สินค้าไลฟ์สไตล์ "ราคาเดียว-ราคาคุ้ม" โตพุ่งไม่หยุด หน้าใหม่กลุ่มทุนไทย-เทศ แห่ผุดร้านเปิดสาขารับดีมานด์ตลาดขยายตัวสูง ชี้สินค้าหลากหลาย-ความคุ้มค่า-ราคาประหยัดตอบโจทย์ "มินิโซ" เร่ง 100 สาขาใน 2 ปี โรบินสันเร่งเครื่องปั้นแบรนด์ "จัสท์บาย" น้องใหม่ "โมชิโมชิ-เพนกวิน-แบร์ สโตร์" ชูราคาคุ้ม ด้านเจ้าตลาด "ไดโซะ" ลุยหนักแฟรนไชส์-ออนไลน์ส่งโปรโมชั่นเร้าใจดึงลูกค้า
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ร้านที่ขายสินค้าไลฟ์สไตล์ราคาเดียวหรือร้านที่ขายราคาคุ้มเริ่มต้น 12 บาท 20 บาท ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่เพียงการปูพรมสาขาของบรรดาแบรนด์ที่อยู่ในตลาดปัจจุบันแต่ยังรวมถึงภาพความเคลื่อนไหวของร้านแบรนด์ใหม่ๆและกลุ่มทุนหน้าใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศเข้ามาเป็นทางเลือกให้กับตลาดจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
ตลาดไม่มีแค่ "ไดโซะ"
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ความเคลื่อนไหวของร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ราคาเดียว-ราคาคุ้มมีสีสันไม่หยุด แบรนด์ใหม่ที่เข้ามาเปิดร้านครบทั้งแบรนด์จากเมืองไทยและแบรนด์นำเข้า อาทิ ร้าน "เพนกวิน" ที่ตั้งราคาสบายกระเป๋าทุกอย่างราคาเดียวแค่ 12 บาทเท่านั้น และเปิดนำร่องใน 3 สาขา คือ โลตัสพระราม 4, เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ และหน้ามหาวิทยาลัยบูรพา
ร้าน "แบร์ สโตร์" Bear Store ร้านกิฟต์ช็อปเปิดใหม่ราคาถูกใจทุกชิ้น 20 บาท เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย หลังเพิ่งได้เปิดสาขาแรกที่เมเจอร์ปิ่นเกล้า โดยชูจุดขายสินค้าทุกชิ้นนำเข้ามาจากญี่ปุ่น ซึ่งเตรียมที่จะเปิดอีก 2 สาขาในบิ๊กซี จังหวัดเพชรบุรี และเซ็นทรัลพระราม 2
เช่นเดียวกับร้าน "โมชิโมชิ" Moshi Moshi Japan รวมสินค้ากว่า 5,000 รายการ ภายในร้านเริ่มต้นที่ 20 บาท ด้วยจุดขายสินค้าคุณภาพดี ราคาย่อมเยา โดยได้เข้ามาในตลาดช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ปัจจุบันเปิดแล้ว 3 สาขา คือแพลทินัม แฟชั่น มอลล์, อาคาร Happy square และเทอร์มินอล 21 โคราช
"มินิโซ" เร่ง 100 สาขาใน 2 ปี
สอดคล้องกับทิศทางของ "มินิโซ" ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์จากญี่ปุ่นซึ่งนายไช่ เสี้ยวซิง ประธานกรรมการบริษัท มินิโซ ไทยแลนด์ กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจทำให้ผู้บริโภคไทยระวังการจับจ่ายและมองความคุ้มค่ามากขึ้น เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ซึ่งมีจุดแข็งเรื่องความคุ้มค่า จึงนำแบรนด์มินิโซซึ่งกำลังได้รับความนิยมในแถบเอเชียเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว ด้วยสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์เพียงผู้เดียวในไทย
โดยเปิดสาขาแรกที่ซีคอนศรีนครินทร์ ชูจุดขายเรื่องความคุ้มค่าจากระดับราคาเริ่มต้น 39 บาท และไลน์อัพสินค้านำเข้าจากจีน-ญี่ปุ่น 2,500 เอสเคยู ครอบคลุมทั้งกลุ่มความงาม ไอที ของใช้ในบ้าน อาหารและอื่น ๆ แบบวันสต็อปช็อปปิ้ง
โดยปีนี้จะมุ่งขยายสาขาให้ครบ 50 สาขา จากปัจจุบัน 15 สาขา ด้วยเงินลงทุนเฉลี่ยสาขาละ 15 ล้านบาท ใช้ขนาดพื้นที่ 200-300 ตร.ม. เน้นทำเลในห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ และมีแผนเริ่มขายแฟรนไชส์เมื่อครบสาขาที่ 80 ซึ่งรายละเอียดกำลังอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล
ด้านการตลาดเน้นสร้างการรับรู้แบบปากต่อปากผ่านทางโซเชียลมีเดียอาทิออฟฟิเชียลเฟซบุ๊กและการรีวิวสินค้า รวมถึงร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้
"เนื่องจากราคาสินค้าถูกกำหนดจากบริษัทแม่ที่จีนทำให้มีมาร์จิ้นต่ำและไม่สามารถทำกลยุทธ์ราคาได้จึงต้องเน้นสร้างการรับรู้เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าแทน โดยปัจจุบันมีลูกค้าเฉลี่ย 300 คนต่อวัน และใช้จ่ายประมาณ 400-500 บาทต่อใบเสร็จ"
โดยหลังจากนี้จะเพิ่มสินค้าใหม่ต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มอาหาร ซึ่งอยู่ระหว่างขออนุญาตนำเข้า มั่นใจว่ากลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยให้สามารถขยายสาขาครบ 100 สาขาได้ภายใน 2 ปีตามที่ตั้งเป้าไว้
เอ-โกะชี้แข่งดุแต่ตลาดเร้าใจ
นายสุพจน์ เลาหพัฒนวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกดำรงค์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งและร้านจำหน่ายสินค้าราคาเดียว 20 บาททั้งร้าน ภายใต้ชื่อ "เอ-โกะ" เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ธุรกิจร้านสินค้าราคาเดียวได้รับความสนใจสูงจากผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ เห็นได้จากจำนวนผู้เล่นที่เพิ่มขึ้นกว่า 10 ราย ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทั้งกลุ่มร้านแฟรนไชส์หลากหลายโมเดลทั้ง 20 บาท 60 บาท และราคาอื่น ๆ
โดยธุรกิจนี้ใช้เงินลงทุนน้อย ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาสินค้าจากโรงงานไทยและจีน รวมถึงการเช่าโกดังเพื่อเป็นหน้าร้านและศูนย์กระจายสินค้า ขณะเดียวกันกลับมีดีมานด์สูงจากผู้ที่ต้องการเปิดร้านสินค้าราคาเดียวเป็นอาชีพเสริมด้วยเงินลงทุนระดับ 6 หมื่น-1.5 แสนบาท ก็สามารถเปิดร้านได้
และที่สำคัญการบริหารไม่ซับซ้อนและตอบโจทย์ความต้องการสินค้าของใช้ในชีวิตประจำวันในราคาคุ้มค่าและพฤติกรรมที่ชื่นชอบการช็อปสินค้าหลากหลายในที่เดียว
"แม้จะมีผู้เล่นเพิ่มขึ้นแต่ตลาดยังมีช่องว่างอีกมากทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดซึ่งโมเดลร้าน 20 บาทเน้นชุมชนตลาด รับดีมานด์แม่บ้าน-นักเรียนนักศึกษา ส่วนร้าน 60 บาทมุ่งเจาะห้างสรรพสินค้าจับกลุ่มหนุ่มสาวออฟฟิศ คนรุ่นใหม่"
โรบินสันลุยทั่วประเทศ
นายวุฒิเกียรติ เตชะมงคลาภิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายพร็อพเพอร์ตี้&ไลฟ์สไตล์มอลล์ บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางของโรบินสันได้รุกบทบาทเข้ามาในธุรกิจผู้นำเข้าและบริหารแบรนด์สินค้าเพื่อสร้างความแตกต่างและขยายสู่ลูกค้ากลุ่มใหม่โดยเตรียมที่จะขยายสาขาของร้านจัสท์บาย (Just Buy) อีก 10 สาขา ในขนาดพื้นที่ 500-1,000 ตร.ม. จากปัจจุบันเปิดแล้ว 42 สาขา
"นอกจากการเปิดในโรบินสันแล้ว ก็อาจขยายไปยังศูนย์การค้าอื่น ๆ หรือพื้นที่นอกโรบินสันก็ได้ ส่วนการขายแฟรนไชส์คงยังไม่เปิดในตอนนี้ เราสามารถไปเองและคล่องตัวกว่า"
เจ้าตลาดลุย "ออนไลน์"
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ช่วงที่ผ่านมาร้านไดโซะ "Daiso" ได้เปิดให้ผู้สนใจร่วมขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ รวมถึงการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะมีโปรโมชั่นออกมาจูงใจอย่างต่อเนื่อง ยิ่งซื้อเยอะยิ่งได้ราคาคุ้ม อาทิ สั่งซื้อผ่านออนไลน์ 10,000 ชิ้น ได้ในราคา 55 บาท/ชิ้น หรือ สั่งซื้อ 1,000 ชิ้น ได้ในราคา 58 บาท/ชิ้น
ขณะที่แบรนด์ "โคโมโนยะ" ร้านค้า 60 บาทราคาเดียวจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทยด้วยการร่วมทุนของญี่ปุ่นและกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่ปี2552
