกเครื่องมือออกมาทำ ผมใช้เศษไม้ที่เหลือจากการสร้างเรือนมาทำคีไฟ โดยกำหนดขนาดให้เล็กลงเหลือขนาดเพียงกว้างยาวด้านละ 1 ศอกเท่านั้น เพียงพอจะวางเตาดินเผา (ไม่ได้ใช้ดินเหนียวมาปั้นแบบโบราณ เอาเตาดินเผาที่มีขายนี่แหละมาวางเลย) ด้วยฝีมือช่างไม้ระดับสุดยอดของผม (เลื่อยด้วยมือยังไม่ค่อยจะตรงเลยคิดดู อิอิ) ผมตัดไม้ขึ้นรูปกระบะ ไม้ที่ใช้คือเศษไม้ฝากว้าง 6 นิ้ว ตัด ๆ ขัด ๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง คีไฟของผมก็เสร็จเรียบร้อย
อาจจะไม่เหมาะสมกับบ้านในเมืองหรือในหมู่บ้านนักนะครับ เพราะควันไฟหรือฝุ่นขี้เถ้าอาจรบกวนเพื่อนบ้าน แต่ในเขตบ้านนอกอย่างบ้านผม ไม่มีปัญหา สบาย ๆ ครับ และก็ไม่ได้ใช้ทำกับข้าวเป็นหลัก เพราะกับข้าวจะทำกินที่บ้านยาย
โดยวิถีชีวิตส่วนตัวผมก่อนจะปลูกบ้าน ผมก็จุดเตาฟืนต้มน้ำร้อนชงกาแฟในวันหยุดอยู่แล้ว สร้างบ้านเสร็จก็ถือโอกาสเอาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวอีสานมาใช้เสียเลย อย่างน้อยก็ซ้อมเอาไว้เผื่อไฟดับ น้ำท่วม จะได้ไม่อดตาย 555
ชีวิตคนเราสั้นนัก สิ่งใดทำแล้วมีความสุขก็ทำกันไปครับ ถือซะว่าอ่านเล่นพอเพลิน ๆ นะครับ
---------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ แต่ในภาคอื่น ๆ ผมไม่ทราบว่าเรียกเตาแบบนี้ว่าอะไร บ้านพ่อผมตั้งแต่เด็ก ๆ มาก็ใช้เตาอั้งโล่สำหรับทำกับข้าว ไม่มีกระบะแบบนี้ จากการค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก็พบว่ากระบะเตาไฟนี้ มีในภาคเหนือ ภาคอีสาน แม้แต่ในคุ้มขุนแผนซึ่งเป็นบ้านเรือนไทยภาคกลางที่จังหวัดอยุธยาก็ยังมีกระบะเตาไฟแบบนี้ตั้งแสดงอยู่ครับ ก็น่าจะใช้กันแพร่หลายพอสมควร ข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัยนะครับ เพราะไม่ได้ค้นจากหนังสือเลย ค้นจาก internet เพียงอย่างเดียวนี่แหละครับ
วันนี้ขอนำเสนออุปกรณ์ประจำครัว "คีไฟ"
วันนี้ขอนำเสนออุปกรณ์อย่างหนึ่งประจำครัวไฟภาคอีสานในสมัยก่อน คือ "คีไฟ"
ในเฮือนไทยภาคอีสานที่ยกพื้นสูงนั้น จะมีเตาไฟสำหรับประกอบอาหารด้วยฟืน เรียกว่า "คีไฟ" โดยมักจะทำเป็นพื้นที่ปรุงอาหารเฉพาะ ยาว 1 วา กว้าง 2 ศอก (1 วา = 4 ศอก 1 ศอก = 50 ซม.) ไว้กลางครัวไฟ ทำเป็นกรอบไม้ 6-8 นิ้ว ปูพื้นด้วยไม้ และใช้ดินเหนียวปั้นเป็นเตา เตาที่เห็นมาก็จะมีลักษณะเหมือนสามเส้าบ้าง (เอาก้อนหินสามก้อนมาตั้งเหมือนวิชาลูกเสือ) ทำขาเหล็กขึ้นมาบ้าง และเหนือคีไฟประมาณเมตรครึ่ง จะทำเป็นหิ้งไว้แขวนเมล็ดพืชหรือสิ่งของที่ไม่ต้องการให้มีมอดมารบกวน เพราะควันไฟจากคีไฟจะรมควันเมล็ดพืชเหล่านั้น รวมถึงฝาครัวไฟที่มักทำจากไม้ไผ่ก็จะปลอดภัยจากมอดเช่นกัน
