หลายๆ คนพร่ำบ่นว่า “เมื่อไรฉันจะมีโอกาสดีๆ ในชีวิตเหมือนคนอื่นเขาเสียที” “คนนั้นรวยได้เพราะโอกาสดี มีคนให้การสนับสนุน” “แหม…ถ้าฉันรู้ว่าทำแบบนั้นแล้วจะรวย ฉันคงทำไปแล้ว…ไม่น่าให้เขาตัดหน้าเลย” คนที่ประสบความสำเร็จ อาจจะมีโอกาสไม่ต่างจากคนธรรมดาทั่วไป แต่สิ่งที่ต่างก็คือคนที่ประสบความสำเร็จมักจะมองหาโอกาสแทนที่จะรอโอกาสวิ่งเข้ามาหา เขาจะมองเห็นว่าโอกาสมีอยู่ในทุกที่และทุกเวลา ตัวอย่างของธุรกิจญี่ปุ่นที่เกิดจากการแก้ปัญหาได้แก่
• East Japan Railway Company ได้ค้นพบน้ำแร่ในขณะที่บริษัทกำลังทำเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่ ที่ต้องตัดผ่านภูเขาหลายลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงภูเขา “ทานิกาว่า” ทีมวิศวกรต้องแก้ปัญหาด้วยการดูดน้ำซึมใต้ดินจำนวนมหาศาลตลอดแนวอุโมงค์นั้นออกไป แต่วันหนึ่งฝ่ายคนงานก่อสร้างได้ลองดื่มน้ำที่ซึมออกมาและรู้สึกติดใจในรสชาติ หัวหน้างานจึงเสนอหัวหน้าวิศวกรว่าแทนที่จะดูดน้ำทิ้ง น่าจะนำน้ำแร่ชั้นเยี่ยมแบบนี้มาบรรจุขวด เพื่อให้คนอื่นได้ดื่มด้วย และแล้ว Japan Railway East ก็ได้ขยายแนวธุรกิจไปผลิตและจำหน่าย “น้ำแร่โอชิมิซึ” ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย บริษัทยังได้ติดตั้งตู้กดแบบหยอดเหรียญตามสถานีต่างๆ เกือบพันแห่ง มีการทำโฆษณาเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดน้ำจากภูเขาและคุณสมบัติของน้ำแร่ที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ มากมายที่ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย ต่อมาบริษัทยังมีการผลิตน้ำอื่นๆ เช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้ ออกมาจำหน่ายและได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ
• Iwasaki Bei ผู้ผลิตโมเดลอาหารญี่ปุ่นซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น ร้านอาหารญี่ปุ่นที่ผุดขึ้นมากมายตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในช่วงปลายสมัยไทโช (1912-1926) จนถึงต้นสมัยโชวะ (1926-1989 ) บางร้านมีคนเข้ามารับประทานมากถึง 20,000 คนในแต่ละวัน ร้านอาหารส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการถูกต่อว่าและขอคืนอาหารหลังจากปรุงเสร็จ เพราะลูกค้าบอกว่าหน้าตาและขนาดของอาหารที่ได้รับไม่เห็นจะเหมือนที่คิดไว้เลย ร้านอาหารต่างๆ จึงแก้ปัญหาโดยเริ่มปรุงอาหารจริงเมนูต่างๆ เพื่อวางเป็นตัวอย่าง แต่ก็เกิดปัญหาอีก เพราะอาหารจริงที่วางเป็นตัวอย่างเน่าเสียได้ง่าย บางทีก็เปลี่ยนสีเปลี่ยนรูปร่างเมื่อเวลาผ่านไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือไม่ก็นำแมลงวันจำนวนมากให้เข้าร้านด้วย
