Remembering Greyfriars Bobby
ในปี 1850 John Gray หรือ Auld Jock
คนทำสวนพร้อมภริยา Jess กับลูกชาย John
ได้เดินทางมาหางานทำที่ Edinburgh
แต่ก็หางานสวนทำไม่ได้เลย
เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาว่าเป็นคนจรจัด
ซึ่งมีโทษจำคุกถ้าเที่ยวเดินเตร็ดเตร่ว่างงานในยุคนั้น
John Gray จึงเข้าไปทำงานที่ Edinburgh Police Force
ในตำแหน่งคนเฝ้าระวังยามค่ำคืน Night Watchman
มีหน้าที่ตีระฆังบอกโมงยาม
เร่ิ่มงานราว 3 ทุ่มหรือ 4 ทุ่มจนกระทั่งท้องฟ้าเริ่มสว่าง
พร้อมกับแจ้งเตือนภัยเหตุเพลิงไหม้ กับปรามโจรผู้ร้ายทางอ้อม
รวมทั้งตรวจตราบ้านเมืองยามประกาศเคอร์ฟิว
ตำแหน่งดังกล่าวเป็นผู้ช่วยพนักงานตำรวจตามกฎหมายด้วย
เพื่อให้ชีวิตผ่านพ้นยามค่ำคืนฤดูหนาว
John Gray จึงทำงานร่วมกับคู่หู Buddy
Bobby สุนัขพันธุ์ Skye Terrier ที่มีขนาดตัวเล็กมาก
ทั้ง John กับ Bobby ต่างร่วมเดินทางตรวจตรา
จนชาวบ้านร้านถิ่นต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี
กับท่าทีที่เหนื่อยอ่อนในการเดินตรวจตรา
ย่านถนนที่ชำรุดทรุดโทรมสายเก่า ที่ Edinburgh
ทั้งคู่ต่างผ่านหนาวผ่านร้อนมาหลายฤดู
ด้วยมิตรไมตรีและผูกพันซึ่งกันและกัน
จนกระทั่งหลายปีผ่านพ้นไป
และแล้ววันหนึ่ง John Gray ก็ได้รับคำสั่ง
ให้ไปปลูกฝีที่ Police Surgeon
แต่แล้ว John Gray กลับตาย
เพราะแผลติดเชื้อในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1858
ศพจึงถูกนำไปฝังที่ Greyfriars Kirkyard
ที่อยู่รอบวิหาร Greyfriars Kirk เขตเมืองเก่าของ Edinburgh
Bobby ได้สร้างความซาบซึ้งใจให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก
เพราะไม่ยอมออกไปห่างจากหลุมศพของเจ้าของ
แม้ว่าจะเป็นคืนวันที่โหดร้ายจากพายุฝนหรือลมหนาวเย็น
ทั้ง ๆ ที่ คนดูแลสุสานกับคนสวนหลายคนใน Greyfriars Kirkyard
จะพยายามขับไล่ Bobby ให้ไปให้พ้น
หรือครอบครัวกับชาวบ้านในเมืองจะพามันไปเลี้ยงดูก็ตาม
ในที่สุด ทุกคนต่างก็ยอมใจหันหน้ามาสร้างที่กำบังให้ Bobby
พร้อมกับปูกระสอบผ้าให้มันนอนใต้โต๊ะหินสองตัว
เคียงข้างหลุมศพของ John Gray
ความซื่อสัตย์ของ Bobby โด่งดังไปทั่ว Edinburgh
แทบทุกวันก่อนเที่ยงวัน จะมีผู้คนมายืนรอคอยอยู่
ที่หน้าประตูทางเข้าสุสาน Greyfriars Kirkyard
เพื่อรอการปรากฏตัวของ Boby ในเวลาหนึ่งนาฬิกา
ที่ในสมัยนั้นจะมีการยิงปืนบอกเวลาทุกวัน
โดย Bobby จะออกมาจากสุสาน
เพื่อไปกินอาหารตอนกลางวันที่ร้านขาประจำทุกวัน
Bobby จะเดินทางออกมาหา William Dow
