เพิ่งจะพาครอบครัวกลับมาจากเที่ยวหมู่เกาะซิลลี่(Scilly isles)ซึ่งเป็นหมู่เกาะเล็กๆ ทางใต้สุดของอังกฤษ เป็นหมู่เกาะที่สวยงามไม่แพ้เกาะทางใต้ของไทยเราเลย ที่แตกต่างชัดเจนเห็นเป็นเรื่องความเป็นระเบียบของชายหาด การจัดการขนส่งคมนาคม และการท่องเที่ยวที่เป็นระเบียบแบบแผน Scilly isles เป็นหมู่เกาะที่มีเกาะแก่งน้อยใหญ่ร้อยกว่าเกาะ ที่มีประชากรทั้งหมด1800 คน ห่างจากชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ของอังกฤษเกือบห้าสิบกิโล ถือได้ว่าเป็นหมู่เกาะที่มีดินแดนที่อยู่โดดเดี่ยวและตัดขาดจากความเจริญ หมู่เกาะเล็กๆ บนมหาสมุทรแอตแลนติคแห่งนี้เกี่ยวโยงอะไรกับ “ข้าวไทย”?? เชิญติดตามเลยครับ.....
ข้าวไทย.......
“ข้าว”คือหนึ่งในสินค้าต้องห้าม(คือห้ามทำการซื้อขายกับชาวต่างชาติ)ที่ “พระคลังสินค้า” กำหนดเอาไว้ และการซื้อขายต้องผ่านพระคลังสินค้าเท่านั้น ถือเป็นกฏที่ยึดถือมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อำนาจและการกำหนดราคาข้าวที่ซื้อ(จากชาวนา)และขาย(ให้พ่อค้าต่างชาติ)จึงอยู่ในมือของรัฐเพียงอย่างเดียว คนที่ร่ำรวยอู้ฟู้จึงหนีไม่พ้นเจ้าหน้าที่รัฐหรือบรรดาขุนน้ำขุนนางนั่นเอง อีกด้านหนึ่ง ผู้ผลิตข้าวคือประชากรส่วนใหญ่ซึ่งล้วนเป็นไพร่ก็จะเช่าที่นาของ “มูลนาย” ทำนา ผลผลิตส่วนหนึ่งก็เป็นค่าเช่า อีกส่วนหนึ่งก็เข้าฉางหลวง(ภาษีอากรหางข้าว) อีกส่วนก็เก็บเอาไว้กิน หรือถ้าปีไหนผลิตดีก็นำไปแลกเป็นเบี้ยเป็นอัฐเล็กๆ น้อยๆ แล้วจ่ายให้รัฐเพื่อที่จะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ให้ไปใช้งาน(ไพร่ส่วย) หรือต้องทำงาน(ทำนา)ให้กับมูลนายตลอดโดยได้รับส่วนแบ่งคือข้าวจากมูลนายเป็นค่าตอบแทน จะเห็นว่า..... ”ผู้ผลิตข้าวตัวจริงเสียงจริง” ซึ่งประชากร(ไพร่)ส่วนใหญ่ของประเทศแทบจะไม่มีโอกาสได้รับอานิสงส์จากผลผลิตของตัวเองเลยหลังสิ้นสุดยุค “ใครใคร่ค้าค้า ใครใคร่ขายขาย”
ลุปี 2385 หลังจากสยามทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ ในรูปแบบ “การค้าเสรี” มากขึ้น แล้วติดตามมาด้วยการทำสัญญาการค้าในลักษณะเดียวกันกับอีกหลายๆ ประเทศ อำนาจการควบคุมราคาและการส่งออกข้าวเริ่มคลายตัวและเริ่มกระเซ็นกระสายออกจากมือของ “พระคลังสินค้า” สู่สามัญชนโดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าคนจีน (อย่าลืมว่าคนจีนคือ “ชาวต่างด้าว” เข้ามาทำงานในสยามไม่ใช่ไพร่ จึงน่าจะมีอิสระมากกว่าไพร่เพราะไพร่ต้องสังกัดมูลนาย ส่วนชาวต่างด้าวคนจีนจะเสียภาษีที่เรียกว่า “ผูกปี้” เพียงอย่างเดียว) และยิ่งต่อมา เมื่อกลุ่มพ่อค้าคนจีนรวมตัวกันตั้งโรงสี(ข้าว)ไฟขึ้นก็ยิ่งเพิ่มอำนาจในการซื้อขายและส่งออกข้าวมาก ตระกูลดังๆ อย่าง หวั่งลี ล่ำซำ บูลสุข บูลกุล หรือแม้แต่ตระกูลเวชาชีวะ ก็ก่อร่างสร้างตัวมาจากการ “บูม” ของธุรกิจการค้าข้าวมาก่อน ...จึงทำให้อำนาจในการซื้อขายข้าวไหลมาที่กลุ่มคนจีนที่ภายหลังรวมตัวกันเป็นสมาคมโรงสีไฟ