วันหนึ่ง Takizo Iwasaki ได้เอามือแตะที่เทียนไขเล่น และก็ต้องประหลาดใจว่าขี้ผึ้งจากเทียนไขได้สร้างรอยนิ้วมือที่เหมือนนิ้วเค้าทุกประการ เขาจึงคิดจะทำโมเดลอาหารจากขี้ผึ้ง โมเดลแรกที่เขาลองทำคือ ออมเล็ต และก็ดีอกใจอย่างมากเพราะออมเล็ตปลอมนั้นเหมือนจานจริงทุกประการ เขาได้เริ่มตั้งบริษัท Iwasaki Bei ขึ้นในปี 1932 แต่แทนที่เขาจะขายโมเดลที่ทำขึ้น เขากลับให้เช่าโมเดลเหล่านี้แทน โดยคิดราคาเช่าแพงกว่าราคาอาหารจริงถึง 10 เท่า แต่ร้านค้าก็ยังยินดีจ่ายเพราะยังไงก็ถูกว่าราคาอาหารจริงที่ต้องปรุงวันต่อวัน เท่ากับต้องจ่าย 30 เท่าในหนึ่งเดือน หากใครเคยไปเยือนประเทศญี่ปุ่น คงต้องเคยเห็นโมเดลอาหารที่ดูน่ารับประทานเหลือเกินตั้งโชว์เรียงรายอยู่หน้าร้านอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวแกงกะหรี่ หมูทอดทงคัตสึ กุ้งเทมปุระ ซูชิ ราเมง ตลอดจนของหวาน ไอศกรีม หรือเครื่องดื่มต่างๆ จนดูไม่รู้ว่าเป็นของปลอม
• A-Dot Company ที่ตั้งขึ้นจากความต้องการลดปริมาณขยะจากอาหารที่มีถึงกว่า 18 ล้านตัน และจำนวน 5 – 8 ล้านตันมาจากอาหารที่ถูกทิ้งทั้งๆ ที่ยังรับประทานได้ เพราะประเทศญี่ปุ่นตั้งมาตรฐานด้านอาหารไว้สูงมาก
บริษัท A-Dot Company จึงได้ตั้งโครงการขึ้นเพื่อช่วยลดส่วนสูญเสียที่ต้องทิ้งอาหารเหล่านี้ โดยมุ่งไปที่อาหารที่จะถูกทิ้งเพียงเพราะเหตุผลที่ว่าขนาด สี หรือรูปร่างวัตถุดิบเหล่านั้นไม่สมบูรณ์แบบ เช่น มีตำหนิ มีรอยด่างพร้อย ผิดรูป มีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่ามาตรฐานของร้านค้าใหญ่ทั้งๆ ที่ยังคงรับประทานได้ โดยบริษัทนำอาหารที่กำลังจะถูกทิ้งเหล่านี้มาปรุงเป็นอาหารที่น่ารับประทานในร้านอาหาร 4 แห่งในโตเกียว ซึ่งเสิร์ฟอาหารต่างประเภทกัน โดยอาหารที่นำมาปรุงก็นำมาจากเกษตรกร โรงงาน หรือคนขายปลาที่เป็นคู่ค้ากับร้าน โดยขายอาหารในราคาถูกกว่าสินค้าปกติ ร้านทั้ง 4 แห่งได้แก่ Mottainai Farm Radice เป็นร้านอาหารในตอนกลางวันและเป็นบาร์ในตอนกลางคืน อาหารที่ขายส่วนมากจะปรุงจากผัก Uoharu จะเน้นอาหารทะเลที่นำมาจากตลาดปลาสึกิจิ แต่ขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ หรือไม่ก็หางถูกตัดขาด Tashiten-maru เป็นร้านในรูปของบาร์แบบยืน โดยนำวัตถุดิบมาจากจังหวัดชิมาเนะ (Shimane) และทตโทริ (Tottori) จานเด็ดของร้านนี้คือขาปูราคา 300 เยนที่ขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน Omakase เป็นร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบราคาค่อนข้างแพง แต่มาในรูปที่ไม่สมบูรณ์แบบมากนัก
