รบกวนสอบถามปัจจุบันรัฐใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจัดประเภทรถยนต์ SUV ที่ผลิตในเมืองไทยแบบ body on frame ว่าเป็นประเภท PPV หรือที่เรียกกันว่ารถกระบะดัดแปลง ทำให้เสียภาษีต่ำกว่ารถ SUV ทั่วไปที่ไม่มีเฟรม ส่งผลให้ลดต้นทุนราคาที่จำหน่ายได้ครับ
คือจากสมัยที่มีการดัดแปลงรถกระบะ Tiger มาเป็น Sport Rider ตอนนั้นแนวคิดเรื่อง PPV ให้เหตุผลว่าใช้เฟรมหรือแชสซีสเดียวกับรถกระบะ Tiger ช่วงล่างทั้งหน้าและหลังก็เป็นแบบแหนบเช่นเดียวกัน เป็นการดัดแปลงแค่ตัวถังด้านหลังให้เป็นห้องโดยสาร จึงขอแยกประเภทเป็น PPV และขอลดภาษีให้ต่ำลง สมัยนั้นนอกจาก PPV จากโรงงานแล้ว ก็มีไทยรุ่งนำรถกระบะไปดัดแปลงและเสียภาษีสรรพสามิตรเพิ่มด้วย ซึ่งเป็นความสามารถของบริษัทผลิตรถยนต์เพื่อผลักดันช่องว่างภาษีในจุดนี้จนเกิดเป็นอัตราภาษีใหม่สำหรับรถ PPV ที่ดัดแปลงจริงๆ
แต่ในปัจจุบัน รถที่เข้าเกณฑ์อัตราภาษีแบบ PPV แต่ละค่าย มานั่งวิเคราะห์ดูแล้ว ผมว่าพื้นฐานไม่น่าจะเป็นรถกระบะดัดแปลงซักเท่าไหร่ ตัวเฟรมหรือแชสซีสก็ผลิตขึ้นใหม่แยกไลน์กัน ช่วงล่างหน้าคล้ายกัน ส่วนช่วงล่างหลังถึงจะเป็นคานแข็งแต่ระบบของสปริงกับแหนบ โครงสร้างและจุดยึดก็คนละเรื่อง ตัว Body ด้านหน้าถึงจะเหมือนหรือคล้ายกัน แต่ก็มาคนละไลน์การผลิตกันโดยสิ้นเชิง
คือสรุปข้อสงสัยว่า รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจัดว่าเป็นรถเสียภาษีในอัตรา PPV ครับ มีตัววัดอะไรที่ชัดเจนไหม เช่น ขนาดของเฟรมมีความใกล้เคียงเฟรมรถกระบะเดิมกี่ %,ใช้อะไหล่ร่วมกับรถกระบะรุ่นที่ผลิตจำหน่ายอยู่ได้กี่ % เป็นต้น
และถ้าสมมุติว่าเมืองไทยมีโรงงานผลิตรถ SUV อย่างเช่น Landcruiser VX หรือ Prado ซึ่งเป็น body on frame เหมือนกับ PPV จะมีโอกาสที่บริษัทผลิตรถยนต์หาทางจัดประเภทเป็น PPV เพื่อลดภาษีได้หรือไม่ เช่น อาจจะผลิตรถกระบะรุ่นต่อไปโดยใช้พื้นฐานเฟรมจาก Prado แล้วบอกว่าพื้นฐานเดียวกัน (ยกตัวอย่างเป็นแค่แนวคิดเพื่อวิเคราะห์คำตอบ แต่คงไม่ได้ทำจริงนะครับ)
สุดท้ายแล้วอยากทราบหลักเกณฑ์หรือ criteria ที่ใช้จัดรถ SUV แบบ body on frame เหล่านี้ให้เสียภาษีแบบ PPV อย่างไรครับ เพราะผมว่าปัจจุบันรถพวกนี้ไม่น่าจะใช่รถกระบะดัดแปลงตามนิยามเดิมสมัยที่เริ่มมีการจัดแยกประเภทครั้งแรกซักเท่าไหร่ PPV สมัยนี้ดูพื้นฐานจะใกล้เคียงกับ SUV นำเข้าอย่าง Landcruiser VX หรือ Prado มากกว่ารถกระบะที่ผลิตในประเทศเสียอีกครับ ขอบคุณครับ
ปัจจุบันใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจัดประเภทรถเป็น PPV และบริษัทรถได้อัตราภาษีที่ต่ำกว่ารถ SUV ทั่วไปครับ
คือจากสมัยที่มีการดัดแปลงรถกระบะ Tiger มาเป็น Sport Rider ตอนนั้นแนวคิดเรื่อง PPV ให้เหตุผลว่าใช้เฟรมหรือแชสซีสเดียวกับรถกระบะ Tiger ช่วงล่างทั้งหน้าและหลังก็เป็นแบบแหนบเช่นเดียวกัน เป็นการดัดแปลงแค่ตัวถังด้านหลังให้เป็นห้องโดยสาร จึงขอแยกประเภทเป็น PPV และขอลดภาษีให้ต่ำลง สมัยนั้นนอกจาก PPV จากโรงงานแล้ว ก็มีไทยรุ่งนำรถกระบะไปดัดแปลงและเสียภาษีสรรพสามิตรเพิ่มด้วย ซึ่งเป็นความสามารถของบริษัทผลิตรถยนต์เพื่อผลักดันช่องว่างภาษีในจุดนี้จนเกิดเป็นอัตราภาษีใหม่สำหรับรถ PPV ที่ดัดแปลงจริงๆ
แต่ในปัจจุบัน รถที่เข้าเกณฑ์อัตราภาษีแบบ PPV แต่ละค่าย มานั่งวิเคราะห์ดูแล้ว ผมว่าพื้นฐานไม่น่าจะเป็นรถกระบะดัดแปลงซักเท่าไหร่ ตัวเฟรมหรือแชสซีสก็ผลิตขึ้นใหม่แยกไลน์กัน ช่วงล่างหน้าคล้ายกัน ส่วนช่วงล่างหลังถึงจะเป็นคานแข็งแต่ระบบของสปริงกับแหนบ โครงสร้างและจุดยึดก็คนละเรื่อง ตัว Body ด้านหน้าถึงจะเหมือนหรือคล้ายกัน แต่ก็มาคนละไลน์การผลิตกันโดยสิ้นเชิง
คือสรุปข้อสงสัยว่า รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจัดว่าเป็นรถเสียภาษีในอัตรา PPV ครับ มีตัววัดอะไรที่ชัดเจนไหม เช่น ขนาดของเฟรมมีความใกล้เคียงเฟรมรถกระบะเดิมกี่ %,ใช้อะไหล่ร่วมกับรถกระบะรุ่นที่ผลิตจำหน่ายอยู่ได้กี่ % เป็นต้น
และถ้าสมมุติว่าเมืองไทยมีโรงงานผลิตรถ SUV อย่างเช่น Landcruiser VX หรือ Prado ซึ่งเป็น body on frame เหมือนกับ PPV จะมีโอกาสที่บริษัทผลิตรถยนต์หาทางจัดประเภทเป็น PPV เพื่อลดภาษีได้หรือไม่ เช่น อาจจะผลิตรถกระบะรุ่นต่อไปโดยใช้พื้นฐานเฟรมจาก Prado แล้วบอกว่าพื้นฐานเดียวกัน (ยกตัวอย่างเป็นแค่แนวคิดเพื่อวิเคราะห์คำตอบ แต่คงไม่ได้ทำจริงนะครับ)
สุดท้ายแล้วอยากทราบหลักเกณฑ์หรือ criteria ที่ใช้จัดรถ SUV แบบ body on frame เหล่านี้ให้เสียภาษีแบบ PPV อย่างไรครับ เพราะผมว่าปัจจุบันรถพวกนี้ไม่น่าจะใช่รถกระบะดัดแปลงตามนิยามเดิมสมัยที่เริ่มมีการจัดแยกประเภทครั้งแรกซักเท่าไหร่ PPV สมัยนี้ดูพื้นฐานจะใกล้เคียงกับ SUV นำเข้าอย่าง Landcruiser VX หรือ Prado มากกว่ารถกระบะที่ผลิตในประเทศเสียอีกครับ ขอบคุณครับ