อนึ่ง การส่งข้าวเป็นร้อยๆ พันๆ ตันออกนอกประเทศในยุคนั้นต้องอาศัยเรือสำเภาเดินสมุทรขนาดใหญ่ สำหรับประเทศไทยตอนนั้นยังอาศัยแต่งเรือสำเภาขนาดกลางส่งออกละแวกบ้านใกล้เรือนเคียง จีน ฟิลิปินส์ ฯลฯ ส่วนการส่งไปยุโรปนั้น คนที่ผูกขาดส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวยุโรป ฮอลันดา อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส หมายเหตุ: พระยาภิรมย์ภักดี(ต้นตระกูล “ภิรมย์ภักดี”)ก็ทำธุรกิจเรือเดินสมุทรส่งข้าวไทยออกนอกประเทศมาก่อนๆ ที่จะหันมาทำธุรกิจเบียร์สิงห์
ย้อนกลับมาที่หมู่เกาะScilly isles ที่ผมเพิ่งจะไปเที่ยวพักผ่อนกลับมา เจ้าของโรงแรมพอทราบว่าผมเป็นคนไทย ก็รีบบอกผมอย่างตื่นเต้นว่า สมัยก่อนมีเรือสำเภาเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่บรรทุก “ข้าวไทย” มาเต็มลำ แล่นชนโขดหินแล้วจมในหมู่เกาะแห่งนี้!! ผมอึ้ง.! อุทานในใจว่า โห....ข้าวไทยมาไกลถึงหมู่เกาะเล็กๆ ขนาดนี้เลยหรือนี่? วันรุ่งขึ้นผมซื้อทัวร์เรือเพื่อชมเกาะและโขดหินต่างๆ รอบเกาะ และจุดที่เรือสำเภาที่บรรทุก “ข้าวไทย” จากกรุงเทพฯ จมลงใต้ท้องมหาสมุทรแอตแลนติคเป็นจุดท่องเที่ยวที่ไกด์ต้องจอดเรืออธิบายเหตุการณ์นั้นให้ฟังด้วย ผมจึงถือโอกาสยืนไว้อาลัยให้กับ “ข้าวและชาวนาไทย” ที่พึ่งจะผ่านมาเมื่อวานนี้ด้วย ไกด์(คนอังกฤษ)งงที่เห็นผมยืนนิ่งไว้อาลัย ผมจึงอธิบายว่าอีกไม่กี่วันก็จะถึงวัน “ข้าวไทยและชาวนาไทย” ข้าวจำนวนหลายร้อยหรือพันตันที่บรรทุกขึ้นเรือสำเภาแล้วมาจมเทกระจาดทิ้งห่างจากประเทศไทยเป็นหมื่นๆ กิโลขนาดนี้ อาจจะมีเม็ดเหงื่อหรือหวาดไคลจากครอบครัวผมก็ได้ เพราะผมเองก็มาจากครอบครัวชาวนา พูดเท่านั้นแระ...เล่นเอาไกด์และลูกทัวร์บางคนที่ร่วมทริปไปด้วยกัน อึ้ง ทึ่งไปเหมือนกัน บางคนที่เคยลิ้มรสข้าวไทยมาก่อนกล่าวคอนเฟิร์มเป็นมั่นเหมาะว่าข้าวหอมมะลิไทยดี่ที่สุด!!
ตำนานข้าวไทยในหมู่เกาะซิลลึ่ยังไม่จบเพียงแค่นี้ครับ ใครเลยจะเชื่อว่า....บนหมู่เกาะเล็กๆ ที่ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่เกือบห้าสิบกิโลขนาดนี้ และมีประชากระเพียงแค่1800กว่าชีวิตขนาดนี้ และหนึ่งในนั้นมี “คนไทย” ที่ไปทำกับข้าวไทยขายบนเกาะแห่งนี้ด้วย!! ในระหว่างที่เดินเที่ยวในตัวเมืองของเกาะซึ่งมีร้านค้าไม่กี่ร้าน มีร้านอาหารไม่ถึงยี่สิบแห่ง ผมก็ไปเจอรถตู้(คันที่โชว์ข้างล่าง)ที่ดัดแปลงเป็น “ครัวไทยเคลื่อนที่” ทำอาหารไทยขายที่หัวมุมถนนให้กับนักท่องเที่ยว ......ผมยืนปลื้มน้ำตาแทบซึมเลยล่ะครับ บนดินแดนที่เล็กๆ ที่ห่างไกลแห่งนี้......ยังมี “คนไทย” ให้ได้พูดคุยร่วมร้องเพลง "คนบ้านเดียวกัน" ของไผ่ พงศธร และยังมี “ข้าวไทย” ให้ได้ลิ้มรส ........ถึงตรงนี้...ก็ให้รู้สึกสะท้อนในใจว่า ..!!