ช่างไม้ทำวงกบประตูหน้าต่างที่สนิทสนม
และมักจะมาพบปะพูดคุยกับเจ้าของคนเก่า
ที่ร้าน Coffee House เป็นประจำ
ซึ่ง Bobby ก็จำได้ William Dow ได้เป็นอย่างดี
หลังจากมันกินอาหารเที่ยงวันละมื้อเสร็จแล้ว
มันก็จะวิ่งกลับเข้าไปที่สุสานเพื่อเฝ้าหลุมศพเจ้าของอีก
ในปี 1867 มีการผ่านพระราชบัญญัติฉบับใหม่
บังคับให้สุนัขทุกตัวในเมือง Edinburgh
จะต้องมีใบอนุญาตและมีเจ้าของทุกตัว
ถ้าเป็นสุนัขจรจัดจะต้องถูกกำจัดทิ้งในเวลาที่กำหนด
Sir William Chambers (The Lord Provost of Edinburgh)
และผู้อำนวยการประชาคมป้องกันการทารุณสัตว์ใน Scotland
Scottish Society for the Prevention of Cruelty to Animals
ได้ตัดสินใจมอบใบอนุญาตและแสดงตนว่าเป็นเจ้าของ Bobby
พร้อมกับมอบปลอกคอสุนัขกับป้ายทองเหลืองสลักว่า
" Greyfriars Bobby from the Lord Provost 1867 licensed"
ซึ่งทุกวันนี้ป้ายดังกล่าวยังคงเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Edinburgh
แม้ว่าชาวบ้านหลายคนจะพยายามเลึ้ยงดู Boby เป็นอย่างดี
แต่มันก็ยังคงจงรักภักดีต่อเจ้าของคนเดิมเป็นเวลายาวนานถึง 14 ปี
Bobby จะนอนเฝ้าหลุมศพเจ้าของ จนกระทั่งมันตายในปี 1872
ศพของ Bobby ถูกฝังอยู่ที่หน้าประตูทางเข้าสุสาน Greyfriars Kirkyard
ไม่ไกลจากที่ฝังศพเดิมของเจ้าของเดิมของมัน
แต่บางตำนานระบุว่า มันถูกฝังเคียงข้างเจ้าของเดิม
โดยได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษยกเว้นตามกฎหมาย
Baroness Angelia Georgina Burdett-Coutts
ประธานคณะกรรมาธิการสตรี
President of the Ladies Committee of the RSPCA
รู้สึกซาบซึ้งกับประทับใจเรื่องราวของ Bobby อย่างแรง
จึงได้เรียกร้องให้สภาเมือง City Council
อนุมัติให้สร้างน้ำพุเทียมจากหินแกรนนิต
โดยก๊อกด้านบนให้คนดื่มกินได้
ส่วนกีอกด้านล่างให้สุนัขดื่มกินได้
พร้อมกับอนุสาวรีย์ที่มีรูป Bobby วางเด่นเป็นสง่าด้านบน
ต่อมามีการรื้อก๊อกน้ำทิ้งเพราะเหตุสุขาภิบาลในปี 1975
อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ที่ชุมทาง George IV Bridge กับ Candlemaker Row
ตรงกันข้ามกับทางเข้าบริเวณ Greyfriars Kirkyard
William Brody เป็นผู้จำลองแบบ Bobby
และมีการเปิดผ้าคลุมอนุสรณ์สถานแห่งนี้
อย่างไม่เป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 1873
ชาวเมืองหลวงสก็อตแลนด์ต่างยังคงรำลึกถึง
และจดจำเรื่องราวที่โด่งดังและซื่อสัตย์ของ Bobby ตราบทุกวันนี้
" Greyfriars Bobby
ตายวันที่ 14 มกราคม 1872 อายุ 16 ปี
ความจงรักภักดีและการอุทิศชีวิตจิตใจของมัน
คือบทเรียนบทหนึ่งของเราทุกคน "
หลายปีต่อมา มีหนังสือและภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องราว Bobby
รวมทั้งภาพยนตร์ที่สร้างโดย Disney
และบริษัทผลิตตุ๊กตา Edinburgh ได้รับความสำเร็จอย่างล้นหลาม
กับตุ๊กตายอดนิยม Greyfriars Bobby
รวมทั้งมีทัวร์นำเที่ยวบริเวณ Kirkyard
ที่รวมเส้นทางเดินเที่ยว Greyfriars Bobby Walking Theatre
และ Greyfriars Kirkyard Trust
อนุสรณ์สถานของ Bobby อยู่ข้าง Pub ชื่อ Bobby’s Bar
เป็นจุดรวม/จุดนัดหมายนักท่องเที่ยว
ที่ต่างมาเดินทางมา Greyfriars
เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศและถ่ายภาพคู่กับสุนัข
ในอดีตมีบางคนแตะที่จมูกของสุนัขเพื่อความโชคดี
แต่ตอนนี้ได้รับคำขอร้องให้แตะอย่างแผ่วเบา
เพราะ Bobby ต้องผ่านการบูรณะมาสองครั้งแล้ว
อย่างไรก็ตาม Dr.Jan Bondeson
นักวิชาการอาวุโส/อาจารย์ Cardiff University
ได้ระบุว่ามีสุนัขชื่อ Bobbies 2 ตัวในช่วงปี 1858 ถึง 1872
และไม่มีสุนัขตัวไหนที่ฝังอยู่ที่สุสาน Greyfriars ใน Edinburgh
" ผมรับทราบเรื่องราวของ Bobby ที่สุสาน Greyfriars เป็นอย่างดี
แต่ยิ่งผมศึกษาค้นคว้ามากขึ้น ผมก็ยิ่งได้กลิ่นสาปหนู(เรื่องผิดปกติ)
ความจริงสุนัขตัวแรกหลงทางเข้าไปอยู่ใกล้โรงพยาบาล Heriot
แล้วถูกนำตัวส่งไปที่สุสาน Greyfriars
James Brown ผู้ดูแลสุสานได้ดูแลมันเป็นอย่างดี
แล้วคนท้องถิ่นต่างลือว่ามันกำลังระลึกถึงนายเก่าของมัน
หลังจากเรื่องนี้แพร่กระจาย
มีผู้คนมาเยี่ยมชมสุสานมากกว่าเดิมเป็น 100 เท่า
หลายคนบริจาคเงินให้กับ James Brown
และใช้บริการที่ร้านอาหารท้องถิ่นของ John Trail
สุนัขตัวแรกตายในปี 1867 ตามที่ค้นคว้า
แล้วมีการนำสุนัขตัวใหม่มาแทนโดย
การร่วมมือของ James Brown กับ John Trail
เพื่อให้ผู้คนมาเยี่ยมชมที่สุสานตามเดิม
ภาพของ Bobby ที่ Greyfriars ก็ยังแตกต่างกัน
ในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน 1867
ตัวแรกดูเหมือนมีอายุมาก ท่าทางเหนื่อยอ่อน
และไม่มีชีวิตชีวามากนัก
ต่างกับตัวที่สองที่มีชีวิตชีวามากกว่า
กับวิ่งไปรอบ ๆ สุสาน/กัดกับสุนัขตัวอื่น
ทั้งนี้การอธิบายถึงอายุของ Bobby
มันอาจจะอายุยืนถึง 18 ปีก็ตาม
แต่อายุสุนัขพันธุ์ Skye terrier ในทุกวันนี้
จะมีอายุระหว่างช่วง 10 ถึง 12 ปี
แน่นอน เรื่องราวแบบนี้มันดีต่อเศรษฐกิจชุมชน
จึงไม่ใช่เรื่องยากลำบากแต่อย่างใดเลย
ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นต่างสมคบคิด
ช่วยกันร่วมมือกันปกปิด(ปิดปากเงียบ)เรื่องนี้ไว้
แม้ว่าจะมีการซุบซิบเล่าลือพาดพิงถึงเรื่องราวของ Bobby
จากชาวบ้าน Edinburgh หลายคนในเรื่องที่
รู้ ๆ กันอยู่
และนักเขียนหนังสือพิมพ์หลายคน
ต่างพยายามจะคลี่คลายข้อสงสัยเกี่ยวกับตำนานเรื่องนี้
แต่ Bobby ก็ได้ทำลายความเชื่อถือทุกคนทิ้งไปหมด
แม้ว่ามีคำอธิบายมากมายเกี่ยวกับต้นกำเนิดของ Bobby
ที่บอกว่า เจ้าของเป็นคนเลี้ยงแกะ
แต่ไม่มีเหตุผลสนับสนุนเลยที่จะให้
คนเลี้ยงแกะถูกฝังอยู่ใจกลางเมือง Edinburgh
และเท่าที่ผมทราบไม่มีหลักฐานอื่นใดเลย
ที่จะสนับสนุน/ยืนยันในเรื่องนี้ได้
ส่วนแนวคิดทฤษฏีเดิมที่ว่า Bobby
เป็นสุนัขของรปภ. John Gray ผู้ตาย
แต่มันก็มีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะเป็นสุนัขตำรวจได้
ตามความเห็นส่วนตัวของผมแล้ว
ทฤษฏีต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตสุนัขตัวนี้
ต่างเต็มไปด้วยรูโหว่คล้ายกับเนยแข็งสวิส
หลังจากผมใช้เวลาศึกษาและวิจัยกว่า 5 ปี
ผมเชื่อว่า มันถูกคนใช้เป็นเครื่องมือหลอกลวงโดยไม่ตั้งใจ
ด้วยการใช้นิสัยใจจงรักภักดี/ซื่อสัตย์ของสุนัข
สร้างความซาบซึ้งและสะเทือนใจต่อผู้คน
เพื่อทำให้พวกตนเองมีชีวิตที่ดีกว่า
ทั้งที่ความจริงสุนัขสองตัวนั้น
ตัวแรกกับตัวปลอมทีหลัง
ต่างอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ยืนรอให้อาหารกับมัน
ที่สุสานในช่วงเวลานั้น
เมื่อผู้คนได้เห็นสุนัขเหล่านี้แล้ว
ต่างเชื่อว่ามันกำลังเฝ้าหลุมศพของเจ้าของ
พวกเขาจึงได้ดูแลมันตลอดมา
เรื่องนี้ก็ไม่น่าจะแปลกใจแต่อย่างใด
ที่สุนัขที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีที่นั่น
ต่างเลือกที่จะอยู่ที่สุสานแห่งนั้นตลอดมา
Greyfriars Bobby ได้รับความนิยมอย่างมาก
ทั้งในหนังสือและภาพยนตร์ต่าง ๆ
รวมทั้งภาพยนตร์ดิสนีย์เรื่อง 1961
แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้หักล้างหรือทำลาย
ตำนานเรื่องราวของ Greyfriars Bobby
เพราะมันเป็นตำนานชีวิตสุนัขที่ซื่อสัตย์ที่สุดในโลก
และยิ่งใหญ่กว่าพวกเราทุกคน "
Greyfriars Kirkyard
A Night Watchman. By Thomas Dekker from The Belman of London (1608)
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/vqUDIU
https://goo.gl/itpg24
https://goo.gl/Z7RSEO
https://goo.gl/eC5KBK
หมายเหตุ
Bobby ตาย 14 มกราคม 1872
ส่วน Hachikō ตาย 8 มีนาคม 1935
เรื่องเล่าไร้สาระ
การยิงปืนบอกเวลาในไทยสมัยก่อนก็มี
