สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำรถ 4ล้อบรรทุกแบบไม่ติดเวลา (หลายคนก็สงสัยนะ ว่าไม่ติดเวลามันคืออะไร เดียวผมอธิบายให้ตอนท้ายครับ)
-ผมจะขอแนะนำรถบรรทุก4ล้อใหญ่ก่อนนะครับ
ในปัจจุบันรถกระบะที่ใช้ในการบรรทุกทั่วไป ก็จะเห็นเป็นกระบะคอก (แบบในรูปตัวอย่างนะครับ)
เดิมๆตามสเปคโรงงาน เขาออกแบบมาให้บรรทุกประมาณ1-1.5ตัน แต่ที่เห็นเขาบรรทุกกันล้นคอก 3-4ตัน เพราะมีการดัดแปลงช่วงล่างแล้ว
แข็งแรงพอสำหรับบรรทุกขนาดนั้น แต่บอกก่อนนะครับ เมื่อมีการดัดแปลงขนาดนั้นแล้ว เรื่องประกันรถ ตามหลักการ คือหมดรับประกันแน่นอน
แต่ก็ไม่ได้เสมอไปนะครับ หมดในที่นี้ หมายถึงหมดในสิ่งที่เราดัดแปลงไป เช่น เพลาท้าย กรณีเกิดการเสียหาย ก็ไม่อยู่ในรับประกัน
หรือเชซซีที่บรรทุกเกิน ถ้าหักขึ้นมา ก็ไม่อยู่ในการรับประกัน แต่ถ้าเครื่องยนต์มีปัญหา เรายังสามารถเคลมได้ปกติ ถ้าเราไม่ได้ดัดแปลงเครื่องยนต์
พูดแบบนี้แล้ว ไม่ต้องตกใจไปนะครับ เพราะสิ่งที่เราดัดแปลงไป ทำเสริมเข้าไป เราทำให้มันแข็งแรงและดีกว่ารถเดิมๆจากโรงงานอยู่แล้ว
ดังนั้นมันไม่ได้เสียกันง่ายๆหรอก ถ้าของที่เราทำมีคุณภาพ ได้มาตราฐาน ก็ใช้งานกันยาวๆ ไม่ต้องกลัวจะพัง แต่ก็ควรหมั่นตรวจเช็คสภาพด้วยนะครับ
-ที่กล่าวมานี้เป็นกระบะปิกอัพ แต่ที่ผมจะพูดถึงในที่นี้คือ
รถบรรทุก 4ล้อ
รถบรรทุก 4 ล้อที่นิยมกันในตลาดเมืองไทย ทุกคนต้องเคยเห็นรุ่นนี้แน่ๆ
NLR130
NLR130 เป็นรถบรรทุก 4ล้อนะครับ หัวรถเป็นเหมือนรถบรรทุก(เพราะมันคือรถบรรทุก) แต่ว่ามันมี4ล้อเหมือนรถปิกอัพนั้นแหละครับ
ข้อดีของมันก็คือ เชซซีแข็งแรงกว่าปิกอัพแน่นอน เพราะเป็นเชซซีหนา เป็นเหล็กเส้นเดียวกันกับรถทั้งเส้น ออกแบบมาสำหรับบบรรทุกอยู่แล้ว
สามารถต่อตัวถังได้หลายแบบตามความต้องการของลูกค้าเลย เพราะตัวรถมาเป็นหัวเก๋งเชซซีเปล่า หรือหัวกระสือนั้นเอง
ส่วนตัวถัง จะต่อเป็นกระบะธรรมดา กระบะมีคอก กระบะโดยสาร ตู้ประตู2บานหรือ6บาน ตู้เก็บความเย็น หรืออะไรก็ได้
ทำได้ตามแบบที่ต้องการใช้งานเลย เช่นรูปตัวอย่างหรือเข้าไปดูตาม
ลิงค์นี้ได้ครับ
ความยาวช่วงตัวถังที่จะบรรทุกก็จะได้เยอะกว่ารถปิกอัพแน่นอน ถ้าเป็นปิกอัพจะได้ความยาวอยู่ประมาณ2.2ม.(พื้นติดซุ้มล้อ)
แต่รถบรรทุกยาว3.0-3.2ม.เลยที่เดียว และในพื้นที่บรรทุก ยังเป็นพื้นเรียบไม่ติดซุ้มล้อแบบปิกอัพ ขนกันได้สบายๆเลยครับ
เรื่องการบำรุงรักษาก็ไม่ต้องเข้าศูนย์กับบ่อย วิ่งกันยาวๆ เพราะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุก 20,000 กิโลเมตรหรือ6เดือน
การบำรุงรักษาก็ไม่ยาก ยกหัวเก๋งขึ้นมาพร้อมดูแลเครื่องได้แบบเต็มที่ครับ
การยกหัวเก๋งรถบรรทุก
-พูดถึงเรื่องรถบรรทุกกันแล้วก็จะขออธิบายคำว่า
ไม่ติดเวลา สำหรับรถบรรทุกกันนะครับ
