อาจมาแน่! Thai Social Network หากไม่สามารถควบคุม Social Network ไม่ได้ : เตรียมจับมือกับรัสเซีย

จากข่าวล่าสุด

"สปท.เสนอวิธีคุมโซเชียลมีเดีย เล่นเฟซบุ๊กต้องใช้สแกนลายนิ้วมือ-ใบหน้า-เลขบัตร ปชช. จัดอบรมพระสงฆ์เป็นต้นแบบ ‘การรู้เท่าทันสื่อ’"

ข้อเสนอของ กสทช. เรื่องกำกับสื่อ OTT ที่ว่าดุเด็ดเผ็ดร้อนแล้ว อาจจะต้องหลีกทางให้กับสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ (สปท.) ด้านสื่อมวลชน ที่วันนี้เสนอรายงานว่าด้วยการปฏิรูปสื่อโซเชียลมีเดีย เชื่อว่าถ้าหากใครได้ฟังแล้วก็ไม่รู้จะหาคำบรรยายไหนมาขอบคุณความหวังดีที่เค้ามีให้กับเรา
.
ในรายงานฉบับนี้ของ สปท. ด้านสื่อฯ อธิบายว่า สังคมโซเชียลมีเดียทุกวันนี้มีปัญหาเต็มไปหมด คนติดโซเชียลมีเดียกันงอมแงม จนกลายเป็นภาวะ ‘สังคมก้มหน้า’ แถมคนที่เล่นจำนวนมากยังขาดความรู้เท่าทันสื่ออีก เค้าเป็นห่วงว่า “คนไทยขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้สิทธิเสรีภาพการสื่อสาร บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ขาดมาตรฐานจริยธรรมในการสื่อออนไลน์” จนส่งผลกระทบต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสถาบันหลักของประเทศ (ยิ่งเค้าขยี้เราก็ยิ่งรู้สึกผิดขึ้นมาเนอะ)
.
ด้วยความเป็นห่วงเป็นใย สปท.เลยสนับสนุนให้มีวิธีปฏิรูปโซเชียลมีเดียสารพัดรูปแบบ เช่น
.
-ใช้หมายเลขบัตรประชาชนยืนยันตัวตนในการใช้สื่อออนไลน์
สปท. เชื่อว่า จะช่วยสร้างผลทางจิตวิทยาทำให้ผู้ไม่หวังดี ไม่กล้าใช้สื่อออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊กในการทำผิดกฎหมายได้ (แต่ก็น่าตั้งคำถามว่าวิธีการนี้ก็ครอบคลุมไปถึงคนที่ไม่ได้ทำผิดด้วยรึเปล่า?) จึงเสนอว่า กสทช. ควรไปประสานงานกับผู้ให้บริการเฟซบุ๊คเพื่อผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นจริง
.
-ต้องจัดระบบการเข้าถึงสื่อออนไลน์ผ่านมือถือ
เนื่องจากคนไทยมีผู้ใช้มือถือประมาณ 90 ล้านเครื่องโดยมีมากกว่า 50 ล้านเครื่องที่เล่นโซเชียลมีเดียได้ มาตรการที่ สปท. แนะนำคือ ต้องจัดระเบียบการลงทะเบียนมือถือใหม่โดยสนับสนุนให้ กสทช. ใช้ลายนิ้วมือ ใบหน้า ควบคู่กับการลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชน ซึ่งโมเดลนี้เคยทดลองใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาแล้ว และ สปท.เห็นว่าควรนำมาใช้กับผู้ใช้มือถือและโซเชียลมีเดียทั้งประเทศ
.
-จัดตั้ง ‘ศูนย์กลางบริหารจัดการข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ’
สปท.มองว่า ที่ผ่านมาข้อมูลของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีลักษณะที่ผู้ให้บริการต่างคนก็ต่างเก็บ ไม่เคยมีศูนย์กลางที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน จึงเสนอให้ กสทช. เป็นเจ้าภาพจัดตั้งศูนย์แห่งนี้ขึ้นมา และต้องทำงานแบบ ‘ทันสมัย’ อยู่เสมอ พร้อมเอื้อประโยชน์ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลาและจากทุกพื้นที่ เพื่อดูว่ามีใครทำผิดกฎหมายหรือไม่
