เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบการศึกษาของไทยมีปัญหาในหลายด้าน แต่ปัญหาที่มักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงก็คือปัญหาด้านปริมาณ ซึ่งหมายถึง ปัญหาที่เด็กไทยไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้มากเพียงพอที่จะสนับสนุนการทำงานในอนาคต เช่น มีเด็กไทยจำนวนไม่น้อยที่ต้องออกจากการเรียนกลางคัน หรือครอบครัวไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สำคัญ 5 อันดับแรกที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งสามารถใช้เป็นเป้าหมายในการลดทอนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทย ได้แก่ 1) การสนับสนุนให้ความรู้แก่มารดาทั้งทางด้านการศึกษา และการประกอบอาชีพจะเป็นการช่วยเหลือเด็กนักเรียนทางอ้อมที่ให้ประสิทธิผลที่สูง 2) การขยายขนาดของโรงเรียนให้มีขนาดที่เหมาะสมจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการให้บริการทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนลง
3) กิจกรรมเสริมทักษะ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนได้ดี 4) การสนับสนุนให้เด็กอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ และการแก้ไขปัญหาการหย่าร้างเพื่อลดปัญหาครอบครัว เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สนับสนุนให้เด็กมีผลคะแนนสอบที่ดีมากยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้อีกวิธีการหนึ่ง
และ 5) หากเพิ่มสัดส่วนครูต่อนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนที่มีสัดส่วนดังกล่าวค่อนข้างต่ำจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างที่ องค์การยูเนสโก ยกตัวอย่างการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ที่แม้เด็กกระเหรี่ยง หากได้รับโอกาส ก็พร้อมสอบได้ที่1
" chit ko เด็กชายชาวกะเหรี่ยง ของ
ศูนย์การเรียนสุคะหงษา อ.แม่สอด จ.ตาก ได้รับรางวัลผลการเรียนอันดับ1 ของรัฐ กระเหรี่ยง ประจำปีการศึกษา 2559
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ Chit ko มาจากชุดสื่อดิจิทัล โครงการสื่อพกพาเพื่อเด็กนอกระบบการศึกษา หรือ Mobile Literacy Project for Out-of-School Children โดยความร่วมมือของ ยูเนสโก ไมโครซอฟท์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ทรู คอร์ปอเรชั่นส์
Chit ko ดีใจและกระตือรือร้นในการเรียนผ่าน tablet ที่บรรจุ วิชาต่างๆ ในรูปแบบ e-book กว่า 1,000 รายการ Chit ko ยังเป็นผู้ช่วยครูในการเปิดปิด และเชื่อมต่อ tablet เข้ากับ TV ทรูปลูกปัญญา เพื่อใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ยูเนสโก ยกตัวอย่างเด็กกระเหรี่ยง ที่ขอแค่มีโอกาสเข้าถึงความรู้ เขาก็สอบได้ที่ 1 ได้
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สำคัญ 5 อันดับแรกที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งสามารถใช้เป็นเป้าหมายในการลดทอนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทย ได้แก่ 1) การสนับสนุนให้ความรู้แก่มารดาทั้งทางด้านการศึกษา และการประกอบอาชีพจะเป็นการช่วยเหลือเด็กนักเรียนทางอ้อมที่ให้ประสิทธิผลที่สูง 2) การขยายขนาดของโรงเรียนให้มีขนาดที่เหมาะสมจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการให้บริการทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนลง
3) กิจกรรมเสริมทักษะ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนได้ดี 4) การสนับสนุนให้เด็กอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ และการแก้ไขปัญหาการหย่าร้างเพื่อลดปัญหาครอบครัว เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สนับสนุนให้เด็กมีผลคะแนนสอบที่ดีมากยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้อีกวิธีการหนึ่ง
และ 5) หากเพิ่มสัดส่วนครูต่อนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนที่มีสัดส่วนดังกล่าวค่อนข้างต่ำจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างที่ องค์การยูเนสโก ยกตัวอย่างการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ที่แม้เด็กกระเหรี่ยง หากได้รับโอกาส ก็พร้อมสอบได้ที่1
" chit ko เด็กชายชาวกะเหรี่ยง ของ
ศูนย์การเรียนสุคะหงษา อ.แม่สอด จ.ตาก ได้รับรางวัลผลการเรียนอันดับ1 ของรัฐ กระเหรี่ยง ประจำปีการศึกษา 2559
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ Chit ko มาจากชุดสื่อดิจิทัล โครงการสื่อพกพาเพื่อเด็กนอกระบบการศึกษา หรือ Mobile Literacy Project for Out-of-School Children โดยความร่วมมือของ ยูเนสโก ไมโครซอฟท์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ทรู คอร์ปอเรชั่นส์
Chit ko ดีใจและกระตือรือร้นในการเรียนผ่าน tablet ที่บรรจุ วิชาต่างๆ ในรูปแบบ e-book กว่า 1,000 รายการ Chit ko ยังเป็นผู้ช่วยครูในการเปิดปิด และเชื่อมต่อ tablet เข้ากับ TV ทรูปลูกปัญญา เพื่อใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย