สวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ พูดถึงเรื่องแหล่งน้ำหากต้องพึ่งพาฟ้าฝนกับการบริหารจัดการของชลประทานอย่างเดียวก็ลำบากสำหรับภาคเกษตรกรรมสมัยนี้ หากเจอทางการกักน้ำก็ยุ่งได้เหมือนกัน หากฟ้าฝนไม่เป็นใจก็ยุ่งได้เหมือนกัน วันนี้ MC ลองมาหาทางเลือกแหล่งน้ำใหม่มานำเสนอให้เพื่อนๆได้อ่านกันดูบ้าง ถ้าบนดินมันไม่มีน้ำให้ก็ต้องไปหาที่ใต้ดิน
จะลองเอามาแจงรายละเอียดใหม่ในกรณีที่เราอยากจะมีระบบน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภคเองดูครับ ถ้าใช้สำหรับนา 20 ไร่ หรือใช้ในครัวเรือนคิดว่าเพียงพอแน่นอนสำหรับ 1 บ่อ ลองคิดแบบคร่าวๆกันดูนะ
จากประสบการณ์จริงที่เคยไปเดินระบบน้ำทั้งระบบไว้ เจาะบาดาลลึก 40 เมตร (หรือเจาะเพิ่มลึกลงไปอีกไม่มากก็น่าจะเจอตาน้ำ) จนผ่านชั้นหินที่ไปสู่ชั้นที่มีน้ำบาดาล คนจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมารับงานนอกในวันหยุดเจาะให้เอง ค่าเจาะ 17,000 บาท ราคานี้ใช้ท่อ PVC 5" ขนาดความหนาเบอร์ 8.5 (ส่วนใหญ่ผู้รับงานจะใช้ท่อ 4") ซึ่งความลึกขนาดนี้จะเป็นความลึกโดยประมาณเฉลี่ยต่อในหลายๆพื้นที่ บางที่อาจจะต้องเจาะลึกกว่านั้นขึ้นไป แต่บางพื้นที่แค่ไม่เกิน 10 เมตรก็เจอ บางที่เจาะไปเกือบ 100 เมตรก็มี(อันนี้ค่าเจาะแพงแต่น้ำได้เต็มที่และสะอาดจริง) ในที่นี้คิดที่ประมาณลึก 40 เมตรก็แล้วกัน ให้ราคาปัดไว้เผื่อที่ 25,000 บาท แต่จริงๆแล้วไม่น่าจะถึง แค่หมื่นกว่าบาทก็น่าจะพอ (เผื่อไว้ในกรณีที่บริเวณที่จะเจาะไม่มีน้ำที่จะไปหล่อเย็นหัวเจาะเพราะจะทำให้เจาะยากและหัวเจาะไหม้หรือแตกหักได้ จึงจำเป็นต้องเผื่อค่าเช่ารถน้ำที่เขาเอามาหล่อเย็นหัวเจาะ หรือถ้าเรามีน้ำพอที่จะเปิดเลี้ยงหัวเจาะไว้ ค่าใช้จ่ายตรงนี้จะถูกลงไปอีก)
นี่คือภาพตัวอย่างรถที่เจาะ จะติดตั้งเครื่องเจาะไว้ที่กะบะหลัง เป็นแท่นเครื่องเจาะขนาดใหญ่
หลังจากเจาะเสร็จแล้ว ตามภาพกำลังไล่ลมไล่ฝุ่นออกจากบ่ออยู่ บ่อนี้ลึก 40 เมตร
ใช้ Submersible Pump (ปั๊มแช่สำหรับน้ำบาดาล) อย่างดีของ Franklin ปั๊มบาดาล 1 แรงม้า 7 ใบพัด Schaefer TRI-SEAL ขนาดท่อออกได้ทั่ง 1 1/2" และ 1 1/4" ตัวละ 14,000 บาท จุ่มลงไปในก้นบ่อที่เจาะ ดูดไปเรื่อยๆจนกว่าน้ำมันจะใสหรือหายขุ่นบางที่วันเดียวก็ใสแล้ว บางที่ก็นานกว่านั้น เหตุผลที่ใช้ปั๊มแค่ 1 แรงม้าก็คือ หากเราใช้ปั๊มที่แรงกว่านั้น น้ำจากตาน้ำบ่อบาดาลจะไหลกลับเข้ามาป้อนเข้าปี๊มไม่ทันตามอัตราการไหลของน้ำของปั๊ม ไม่ใช่ว่าอยากจะดูดขึ้นมาแรงเท่าไหร่ก็ได้ ไม่งั้นจะได้น้ำบ้างอากาศบ้าง และอาจจะทำให้ปั๊มพังได้ในกรณีที่น้ำมาไม่ทันขาดช่วงนานๆ
ในภาพชุดปั๊มน้ำบาดาลแบบแช่ ที่จำเป็นต้องใช้แบบนี้เพราะตาน้ำมันอยู่ลึก หากเพียงแค่ 10-20 เมตร เราใช้แค่ปั๊มหอยโข่งธรรมดาเอาก็ได้ ถูกกว่ากัน 2-3 เท่าตัว