.
-เพิ่มประสิทธิภาพ ‘ศูนย์กลางเฝ้าระวัง’
ในรายงานระบุว่า สื่อเฝ้าระวังสื่อสังคมออนไลน์ของ ปอท.ที่มีอยู่แล้วควรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรมีเทคโนโลยีตรวจสอบใบหน้า ข้อความ รูปภาพ คลิปเสียงออนไลน์ทุกประเภท เพื่อนำไปสู่การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างการทำงานใน ปอท. ให้มีทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วย
.
ในระยะยาว สปท. เสนอว่า หลายกระทรวงควรร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากโซเชียลมีเดีย ข้อเสนอที่น่าสนใจที่สุดดูเหมือนจะอยู่ที่การให้กระทรวงวัฒนธรรมจัดอบรม พระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช ให้เป็น ‘ต้นแบบ’ ในการช่วยเผยแพร่วิธีการใช้สื่อออนไลน์ในทางที่เหมาะสมและสร้างสรรค์ รวมถึง การสอดแทรกเนื้อหาด้านคุณธรรมและจริยธรรมลงไปด้วย
.
อีกหนึ่งในข้อเสนอระยะยาวคือ รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการผลิตซอฟต์แวร์ที่ใช้งานในสื่อโซเชียลมีเดียเป็นของตัวเอง เพราะการพึ่งพาแต่โซเชียลมีเดียของต่างชาติ มีแต่ทำให้เกิดความสูญเสียด้านการกำกับดูแลที่กฎหมายไทยไปไม่ถึง อีกทั้ง ยังไม่สามารถแก้ปัญหาการใช้สื่อได้โดยง่าย และทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีจำนวนมาก
.
นอกจากนี้ สปท. ยังมองเห็นว่า ตอนนี้มีปัญหา Cyber Bullying เกิดขึ้น สิ่งที่ควรป้องกันคือ กระทรวงดิจิทัลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ‘ควรให้ความรู้และเตือนสติกับผู้ตกเป็นเหยื่อ’ ไม่ให้คนเหล่านั้นแสดงความโกรธแค้น หรือแสดงตอบโต้กลับด้วยความรุนแรง อันอาจทำให้เกิดการละเมิดกฎหมายขึ้นได้
.
สรุปแล้วก็คือ สปท. เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดียทุกวันนี้ มาจากการไม่รู้เท่าทันสื่อและผู้ใช้ตั้งใจละเมิดกฎหมาย วิธีการที่ต้องแก้ไขคือ เพิ่มความเข้มข้นในการควบคุมสื่อบนโลกออนไลน์มากขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น ‘ความหวังดี’ จาก สปท. ในวันนี้
.
ซึ่งก็ต้องตั้งคำถามกันต่อไปว่า ความหวังดีเหล่านี้จะได้ผลดีๆ หรือได้ปัญหาที่หนักหนากว่าเดิมกลับคืนมา? นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตด้วยว่า ข้อเสนอเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ได้จริงแค่ไหน เพราะเรื่องสแกนนิ้วและมาตรการต่างๆ อาจอยู่นอกเหนืออำนาจของ กสทช.ด้วยเช่นกัน
.
อ้างอิงจาก
รายงานกรรมาธิการ สปท. ด้านสื่อสารมวลชน

ที่มา : https://www.facebook.com/thematterco/photos/a.1735876059961122.1073741831.1721313428084052/1905535966328463/?type=3&theater

