เปิดโฉมหน้าพันธมิตร BTS ลุยโมโนเรลไทย 2 สายแรก
Prev1 of 2Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 15 มิ.ย. 2560 เวลา 10:15:31 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
พลันที่ "ครม.บิ๊กตู่" ประทับตราให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป-บมจ.ซิโน-ไทยฯ-บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง) สร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู "แคราย-มีนบุรี" กับสีเหลือง "ลาดพร้าว-สำโรง" วงเงิน 1 แสนล้านบาท วันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา
อีก 2 วันต่อมา "คีรี กาญจนพาสน์" ประกาศก้องจะจดปากกาเซ็นสัญญา 16 มิ.ย.นี้ มี "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกฯด้านเศรษฐกิจเป็นประธานเซ็นปิดดีล
ภายในงาน นอกจากจะเซ็นสัญญากับ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" เพื่อรับสัมปทานก่อสร้าง จัดหาระบบ เดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ 33 ปี 3 เดือน
งานนี้ "บิ๊กบีทีเอส" ตั้งใจจัดงานใหญ่ให้สมกับที่รอมา 25 ปี ไม่ได้มีแค่พันธมิตรก่อสร้าง "ซิโน-ไทยฯ" บิ๊กโฟร์วงการรับเหมาที่สร้างรถไฟฟ้ามาสารพัดสี และ "ราชบุรีโฮลดิ้ง" ผู้ผลิตไฟฟ้าเบอร์ต้น ๆ ของเมืองไทย ที่มีฐานะการเงินสุดแกร่ง และเงินสดในมือ 16,000 ล้านบาท
ยังเปิดตัวพันธมิตร "การเงิน" ทั้งสัญชาติไทยและเทศ ที่เป็นผู้สนับสนุนหลัก โดยเฉพาะ "แบงก์กรุงเทพ" ที่เป็นคู่ค้าเจ้าพ่อบีทีเอสมานานแสนนาน
"ตอนนี้ความมั่นใจด้านการเงิน บีทีเอสมีล้น มีเงินในกระเป๋า 2 หมื่นล้าน ในวันที่ 16 มิ.ย.จะเซ็นพร้อมกันหมด ไม่ใช่เฉพาะสัมปทาน มีแบงก์ต่าง ๆ แล้วก็ผู้ผลิตรถจะซื้อ 288 ตู้ และระบบต่าง ๆ ทั้งหมดเป็นเงินกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท"
สำหรับผู้ผลิตระบบที่จะได้เค้กโมโนเรลเป็นเจ้าแรกในไทย ในส่วนขบวนรถ ทางบีทีเอสกำลังชั่งน้ำหนักระบบของ "ฉงชิ่ง" จากจีน และ "บอมบาร์ดิเอร์" จากแคนาดา แต่ฟังน้ำเสียง "คีรี" แล้ว มีแนวโน้มที่ไทยจะใช้บริการระบบ "ฉงชิ่ง"
โดย
โมโนเรลที่บีทีเอสเลือกใช้ เรียกว่า "ซูเปอร์โมโนเรล" เพราะบอดี้กว้างเท่ารถบีทีเอสอยู่ที่ 10-15 เมตร/ตู้ รองรับผู้โดยสารได้ 30,000 -40,000 คน/ชม./ทิศทาง รูปแบบจะสร้างคร่อมทาง วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 35-80 กม./ชม.