ภาพนี้หลังจากเราหย่อนปั๊มลงไปในบ่อแล้วปั๊มน้ำมันทิ้งไว้ซัก 1 วัน 1 คืน น้ำมันก็จะใสแบบนี้ (บางที่อาจจะใช้เวลานานกว่านั้นแล้วแต่คุณภาพน้ำของแต่ละที่
ให้สูบเก็บใส่แท๊งค์ไว้ที่ติดตั้งไว้ข้างบ่อบาดาล (ติดตั้งสวิทช์ลูกลอยอัตโนมัติไว้ให้ปั๊มมันติดเมื่อน้ำลดถึงระดับที่ตั้งไว้ และหยุดเมื่อน้ำเพิ่มถึงระดับที่ต้องการ) จะซื้อเป็นแท๊งค์เก็บหรือบ่อพักก็แล้วแต่ขนาด หากเอาแค่ 10,000 ลิตร ก็ไม่เกิน 2-3 หมื่นบาท หรือหากจะก่อเป็นบ่อปูน+กันซึม เอาแบบเป็นแสนลิตรก็ประมาณ 5 หมื่นบาท(ก่ออิฐบล็อคและก็ฉาบปูนผสมน้ำยากันซึม ห้ามใช้อิฐมวลเบาเด็ดขาด) น้ำจากบ่อบาดาลจะเติมลงบ่อพักนี้เรื่อยๆจนกว่าจะถึงระดับที่เราตั้งสวิทช์ลูกลอยไว้ปั๊มมันจะตัด
ภาพตัวอย่าสวิทช์ลูกลอย ตัวนี้ราคา 4 ร้อยกว่าบาทถ้าจำไม่ผิด แต่ของอิตาลี่สีดำล้วนตัวละ 6 ร้อยกว่าบาทหาภาพไม่เจอ
ค่าเดินท่อรวมอุปกรณ์ ไม่เกิน 500 บาท / 12 เมตร (คิดคล่าวๆโดยเฉลี่ยจากการใช้ทั้งท่อ PE ท่อ PVC อย่างใดอย่างหนึ่ง) หากต้องการเดินท่อในตำแหน่งที่ห่างจากบ่อไป 100 เมตร จะต้องใช้ เงินตรงนี้ประมาณ 500*100/12 = 4,167 บาท เคสนี้คิดไว้แบบเดินท่อรวมไป 500 เมตรก็ประมาณ 20,000 บาทก็แล้วกันอาแบบต้นไม้ได้น้ำทั่วถึงไปเลย แต่ถ้าใช้เป็นสายยางเกษตร ราคาจะถูกลงกว่านี้มาก
ต้นกำลังส่งน้ำออกจากบ่อพักน้ำไปยังพื้นที่เป้าหมายเอาเป็นปั๊มหอยโข่งขนาด 3 " ก็แล้วกัน (แล้วค่อยแยกไลน์ลดขนาดท่อลงไปตามความเหมาะสม) ราคาไม่เกิน 15,000 บาท (หากให้มันเปิดปิดตามเวลาที่ต้องการก็ติดตั้ง Timer เอา ตีราคาให้ไม่เกิน 1,000 บาท) ในกรณีที่ส่งน้ำไปไกลหรือขึ้นที่สูงเราจำเป็นที่จะต้องติดตั้งหม้อลม (air chamber หรือชาวบ้านบางคนเรียกแอร์แวะ) ในแนวตั้งตรงตำแหน่งหลังปั๊ม เพราะลมหรืออากาศที่มากับน้ำจะลอยขึ้นไปสู่ส่วนบนเจ้าหม้อลมอันนี้แล้วมันก็จะไปต่อไม่ได้ก็จะผลักเอาน้ำให้มีแรงดันพุ่งออกไปให้ไกลขึ้นหลายเท่าตัวของประสิทธิภาพปั๊ม ให้ค่างบทำหม้อลม + เช็ควาล์วกันลมย้อนกลับกระแทกปั๊มไว้ที่ 1,000 บาท
การทำงานคล่าวๆของหม้อลม หรือแอร์แว หรือ Air Chamber
รวมๆแล้วทั้งระบบ เจาะบ่อบาดาล+ปั๊มบาดาล+บ่อพักน้ำ+ปั๊มส่งน้ำจากบ่อพักไปยังต้นไม้+เดินท่อหรือสายยางก็ประมาณ 1 แสน (ไปจ่ายหนักตรงบ่อพักน้ำ) หรือน้อยกว่านั้น ใช้กับการเกษตรได้หลายไร่ หรือใช้อุปโภค-บริโภคได้หลายครัวเรือน
และในกรณีที่เราต้องการน้ำตรงนี้มาใช้อุปโภคบริโภค หากคุณภาพน้ำมันดีอยู่แล้วก็นำมาใช้ได้เลย เพราะน้ำบาดาลเป็นน้ำใต้ชั้นหินที่สะอาดอยู่แล้ว และหากน้ำมันเหลือง เราก็อาจจะซื้อถังพลาสติกมาทำเป็นบ่อปรับสภาพน้ำหรือบ่อกรองน้ำคือเติมผงแมงกานีสเข้าไป (สั่งซื้อตามเน็ตได้) หากน้ำมีรสเค็มหรือเปรี้ยว เราก็เติมเรซิ่นกรองน้ำลงไปในบ่อกรอง และเติมผงคาร์บอนลงไปเพื่อไม่ให้น้ำมีกลิ่นเป็นต้น เพื่อนๆลองไปประยุกต์ใช้ดูครับ