เมื่อไหร่กันหนอชาวนาไทยจะได้ลืมตาอ้าปากกับเขาเสียที?
ปล. ผมขออนุญาตแท็กสองห้องนะครับwm กรุณาอย่าลบห้องใดห้องหนึ่งออกเลย มันมีความเกี่ยวโยงกันอยู่
....ตามรอย "ข้าวไทย" ในต่างแดน เนื่องในวัน "ข้าวและชาวนาไทย"..../วัชรานนท์
ข้าวไทย.......
“ข้าว”คือหนึ่งในสินค้าต้องห้าม(คือห้ามทำการซื้อขายกับชาวต่างชาติ)ที่ “พระคลังสินค้า” กำหนดเอาไว้ และการซื้อขายต้องผ่านพระคลังสินค้าเท่านั้น ถือเป็นกฏที่ยึดถือมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อำนาจและการกำหนดราคาข้าวที่ซื้อ(จากชาวนา)และขาย(ให้พ่อค้าต่างชาติ)จึงอยู่ในมือของรัฐเพียงอย่างเดียว คนที่ร่ำรวยอู้ฟู้จึงหนีไม่พ้นเจ้าหน้าที่รัฐหรือบรรดาขุนน้ำขุนนางนั่นเอง อีกด้านหนึ่ง ผู้ผลิตข้าวคือประชากรส่วนใหญ่ซึ่งล้วนเป็นไพร่ก็จะเช่าที่นาของ “มูลนาย” ทำนา ผลผลิตส่วนหนึ่งก็เป็นค่าเช่า อีกส่วนหนึ่งก็เข้าฉางหลวง(ภาษีอากรหางข้าว) อีกส่วนก็เก็บเอาไว้กิน หรือถ้าปีไหนผลิตดีก็นำไปแลกเป็นเบี้ยเป็นอัฐเล็กๆ น้อยๆ แล้วจ่ายให้รัฐเพื่อที่จะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ให้ไปใช้งาน(ไพร่ส่วย) หรือต้องทำงาน(ทำนา)ให้กับมูลนายตลอดโดยได้รับส่วนแบ่งคือข้าวจากมูลนายเป็นค่าตอบแทน จะเห็นว่า..... ”ผู้ผลิตข้าวตัวจริงเสียงจริง” ซึ่งประชากร(ไพร่)ส่วนใหญ่ของประเทศแทบจะไม่มีโอกาสได้รับอานิสงส์จากผลผลิตของตัวเองเลยหลังสิ้นสุดยุค “ใครใคร่ค้าค้า ใครใคร่ขายขาย”
ลุปี 2385 หลังจากสยามทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ ในรูปแบบ “การค้าเสรี” มากขึ้น แล้วติดตามมาด้วยการทำสัญญาการค้าในลักษณะเดียวกันกับอีกหลายๆ ประเทศ อำนาจการควบคุมราคาและการส่งออกข้าวเริ่มคลายตัวและเริ่มกระเซ็นกระสายออกจากมือของ “พระคลังสินค้า” สู่สามัญชนโดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าคนจีน (อย่าลืมว่าคนจีนคือ “ชาวต่างด้าว” เข้ามาทำงานในสยามไม่ใช่ไพร่ จึงน่าจะมีอิสระมากกว่าไพร่เพราะไพร่ต้องสังกัดมูลนาย ส่วนชาวต่างด้าวคนจีนจะเสียภาษีที่เรียกว่า “ผูกปี้” เพียงอย่างเดียว) และยิ่งต่อมา เมื่อกลุ่มพ่อค้าคนจีนรวมตัวกันตั้งโรงสี(ข้าว)ไฟขึ้นก็ยิ่งเพิ่มอำนาจในการซื้อขายและส่งออกข้าวมาก ตระกูลดังๆ อย่าง หวั่งลี ล่ำซำ บูลสุข บูลกุล หรือแม้แต่ตระกูลเวชาชีวะ ก็ก่อร่างสร้างตัวมาจากการ “บูม” ของธุรกิจการค้าข้าวมาก่อน ...จึงทำให้อำนาจในการซื้อขายข้าวไหลมาที่กลุ่มคนจีนที่ภายหลังรวมตัวกันเป็นสมาคมโรงสีไฟ
