ตอนแรกตกใจกับข่าวนี้
เอามาหารหาค่าเฉลี่ย ตกจุกละเกือบ 200 ล้านบาท ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ
จนมีข่าวออกมาใหม่ในวันรุ่งขึ้นว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะใช้งบที่เหลือของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวน 51 ล้านบาท นำไปขุดเจาะน้ำบาดาลให้แก่ประชาชน
http://hilight.kapook.com/view/122341 โดยเฉลี่ยแล้วตกประมาณจุดละ 189,591 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นเก้าพันห้าร้อยเก้าสิบเอ็ดบาท)
คราวนี้เราลองมาวิเคราะห์ดูว่าในกรณีที่เราเจาะใช้เอง เราจะมาประมาณราคากัน เอาแบบเดินทั้งระบบเข้าไปยังต้นไม้หรือพืชทางการเกษตรของคุณเลยก็แล้วกันครับ
จากประสบการณ์จริงที่เคยไปเดินระบบน้ำทั้งระบบไว้ เจาะบาดาลลึก 40 เมตร จนผ่านชั้นหินที่ไปสู่ชั้นที่มีน้ำบาดาล
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คนจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมารับงานนอกในวันหยุดเจาะให้เอง ผมเจาะเองไม่เป็น ไม่มีเครื่องมือด้วย ค่าเจาะ 17,000 บาทครับ ราคานี้ใช้ท่อ PVC 5" ขนาดความหนาเบอร์ 8.5 (ส่วนใหญ่ผู้รับงานจะใช้ท่อ 4") ซึ่งความลึกขนาดนี้จะเป็นความลึกโดยประมาณเฉลี่ยต่อในหลายๆพื้นที่ บางที่อาจจะต้องเจาะลึกกว่านั้นขึ้นไป แต่บางพื้นที่แค่ไม่เกิน 10 เมตรเราก็จะเจอตาน้ำแล้วครับ เอาเป็นว่าเฉพาะ
ค่าเจาะเฉลี่ยผมให้ราคาปัดไว้เผื่อที่ 25,000 บาท ก็แล้วกันครับ (เผื่อไว้ในกรณีที่บริเวณที่จะเจาะไม่มีน้ำที่จะไปหล่อเย็นหัวเจาะเพราะจะทำให้เจาะยากและหัวเจาะไหม้หรือแตกหักได้ จึงจำเป็นต้องเผื่อค่าน้ำที่ทางผู้เจาะจะได้นำมาใช้ด้วย)
ผมใช้ Submersible Pump อย่างดีของ Franklin ปั๊มบาดาล 1 แรงม้า 7 ใบพัด Schaefer TRI-SEAL ขนาดท่อออกได้ทั่ง 1 1/2" และ 1 1/4" ตัวละ 14,000 บาท จุ่มลงไปในก้นบ่อที่เจาะ ดูดไปเรื่อยๆจนกว่าน้ำมันจะใสหรือหายขุ่นบางที่วันเดียวก็ใสแล้ว บางที่ก็นานกว่านั้น
เหตุผลที่ใช้ปั๊มแค่ 1 แรงม้าก็คือ หากเราใช้ปั๊มที่แรงกว่านั้น น้ำจากตาน้ำบ่อบาดาลจะไหลกลับเข้ามาป้อนเข้าปี๊มไม่ทันตามอัตราการไหลของน้ำของปั๊ม ไม่ใช่ว่าอยากจะดูดขึ้นมาแรงเท่าไหร่ก็ได้ ไม่งั้นจะได้น้ำบ้างอากาศบ้าง และอาจจะทำให้ปั๊มพังได้ในกรณีที่น้ำมาไม่ทันขาดช่วงนานๆ และในกรณีที่เจาะไปไม่ลึกแต่เจอตาน้ำแล้ว ผู้ใช้หรือเกษตรกรที่ต้องการประหยัดและติดตั้งง่ายก็ให้ไปใช้ปั๊มหอยโข่งตัวเล็กๆขนาด 0.5 หรือ 1 HP มาใช้แทน Submersible Pump ก็ได้ราคาไม่กี่บาท เอาแบบดีของอิตาลี่ก็ระมาณ 8-9 พันบาท หากเป็นของไทยหรือจีนแดงก็จะอยู่ที่พันกว่าบาทจนไปถึงสี่พันกว่าบาท โดยวางปั๊มไว้ที่ปากบ่อติดตั้งท่อ PVC และฟุตวาล์ว(หัวกระโหลกกันน้ำไหลออกหมดท่อ) ได้เลย