"ในโลกระบบโมโนเรล มีฮิตาชิ บอมบาร์ดิเอร์ จีน ดูว่าต้นทุนใครถูก ดีสุด น่ารักสุด ผลิตได้เร็ว น่าจะเป็นจีนเพราะบอมบาร์ดิเอร์หรือญี่ปุ่นก็ผลิตที่จีน เราจะใช้ประสบการณ์ 17 ปี ลดต้นทุนการดำเนินการ อย่างการซื้อของต้องต่อรองราคาและลดทุกอย่างที่เป็นลักเซอรี่ แต่ไม่ขี้เหร่และยังคงมาตรฐานการบริการและความปลอดภัย"
ส่วนระบบขายตั๋วและจัดเก็บค่าโดยสาร ว่ากันว่า "คีรี" อยากจะชิมลางสินค้าจากยุโรปดูบ้าง หลังใช้บริการสินค้าโซนเอเชียมานาน อยู่ระหว่างต่อรองราคา และหนึ่งในโผ มี "อินดรา" (Indra) จากประเทศสเปนรวมอยู่ด้วย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1497432550
เปิดโฉมหน้าพันธมิตร BTS ลุยโมโนเรลไทย 2 สายแรก
Prev1 of 2Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 15 มิ.ย. 2560 เวลา 10:15:31 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
พลันที่ "ครม.บิ๊กตู่" ประทับตราให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป-บมจ.ซิโน-ไทยฯ-บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง) สร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู "แคราย-มีนบุรี" กับสีเหลือง "ลาดพร้าว-สำโรง" วงเงิน 1 แสนล้านบาท วันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา
อีก 2 วันต่อมา "คีรี กาญจนพาสน์" ประกาศก้องจะจดปากกาเซ็นสัญญา 16 มิ.ย.นี้ มี "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกฯด้านเศรษฐกิจเป็นประธานเซ็นปิดดีล
ภายในงาน นอกจากจะเซ็นสัญญากับ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" เพื่อรับสัมปทานก่อสร้าง จัดหาระบบ เดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ 33 ปี 3 เดือน
งานนี้ "บิ๊กบีทีเอส" ตั้งใจจัดงานใหญ่ให้สมกับที่รอมา 25 ปี ไม่ได้มีแค่พันธมิตรก่อสร้าง "ซิโน-ไทยฯ" บิ๊กโฟร์วงการรับเหมาที่สร้างรถไฟฟ้ามาสารพัดสี และ "ราชบุรีโฮลดิ้ง" ผู้ผลิตไฟฟ้าเบอร์ต้น ๆ ของเมืองไทย ที่มีฐานะการเงินสุดแกร่ง และเงินสดในมือ 16,000 ล้านบาท
ยังเปิดตัวพันธมิตร "การเงิน" ทั้งสัญชาติไทยและเทศ ที่เป็นผู้สนับสนุนหลัก โดยเฉพาะ "แบงก์กรุงเทพ" ที่เป็นคู่ค้าเจ้าพ่อบีทีเอสมานานแสนนาน
"ตอนนี้ความมั่นใจด้านการเงิน บีทีเอสมีล้น มีเงินในกระเป๋า 2 หมื่นล้าน ในวันที่ 16 มิ.ย.จะเซ็นพร้อมกันหมด ไม่ใช่เฉพาะสัมปทาน มีแบงก์ต่าง ๆ แล้วก็ผู้ผลิตรถจะซื้อ 288 ตู้ และระบบต่าง ๆ ทั้งหมดเป็นเงินกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท"
สำหรับผู้ผลิตระบบที่จะได้เค้กโมโนเรลเป็นเจ้าแรกในไทย ในส่วนขบวนรถ ทางบีทีเอสกำลังชั่งน้ำหนักระบบของ "ฉงชิ่ง" จากจีน และ "บอมบาร์ดิเอร์" จากแคนาดา แต่ฟังน้ำเสียง "คีรี" แล้ว มีแนวโน้มที่ไทยจะใช้บริการระบบ "ฉงชิ่ง"
โดยโมโนเรลที่บีทีเอสเลือกใช้ เรียกว่า "ซูเปอร์โมโนเรล" เพราะบอดี้กว้างเท่ารถบีทีเอสอยู่ที่ 10-15 เมตร/ตู้ รองรับผู้โดยสารได้ 30,000 -40,000 คน/ชม./ทิศทาง รูปแบบจะสร้างคร่อมทาง วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 35-80 กม./ชม.
"ในโลกระบบโมโนเรล มีฮิตาชิ บอมบาร์ดิเอร์ จีน ดูว่าต้นทุนใครถูก ดีสุด น่ารักสุด ผลิตได้เร็ว น่าจะเป็นจีนเพราะบอมบาร์ดิเอร์หรือญี่ปุ่นก็ผลิตที่จีน เราจะใช้ประสบการณ์ 17 ปี ลดต้นทุนการดำเนินการ อย่างการซื้อของต้องต่อรองราคาและลดทุกอย่างที่เป็นลักเซอรี่ แต่ไม่ขี้เหร่และยังคงมาตรฐานการบริการและความปลอดภัย"
ส่วนระบบขายตั๋วและจัดเก็บค่าโดยสาร ว่ากันว่า "คีรี" อยากจะชิมลางสินค้าจากยุโรปดูบ้าง หลังใช้บริการสินค้าโซนเอเชียมานาน อยู่ระหว่างต่อรองราคา และหนึ่งในโผ มี "อินดรา" (Indra) จากประเทศสเปนรวมอยู่ด้วย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1497432550