คำว่า
ไม่ติดเวลา หรือ
ติดเวลา นั้นหมายถึง เวลาในการเดินรถ หรือใช้รถในท้องถนน
กฎหมายมีการกำหนดเวลาเดินรถในบางพื้นที่ไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ในเมือง พื้นที่คับขัน
ห้ามรถบรรทุกใช้เส้นทางในเวลาที่กำหนด
เช่น 06.00น.-09.00น. และ 16.00น.-20.00น. ห้ามรถบรรทุกวิ่งเส้นทางนี้ในช่วงเวลาที่กำหนด
เวลาและพื้นที่ อันนี้คนใช้รถต้องศึกษาพื้นที่แต่ละที่ที่ใช้งานกันนะครับ เพราะแต่ละพื้นที่ก็อาจจะกำหนดไม่เหมือนกันครับ
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเวลาที่คนไปทำงาน+นักเรียนไปโรงเรียน และช่วงเวลาเลิกงานกับเลิกเรียน
ตารางเวลา
ข้อบังคับเรื่องเวลานี้ จะใช้กันรถที่จดทะเบียนเป็นป้ายรถใหญ่ หรือรถบรรทุก (ป้ายทะเบียนสีขาวใหญ่ๆ หรือสีเหลืองใหญ่ๆ)
ส่วน4ล้อ NLR สามารถจดทะเบียนได้ 2 แบบ คือแบบติดเวลา(ป้ายรถใหญ่) และไม่ติดเวลา(ป้ายรถปิกอัพ)
ส่วนหลักเกณฑ์การจด คือ
ถ้าน้ำหนักรถพร้อมตัวถังเกิน 2,200 กิโล ต้องเป็นป้ายใหญ่
ถ้าน้ำหนักรถพร้อมตัวถังไม่เกิน 2,200 กิโล เป็นป้ายรถปิกอัพ
ดังนั้นรถ 4ล้อNLR สามารถจดได้ทั้ง 2 แบบครับ
คนส่วนใหญ่เลยเอามาจดแบบไม่ติดเวลาแล้ววิ่งแทนรถปิกอัพครับ
เพราะขนของได้เยอะกว่า พื้นที่บรรทุกได้มากกว่า ใช้รถคันเดียวแทนปิกอัพ2คัน
ส่วนใครอยากรู้กฎหมายเรื่องรถบรรทุกเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปชมได้ที่
ลิงค์นี้ครับ
รถบรรทุก 4ล้อใหญ่ (ไม่ติดเวลา)
-ผมจะขอแนะนำรถบรรทุก4ล้อใหญ่ก่อนนะครับ
ในปัจจุบันรถกระบะที่ใช้ในการบรรทุกทั่วไป ก็จะเห็นเป็นกระบะคอก (แบบในรูปตัวอย่างนะครับ)
เดิมๆตามสเปคโรงงาน เขาออกแบบมาให้บรรทุกประมาณ1-1.5ตัน แต่ที่เห็นเขาบรรทุกกันล้นคอก 3-4ตัน เพราะมีการดัดแปลงช่วงล่างแล้ว
แข็งแรงพอสำหรับบรรทุกขนาดนั้น แต่บอกก่อนนะครับ เมื่อมีการดัดแปลงขนาดนั้นแล้ว เรื่องประกันรถ ตามหลักการ คือหมดรับประกันแน่นอน
แต่ก็ไม่ได้เสมอไปนะครับ หมดในที่นี้ หมายถึงหมดในสิ่งที่เราดัดแปลงไป เช่น เพลาท้าย กรณีเกิดการเสียหาย ก็ไม่อยู่ในรับประกัน
หรือเชซซีที่บรรทุกเกิน ถ้าหักขึ้นมา ก็ไม่อยู่ในการรับประกัน แต่ถ้าเครื่องยนต์มีปัญหา เรายังสามารถเคลมได้ปกติ ถ้าเราไม่ได้ดัดแปลงเครื่องยนต์
พูดแบบนี้แล้ว ไม่ต้องตกใจไปนะครับ เพราะสิ่งที่เราดัดแปลงไป ทำเสริมเข้าไป เราทำให้มันแข็งแรงและดีกว่ารถเดิมๆจากโรงงานอยู่แล้ว
ดังนั้นมันไม่ได้เสียกันง่ายๆหรอก ถ้าของที่เราทำมีคุณภาพ ได้มาตราฐาน ก็ใช้งานกันยาวๆ ไม่ต้องกลัวจะพัง แต่ก็ควรหมั่นตรวจเช็คสภาพด้วยนะครับ
-ที่กล่าวมานี้เป็นกระบะปิกอัพ แต่ที่ผมจะพูดถึงในที่นี้คือ รถบรรทุก 4ล้อ
รถบรรทุก 4 ล้อที่นิยมกันในตลาดเมืองไทย ทุกคนต้องเคยเห็นรุ่นนี้แน่ๆ NLR130