ราคาตรงนี้ผมปัดให้เป็น 15,000 บาทเลยคิดไว้ในกรณีที่ใช้ Submersible Pump เผื่อสายไฟเพิ่มเติมและเบรคเกอร์ควบคุมเข้าไปแล้ว
ค่าเดินท่อรวมอุปกรณ์ ไม่เกิน 500 บาท / 12 เมตร (คิดคล่าวๆโดยเฉลี่ยจากการใช้ทั้งท่อ PE ท่อ PVC หรือสายยาง อย่างใดอย่างหนึ่ง) หากต้องการเดินท่อในตำแหน่งที่ห่างจากบ่อไป 100 เมตร จะต้องใช้ เงินตรงนี้ประมาณ 500*100/12 = 4,167 บาท เคสนี้ผมคิดไว้แบบ
เดินท่อรวมไป 500 เมตรก็ประมาณ 20,000 บาทก็แล้วกันครับ เอาแบบต้นไม้ได้น้ำทั่วถึงไปเลย
แต่ส่วนใหญ่เราจะไม่ใช้น้ำจากบ่อบาดาลตรงเลยโดยไม่ผ่านบ่อพัก ให้สูบเก็บใส่แท๊งค์ไว้ที่ติดตั้งไว้ข้างบ่อบาดาล (ติดตั้งสวิทช์ลูกลอยอัตโนมัติไว้ให้ปั๊มมันติดเมื่อน้ำลดถึงระดับที่ตั้งไว้ และหยุดเมื่อน้ำเพิ่มถึงระดับที่ต้องการ) แท๊งค์เก็บหรือบ่อพักก็แล้วแต่ขนาด หากเอาแค่ 10,000 ลิตร ก็ไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือหากจะ
ก่อเป็นบ่อปูน+กันซึม เอาแบบเป็นแสนลิตรก็ประมาณ 5 หมื่นบาท(ก่ออิฐบล็อคและก็ฉาบปูนผสมน้ำยากันซึม ห้ามใช้อิฐมวลเบาเด็ดขาด) ผมตีราคาบ่อพักไว้ 5 หมื่นบาทก็แล้วกันครับรวมราคาสวิทช์อัตโนมัตตัวละไม่กี่ร้อยไว้แล้วในนี้เลยก็แล้วกัน เพราะจุดประสงค์หลักที่เจาะน้ำมาใช้ก็เพื่อการเกษตรทดแทนจากน้ำในธรรมชาติที่แห้งขอดจึงต้องใช้น้ำมากหน่อย และน้ำจากบ่อบาดาลจะเติมลงบ่อพักนี้เรื่อยๆครับ
ต้นกำลังส่งน้ำออกไปยังพื้นที่เป้าหมายเอาเป็นปั๊มหอยโข่งขนาด 3 " ก็แล้วกัน (แล้วค่อยแยกไลน์ลดขนาดท่อลงไปตามความเหมาะสม)
ราคาไม่เกิน 15,000 บาท (หากให้มันเปิดปิดตามเวลาที่ต้องการก็ติดตั้ง Timer เอา ตีราคาให้ไม่เกิน 1,000 บาท) แล้วเดินไปไกลเท่าไหร่ก็คิดคำนวนจากความยาวท่อที่ผมกล่าวเอาไว้ข้างต้นเอาครับ ในกรณีที่ส่งน้ำไปไกลเราจำเป็นที่จะต้องติดตั้งหม้อลม (air chamber หรือชาวบ้านบางคนเรียกแอร์แวะ) ในแนวตั้งตรงตำแหน่งหลังปั๊ม เพราะลมหรืออากาศที่มากับน้ำจะลอยขึ้นไปสู่ส่วนบนเจ้าหม้อลมอันนี้แล้วมันก็จะไปต่อไม่ได้ก็จะผลักเอาน้ำให้มีแรงดันพุ่งออกไปให้ไกลขึ้นหลายเท่าตัวของประสิทธิภาพปั๊ม ให้
ค่างบทำหม้อลม + เช็ควาล์วกันลมย้อนกลับกระแทกปั๊มไว้ที่ 1,000 บาทก็แล้วกันครับ