อนึ่ง การส่งข้าวเป็นร้อยๆ พันๆ ตันออกนอกประเทศในยุคนั้นต้องอาศัยเรือสำเภาเดินสมุทรขนาดใหญ่ สำหรับประเทศไทยตอนนั้นยังอาศัยแต่งเรือสำเภาขนาดกลางส่งออกละแวกบ้านใกล้เรือนเคียง จีน ฟิลิปินส์ ฯลฯ ส่วนการส่งไปยุโรปนั้น คนที่ผูกขาดส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวยุโรป ฮอลันดา อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส หมายเหตุ: พระยาภิรมย์ภักดี(ต้นตระกูล “ภิรมย์ภักดี”)ก็ทำธุรกิจเรือเดินสมุทรส่งข้าวไทยออกนอกประเทศมาก่อนๆ ที่จะหันมาทำธุรกิจเบียร์สิงห์
ย้อนกลับมาที่หมู่เกาะScilly isles ที่ผมเพิ่งจะไปเที่ยวพักผ่อนกลับมา เจ้าของโรงแรมพอทราบว่าผมเป็นคนไทย ก็รีบบอกผมอย่างตื่นเต้นว่า สมัยก่อนมีเรือสำเภาเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่บรรทุก “ข้าวไทย” มาเต็มลำ แล่นชนโขดหินแล้วจมในหมู่เกาะแห่งนี้!! ผมอึ้ง.! อุทานในใจว่า โห....ข้าวไทยมาไกลถึงหมู่เกาะเล็กๆ ขนาดนี้เลยหรือนี่? วันรุ่งขึ้นผมซื้อทัวร์เรือเพื่อชมเกาะและโขดหินต่างๆ รอบเกาะ และจุดที่เรือสำเภาที่บรรทุก “ข้าวไทย” จากกรุงเทพฯ จมลงใต้ท้องมหาสมุทรแอตแลนติคเป็นจุดท่องเที่ยวที่ไกด์ต้องจอดเรืออธิบายเหตุการณ์นั้นให้ฟังด้วย ผมจึงถือโอกาสยืนไว้อาลัยให้กับ “ข้าวและชาวนาไทย” ที่พึ่งจะผ่านมาเมื่อวานนี้ด้วย ไกด์(คนอังกฤษ)งงที่เห็นผมยืนนิ่งไว้อาลัย ผมจึงอธิบายว่าอีกไม่กี่วันก็จะถึงวัน “ข้าวไทยและชาวนาไทย” ข้าวจำนวนหลายร้อยหรือพันตันที่บรรทุกขึ้นเรือสำเภาแล้วมาจมเทกระจาดทิ้งห่างจากประเทศไทยเป็นหมื่นๆ กิโลขนาดนี้ อาจจะมีเม็ดเหงื่อหรือหวาดไคลจากครอบครัวผมก็ได้ เพราะผมเองก็มาจากครอบครัวชาวนา พูดเท่านั้นแระ...เล่นเอาไกด์และลูกทัวร์บางคนที่ร่วมทริปไปด้วยกัน อึ้ง ทึ่งไปเหมือนกัน บางคนที่เคยลิ้มรสข้าวไทยมาก่อนกล่าวคอนเฟิร์มเป็นมั่นเหมาะว่าข้าวหอมมะลิไทยดี่ที่สุด!!
ตำนานข้าวไทยในหมู่เกาะซิลลึ่ยังไม่จบเพียงแค่นี้ครับ ใครเลยจะเชื่อว่า....บนหมู่เกาะเล็กๆ ที่ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่เกือบห้าสิบกิโลขนาดนี้ และมีประชากระเพียงแค่1800กว่าชีวิตขนาดนี้ และหนึ่งในนั้นมี “คนไทย” ที่ไปทำกับข้าวไทยขายบนเกาะแห่งนี้ด้วย!! ในระหว่างที่เดินเที่ยวในตัวเมืองของเกาะซึ่งมีร้านค้าไม่กี่ร้าน มีร้านอาหารไม่ถึงยี่สิบแห่ง ผมก็ไปเจอรถตู้(คันที่โชว์ข้างล่าง)ที่ดัดแปลงเป็น “ครัวไทยเคลื่อนที่” ทำอาหารไทยขายที่หัวมุมถนนให้กับนักท่องเที่ยว ......ผมยืนปลื้มน้ำตาแทบซึมเลยล่ะครับ บนดินแดนที่เล็กๆ ที่ห่างไกลแห่งนี้......ยังมี “คนไทย” ให้ได้พูดคุยร่วมร้องเพลง "คนบ้านเดียวกัน" ของไผ่ พงศธร และยังมี “ข้าวไทย” ให้ได้ลิ้มรส ........ถึงตรงนี้...ก็ให้รู้สึกสะท้อนในใจว่า ..!!เมื่อไหร่กันหนอชาวนาไทยจะได้ลืมตาอ้าปากกับเขาเสียที?
ปล. ผมขออนุญาตแท็กสองห้องนะครับwm กรุณาอย่าลบห้องใดห้องหนึ่งออกเลย มันมีความเกี่ยวโยงกันอยู่