จะเห็นได้ว่าโอกาสมีอยู่ทุกเมื่อ ดังนั้นลองเปลี่ยนจากการถามว่า “เมื่อไรโอกาสจะเป็นของเรา” มาเป็น “วันนี้เรามีโอกาสดีๆ อะไรบ้าง” นะคะ
เรื่องโดย : พิชชารัศมิ์ www.marumura.com
ธุรกิจญี่ปุ่นที่ตั้งขึ้นจากการเกิดจากปัญหา
• East Japan Railway Company ได้ค้นพบน้ำแร่ในขณะที่บริษัทกำลังทำเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่ ที่ต้องตัดผ่านภูเขาหลายลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงภูเขา “ทานิกาว่า” ทีมวิศวกรต้องแก้ปัญหาด้วยการดูดน้ำซึมใต้ดินจำนวนมหาศาลตลอดแนวอุโมงค์นั้นออกไป แต่วันหนึ่งฝ่ายคนงานก่อสร้างได้ลองดื่มน้ำที่ซึมออกมาและรู้สึกติดใจในรสชาติ หัวหน้างานจึงเสนอหัวหน้าวิศวกรว่าแทนที่จะดูดน้ำทิ้ง น่าจะนำน้ำแร่ชั้นเยี่ยมแบบนี้มาบรรจุขวด เพื่อให้คนอื่นได้ดื่มด้วย และแล้ว Japan Railway East ก็ได้ขยายแนวธุรกิจไปผลิตและจำหน่าย “น้ำแร่โอชิมิซึ” ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย บริษัทยังได้ติดตั้งตู้กดแบบหยอดเหรียญตามสถานีต่างๆ เกือบพันแห่ง มีการทำโฆษณาเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดน้ำจากภูเขาและคุณสมบัติของน้ำแร่ที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ มากมายที่ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย ต่อมาบริษัทยังมีการผลิตน้ำอื่นๆ เช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้ ออกมาจำหน่ายและได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ
• Iwasaki Bei ผู้ผลิตโมเดลอาหารญี่ปุ่นซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น ร้านอาหารญี่ปุ่นที่ผุดขึ้นมากมายตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในช่วงปลายสมัยไทโช (1912-1926) จนถึงต้นสมัยโชวะ (1926-1989 ) บางร้านมีคนเข้ามารับประทานมากถึง 20,000 คนในแต่ละวัน ร้านอาหารส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการถูกต่อว่าและขอคืนอาหารหลังจากปรุงเสร็จ เพราะลูกค้าบอกว่าหน้าตาและขนาดของอาหารที่ได้รับไม่เห็นจะเหมือนที่คิดไว้เลย ร้านอาหารต่างๆ จึงแก้ปัญหาโดยเริ่มปรุงอาหารจริงเมนูต่างๆ เพื่อวางเป็นตัวอย่าง แต่ก็เกิดปัญหาอีก เพราะอาหารจริงที่วางเป็นตัวอย่างเน่าเสียได้ง่าย บางทีก็เปลี่ยนสีเปลี่ยนรูปร่างเมื่อเวลาผ่านไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือไม่ก็นำแมลงวันจำนวนมากให้เข้าร้านด้วย