อันนี้เป็นแค่การคำนวนราคาแบบคร่าวๆของหน่วยย่อยหน่วยหนึ่งในการทำระบบน้ำบาดาลไว้ใช้เพื่อการเกษตร หรือเพื่อการอื่นๆเท่านั้นครับ เป็นเพียงข้อมูลเสริมเพื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่รัฐบาลตั้งเอาไว้ ว่าเขาจะเจาะท่อขนาดเท่าไหร่ ลึกเท่าไหร่ ราคาประมาณที่ผมคิดไว้ทั้งระบบคล่าวๆ (เดินท่อออกจากบ่อพักแล้วด้วย 500 เมตร) คือประมาณ 127,000 บาท/จุด ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่น้อยกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ (189,591 บาท/จุด) ครับ แต่ไฮไลท์มันไม่ได้อยู่ที่ตรงนี้ งบประมาณที่ตั้งไว้ผมรับได้แน่นอนกับส่วนต่างเท่านี้ หากชาวบ้านได้ประโยชน์จริงๆ แต่งานที่ออกมามันจะได้ครบทั้งระบบแบบที่กล่าวไว้ทั้งหมดข้างต้นหรือเปล่าเท่านั้น หากเป็นราคาแค่จ้างขุดบ่อบาดาลเฉยๆ แล้ที่เหลือให้ชาวบ้านไปดำเนินการสูบขึ้นมาใช้เองดำเนินการเองต่อทั้งหมดก็ถือว่าแพงเกินไป หรือติดตั้งบ่อบาดาลพร้อมปั๊มไว้ แต่ไม่มีบ่อพัก ไม่มีปั๊มต้นกำลังในการส่งต่อไปให้ชาวบ้านก็ยังถือว่าแพงและไม่สมเหตุสมผลกับงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชนที่ต้องเสียไปครับ จุดประสงค์ของกระทู้นี้เพียงเพื่ออยากแจกแจงให้ท่านผู้มีอำนาจ และผู้ที่อนุมัติงบได้เห็นและใช้งบประมาณที่คุ้มค่าและมีประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชนเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจมาขัดขวางหรือขัดแข้งขัดขาในการทำงานแต่อย่างใด อะไรที่ทำแล้วชาวบ้านได้ประโยชน์ทำไปเลยครับ เพียงแค่อยากจะรู้ว่างานที่มันจะได้ออกมานั้นประชาชนต้องได้รับประโยชน์จากงบประมาณตรงนี้สูงสุดหรือไม่ และคุ้มค่าหรือไม่ ส่วนโปรเจคอะไรที่มันจะสร้างความเดือดร้อนและรำคาญใจให้กับประชาชนผมในฐานะประชาชนก็มีสิทธิที่จะท้วงติงและไม่เห็นด้วยเช่นกันครับ ก็ค่อยมาว่ากันเป็นเรื่องๆไปครับ
มาริโอ้ 25 มิถุนายน 2558
ปล. โดยความเห็นส่วนตัวมันน่าจะเพิ่มจุดที่จะเจาะมากกว่านี้ และงบประมาณที่ไปลงตรงนี้ต้องให้ความสำคัญมากกว่าแค่การนำงบประมาณที่เหลือจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมาใช้เท่านั้น เพราะน้ำคือปัจจัยหลักในการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ หากสิ่งที่ทำไปมันไม่เพียงพอต่อการเกษตรเราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการอื่นได้ เช่นใช้กิน ใช้อาบได้เป็นต้นครับ