คิดว่าบ่อเดียวมันเพียงพอสำหรับนา 20 ไร่ หรือถ้าจะเอาแบบประหยัดสุดๆจริงๆก็แค่เจาะบ่อหมื่นกว่าบาท แล้วต่อสายยางลงไปที่ๆนาเราต่อได้เลย ก็สามารถทำได้เหมือนกัน เพียงแต่ว่าเราต้องอยู่กับมันตลอด คอยเปิดปิดปั๊มเอง และคอยลากสายยางไปตามจุดต่างๆเองเท่านั้น
...............................................................................................................................................
- การขุดเจาะบ่อบาดาลเพียงแค่เสริมเข้าไปไม่ให้พื้นที่เกษตรแห้งสนิทในยามที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ฟ้าฝน การจัดการน้ำของกรมชลฯขาดแคลนเท่านั้น ยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพเช่นไฟฟ้าที่เราใช้อยุ่ทุกวันนี้มาจากโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ (CNG) และถ่านหินเป็นหลัก แต่เรามีโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อเดินเครื่องจ่ายโหลดเสริมในช่วง Peak load (ช่วงหัวค่ำของทุกๆวันและในช่วงหน้าร้อน) บ่อบาดาลนี้ก็เช่นเดียวกันกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำครับ แต่หากเรานำมาใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค เฉยๆ 1 บ่อ/50-100 ครัวเรือนนี้ก็ได้อยู่ครับผม ทำบ่อพักน้ำให้ดีๆปั๊มน้ำมันจะเติมน้ำเข้าบ่อตลอดครับ
- เรื่องบริหารจัดการน้ำที่ดีคือการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุดที่สุด ซึ่งประเทศเรานั้นเดิมทีมีต้นทุนทางทรัพยากรน้ำสูงกว่าหลายๆประเทศ หากเรามีการบริหารจัดการน้ำที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ปัญหาภัยแล้งก็จะไม่เกิด ประชาชนโดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมก็จะไม่เดือดร้อน
- นี่คือภาพแสดงดัชนีความมั่นคงด้านน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ ที่จริงแล้วประเทศเรานับว่าโชคดีที่มีน้ำจืดอุปโภคบริโภคมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่พอดูดัชนีแล้วจะเห็นว่า ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์รวมถึงสิงคโปร์ ทั้งๆ ที่ประเทศเขาขาดแคลนน้ำจืด แต่ทำไมดัชนีความมั่นคงน้ำถึงสูง นั่นก็เพราะเขามีการจัดการที่ดี ในขณะที่เราเองกลับอยู่เกาะกลุ่มกับอินเดีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ซึ่งรู้กันอยู่ว่าประเทศเหล่านี้มีปัญหาขาดแคลนน้ำมากกว่าเรา (บังคลาเทศอาจมีน้ำท่วมบ่อยๆ แต่ไม่ได้หมายถึงมีน้ำใช้เพียงพอในการอุปโภคบริโภค)
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น....