ปัจจุบันเปิดสาขาในเซ็นทรัลปิ่นเกล้า เซ็นทรัล พระราม 2 เซ็นทรัล พระราม 9 และซีคอน บางแค เป็นต้น
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ร้าน "ราคาเดียว" สะพรั่ง หน้าใหม่ไทย-เทศขนสินค้าชน "ไดโซะ"
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ร้านที่ขายสินค้าไลฟ์สไตล์ราคาเดียวหรือร้านที่ขายราคาคุ้มเริ่มต้น 12 บาท 20 บาท ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่เพียงการปูพรมสาขาของบรรดาแบรนด์ที่อยู่ในตลาดปัจจุบันแต่ยังรวมถึงภาพความเคลื่อนไหวของร้านแบรนด์ใหม่ๆและกลุ่มทุนหน้าใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศเข้ามาเป็นทางเลือกให้กับตลาดจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
ตลาดไม่มีแค่ "ไดโซะ"
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ความเคลื่อนไหวของร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ราคาเดียว-ราคาคุ้มมีสีสันไม่หยุด แบรนด์ใหม่ที่เข้ามาเปิดร้านครบทั้งแบรนด์จากเมืองไทยและแบรนด์นำเข้า อาทิ ร้าน "เพนกวิน" ที่ตั้งราคาสบายกระเป๋าทุกอย่างราคาเดียวแค่ 12 บาทเท่านั้น และเปิดนำร่องใน 3 สาขา คือ โลตัสพระราม 4, เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ และหน้ามหาวิทยาลัยบูรพา
ร้าน "แบร์ สโตร์" Bear Store ร้านกิฟต์ช็อปเปิดใหม่ราคาถูกใจทุกชิ้น 20 บาท เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย หลังเพิ่งได้เปิดสาขาแรกที่เมเจอร์ปิ่นเกล้า โดยชูจุดขายสินค้าทุกชิ้นนำเข้ามาจากญี่ปุ่น ซึ่งเตรียมที่จะเปิดอีก 2 สาขาในบิ๊กซี จังหวัดเพชรบุรี และเซ็นทรัลพระราม 2
เช่นเดียวกับร้าน "โมชิโมชิ" Moshi Moshi Japan รวมสินค้ากว่า 5,000 รายการ ภายในร้านเริ่มต้นที่ 20 บาท ด้วยจุดขายสินค้าคุณภาพดี ราคาย่อมเยา โดยได้เข้ามาในตลาดช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ปัจจุบันเปิดแล้ว 3 สาขา คือแพลทินัม แฟชั่น มอลล์, อาคาร Happy square และเทอร์มินอล 21 โคราช
"มินิโซ" เร่ง 100 สาขาใน 2 ปี
สอดคล้องกับทิศทางของ "มินิโซ" ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์จากญี่ปุ่นซึ่งนายไช่ เสี้ยวซิง ประธานกรรมการบริษัท มินิโซ ไทยแลนด์ กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจทำให้ผู้บริโภคไทยระวังการจับจ่ายและมองความคุ้มค่ามากขึ้น เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ซึ่งมีจุดแข็งเรื่องความคุ้มค่า จึงนำแบรนด์มินิโซซึ่งกำลังได้รับความนิยมในแถบเอเชียเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว ด้วยสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์เพียงผู้เดียวในไทย
โดยเปิดสาขาแรกที่ซีคอนศรีนครินทร์ ชูจุดขายเรื่องความคุ้มค่าจากระดับราคาเริ่มต้น 39 บาท และไลน์อัพสินค้านำเข้าจากจีน-ญี่ปุ่น 2,500 เอสเคยู ครอบคลุมทั้งกลุ่มความงาม ไอที ของใช้ในบ้าน อาหารและอื่น ๆ แบบวันสต็อปช็อปปิ้ง
โดยปีนี้จะมุ่งขยายสาขาให้ครบ 50 สาขา จากปัจจุบัน 15 สาขา ด้วยเงินลงทุนเฉลี่ยสาขาละ 15 ล้านบาท ใช้ขนาดพื้นที่ 200-300 ตร.ม. เน้นทำเลในห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ และมีแผนเริ่มขายแฟรนไชส์เมื่อครบสาขาที่ 80 ซึ่งรายละเอียดกำลังอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล
ด้านการตลาดเน้นสร้างการรับรู้แบบปากต่อปากผ่านทางโซเชียลมีเดียอาทิออฟฟิเชียลเฟซบุ๊กและการรีวิวสินค้า รวมถึงร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้