แต่ทีนี้ ครัวไฟผมก็ไม่ได้กว้าง การที่จะทำคีไฟตามแบบสมัยโบราณนั้น กินที่ไปเกือบครึ่งของห้องครัว งานนี้จึงต้องทำคีไฟขนาดจิ๋ว จุดประสงค์หลักเพื่อต้มน้ำร้อนกินกาแฟในเช้าวันหยุด และที่เจ๋งกว่านั้นคือ มันต้องเคลื่อนย้ายได้ด้วย เผื่อยกเอาไปกินหมูจุ่มกลางบ้านยามค่ำ ๆ จะได้ยกได้สะดวกโยธิน
เมื่อวานผมว่าง ๆ ก็เลยยกเครื่องมือออกมาทำ ผมใช้เศษไม้ที่เหลือจากการสร้างเรือนมาทำคีไฟ โดยกำหนดขนาดให้เล็กลงเหลือขนาดเพียงกว้างยาวด้านละ 1 ศอกเท่านั้น เพียงพอจะวางเตาดินเผา (ไม่ได้ใช้ดินเหนียวมาปั้นแบบโบราณ เอาเตาดินเผาที่มีขายนี่แหละมาวางเลย) ด้วยฝีมือช่างไม้ระดับสุดยอดของผม (เลื่อยด้วยมือยังไม่ค่อยจะตรงเลยคิดดู อิอิ) ผมตัดไม้ขึ้นรูปกระบะ ไม้ที่ใช้คือเศษไม้ฝากว้าง 6 นิ้ว ตัด ๆ ขัด ๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง คีไฟของผมก็เสร็จเรียบร้อย
อาจจะไม่เหมาะสมกับบ้านในเมืองหรือในหมู่บ้านนักนะครับ เพราะควันไฟหรือฝุ่นขี้เถ้าอาจรบกวนเพื่อนบ้าน แต่ในเขตบ้านนอกอย่างบ้านผม ไม่มีปัญหา สบาย ๆ ครับ และก็ไม่ได้ใช้ทำกับข้าวเป็นหลัก เพราะกับข้าวจะทำกินที่บ้านยาย
โดยวิถีชีวิตส่วนตัวผมก่อนจะปลูกบ้าน ผมก็จุดเตาฟืนต้มน้ำร้อนชงกาแฟในวันหยุดอยู่แล้ว สร้างบ้านเสร็จก็ถือโอกาสเอาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวอีสานมาใช้เสียเลย อย่างน้อยก็ซ้อมเอาไว้เผื่อไฟดับ น้ำท่วม จะได้ไม่อดตาย 555
ชีวิตคนเราสั้นนัก สิ่งใดทำแล้วมีความสุขก็ทำกันไปครับ ถือซะว่าอ่านเล่นพอเพลิน ๆ นะครับ
---------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ แต่ในภาคอื่น ๆ ผมไม่ทราบว่าเรียกเตาแบบนี้ว่าอะไร บ้านพ่อผมตั้งแต่เด็ก ๆ มาก็ใช้เตาอั้งโล่สำหรับทำกับข้าว ไม่มีกระบะแบบนี้ จากการค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก็พบว่ากระบะเตาไฟนี้ มีในภาคเหนือ ภาคอีสาน แม้แต่ในคุ้มขุนแผนซึ่งเป็นบ้านเรือนไทยภาคกลางที่จังหวัดอยุธยาก็ยังมีกระบะเตาไฟแบบนี้ตั้งแสดงอยู่ครับ ก็น่าจะใช้กันแพร่หลายพอสมควร ข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัยนะครับ เพราะไม่ได้ค้นจากหนังสือเลย ค้นจาก internet เพียงอย่างเดียวนี่แหละครับ