คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
หนูจ๋า ทำความเข้าใจใหม่นะคะ
กรดยูริก(uric acid) จะสะสมตามข้อต่างๆในร่างกายมนุษย์เท่านั้น ไม่ได้สะสมในข้อเนื้อสัตว์ค่ะ
พวกน้ำซุป น้ำพะโล้ที่เกิดจากการเคี่ยวนานๆ จะมีพิวรีนมากขึ้น
โดยสารพิวรีน เป็นทั้งสารที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เอง และได้จากอาหาร ซึ่งเมื่อร่างกายใช้สารพิวรีนแล้ว จะเหลือเป็นสารปลายทางที่เรียกว่า กรดยูริค (Uric acid)
ตัดทอนบางส่วนมาจาก blog เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ลองอ่านดูค่ะ
คนเราทุกวันนี้ ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสื่อมโทรมของร่างกาย จะปรากฎตามวันเวลาที่หมุนเวียนไปเรื่อยๆ
สมัยที่แป้งทำงานเป็นพยาบาลประจำแผนกผู้ป่วยนอก พบเจอผู้ป่วยสารพัดโรค โดยเฉพาะโรคเกาต์มักพบในเพศชายที่มีอายุเกิน 40 ปี ส่วนใหญ่มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย
อีกทั้งแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริก โดยเร่งกระบวนการสลายตัวของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต(adenosine triphosphate)ในเซลล์
โปรดทราบไว้ว่า การดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ จะมีผลทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีน(guanosine)ซึ่งเปลี่ยนแปรสภาพเป็นกรดยูริกในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนเพศหญิงที่เป็นโรคเกาต์ มักจะปรากฏอาการหลังจากเข้าสู่วัยทองเนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงโดยเฉพาะเอสโตรเจน จะควบคุมกรดยูริคในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ หืม! วัยทองแทบไม่มีอะไรดีเลย ร้อนวูบวาบ อารมณ์ฉุนเฉียว ผิวเหี่ยวแห้ง นอนไม่หลับ บางคนมีภาวะซึมเศร้า เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงอีกต่างหาก
โรคเกาต์ คือโรคปวดตามข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอาการปวดร้อนที่ข้อเข่า ข้อนิ้วเท้า หรือข้อเท้าอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน บางครั้งเจ็บมากจนเดินไม่ไหว บางคนแทบคลานและจะปวดข้ออื่นๆ ตามมา อาจมีไข้หนาวสั่นร่วมด้วย และมักจะเป็นเวลากลางคืน แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 2-5 วัน หากผู้ป่วยมีอายุมาก ระยะเวลาการหายจะช้าลงไปอีกค่ะ
โดยปกติร่างกายมนุษย์ได้กรดยูริกมาจาก 2 แหล่ง คือ
1.ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเกาต์ทั้งหมด เกิดจากกรดยูริคถูกสร้างขึ้นในร่างกาย แต่ไตทำหน้าที่ขับออกมาได้ช้าหรือน้อย จนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้น
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และหลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือด กลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรคเกาต์เลย
2.ร้อยละ 10 อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของกรดยูริคในเลือด
กรดยูริค(uric acid)เกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน พบได้ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ น้ำพะโล้รวมถึงน้ำซุปกระดูกในก๋วยเตี๋ยวต่างๆ ฯลฯ
ในคนปกติทั่วไป ถึงแม้ว่าได้รับสารพิวรีนจำนวนมาก หรือร่างกายมีการสร้างกรดยูริกเพิ่มขึ้น แต่ไตจะสามารถขับกรดยูริกส่วนเกินออกมาในน้ำปัสสาวะได้
แต่สำหรับคนที่มีความบกพร่อง หรือไตขับกรดยูริกได้น้อยลง จะทำให้มีกรดยูริกคั่งอยู่ในร่างกายมากผิดปกติ จึงเกิดการตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง ไตและอวัยวะอื่นๆ จนเกิดเป็นโรคเกาต์
คนที่เป็นโรคเกาต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการจะค่อยๆ กำเริบขึ้น โดยเกิดความเจ็บปวดที่ข้อเดิมก่อน แล้วจะเป็นที่ข้ออื่นๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อทั่วร่างกาย
อาการปวดจะถี่และนานขึ้น จนกลายเป็นเจ็บปวดตลอดเวลา ถ้าควบคุมโรคเกาต์ไม่ได้ อาจพบว่าข้อที่เคยอักเสบบ่อยๆ เป็นปุ่มก้อนขึ้นมา เนื่องจากมีการสะสมของกรดยูริกจำนวนมาก จนบางครั้งข้อที่ปวดนั้นเกิดการแตกออก และมีสารสีขาวๆ คล้ายชอล์ก หรือยาสีฟันไหลออกมากลายเป็นแผลเรื้อรัง
ในที่สุดข้อต่างๆ จะเริ่มพิการและใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้อาจมีผลทำให้เกิดนิ่วในไต ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบตัน เพราะเกิดการสะสมของกรดยูริกในอวัยวะเหล่านั้น
ตามปกติคนที่เป็นโรคเกาต์ จำเป็นต้องกินยารักษาโรคตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด (โดยการกินยาลดการอักเสบขนาดต่ำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน)เพราะหากขืนดื้อดึง ไม่เชื่อฟังแพทย์ ความเจ็บปวดตามข้อ จะมาเยือนทันทีเลยค่ะ