มาวิเคราะห์เรื่องขุดบ่อบาดาลจำนวน 269 จุด แก้ภัยแล้งกันครับ จากงบประมาณ 51 ล้านบาท มาก-น้อย ไปไหม มาแชร์กัน (by มาริโอ้)
ที่มา http://www.dailynews.co.th/politics/330068
เอามาหารหาค่าเฉลี่ย ตกจุกละเกือบ 200 ล้านบาท ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ
จนมีข่าวออกมาใหม่ในวันรุ่งขึ้นว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะใช้งบที่เหลือของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวน 51 ล้านบาท นำไปขุดเจาะน้ำบาดาลให้แก่ประชาชน http://hilight.kapook.com/view/122341 โดยเฉลี่ยแล้วตกประมาณจุดละ 189,591 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นเก้าพันห้าร้อยเก้าสิบเอ็ดบาท)
คราวนี้เราลองมาวิเคราะห์ดูว่าในกรณีที่เราเจาะใช้เอง เราจะมาประมาณราคากัน เอาแบบเดินทั้งระบบเข้าไปยังต้นไม้หรือพืชทางการเกษตรของคุณเลยก็แล้วกันครับ
จากประสบการณ์จริงที่เคยไปเดินระบบน้ำทั้งระบบไว้ เจาะบาดาลลึก 40 เมตร จนผ่านชั้นหินที่ไปสู่ชั้นที่มีน้ำบาดาล [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ค่าเจาะ 17,000 บาทครับ ราคานี้ใช้ท่อ PVC 5" ขนาดความหนาเบอร์ 8.5 (ส่วนใหญ่ผู้รับงานจะใช้ท่อ 4") ซึ่งความลึกขนาดนี้จะเป็นความลึกโดยประมาณเฉลี่ยต่อในหลายๆพื้นที่ บางที่อาจจะต้องเจาะลึกกว่านั้นขึ้นไป แต่บางพื้นที่แค่ไม่เกิน 10 เมตรเราก็จะเจอตาน้ำแล้วครับ เอาเป็นว่าเฉพาะค่าเจาะเฉลี่ยผมให้ราคาปัดไว้เผื่อที่ 25,000 บาท ก็แล้วกันครับ (เผื่อไว้ในกรณีที่บริเวณที่จะเจาะไม่มีน้ำที่จะไปหล่อเย็นหัวเจาะเพราะจะทำให้เจาะยากและหัวเจาะไหม้หรือแตกหักได้ จึงจำเป็นต้องเผื่อค่าน้ำที่ทางผู้เจาะจะได้นำมาใช้ด้วย)
ผมใช้ Submersible Pump อย่างดีของ Franklin ปั๊มบาดาล 1 แรงม้า 7 ใบพัด Schaefer TRI-SEAL ขนาดท่อออกได้ทั่ง 1 1/2" และ 1 1/4" ตัวละ 14,000 บาท จุ่มลงไปในก้นบ่อที่เจาะ ดูดไปเรื่อยๆจนกว่าน้ำมันจะใสหรือหายขุ่นบางที่วันเดียวก็ใสแล้ว บางที่ก็นานกว่านั้น เหตุผลที่ใช้ปั๊มแค่ 1 แรงม้าก็คือ หากเราใช้ปั๊มที่แรงกว่านั้น น้ำจากตาน้ำบ่อบาดาลจะไหลกลับเข้ามาป้อนเข้าปี๊มไม่ทันตามอัตราการไหลของน้ำของปั๊ม ไม่ใช่ว่าอยากจะดูดขึ้นมาแรงเท่าไหร่ก็ได้ ไม่งั้นจะได้น้ำบ้างอากาศบ้าง และอาจจะทำให้ปั๊มพังได้ในกรณีที่น้ำมาไม่ทันขาดช่วงนานๆ และในกรณีที่เจาะไปไม่ลึกแต่เจอตาน้ำแล้ว ผู้ใช้หรือเกษตรกรที่ต้องการประหยัดและติดตั้งง่ายก็ให้ไปใช้ปั๊มหอยโข่งตัวเล็กๆขนาด 