แต่ยิงกันในเมืองหลวงเพื่อบอกเวลาเที่ยงวัน
ทำให้คนที่อยู่หัวเมืองห่างไกลจะไม่ได้ยินเสียงปืน
จึงเกิดคำพังเพยที่ว่า พวกไกลปืนเที่ยง
ต่อมี การยกเลิกในรัชสมัยรัชกาลที่ 4
ด้วยการเปิดหวูดสัญญาณเรือแทน
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://goo.gl/Hglgk9
ส่วนการตีระฆังยามบอกเวลาในไทย
จริง ๆ ไม่ใช่ระฆังแต่เป็นแผ่นเหล็กหนาหรือท่อเหล็กขนาดใหญ่
แต่ชาวบ้านมักจะเรียกติดปากว่า ระฆัง
สมัยก่อนจะมีกันตีกันมาก
ตามสถานที่ราชการหรือเอกชน
ที่มีเวรยามหรือจ้างยามรักษาการในเวลากลางคืน
ส่วนหนึ่งเพื่อบอกเวลาว่ากี่โมงแล้ว
กับป้องกันการหลับยามในเวลาดึก
แต่ในปัจจุบันบางหน่วยงานจะบังคับให้
คนอยู่เวรยามต้องเดินไปขันนาฬิกาทุกชั่วโมงแทน
ซึ่งจะมีการบันทึกลงบนแผ่นกระดาษด้านใน
เพื่อนำมาตรวจสอบย้อนหลังได้ว่า
มีการมาขันนาฬิกาตามกำหนดหรือไม่
แต่ในอดีตของแถวบ้านจะมีการตีระฆัง
เพื่อบอกเวลากรีดยางตอนกลางคืน
ตามกงสียาง/สวนยางของชาวบ้าน
ตำนานแถวบ้านเกิด
https://ppantip.com/topic/36036756 ย้ายวัดหนีเสียงระฆังบอกเวลา
Bobby สุนัข Skye Terrier เฝ้าหลุมศพเจ้าของนานถึง 14 ปี
Remembering Greyfriars Bobby
ในปี 1850 John Gray หรือ Auld Jock
คนทำสวนพร้อมภริยา Jess กับลูกชาย John
ได้เดินทางมาหางานทำที่ Edinburgh
แต่ก็หางานสวนทำไม่ได้เลย
เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาว่าเป็นคนจรจัด
ซึ่งมีโทษจำคุกถ้าเที่ยวเดินเตร็ดเตร่ว่างงานในยุคนั้น
John Gray จึงเข้าไปทำงานที่ Edinburgh Police Force
ในตำแหน่งคนเฝ้าระวังยามค่ำคืน Night Watchman
มีหน้าที่ตีระฆังบอกโมงยาม
เร่ิ่มงานราว 3 ทุ่มหรือ 4 ทุ่มจนกระทั่งท้องฟ้าเริ่มสว่าง
พร้อมกับแจ้งเตือนภัยเหตุเพลิงไหม้ กับปรามโจรผู้ร้ายทางอ้อม
รวมทั้งตรวจตราบ้านเมืองยามประกาศเคอร์ฟิว
ตำแหน่งดังกล่าวเป็นผู้ช่วยพนักงานตำรวจตามกฎหมายด้วย
เพื่อให้ชีวิตผ่านพ้นยามค่ำคืนฤดูหนาว
John Gray จึงทำงานร่วมกับคู่หู Buddy
Bobby สุนัขพันธุ์ Skye Terrier ที่มีขนาดตัวเล็กมาก
ทั้ง John กับ Bobby ต่างร่วมเดินทางตรวจตรา
จนชาวบ้านร้านถิ่นต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี
กับท่าทีที่เหนื่อยอ่อนในการเดินตรวจตรา
ย่านถนนที่ชำรุดทรุดโทรมสายเก่า ที่ Edinburgh
ทั้งคู่ต่างผ่านหนาวผ่านร้อนมาหลายฤดู
ด้วยมิตรไมตรีและผูกพันซึ่งกันและกัน
จนกระทั่งหลายปีผ่านพ้นไป
และแล้ววันหนึ่ง John Gray ก็ได้รับคำสั่ง
ให้ไปปลูกฝีที่ Police Surgeon
