กฎหมายใหม่ 37 : ขายตรงแท้ หรือ แชร์ลูกโซ่
จริงๆ แล้วเรามีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องขายตรงและตลาดแบบตรงอยู่แล้ว แต่ พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเดิม โดยสาระสำคัญของกฎหมายใหม่นี้ กำหนดให้แยกคุณสมบัติของผู้ที่ยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทั้ง 2 ประเภทออกจากกัน คือการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ ขายตรงหรือตลาดแบบตรงให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ และเพื่อให้มีหลักประกันว่าผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครอง หากผู้บริโภคได้รับความเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ คุณสมบัติของ ผู้ขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงซึ่งต้องเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด และหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงในการวาง หลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้
รวมทั้งการแจ้งให้นายทะเบียนทราบเมื่อมีการย้ายสํานักงาน ต้องส่งรายงาน เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียน และการจัดทําเอกสารการซื้อขายสินค้าหรือบริการ และกําหนด หลักเกณฑ์การโอนกิจการและการเลิกประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง ตลอดจนกําหนดเหตุเพิกถอน ทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรงให้ชัดเจน และปรับปรุงบทกําหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง : พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ติดตามความรู้กฎหมายเข้าใจง่ายๆด้วยinfographic
https://www.facebook.com/weareoja/photos/a.664480593637716.1073741828.533062563446187/1021838554568583/?type=3&theater
กฎหมายใหม่ 37 : ขายตรงแท้ หรือ แชร์ลูกโซ่
จริงๆ แล้วเรามีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องขายตรงและตลาดแบบตรงอยู่แล้ว แต่ พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเดิม โดยสาระสำคัญของกฎหมายใหม่นี้ กำหนดให้แยกคุณสมบัติของผู้ที่ยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทั้ง 2 ประเภทออกจากกัน คือการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ ขายตรงหรือตลาดแบบตรงให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ และเพื่อให้มีหลักประกันว่าผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครอง หากผู้บริโภคได้รับความเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ คุณสมบัติของ ผู้ขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงซึ่งต้องเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด และหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงในการวาง หลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้
รวมทั้งการแจ้งให้นายทะเบียนทราบเมื่อมีการย้ายสํานักงาน ต้องส่งรายงาน เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียน และการจัดทําเอกสารการซื้อขายสินค้าหรือบริการ และกําหนด หลักเกณฑ์การโอนกิจการและการเลิกประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรง ตลอดจนกําหนดเหตุเพิกถอน ทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรงให้ชัดเจน และปรับปรุงบทกําหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง : พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ติดตามความรู้กฎหมายเข้าใจง่ายๆด้วยinfographic
https://www.facebook.com/weareoja/photos/a.664480593637716.1073741828.533062563446187/1021838554568583/?type=3&theater