"เนื่องจากราคาสินค้าถูกกำหนดจากบริษัทแม่ที่จีนทำให้มีมาร์จิ้นต่ำและไม่สามารถทำกลยุทธ์ราคาได้จึงต้องเน้นสร้างการรับรู้เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าแทน โดยปัจจุบันมีลูกค้าเฉลี่ย 300 คนต่อวัน และใช้จ่ายประมาณ 400-500 บาทต่อใบเสร็จ"
โดยหลังจากนี้จะเพิ่มสินค้าใหม่ต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มอาหาร ซึ่งอยู่ระหว่างขออนุญาตนำเข้า มั่นใจว่ากลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยให้สามารถขยายสาขาครบ 100 สาขาได้ภายใน 2 ปีตามที่ตั้งเป้าไว้
เอ-โกะชี้แข่งดุแต่ตลาดเร้าใจ
นายสุพจน์ เลาหพัฒนวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกดำรงค์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งและร้านจำหน่ายสินค้าราคาเดียว 20 บาททั้งร้าน ภายใต้ชื่อ "เอ-โกะ" เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ธุรกิจร้านสินค้าราคาเดียวได้รับความสนใจสูงจากผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ เห็นได้จากจำนวนผู้เล่นที่เพิ่มขึ้นกว่า 10 ราย ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทั้งกลุ่มร้านแฟรนไชส์หลากหลายโมเดลทั้ง 20 บาท 60 บาท และราคาอื่น ๆ
โดยธุรกิจนี้ใช้เงินลงทุนน้อย ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาสินค้าจากโรงงานไทยและจีน รวมถึงการเช่าโกดังเพื่อเป็นหน้าร้านและศูนย์กระจายสินค้า ขณะเดียวกันกลับมีดีมานด์สูงจากผู้ที่ต้องการเปิดร้านสินค้าราคาเดียวเป็นอาชีพเสริมด้วยเงินลงทุนระดับ 6 หมื่น-1.5 แสนบาท ก็สามารถเปิดร้านได้
และที่สำคัญการบริหารไม่ซับซ้อนและตอบโจทย์ความต้องการสินค้าของใช้ในชีวิตประจำวันในราคาคุ้มค่าและพฤติกรรมที่ชื่นชอบการช็อปสินค้าหลากหลายในที่เดียว
"แม้จะมีผู้เล่นเพิ่มขึ้นแต่ตลาดยังมีช่องว่างอีกมากทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดซึ่งโมเดลร้าน 20 บาทเน้นชุมชนตลาด รับดีมานด์แม่บ้าน-นักเรียนนักศึกษา ส่วนร้าน 60 บาทมุ่งเจาะห้างสรรพสินค้าจับกลุ่มหนุ่มสาวออฟฟิศ คนรุ่นใหม่"
โรบินสันลุยทั่วประเทศ
นายวุฒิเกียรติ เตชะมงคลาภิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายพร็อพเพอร์ตี้&ไลฟ์สไตล์มอลล์ บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางของโรบินสันได้รุกบทบาทเข้ามาในธุรกิจผู้นำเข้าและบริหารแบรนด์สินค้าเพื่อสร้างความแตกต่างและขยายสู่ลูกค้ากลุ่มใหม่โดยเตรียมที่จะขยายสาขาของร้านจัสท์บาย (Just Buy) อีก 10 สาขา ในขนาดพื้นที่ 500-1,000 ตร.ม. จากปัจจุบันเปิดแล้ว 42 สาขา
"นอกจากการเปิดในโรบินสันแล้ว ก็อาจขยายไปยังศูนย์การค้าอื่น ๆ หรือพื้นที่นอกโรบินสันก็ได้ ส่วนการขายแฟรนไชส์คงยังไม่เปิดในตอนนี้ เราสามารถไปเองและคล่องตัวกว่า"
เจ้าตลาดลุย "ออนไลน์"
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ช่วงที่ผ่านมาร้านไดโซะ "Daiso" ได้เปิดให้ผู้สนใจร่วมขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ รวมถึงการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะมีโปรโมชั่นออกมาจูงใจอย่างต่อเนื่อง ยิ่งซื้อเยอะยิ่งได้ราคาคุ้ม อาทิ สั่งซื้อผ่านออนไลน์ 10,000 ชิ้น ได้ในราคา 55 บาท/ชิ้น หรือ สั่งซื้อ 1,000 ชิ้น ได้ในราคา 58 บาท/ชิ้น
ขณะที่แบรนด์ "โคโมโนยะ" ร้านค้า 60 บาทราคาเดียวจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทยด้วยการร่วมทุนของญี่ปุ่นและกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่ปี2552
ปัจจุบันเปิดสาขาในเซ็นทรัลปิ่นเกล้า เซ็นทรัล พระราม 2 เซ็นทรัล พระราม 9 และซีคอน บางแค เป็นต้น