แต่แล้ว John Gray กลับตาย
เพราะแผลติดเชื้อในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1858
ศพจึงถูกนำไปฝังที่ Greyfriars Kirkyard
ที่อยู่รอบวิหาร Greyfriars Kirk เขตเมืองเก่าของ Edinburgh
Bobby ได้สร้างความซาบซึ้งใจให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก
เพราะไม่ยอมออกไปห่างจากหลุมศพของเจ้าของ
แม้ว่าจะเป็นคืนวันที่โหดร้ายจากพายุฝนหรือลมหนาวเย็น
ทั้ง ๆ ที่ คนดูแลสุสานกับคนสวนหลายคนใน Greyfriars Kirkyard
จะพยายามขับไล่ Bobby ให้ไปให้พ้น
หรือครอบครัวกับชาวบ้านในเมืองจะพามันไปเลี้ยงดูก็ตาม
ในที่สุด ทุกคนต่างก็ยอมใจหันหน้ามาสร้างที่กำบังให้ Bobby
พร้อมกับปูกระสอบผ้าให้มันนอนใต้โต๊ะหินสองตัว
เคียงข้างหลุมศพของ John Gray
ความซื่อสัตย์ของ Bobby โด่งดังไปทั่ว Edinburgh
แทบทุกวันก่อนเที่ยงวัน จะมีผู้คนมายืนรอคอยอยู่
ที่หน้าประตูทางเข้าสุสาน Greyfriars Kirkyard
เพื่อรอการปรากฏตัวของ Boby ในเวลาหนึ่งนาฬิกา
ที่ในสมัยนั้นจะมีการยิงปืนบอกเวลาทุกวัน
โดย Bobby จะออกมาจากสุสาน
เพื่อไปกินอาหารตอนกลางวันที่ร้านขาประจำทุกวัน
Bobby จะเดินทางออกมาหา William Dow
ช่างไม้ทำวงกบประตูหน้าต่างที่สนิทสนม
และมักจะมาพบปะพูดคุยกับเจ้าของคนเก่า
ที่ร้าน Coffee House เป็นประจำ
ซึ่ง Bobby ก็จำได้ William Dow ได้เป็นอย่างดี
หลังจากมันกินอาหารเที่ยงวันละมื้อเสร็จแล้ว
มันก็จะวิ่งกลับเข้าไปที่สุสานเพื่อเฝ้าหลุมศพเจ้าของอีก
ในปี 1867 มีการผ่านพระราชบัญญัติฉบับใหม่
บังคับให้สุนัขทุกตัวในเมือง Edinburgh
จะต้องมีใบอนุญาตและมีเจ้าของทุกตัว
ถ้าเป็นสุนัขจรจัดจะต้องถูกกำจัดทิ้งในเวลาที่กำหนด
Sir William Chambers (The Lord Provost of Edinburgh)
และผู้อำนวยการประชาคมป้องกันการทารุณสัตว์ใน Scotland
Scottish Society for the Prevention of Cruelty to Animals
ได้ตัดสินใจมอบใบอนุญาตและแสดงตนว่าเป็นเจ้าของ Bobby
พร้อมกับมอบปลอกคอสุนัขกับป้ายทองเหลืองสลักว่า
" Greyfriars Bobby from the Lord Provost 1867 licensed"
ซึ่งทุกวันนี้ป้ายดังกล่าวยังคงเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Edinburgh
แม้ว่าชาวบ้านหลายคนจะพยายามเลึ้ยงดู Boby เป็นอย่างดี
แต่มันก็ยังคงจงรักภักดีต่อเจ้าของคนเดิมเป็นเวลายาวนานถึง 14 ปี
Bobby จะนอนเฝ้าหลุมศพเจ้าของ จนกระทั่งมันตายในปี 1872
ศพของ Bobby ถูกฝังอยู่ที่หน้าประตูทางเข้าสุสาน Greyfriars Kirkyard
ไม่ไกลจากที่ฝังศพเดิมของเจ้าของเดิมของมัน
