นายไมค์ โรเจอร์ส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรครีพับลิกันจากรัฐแอละบามา ร่วมกับนายจิม คูเปอร์ ส.ส.เดโมแครตจากรัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา เสนอร่างรัฐบัญญัติจัดตั้งกองกำลังรบใหม่ในอวกาศขึ้นมาให้มีสถานะเป็นกองทัพอิสระขึ้นภายในวันที่ 1 มกราคม 2019 ทำนองเดียวกับกองพลนาวิกโยธินซึ่งอยู่ในสังกัดกองทัพเรือในเวลานี้
บทบัญญัติดังกล่าวถูกเพิ่มเติมเข้าไปในร่างรัฐบัญญัติซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่า รัฐบัญญัติว่าด้วยการกำหนดอำนาจด้านกลาโหมแห่งชาติ (เอ็นดีเอเอ) โดยคณะอนุกรรมาธิการกองกำลังยุทธศาสตร์ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการทหารในอวกาศ ซึ่งผู้เสนอทำหน้าที่อยู่ในเวลานี้
ตามบทบัญญัติในร่างกฎหมายดังกล่าวนี้ กำหนดให้กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (ซึ่งมีสถานะเป็นทบวงเทียบเท่ากระทรวง มีรัฐมนตรีพลเรือนทำหน้าที่บริหารสูงสุด) จัดตั้งกองกำลัง “กองพลอวกาศ” หรือ “สเปซ คอร์ปส์” ขึ้นเป็นกองทัพอิสระ แต่อยู่ในสังกัดกองทัพอากาศ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นลักษณะของการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้นในทำนองเดียวกับที่กองพลนาวิกโยธินซึ่งแยกเป็นอิสระ แต่อยู่ในสังกัดกองทัพเรือ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีทบวงกองทัพเรือ (เช่นเดียวกันกับกองทัพบก) โดยทั้งหมดจะอยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหม (เพนตากอน) อีกชั้นหนึ่ง แต่ปฏิบัติการภายใต้คำสั่งประธานาธิบดี ซึ่งถือเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ส.ส.โรเจอร์และคูเปอร์ ให้เหตุผลในถ้อยแถลงจัดตั้งกองทัพใหม่ขึ้นมาว่า เป็นเพราะข้อเท็จจริงที่ว่าภาวะการได้เปรียบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในห้วงอวกาศของสหรัฐอเมริกาที่เคยมีนั้นกำลังเสื่อมทรามลงตามลำดับ และเชื่อว่าเพนตากอนไม่สามารถดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเฉียบขาด แม้แต่การตระหนักถึงขนาดและธรรมชาติของความท้าทายใหม่นี้ จึงจำเป็นต้องจัดตั้งกองกำลังใหม่นี้ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ
กองพลอวกาศนี้จะรับผิดชอบในโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงของชาติในห้วงอวกาศ ซึ่งปัจจุบันเป็นพันธกิจของกองทัพอากาศอยู่แล้ว
กองพลอวกาศจะมีสถานะเทียบเท่ากองทัพ โดยมีเสนาธิการกองพลเป็นผู้บัญชาการ วาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี มีสถานะเทียบเท่าเสนาธิการกองทัพอากาศ แต่จะขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศ และตามบทบัญญัติในร่างกฎหมายดังกล่าว จะมีการจัดตั้ง “กองบัญชาการกองพลอวกาศ” ขึ้นตามมาเป็นหน่วยงานย่อยในสังกัดกองบัญชาการเชิงยุทธศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (ยูเอส คอมมานด์) มีภารกิจสำคัญคือการบูรณาการภารกิจในห้วงอวกาศใดๆ มาใช้เพื่อกิจการทางทหารหรือการทำสงครามได้นั่นเอง
บทบัญญัติดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบในชั้นกรรมาธิการกิจการกองทัพเต็มคณะของสภา ก่อนที่จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา ต่อด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบของสภาซีเนต หรือวุฒิสภาต่อไป
ตามรายงานข่าวระบุว่า พลอากาศเอก เดวิด โกลด์ฟีน เสนาธิการทบวงกองทัพอากาศ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดความสับสน และทำให้การดำเนินการใดๆ ด้านนี้ต้องชะลอช้าออกไปเพื่อรอการจัดองค์กร แต่กลับได้รับการสนับสนุนเต็มที่จากฝ่ายการเมืองคือ นายฮีเธอร์ วิลสัน รัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศ
หากทุกอย่างเป็นไปตามข้อเสนอนี้ สหรัฐอเมริกาก็จะมีเหล่ากำลังรบเหล่าที่ 5 เกิดขึ้นนอกเหนือจาก นาวิกโยธิน, กองทัพบก, กองทัพอากาศ และกองทัพเรือแล้ว
และเป็นไปได้ที่จะนำสงครามขึ้นสู่ห้วงอวกาศอย่างเป็นทางการในอนาคต
สหรัฐเล็งก่อตั้ง ‘กองพลอวกาศ’
บทบัญญัติดังกล่าวถูกเพิ่มเติมเข้าไปในร่างรัฐบัญญัติซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่า รัฐบัญญัติว่าด้วยการกำหนดอำนาจด้านกลาโหมแห่งชาติ (เอ็นดีเอเอ) โดยคณะอนุกรรมาธิการกองกำลังยุทธศาสตร์ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการทหารในอวกาศ ซึ่งผู้เสนอทำหน้าที่อยู่ในเวลานี้
ตามบทบัญญัติในร่างกฎหมายดังกล่าวนี้ กำหนดให้กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (ซึ่งมีสถานะเป็นทบวงเทียบเท่ากระทรวง มีรัฐมนตรีพลเรือนทำหน้าที่บริหารสูงสุด) จัดตั้งกองกำลัง “กองพลอวกาศ” หรือ “สเปซ คอร์ปส์” ขึ้นเป็นกองทัพอิสระ แต่อยู่ในสังกัดกองทัพอากาศ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นลักษณะของการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้นในทำนองเดียวกับที่กองพลนาวิกโยธินซึ่งแยกเป็นอิสระ แต่อยู่ในสังกัดกองทัพเรือ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีทบวงกองทัพเรือ (เช่นเดียวกันกับกองทัพบก) โดยทั้งหมดจะอยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหม (เพนตากอน) อีกชั้นหนึ่ง แต่ปฏิบัติการภายใต้คำสั่งประธานาธิบดี ซึ่งถือเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ส.ส.โรเจอร์และคูเปอร์ ให้เหตุผลในถ้อยแถลงจัดตั้งกองทัพใหม่ขึ้นมาว่า เป็นเพราะข้อเท็จจริงที่ว่าภาวะการได้เปรียบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในห้วงอวกาศของสหรัฐอเมริกาที่เคยมีนั้นกำลังเสื่อมทรามลงตามลำดับ และเชื่อว่าเพนตากอนไม่สามารถดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเฉียบขาด แม้แต่การตระหนักถึงขนาดและธรรมชาติของความท้าทายใหม่นี้ จึงจำเป็นต้องจัดตั้งกองกำลังใหม่นี้ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ
กองพลอวกาศนี้จะรับผิดชอบในโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงของชาติในห้วงอวกาศ ซึ่งปัจจุบันเป็นพันธกิจของกองทัพอากาศอยู่แล้ว
กองพลอวกาศจะมีสถานะเทียบเท่ากองทัพ โดยมีเสนาธิการกองพลเป็นผู้บัญชาการ วาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี มีสถานะเทียบเท่าเสนาธิการกองทัพอากาศ แต่จะขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศ และตามบทบัญญัติในร่างกฎหมายดังกล่าว จะมีการจัดตั้ง “กองบัญชาการกองพลอวกาศ” ขึ้นตามมาเป็นหน่วยงานย่อยในสังกัดกองบัญชาการเชิงยุทธศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (ยูเอส คอมมานด์) มีภารกิจสำคัญคือการบูรณาการภารกิจในห้วงอวกาศใดๆ มาใช้เพื่อกิจการทางทหารหรือการทำสงครามได้นั่นเอง
บทบัญญัติดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบในชั้นกรรมาธิการกิจการกองทัพเต็มคณะของสภา ก่อนที่จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา ต่อด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบของสภาซีเนต หรือวุฒิสภาต่อไป
ตามรายงานข่าวระบุว่า พลอากาศเอก เดวิด โกลด์ฟีน เสนาธิการทบวงกองทัพอากาศ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดความสับสน และทำให้การดำเนินการใดๆ ด้านนี้ต้องชะลอช้าออกไปเพื่อรอการจัดองค์กร แต่กลับได้รับการสนับสนุนเต็มที่จากฝ่ายการเมืองคือ นายฮีเธอร์ วิลสัน รัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศ
หากทุกอย่างเป็นไปตามข้อเสนอนี้ สหรัฐอเมริกาก็จะมีเหล่ากำลังรบเหล่าที่ 5 เกิดขึ้นนอกเหนือจาก นาวิกโยธิน, กองทัพบก, กองทัพอากาศ และกองทัพเรือแล้ว
และเป็นไปได้ที่จะนำสงครามขึ้นสู่ห้วงอวกาศอย่างเป็นทางการในอนาคต