น้ำเอย น้ำใจ - อัสนี-วสันต์ (อัลบั้ม บ้าหอบฟาง 30th Anniversary Remastered) (Official Audio)
ห้องเพลง*คนรากหญ้า* พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม.มีแต่เสียง 26/6/2017(แหล่งน้ำทางเลือกเพื่อการเกษตร-ครัวเรือน)
จะลองเอามาแจงรายละเอียดใหม่ในกรณีที่เราอยากจะมีระบบน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภคเองดูครับ ถ้าใช้สำหรับนา 20 ไร่ หรือใช้ในครัวเรือนคิดว่าเพียงพอแน่นอนสำหรับ 1 บ่อ ลองคิดแบบคร่าวๆกันดูนะ
จากประสบการณ์จริงที่เคยไปเดินระบบน้ำทั้งระบบไว้ เจาะบาดาลลึก 40 เมตร (หรือเจาะเพิ่มลึกลงไปอีกไม่มากก็น่าจะเจอตาน้ำ) จนผ่านชั้นหินที่ไปสู่ชั้นที่มีน้ำบาดาล คนจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมารับงานนอกในวันหยุดเจาะให้เอง ค่าเจาะ 17,000 บาท ราคานี้ใช้ท่อ PVC 5" ขนาดความหนาเบอร์ 8.5 (ส่วนใหญ่ผู้รับงานจะใช้ท่อ 4") ซึ่งความลึกขนาดนี้จะเป็นความลึกโดยประมาณเฉลี่ยต่อในหลายๆพื้นที่ บางที่อาจจะต้องเจาะลึกกว่านั้นขึ้นไป แต่บางพื้นที่แค่ไม่เกิน 10 เมตรก็เจอ บางที่เจาะไปเกือบ 100 เมตรก็มี(อันนี้ค่าเจาะแพงแต่น้ำได้เต็มที่และสะอาดจริง) ในที่นี้คิดที่ประมาณลึก 40 เมตรก็แล้วกัน ให้ราคาปัดไว้เผื่อที่ 25,000 บาท แต่จริงๆแล้วไม่น่าจะถึง แค่หมื่นกว่าบาทก็น่าจะพอ (เผื่อไว้ในกรณีที่บริเวณที่จะเจาะไม่มีน้ำที่จะไปหล่อเย็นหัวเจาะเพราะจะทำให้เจาะยากและหัวเจาะไหม้หรือแตกหักได้ จึงจำเป็นต้องเผื่อค่าเช่ารถน้ำที่เขาเอามาหล่อเย็นหัวเจาะ หรือถ้าเรามีน้ำพอที่จะเปิดเลี้ยงหัวเจาะไว้ ค่าใช้จ่ายตรงนี้จะถูกลงไปอีก)
หลังจากเจาะเสร็จแล้ว ตามภาพกำลังไล่ลมไล่ฝุ่นออกจากบ่ออยู่ บ่อนี้ลึก 40 เมตร
ใช้ Submersible Pump (ปั๊มแช่สำหรับน้ำบาดาล) อย่างดีของ Franklin ปั๊มบาดาล 1 แรงม้า 7 ใบพัด Schaefer TRI-SEAL ขนาดท่อออกได้ทั่ง 1 1/2" และ 1 1/4" ตัวละ 14,000 บาท จุ่มลงไปในก้นบ่อที่เจาะ ดูดไปเรื่อยๆจนกว่าน้ำมันจะใสหรือหายขุ่นบางที่วันเดียวก็ใสแล้ว บางที่ก็นานกว่านั้น เหตุผลที่ใช้ปั๊มแค่ 1 แรงม้าก็คือ หากเราใช้ปั๊มที่แรงกว่านั้น น้ำจากตาน้ำบ่อบาดาลจะไหลกลับเข้ามาป้อนเข้าปี๊มไม่ทันตามอัตราการไหลของน้ำของปั๊ม ไม่ใช่ว่าอยากจะดูดขึ้นมาแรงเท่าไหร่ก็ได้ ไม่งั้นจะได้น้ำบ้างอากาศบ้าง และอาจจะทำให้ปั๊มพังได้ในกรณีที่น้ำมาไม่ทันขาดช่วงนานๆ
