ผมมีเรื่องจะสอบถามผู้ที่มีความรู้เรื่องอากาศยานครับ เกี่ยวกับฟ้าผ่าเครื่องบิน

กระทู้คำถาม
ผมรู้ว่าเครื่องบินเองเมื่อถูกฟ้าผ่าแล้วจะมีตัวที่ว่า Static Discharg เป็นตัวที่จะช่วยในการคายประจุไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้น และเมื่อเราอยู่บนอากาศยานตอนฝนตกหนักและเกิดฟ้าผ่า เครื่องบินทำจากโลหะเป็นตัวนำไฟฟ้ารอบลำ เวลาเครื่องบินถูกฟ้าผ่ากระแสจะไหลอยู่แต่ภายนอกผิวโลหะเท่านั้น คนนั่งอยู่ข้างในปลอดภัย และผมก็เกิด คำถามว่าถ้าเครื่องบินที่ทำมาจากวัสดุประเภท composite (โบอิ้ง 787 Dreamliner และแอร์บัส A350XWB) ที่ส่วนมากไม่เป็นโลหะเกิบมันจะเป็นยังไง และไอ้ Static Discharg  ยังมีเหมือนเดิมใช่รึป่าว เดี่ยวกับเครื่องบินที่เป็นโลหะไหม หรือว่าจะเปลียนวัสดุในการสร้างตัวStatic Discharg ขึ้นมาใหม่ รบกวนผู้รุ้มาตอบหน่อยครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
1)  ตาม คห # 3 ครับ , ลำตัวของเครื่องบินรุ่นใหม่ๆที่ผลิตจาก Composite ชั้นนอกจะเป็นชั้นที่หุ้มด้วยเส้นใยที่ผลิตจากวัสดุที่นำไฟฟ้าได้ เมื่อเครื่องบินถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าจะกระจายไปตามชั้นที่นำไฟฟ้านี้ครับ  

2) static discharger มีหน้าที่คลายประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีระหว่างผิวของเครื่องบินกับอากาศและความชื้น ถ้าหากเครื่องบินไม่มี static discharger ประจุไฟฟ้าเหล่านี้ก็จะกระโดดไม่เป็นทิศไม่เป็นทาง และมักจะไปสะสมและกระโดดออกตามส่วนที่เป็นเสาอากาศแหลมๆ ทำให้เกิดคลื่นรบกวนทางวิทยุ จุดประสงค์ของ static discharger คือจัดระเบียบให้ประจุไฟฟ้าคลายตัวตามทิศทางที่ต้องการ คือด้านท้ายของปีกและแพนหาง ทั้งนี้ก็เพื่อการป้องกันการรบกวนของคลื่นวิทยุ ไม่ได้มีหน้าที่ป้องกันฟ้าผ่าแต่อย่างไดครับ

3) เครื่องบินรุ่นใหม่ๆที่ลำตัวสร้างด้วยวัสดุ Composite อย่างเช่น B787 และ A350 ก็ยังมี ststic dischargers เหมือนเครื่องบินรุ่นเก่าๆครับ  ตามเหตุผลในข้อ 2.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่