สนช.ประชุมลับ 1 ชม. ถกผลสอบอุ้ม 7 สนช. โดดประชุม มีมติเอกฉันท์ไม่ผิดจริยธรรม เป็นไปตามข้อบังคับการประชุม
ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธาน โดยที่ประชุมพิจารณาผลการตรวจสอบของคณะกรรมการจริยธรรม สนช. ที่มีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2 เป็นประธาน เรื่องข้อร้องเรียน 7 สนช. ที่ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสนช.เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสนช.พ.ศ. 2557 ได้แก่
1.พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์
2.นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ
3.นายดิสทัต โหตระกิตย์
4.นายสุพันธุ์ มงคลสุธี
5.พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา
6.พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง
7.พล.ร.อ.ณะ อารีนิจ
โดยเป็นการประชุมลับใช้เวลาร่วม 1 ชั่วโมง ระหว่างการพิจารณา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. ในฐานะผู้อนุมัติใบลาประชุม และสมาชิกสนช. จำนวน 7 คน ขอไม่อยู่ร่วมประชุม เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งคณะกรรมการฯได้รายงานผลการสอบสวน โดยพบว่า การลาประชุมของแต่ละคนเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของหน่วยงานต้นสังกัดของตนเอง และเมื่อพิจารณาแล้วถือว่าขาดการประชุมน้อยมาก จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่ผิดจริยธรรมและเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการจริยธรรม
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ... ของคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. เป็นประธานกมธ. ทั้งนี้ ที่ประชุมสนช.มีมติเห็นชอบต่อร่างดังกล่าวด้วยคะแนน198 ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ประกาศใช้เป็นข้อบังคับต่อไป
อย่างไรก็ตาม การยกร่างข้อบังคับการประชุมสนช.ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560 โดยมีทั้งหมด 225 ข้อ มาใช้แทนข้อบังคับการประชุมสนช. พ.ศ.2557 ที่ยกเลิกไป โดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีการแก้ไขเนื้อหาสาระจากร่างข้อบังคับการประชุมสนช.ปี 2557 แต่ได้ตัดเนื้อหาสำคัญในหมวดการสิ้นสุดสมาชิกภาพสนช. เรื่องการให้สมาชิกต้องมาแสดงตน เพื่อลงมติในการประชุมสภามากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนครั้งที่มีการลงมติทั้งหมดในรอบระยะเวลา 90 วัน ออกไป และตัดเรื่องของกระบวนการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกไป เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ได้ตัดอำนาจหน้าที่การถอดถอนออกไป
ด้านนายสุรชัย ในฐานะประธานกมธ. ชี้แจงว่าเมื่อข้อบังคับประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วสมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อบังคับฉบับนี้ แต่ในกรณีที่มีการเสนอข่าว ข้อบังคับฉบับใหม่ได้ตัดเรื่องการบังคับให้สมาชิกแสดงตนเพื่อลงมติ 1 ใน 3 ในรอบระยะเวลา 90 วัน หากไม่ครบจะทำให้ต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพออกไป ทำให้สังคมเกิดความสับสนและสนช.เกิดความเสียหาย ตนขอชี้แจงว่า ข้อบังคับฉบับใหม่นี้เขียนตามรัฐธรรมนูญปี 2560 บัญญัติว่า หากสมาชิกขาดประชุมเกิน 1 ใน 4 ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมนั้นๆจะทำให้สิ้นสมาชิกสภาพ แต่ไม่ได้บังคับเกณฑ์การลงมติดังกล่าวของสมาชิกเหมือนรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 ที่ระบุว่า การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสนช.เป็นไปตามข้อบังคับการประชุม ดังนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้อำนาจไว้เหมือนปี 57 ข้อบังคับการประชุมก็ไม่สามารถเขียนไว้ได้
ที่มา :
http://news.voicetv.co.th/thailand/499264.html
มติเอกฉันท์ 7 สนช. โดดประชุม ไม่ผิดจริยธรรม-แก้กฎใหม่เปิดช่องขาดประชุมมากขึ้น
ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธาน โดยที่ประชุมพิจารณาผลการตรวจสอบของคณะกรรมการจริยธรรม สนช. ที่มีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2 เป็นประธาน เรื่องข้อร้องเรียน 7 สนช. ที่ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสนช.เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสนช.พ.ศ. 2557 ได้แก่
1.พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์
2.นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ
3.นายดิสทัต โหตระกิตย์
4.นายสุพันธุ์ มงคลสุธี
5.พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา
6.พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง
7.พล.ร.อ.ณะ อารีนิจ
โดยเป็นการประชุมลับใช้เวลาร่วม 1 ชั่วโมง ระหว่างการพิจารณา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. ในฐานะผู้อนุมัติใบลาประชุม และสมาชิกสนช. จำนวน 7 คน ขอไม่อยู่ร่วมประชุม เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งคณะกรรมการฯได้รายงานผลการสอบสวน โดยพบว่า การลาประชุมของแต่ละคนเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของหน่วยงานต้นสังกัดของตนเอง และเมื่อพิจารณาแล้วถือว่าขาดการประชุมน้อยมาก จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่ผิดจริยธรรมและเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการจริยธรรม
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ... ของคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. เป็นประธานกมธ. ทั้งนี้ ที่ประชุมสนช.มีมติเห็นชอบต่อร่างดังกล่าวด้วยคะแนน198 ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ประกาศใช้เป็นข้อบังคับต่อไป
อย่างไรก็ตาม การยกร่างข้อบังคับการประชุมสนช.ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560 โดยมีทั้งหมด 225 ข้อ มาใช้แทนข้อบังคับการประชุมสนช. พ.ศ.2557 ที่ยกเลิกไป โดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีการแก้ไขเนื้อหาสาระจากร่างข้อบังคับการประชุมสนช.ปี 2557 แต่ได้ตัดเนื้อหาสำคัญในหมวดการสิ้นสุดสมาชิกภาพสนช. เรื่องการให้สมาชิกต้องมาแสดงตน เพื่อลงมติในการประชุมสภามากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนครั้งที่มีการลงมติทั้งหมดในรอบระยะเวลา 90 วัน ออกไป และตัดเรื่องของกระบวนการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกไป เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ได้ตัดอำนาจหน้าที่การถอดถอนออกไป
ด้านนายสุรชัย ในฐานะประธานกมธ. ชี้แจงว่าเมื่อข้อบังคับประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วสมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อบังคับฉบับนี้ แต่ในกรณีที่มีการเสนอข่าว ข้อบังคับฉบับใหม่ได้ตัดเรื่องการบังคับให้สมาชิกแสดงตนเพื่อลงมติ 1 ใน 3 ในรอบระยะเวลา 90 วัน หากไม่ครบจะทำให้ต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพออกไป ทำให้สังคมเกิดความสับสนและสนช.เกิดความเสียหาย ตนขอชี้แจงว่า ข้อบังคับฉบับใหม่นี้เขียนตามรัฐธรรมนูญปี 2560 บัญญัติว่า หากสมาชิกขาดประชุมเกิน 1 ใน 4 ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมนั้นๆจะทำให้สิ้นสมาชิกสภาพ แต่ไม่ได้บังคับเกณฑ์การลงมติดังกล่าวของสมาชิกเหมือนรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 ที่ระบุว่า การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสนช.เป็นไปตามข้อบังคับการประชุม ดังนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้อำนาจไว้เหมือนปี 57 ข้อบังคับการประชุมก็ไม่สามารถเขียนไว้ได้
ที่มา : http://news.voicetv.co.th/thailand/499264.html