กรดยูริก(uric acid) จะสะสมตามข้อต่างๆในร่างกายมนุษย์เท่านั้น ไม่ได้สะสมในข้อเนื้อสัตว์ค่ะ
พวกน้ำซุป น้ำพะโล้ที่เกิดจากการเคี่ยวนานๆ จะมีพิวรีนมากขึ้น
โดยสารพิวรีน เป็นทั้งสารที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เอง และได้จากอาหาร ซึ่งเมื่อร่างกายใช้สารพิวรีนแล้ว จะเหลือเป็นสารปลายทางที่เรียกว่า กรดยูริค (Uric acid)
ตัดทอนบางส่วนมาจาก blog เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ลองอ่านดูค่ะ
คนเราทุกวันนี้ ยิ่งอายุมากขึ้น ความเสื่อมโทรมของร่างกาย จะปรากฎตามวันเวลาที่หมุนเวียนไปเรื่อยๆ
สมัยที่แป้งทำงานเป็นพยาบาลประจำแผนกผู้ป่วยนอก พบเจอผู้ป่วยสารพัดโรค โดยเฉพาะโรคเกาต์มักพบในเพศชายที่มีอายุเกิน 40 ปี ส่วนใหญ่มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย
อีกทั้งแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริก โดยเร่งกระบวนการสลายตัวของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต(adenosine triphosphate)ในเซลล์
โปรดทราบไว้ว่า การดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ จะมีผลทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีน(guanosine)ซึ่งเปลี่ยนแปรสภาพเป็นกรดยูริกในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนเพศหญิงที่เป็นโรคเกาต์ มักจะปรากฏอาการหลังจากเข้าสู่วัยทองเนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงโดยเฉพาะเอสโตรเจน จะควบคุมกรดยูริคในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ หืม! วัยทองแทบไม่มีอะไรดีเลย ร้อนวูบวาบ อารมณ์ฉุนเฉียว ผิวเหี่ยวแห้ง นอนไม่หลับ บางคนมีภาวะซึมเศร้า เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงอีกต่างหาก
โรคเกาต์ คือโรคปวดตามข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอาการปวดร้อนที่ข้อเข่า ข้อนิ้วเท้า หรือข้อเท้าอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน บางครั้งเจ็บมากจนเดินไม่ไหว บางคนแทบคลานและจะปวดข้ออื่นๆ ตามมา อาจมีไข้หนาวสั่นร่วมด้วย และมักจะเป็นเวลากลางคืน แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 2-5 วัน หากผู้ป่วยมีอายุมาก ระยะเวลาการหายจะช้าลงไปอีกค่ะ
โดยปกติร่างกายมนุษย์ได้กรดยูริกมาจาก 2 แหล่ง คือ
1.ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเกาต์ทั้งหมด เกิดจากกรดยูริคถูกสร้างขึ้นในร่างกาย แต่ไตทำหน้าที่ขับออกมาได้ช้าหรือน้อย จนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้น
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และหลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือด กลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรคเกาต์เลย
2.ร้อยละ 10 อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของกรดยูริคในเลือด
กรดยูริค(uric acid)เกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน พบได้ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ น้ำพะโล้รวมถึงน้ำซุปกระดูกในก๋วยเตี๋ยวต่างๆ ฯลฯ
ในคนปกติทั่วไป ถึงแม้ว่าได้รับสารพิวรีนจำนวนมาก หรือร่างกายมีการสร้างกรดยูริกเพิ่มขึ้น แต่ไตจะสามารถขับกรดยูริกส่วนเกินออกมาในน้ำปัสสาวะได้
แต่สำหรับคนที่มีความบกพร่อง หรือไตขับกรดยูริกได้น้อยลง จะทำให้มีกรดยูริกคั่งอยู่ในร่างกายมากผิดปกติ จึงเกิดการตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง ไตและอวัยวะอื่นๆ จนเกิดเป็นโรคเกาต์
คนที่เป็นโรคเกาต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการจะค่อยๆ กำเริบขึ้น โดยเกิดความเจ็บปวดที่ข้อเดิมก่อน แล้วจะเป็นที่ข้ออื่นๆ ตามมา จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อทั่วร่างกาย
อาการปวดจะถี่และนานขึ้น จนกลายเป็นเจ็บปวดตลอดเวลา ถ้าควบคุมโรคเกาต์ไม่ได้ อาจพบว่าข้อที่เคยอักเสบบ่อยๆ เป็นปุ่มก้อนขึ้นมา เนื่องจากมีการสะสมของกรดยูริกจำนวนมาก จนบางครั้งข้อที่ปวดนั้นเกิดการแตกออก และมีสารสีขาวๆ คล้ายชอล์ก หรือยาสีฟันไหลออกมากลายเป็นแผลเรื้อรัง
ในที่สุดข้อต่างๆ จะเริ่มพิการและใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้อาจมีผลทำให้เกิดนิ่วในไต ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบตัน เพราะเกิดการสะสมของกรดยูริกในอวัยวะเหล่านั้น
ตามปกติคนที่เป็นโรคเกาต์ จำเป็นต้องกินยารักษาโรคตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด (โดยการกินยาลดการอักเสบขนาดต่ำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน)เพราะหากขืนดื้อดึง ไม่เชื่อฟังแพทย์ ความเจ็บปวดตามข้อ จะมาเยือนทันทีเลยค่ะ
แสดงความคิดเห็น
คนเป็นเก๊าท์กินขาหมู