กสทช. ชงเรื่องเสนอนายกฯ ร่วมกับรัสเซียเพื่อสร้าง Social Network ของไทย

กสทช. และสหพันธรัฐรัสเซีย ลงนามความร่วมมือด้านโทรคมนาคม โดยรัสเซียเสนอแนวทางตั้งโฮลดิงคัมพานีร่วมกัน ให้ไทยถือหุ้น 51% และรัสเซีย 49% เพื่อสร้างแพลทฟอร์ม Social Network แอปแซท และเว็บค้นหาข้อมูลสำหรับใช้เองภายในประเทศ ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าจะสรุปเรื่องนี้ให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. ที่ผ่านมาคณะของกสทช. ได้เข้าร่วมประชุมและลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กสทช. และกระทรวงโทรคมนาคมและการสื่อสารมวลชนสหพันธรัฐรัสเซีย (Ministry of Telecom and Mass Communications of the Russian Federation) ที่กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย โดยสาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้คือ พูดคุยเรื่องการลดค่าบริการข้ามแดนระหว่างไทยกับรัสเซีย โดยมีตัวแทนจากทรูพูดคุยกับผู้ให้บริการหลัก 4 รายของรัสเซีย นอกจากนี้ยังมีแลกเปลี่ยนความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และความร่วมมือด้านทีวีดิจิทัล

Social Network ของไทย


กสทช. และสหพันธรัฐรัสเซีย ลงนามความร่วมมือด้านโทรคมนาคม โดยรัสเซียเสนอแนวทางตั้งโฮลดิงคัมพานีร่วมกัน ให้ไทยถือหุ้น 51% และรัสเซีย 49% เพื่อสร้างแพลทฟอร์ม Social Network แอปแซท และเว็บค้นหาข้อมูลสำหรับใช้เองภายในประเทศ ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าจะสรุปเรื่องนี้ให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. ที่ผ่านมาคณะของกสทช. ได้เข้าร่วมประชุมและลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กสทช. และกระทรวงโทรคมนาคมและการสื่อสารมวลชนสหพันธรัฐรัสเซีย (Ministry of Telecom and Mass Communications of the Russian Federation) ที่กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย โดยสาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้คือ พูดคุยเรื่องการลดค่าบริการข้ามแดนระหว่างไทยกับรัสเซีย โดยมีตัวแทนจากทรูพูดคุยกับผู้ให้บริการหลัก 4 รายของรัสเซีย นอกจากนี้ยังมีแลกเปลี่ยนความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และความร่วมมือด้านทีวีดิจิทัล

ประเด็นที่น่าสนใจคือ นายนิโคลัย นิกิโฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโทรคมนาคม และการสื่อสารมวลชนของรัสเซีย เสนอให้ไทยและรัสเซียตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อให้บริการโซเซียลเน็ตเวิร์ค แชท และเว็บค้นหาเป็นของตัวเอง โดยนำแพลทฟอร์มของรัสเซียที่ได้รับความนิยมในยุโรปอย่าง vk.com (โซเซียลเน็ตเวิร์ค), Yandex.com (เว็บค้นหา) มาพัฒนาเพื่อใช้ในประเทศไทย

รัสเซียมองว่าที่ผ่านมาไทยมีปัญหาไม่สามารถจัดเก็บรายได้จากการเครือข่ายของต่างประเทศไทยได้เลย ซึ่งแต่ละปีมีเงินตราไหลออกนอกประเทศมากกว่าหมื่นล้านบาท (เช่นซื้อโฆษณา google, facebook) โดยที่รัฐบาลไทยไม่สามารถเก็บภาษีได้เลย แต่การที่มี Social Network ของไทยเอง ก็ทำให้จัดเก็บรายได้ได้ง่ายขึ้น

โดยกสทช. จะนำเรื่องนี้เสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และทางฝั่งรัสเซียก็จะเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และเสนอต่อให้นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซียต่อไป โดยคาดว่าในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก (APEC) จะมีการพูดคุยเรื่องนี้กันต่อระหว่างผู้นำไทยและรัสเซีย


ที่มา : https://www.beartai.com/news/it-thai-news/172650
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่