0.5 หรือ 1 HP มาใช้แทน Submersible Pump ก็ได้ราคาไม่กี่บาท เอาแบบดีของอิตาลี่ก็ระมาณ 8-9 พันบาท หากเป็นของไทยหรือจีนแดงก็จะอยู่ที่พันกว่าบาทจนไปถึงสี่พันกว่าบาท โดยวางปั๊มไว้ที่ปากบ่อติดตั้งท่อ PVC และฟุตวาล์ว(หัวกระโหลกกันน้ำไหลออกหมดท่อ) ได้เลย ราคาตรงนี้ผมปัดให้เป็น 15,000 บาทเลยคิดไว้ในกรณีที่ใช้ Submersible Pump เผื่อสายไฟเพิ่มเติมและเบรคเกอร์ควบคุมเข้าไปแล้ว
ค่าเดินท่อรวมอุปกรณ์ ไม่เกิน 500 บาท / 12 เมตร (คิดคล่าวๆโดยเฉลี่ยจากการใช้ทั้งท่อ PE ท่อ PVC หรือสายยาง อย่างใดอย่างหนึ่ง) หากต้องการเดินท่อในตำแหน่งที่ห่างจากบ่อไป 100 เมตร จะต้องใช้ เงินตรงนี้ประมาณ 500*100/12 = 4,167 บาท เคสนี้ผมคิดไว้แบบเดินท่อรวมไป 500 เมตรก็ประมาณ 20,000 บาทก็แล้วกันครับ เอาแบบต้นไม้ได้น้ำทั่วถึงไปเลย
แต่ส่วนใหญ่เราจะไม่ใช้น้ำจากบ่อบาดาลตรงเลยโดยไม่ผ่านบ่อพัก ให้สูบเก็บใส่แท๊งค์ไว้ที่ติดตั้งไว้ข้างบ่อบาดาล (ติดตั้งสวิทช์ลูกลอยอัตโนมัติไว้ให้ปั๊มมันติดเมื่อน้ำลดถึงระดับที่ตั้งไว้ และหยุดเมื่อน้ำเพิ่มถึงระดับที่ต้องการ) แท๊งค์เก็บหรือบ่อพักก็แล้วแต่ขนาด หากเอาแค่ 10,000 ลิตร ก็ไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือหากจะก่อเป็นบ่อปูน+กันซึม เอาแบบเป็นแสนลิตรก็ประมาณ 5 หมื่นบาท(ก่ออิฐบล็อคและก็ฉาบปูนผสมน้ำยากันซึม ห้ามใช้อิฐมวลเบาเด็ดขาด) ผมตีราคาบ่อพักไว้ 5 หมื่นบาทก็แล้วกันครับรวมราคาสวิทช์อัตโนมัตตัวละไม่กี่ร้อยไว้แล้วในนี้เลยก็แล้วกัน เพราะจุดประสงค์หลักที่เจาะน้ำมาใช้ก็เพื่อการเกษตรทดแทนจากน้ำในธรรมชาติที่แห้งขอดจึงต้องใช้น้ำมากหน่อย และน้ำจากบ่อบาดาลจะเติมลงบ่อพักนี้เรื่อยๆครับ
ต้นกำลังส่งน้ำออกไปยังพื้นที่เป้าหมายเอาเป็นปั๊มหอยโข่งขนาด 3 " ก็แล้วกัน (แล้วค่อยแยกไลน์ลดขนาดท่อลงไปตามความเหมาะสม) ราคาไม่เกิน 15,000 บาท (หากให้มันเปิดปิดตามเวลาที่ต้องการก็ติดตั้ง Timer เอา ตีราคาให้ไม่เกิน 1,000 บาท) แล้วเดินไปไกลเท่าไหร่ก็คิดคำนวนจากความยาวท่อที่ผมกล่าวเอาไว้ข้างต้นเอาครับ ในกรณีที่ส่งน้ำไปไกลเราจำเป็นที่จะต้องติดตั้งหม้อลม (air chamber หรือชาวบ้านบางคนเรียกแอร์แวะ) ในแนวตั้งตรงตำแหน่งหลังปั๊ม เพราะลมหรืออากาศที่มากับน้ำจะลอยขึ้นไปสู่ส่วนบนเจ้าหม้อลมอันนี้แล้วมันก็จะไปต่อไม่ได้ก็จะผลักเอาน้ำให้มีแรงดันพุ่งออกไปให้ไกลขึ้นหลายเท่าตัวของประสิทธิภาพปั๊ม ให้ค่างบทำหม้อลม + เช็ควาล์วกันลมย้อนกลับกระแทกปั๊มไว้ที่ 1,000 บาทก็แล้วกันครับ