วันหนึ่ง Takizo Iwasaki ได้เอามือแตะที่เทียนไขเล่น และก็ต้องประหลาดใจว่าขี้ผึ้งจากเทียนไขได้สร้างรอยนิ้วมือที่เหมือนนิ้วเค้าทุกประการ เขาจึงคิดจะทำโมเดลอาหารจากขี้ผึ้ง โมเดลแรกที่เขาลองทำคือ ออมเล็ต และก็ดีอกใจอย่างมากเพราะออมเล็ตปลอมนั้นเหมือนจานจริงทุกประการ เขาได้เริ่มตั้งบริษัท Iwasaki Bei ขึ้นในปี 1932 แต่แทนที่เขาจะขายโมเดลที่ทำขึ้น เขากลับให้เช่าโมเดลเหล่านี้แทน โดยคิดราคาเช่าแพงกว่าราคาอาหารจริงถึง 10 เท่า แต่ร้านค้าก็ยังยินดีจ่ายเพราะยังไงก็ถูกว่าราคาอาหารจริงที่ต้องปรุงวันต่อวัน เท่ากับต้องจ่าย 30 เท่าในหนึ่งเดือน หากใครเคยไปเยือนประเทศญี่ปุ่น คงต้องเคยเห็นโมเดลอาหารที่ดูน่ารับประทานเหลือเกินตั้งโชว์เรียงรายอยู่หน้าร้านอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวแกงกะหรี่ หมูทอดทงคัตสึ กุ้งเทมปุระ ซูชิ ราเมง ตลอดจนของหวาน ไอศกรีม หรือเครื่องดื่มต่างๆ จนดูไม่รู้ว่าเป็นของปลอม
• A-Dot Company ที่ตั้งขึ้นจากความต้องการลดปริมาณขยะจากอาหารที่มีถึงกว่า 18 ล้านตัน และจำนวน 5 – 8 ล้านตันมาจากอาหารที่ถูกทิ้งทั้งๆ ที่ยังรับประทานได้ เพราะประเทศญี่ปุ่นตั้งมาตรฐานด้านอาหารไว้สูงมาก
บริษัท A-Dot Company จึงได้ตั้งโครงการขึ้นเพื่อช่วยลดส่วนสูญเสียที่ต้องทิ้งอาหารเหล่านี้ โดยมุ่งไปที่อาหารที่จะถูกทิ้งเพียงเพราะเหตุผลที่ว่าขนาด สี หรือรูปร่างวัตถุดิบเหล่านั้นไม่สมบูรณ์แบบ เช่น มีตำหนิ มีรอยด่างพร้อย ผิดรูป มีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่ามาตรฐานของร้านค้าใหญ่ทั้งๆ ที่ยังคงรับประทานได้ โดยบริษัทนำอาหารที่กำลังจะถูกทิ้งเหล่านี้มาปรุงเป็นอาหารที่น่ารับประทานในร้านอาหาร 4 แห่งในโตเกียว ซึ่งเสิร์ฟอาหารต่างประเภทกัน โดยอาหารที่นำมาปรุงก็นำมาจากเกษตรกร โรงงาน หรือคนขายปลาที่เป็นคู่ค้ากับร้าน โดยขายอาหารในราคาถูกกว่าสินค้าปกติ ร้านทั้ง 4 แห่งได้แก่ Mottainai Farm Radice เป็นร้านอาหารในตอนกลางวันและเป็นบาร์ในตอนกลางคืน อาหารที่ขายส่วนมากจะปรุงจากผัก Uoharu จะเน้นอาหารทะเลที่นำมาจากตลาดปลาสึกิจิ แต่ขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ หรือไม่ก็หางถูกตัดขาด Tashiten-maru เป็นร้านในรูปของบาร์แบบยืน โดยนำวัตถุดิบมาจากจังหวัดชิมาเนะ (Shimane) และทตโทริ (Tottori) จานเด็ดของร้านนี้คือขาปูราคา 300 เยนที่ขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน Omakase เป็นร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบราคาค่อนข้างแพง แต่มาในรูปที่ไม่สมบูรณ์แบบมากนัก
จะเห็นได้ว่าโอกาสมีอยู่ทุกเมื่อ ดังนั้นลองเปลี่ยนจากการถามว่า “เมื่อไรโอกาสจะเป็นของเรา” มาเป็น “วันนี้เรามีโอกาสดีๆ อะไรบ้าง” นะคะ
เรื่องโดย : พิชชารัศมิ์ www.marumura.com