NLR130 เป็นรถบรรทุก 4ล้อนะครับ หัวรถเป็นเหมือนรถบรรทุก(เพราะมันคือรถบรรทุก) แต่ว่ามันมี4ล้อเหมือนรถปิกอัพนั้นแหละครับ
ข้อดีของมันก็คือ เชซซีแข็งแรงกว่าปิกอัพแน่นอน เพราะเป็นเชซซีหนา เป็นเหล็กเส้นเดียวกันกับรถทั้งเส้น ออกแบบมาสำหรับบบรรทุกอยู่แล้ว
สามารถต่อตัวถังได้หลายแบบตามความต้องการของลูกค้าเลย เพราะตัวรถมาเป็นหัวเก๋งเชซซีเปล่า หรือหัวกระสือนั้นเอง
ส่วนตัวถัง จะต่อเป็นกระบะธรรมดา กระบะมีคอก กระบะโดยสาร ตู้ประตู2บานหรือ6บาน ตู้เก็บความเย็น หรืออะไรก็ได้
ทำได้ตามแบบที่ต้องการใช้งานเลย เช่นรูปตัวอย่างหรือเข้าไปดูตาม ลิงค์นี้ได้ครับ
ความยาวช่วงตัวถังที่จะบรรทุกก็จะได้เยอะกว่ารถปิกอัพแน่นอน ถ้าเป็นปิกอัพจะได้ความยาวอยู่ประมาณ2.2ม.(พื้นติดซุ้มล้อ)
แต่รถบรรทุกยาว3.0-3.2ม.เลยที่เดียว และในพื้นที่บรรทุก ยังเป็นพื้นเรียบไม่ติดซุ้มล้อแบบปิกอัพ ขนกันได้สบายๆเลยครับ
เรื่องการบำรุงรักษาก็ไม่ต้องเข้าศูนย์กับบ่อย วิ่งกันยาวๆ เพราะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุก 20,000 กิโลเมตรหรือ6เดือน
การบำรุงรักษาก็ไม่ยาก ยกหัวเก๋งขึ้นมาพร้อมดูแลเครื่องได้แบบเต็มที่ครับ การยกหัวเก๋งรถบรรทุก
-พูดถึงเรื่องรถบรรทุกกันแล้วก็จะขออธิบายคำว่าไม่ติดเวลา สำหรับรถบรรทุกกันนะครับ
คำว่า ไม่ติดเวลา หรือ ติดเวลา นั้นหมายถึง เวลาในการเดินรถ หรือใช้รถในท้องถนน
กฎหมายมีการกำหนดเวลาเดินรถในบางพื้นที่ไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ในเมือง พื้นที่คับขัน
ห้ามรถบรรทุกใช้เส้นทางในเวลาที่กำหนด
เช่น 06.00น.-09.00น. และ 16.00น.-20.00น. ห้ามรถบรรทุกวิ่งเส้นทางนี้ในช่วงเวลาที่กำหนด
เวลาและพื้นที่ อันนี้คนใช้รถต้องศึกษาพื้นที่แต่ละที่ที่ใช้งานกันนะครับ เพราะแต่ละพื้นที่ก็อาจจะกำหนดไม่เหมือนกันครับ
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเวลาที่คนไปทำงาน+นักเรียนไปโรงเรียน และช่วงเวลาเลิกงานกับเลิกเรียน ตารางเวลา
ข้อบังคับเรื่องเวลานี้ จะใช้กันรถที่จดทะเบียนเป็นป้ายรถใหญ่ หรือรถบรรทุก (ป้ายทะเบียนสีขาวใหญ่ๆ หรือสีเหลืองใหญ่ๆ)
ส่วน4ล้อ NLR สามารถจดทะเบียนได้ 2 แบบ คือแบบติดเวลา(ป้ายรถใหญ่) และไม่ติดเวลา(ป้ายรถปิกอัพ)
ส่วนหลักเกณฑ์การจด คือ
ถ้าน้ำหนักรถพร้อมตัวถังเกิน 2,200 กิโล ต้องเป็นป้ายใหญ่
ถ้าน้ำหนักรถพร้อมตัวถังไม่เกิน 2,200 กิโล เป็นป้ายรถปิกอัพ
ดังนั้นรถ 4ล้อNLR สามารถจดได้ทั้ง 2 แบบครับ
คนส่วนใหญ่เลยเอามาจดแบบไม่ติดเวลาแล้ววิ่งแทนรถปิกอัพครับ
เพราะขนของได้เยอะกว่า พื้นที่บรรทุกได้มากกว่า ใช้รถคันเดียวแทนปิกอัพ2คัน
ส่วนใครอยากรู้กฎหมายเรื่องรถบรรทุกเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปชมได้ที่ ลิงค์นี้ครับ