อันนี้เป็นแค่การคำนวนราคาแบบคร่าวๆของหน่วยย่อยหน่วยหนึ่งในการทำระบบน้ำบาดาลไว้ใช้เพื่อการเกษตร หรือเพื่อการอื่นๆเท่านั้นครับ เป็นเพียงข้อมูลเสริมเพื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่รัฐบาลตั้งเอาไว้ ว่าเขาจะเจาะท่อขนาดเท่าไหร่ ลึกเท่าไหร่ ราคาประมาณที่ผมคิดไว้ทั้งระบบคล่าวๆ (เดินท่อออกจากบ่อพักแล้วด้วย 500 เมตร) คือประมาณ 127,000 บาท/จุด ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่น้อยกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ (189,591 บาท/จุด) ครับ แต่ไฮไลท์มันไม่ได้อยู่ที่ตรงนี้ งบประมาณที่ตั้งไว้ผมรับได้แน่นอนกับส่วนต่างเท่านี้ หากชาวบ้านได้ประโยชน์จริงๆ แต่งานที่ออกมามันจะได้ครบทั้งระบบแบบที่กล่าวไว้ทั้งหมดข้างต้นหรือเปล่าเท่านั้น หากเป็นราคาแค่จ้างขุดบ่อบาดาลเฉยๆ แล้ที่เหลือให้ชาวบ้านไปดำเนินการสูบขึ้นมาใช้เองดำเนินการเองต่อทั้งหมดก็ถือว่าแพงเกินไป หรือติดตั้งบ่อบาดาลพร้อมปั๊มไว้ แต่ไม่มีบ่อพัก ไม่มีปั๊มต้นกำลังในการส่งต่อไปให้ชาวบ้านก็ยังถือว่าแพงและไม่สมเหตุสมผลกับงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชนที่ต้องเสียไปครับ จุดประสงค์ของกระทู้นี้เพียงเพื่ออยากแจกแจงให้ท่านผู้มีอำนาจ และผู้ที่อนุมัติงบได้เห็นและใช้งบประมาณที่คุ้มค่าและมีประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชนเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจมาขัดขวางหรือขัดแข้งขัดขาในการทำงานแต่อย่างใด อะไรที่ทำแล้วชาวบ้านได้ประโยชน์ทำไปเลยครับ เพียงแค่อยากจะรู้ว่างานที่มันจะได้ออกมานั้นประชาชนต้องได้รับประโยชน์จากงบประมาณตรงนี้สูงสุดหรือไม่ และคุ้มค่าหรือไม่ ส่วนโปรเจคอะไรที่มันจะสร้างความเดือดร้อนและรำคาญใจให้กับประชาชนผมในฐานะประชาชนก็มีสิทธิที่จะท้วงติงและไม่เห็นด้วยเช่นกันครับ ก็ค่อยมาว่ากันเป็นเรื่องๆไปครับ
มาริโอ้ 25 มิถุนายน 2558
ปล. โดยความเห็นส่วนตัวมันน่าจะเพิ่มจุดที่จะเจาะมากกว่านี้ และงบประมาณที่ไปลงตรงนี้ต้องให้ความสำคัญมากกว่าแค่การนำงบประมาณที่เหลือจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมาใช้เท่านั้น เพราะน้ำคือปัจจัยหลักในการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ หากสิ่งที่ทำไปมันไม่เพียงพอต่อการเกษตรเราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการอื่นได้ เช่นใช้กิน ใช้อาบได้เป็นต้นครับ