สหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศที่มีประเพณีพลเรือนควบคุมทหารอย่างเข้มแข็ง โดยประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่มีอำนาจเต็ม (สำหรับประเทศไทยผู้บัญชาการทหารสูงสุดมักไม่มีอำนาจ เพราะอำนาจมักอยู่ในมือผู้บัญชาการกองทัพบก เนื่องจากกองทัพบกมีกำลังพลมากที่สุดนั่นเอง) และมีกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เป็นองค์กรหลัก ซึ่งนำนโยบายทางทหารไปปฏิบัติ กระทรวงกลาโหมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นพลเรือนและอยู่ในคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้ากระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในอันดับที่สองของสายการบังคับบัญชาของทหาร รองแต่เพียงประธานาธิบดี และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหลักของประธานาธิบดีในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ
นอกจากผู้บังคับบัญชาทหารโดยตรง 2 คนที่สูงสุดแล้วก็ยังมีรัฐมนตรีทบวงกองทัพอีก 3 คนที่เป็นผู้ยังคับบัญชาทหารแต่ละกองทัพโดยตรง คือ รัฐมนตรีทบวงทหารบก (นายไรอัน แมคคาร์ธี คนที่เพิ่งมาเยือนประเทศไทยเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้) รัฐมนตรีทบวงทหารเรือ และรัฐมนตรีทบวงทหารอากาศ แล้วจึงถึงขั้นของทหารจริงๆ คือเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff) 7 คน ซึ่งก็ทำหน้าที่เป็นเสนาธิการคือเป็นที่ปรึกษาช่วยในการวางแผนต่างๆ ให้ฝ่ายบริหารคือ ประธานาธิบดี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตลอดจนรัฐมนตรีทบวงกองทัพสั่งการนั่นเอง
ในเมื่อการควบคุมบังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพอยู่ในมือของพลเรือนถึง 3 ระดับคือ ประธานาธิบดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการทบวงกองทัพต่างๆ จึงทำให้การคิดที่จะทำรัฐประหารเกิดขึ้นได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้นบรรดารัฐมนตรีว่าการกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการทบวงกองทัพต่างๆ นั้นยังมีกฎหมายบังคับอีกว่าหากเคยเป็นทหารมาก่อนต้องถูกปลดประจำการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 7 ปี (อ้างใน National Security Act of 1947) แบบว่าไม่ให้เหลืออิทธิพลดั้งเดิมที่เคยอยู่เป็นทหารเลยก็ว่าได้
ที่มา:
https://www.matichon.co.th/article/news_1941199
ยังมีสาเหตุอื่นไหมที่ทำให้ อเมริกาไม่มีปัญหาการทำรัฐประหารโดยทหาร แล้วเราจะแก้ปัญหารัฐประหารได้อย่างไร
ทำไมกองทัพสหรัฐ ไม่เคยแม้แต่จะคิดที่จะทำรัฐประหาร
นอกจากผู้บังคับบัญชาทหารโดยตรง 2 คนที่สูงสุดแล้วก็ยังมีรัฐมนตรีทบวงกองทัพอีก 3 คนที่เป็นผู้ยังคับบัญชาทหารแต่ละกองทัพโดยตรง คือ รัฐมนตรีทบวงทหารบก (นายไรอัน แมคคาร์ธี คนที่เพิ่งมาเยือนประเทศไทยเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้) รัฐมนตรีทบวงทหารเรือ และรัฐมนตรีทบวงทหารอากาศ แล้วจึงถึงขั้นของทหารจริงๆ คือเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff) 7 คน ซึ่งก็ทำหน้าที่เป็นเสนาธิการคือเป็นที่ปรึกษาช่วยในการวางแผนต่างๆ ให้ฝ่ายบริหารคือ ประธานาธิบดี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตลอดจนรัฐมนตรีทบวงกองทัพสั่งการนั่นเอง
ในเมื่อการควบคุมบังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพอยู่ในมือของพลเรือนถึง 3 ระดับคือ ประธานาธิบดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการทบวงกองทัพต่างๆ จึงทำให้การคิดที่จะทำรัฐประหารเกิดขึ้นได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้นบรรดารัฐมนตรีว่าการกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการทบวงกองทัพต่างๆ นั้นยังมีกฎหมายบังคับอีกว่าหากเคยเป็นทหารมาก่อนต้องถูกปลดประจำการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 7 ปี (อ้างใน National Security Act of 1947) แบบว่าไม่ให้เหลืออิทธิพลดั้งเดิมที่เคยอยู่เป็นทหารเลยก็ว่าได้
ที่มา: https://www.matichon.co.th/article/news_1941199
ยังมีสาเหตุอื่นไหมที่ทำให้ อเมริกาไม่มีปัญหาการทำรัฐประหารโดยทหาร แล้วเราจะแก้ปัญหารัฐประหารได้อย่างไร