ให้สูบเก็บใส่แท๊งค์ไว้ที่ติดตั้งไว้ข้างบ่อบาดาล (ติดตั้งสวิทช์ลูกลอยอัตโนมัติไว้ให้ปั๊มมันติดเมื่อน้ำลดถึงระดับที่ตั้งไว้ และหยุดเมื่อน้ำเพิ่มถึงระดับที่ต้องการ) จะซื้อเป็นแท๊งค์เก็บหรือบ่อพักก็แล้วแต่ขนาด หากเอาแค่ 10,000 ลิตร ก็ไม่เกิน 2-3 หมื่นบาท หรือหากจะก่อเป็นบ่อปูน+กันซึม เอาแบบเป็นแสนลิตรก็ประมาณ 5 หมื่นบาท(ก่ออิฐบล็อคและก็ฉาบปูนผสมน้ำยากันซึม ห้ามใช้อิฐมวลเบาเด็ดขาด) น้ำจากบ่อบาดาลจะเติมลงบ่อพักนี้เรื่อยๆจนกว่าจะถึงระดับที่เราตั้งสวิทช์ลูกลอยไว้ปั๊มมันจะตัด
ค่าเดินท่อรวมอุปกรณ์ ไม่เกิน 500 บาท / 12 เมตร (คิดคล่าวๆโดยเฉลี่ยจากการใช้ทั้งท่อ PE ท่อ PVC อย่างใดอย่างหนึ่ง) หากต้องการเดินท่อในตำแหน่งที่ห่างจากบ่อไป 100 เมตร จะต้องใช้ เงินตรงนี้ประมาณ 500*100/12 = 4,167 บาท เคสนี้คิดไว้แบบเดินท่อรวมไป 500 เมตรก็ประมาณ 20,000 บาทก็แล้วกันอาแบบต้นไม้ได้น้ำทั่วถึงไปเลย แต่ถ้าใช้เป็นสายยางเกษตร ราคาจะถูกลงกว่านี้มาก
ต้นกำลังส่งน้ำออกจากบ่อพักน้ำไปยังพื้นที่เป้าหมายเอาเป็นปั๊มหอยโข่งขนาด 3 " ก็แล้วกัน (แล้วค่อยแยกไลน์ลดขนาดท่อลงไปตามความเหมาะสม) ราคาไม่เกิน 15,000 บาท (หากให้มันเปิดปิดตามเวลาที่ต้องการก็ติดตั้ง Timer เอา ตีราคาให้ไม่เกิน 1,000 บาท) ในกรณีที่ส่งน้ำไปไกลหรือขึ้นที่สูงเราจำเป็นที่จะต้องติดตั้งหม้อลม (air chamber หรือชาวบ้านบางคนเรียกแอร์แวะ) ในแนวตั้งตรงตำแหน่งหลังปั๊ม เพราะลมหรืออากาศที่มากับน้ำจะลอยขึ้นไปสู่ส่วนบนเจ้าหม้อลมอันนี้แล้วมันก็จะไปต่อไม่ได้ก็จะผลักเอาน้ำให้มีแรงดันพุ่งออกไปให้ไกลขึ้นหลายเท่าตัวของประสิทธิภาพปั๊ม ให้ค่างบทำหม้อลม + เช็ควาล์วกันลมย้อนกลับกระแทกปั๊มไว้ที่ 1,000 บาท
รวมๆแล้วทั้งระบบ เจาะบ่อบาดาล+ปั๊มบาดาล+บ่อพักน้ำ+ปั๊มส่งน้ำจากบ่อพักไปยังต้นไม้+เดินท่อหรือสายยางก็ประมาณ 1 แสน (ไปจ่ายหนักตรงบ่อพักน้ำ) หรือน้อยกว่านั้น ใช้กับการเกษตรได้หลายไร่ หรือใช้อุปโภค-บริโภคได้หลายครัวเรือน
และในกรณีที่เราต้องการน้ำตรงนี้มาใช้อุปโภคบริโภค หากคุณภาพน้ำมันดีอยู่แล้วก็นำมาใช้ได้เลย เพราะน้ำบาดาลเป็นน้ำใต้ชั้นหินที่สะอาดอยู่แล้ว และหากน้ำมันเหลือง เราก็อาจจะซื้อถังพลาสติกมาทำเป็นบ่อปรับสภาพน้ำหรือบ่อกรองน้ำคือเติมผงแมงกานีสเข้าไป (สั่งซื้อตามเน็ตได้) หากน้ำมีรสเค็มหรือเปรี้ยว เราก็เติมเรซิ่นกรองน้ำลงไปในบ่อกรอง และเติมผงคาร์บอนลงไปเพื่อไม่ให้น้ำมีกลิ่นเป็นต้น เพื่อนๆลองไปประยุกต์ใช้ดูครับ
คิดว่าบ่อเดียวมันเพียงพอสำหรับนา 20 ไร่ หรือถ้าจะเอาแบบประหยัดสุดๆจริงๆก็แค่เจาะบ่อหมื่นกว่าบาท แล้วต่อสายยางลงไปที่ๆนาเราต่อได้เลย ก็สามารถทำได้เหมือนกัน เพียงแต่ว่าเราต้องอยู่กับมันตลอด คอยเปิดปิดปั๊มเอง และคอยลากสายยางไปตามจุดต่างๆเองเท่านั้น
- การขุดเจาะบ่อบาดาลเพียงแค่เสริมเข้าไปไม่ให้พื้นที่เกษตรแห้งสนิทในยามที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ฟ้าฝน การจัดการน้ำของกรมชลฯขาดแคลนเท่านั้น ยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพเช่นไฟฟ้าที่เราใช้อยุ่ทุกวันนี้มาจากโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ (CNG) และถ่านหินเป็นหลัก แต่เรามีโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อเดินเครื่องจ่ายโหลดเสริมในช่วง Peak load (ช่วงหัวค่ำของทุกๆวันและในช่วงหน้าร้อน) บ่อบาดาลนี้ก็เช่นเดียวกันกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำครับ แต่หากเรานำมาใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค เฉยๆ 1 บ่อ/50-100 ครัวเรือนนี้ก็ได้อยู่ครับผม ทำบ่อพักน้ำให้ดีๆปั๊มน้ำมันจะเติมน้ำเข้าบ่อตลอดครับ
- เรื่องบริหารจัดการน้ำที่ดีคือการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุดที่สุด ซึ่งประเทศเรานั้นเดิมทีมีต้นทุนทางทรัพยากรน้ำสูงกว่าหลายๆประเทศ หากเรามีการบริหารจัดการน้ำที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ปัญหาภัยแล้งก็จะไม่เกิด ประชาชนโดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมก็จะไม่เดือดร้อน
- นี่คือภาพแสดงดัชนีความมั่นคงด้านน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ ที่จริงแล้วประเทศเรานับว่าโชคดีที่มีน้ำจืดอุปโภคบริโภคมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่พอดูดัชนีแล้วจะเห็นว่า ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์รวมถึงสิงคโปร์ ทั้งๆ ที่ประเทศเขาขาดแคลนน้ำจืด แต่ทำไมดัชนีความมั่นคงน้ำถึงสูง นั่นก็เพราะเขามีการจัดการที่ดี ในขณะที่เราเองกลับอยู่เกาะกลุ่มกับอินเดีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ซึ่งรู้กันอยู่ว่าประเทศเหล่านี้มีปัญหาขาดแคลนน้ำมากกว่าเรา (บังคลาเทศอาจมีน้ำท่วมบ่อยๆ แต่ไม่ได้หมายถึงมีน้ำใช้เพียงพอในการอุปโภคบริโภค)
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น....
น้ำเอย น้ำใจ - อัสนี-วสันต์ (อัลบั้ม บ้าหอบฟาง 30th Anniversary Remastered) (Official Audio)