แต่บางตำนานระบุว่า มันถูกฝังเคียงข้างเจ้าของเดิม
โดยได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษยกเว้นตามกฎหมาย
Baroness Angelia Georgina Burdett-Coutts
ประธานคณะกรรมาธิการสตรี
President of the Ladies Committee of the RSPCA
รู้สึกซาบซึ้งกับประทับใจเรื่องราวของ Bobby อย่างแรง
จึงได้เรียกร้องให้สภาเมือง City Council
อนุมัติให้สร้างน้ำพุเทียมจากหินแกรนนิต
โดยก๊อกด้านบนให้คนดื่มกินได้
ส่วนกีอกด้านล่างให้สุนัขดื่มกินได้
พร้อมกับอนุสาวรีย์ที่มีรูป Bobby วางเด่นเป็นสง่าด้านบน
ต่อมามีการรื้อก๊อกน้ำทิ้งเพราะเหตุสุขาภิบาลในปี 1975
อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ที่ชุมทาง George IV Bridge กับ Candlemaker Row
ตรงกันข้ามกับทางเข้าบริเวณ Greyfriars Kirkyard
William Brody เป็นผู้จำลองแบบ Bobby
และมีการเปิดผ้าคลุมอนุสรณ์สถานแห่งนี้
อย่างไม่เป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 1873
ชาวเมืองหลวงสก็อตแลนด์ต่างยังคงรำลึกถึง
และจดจำเรื่องราวที่โด่งดังและซื่อสัตย์ของ Bobby ตราบทุกวันนี้
" Greyfriars Bobby
ตายวันที่ 14 มกราคม 1872 อายุ 16 ปี
ความจงรักภักดีและการอุทิศชีวิตจิตใจของมัน
คือบทเรียนบทหนึ่งของเราทุกคน "
หลายปีต่อมา มีหนังสือและภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องราว Bobby
รวมทั้งภาพยนตร์ที่สร้างโดย Disney
และบริษัทผลิตตุ๊กตา Edinburgh ได้รับความสำเร็จอย่างล้นหลาม
กับตุ๊กตายอดนิยม Greyfriars Bobby
รวมทั้งมีทัวร์นำเที่ยวบริเวณ Kirkyard
ที่รวมเส้นทางเดินเที่ยว Greyfriars Bobby Walking Theatre
และ Greyfriars Kirkyard Trust
อนุสรณ์สถานของ Bobby อยู่ข้าง Pub ชื่อ Bobby’s Bar
เป็นจุดรวม/จุดนัดหมายนักท่องเที่ยว
ที่ต่างมาเดินทางมา Greyfriars
เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศและถ่ายภาพคู่กับสุนัข
ในอดีตมีบางคนแตะที่จมูกของสุนัขเพื่อความโชคดี
แต่ตอนนี้ได้รับคำขอร้องให้แตะอย่างแผ่วเบา
เพราะ Bobby ต้องผ่านการบูรณะมาสองครั้งแล้ว
อย่างไรก็ตาม Dr.Jan Bondeson
นักวิชาการอาวุโส/อาจารย์ Cardiff University
ได้ระบุว่ามีสุนัขชื่อ Bobbies 2 ตัวในช่วงปี 1858 ถึง 1872
และไม่มีสุนัขตัวไหนที่ฝังอยู่ที่สุสาน Greyfriars ใน Edinburgh
" ผมรับทราบเรื่องราวของ Bobby ที่สุสาน Greyfriars เป็นอย่างดี
แต่ยิ่งผมศึกษาค้นคว้ามากขึ้น ผมก็ยิ่งได้กลิ่นสาปหนู(เรื่องผิดปกติ)
ความจริงสุนัขตัวแรกหลงทางเข้าไปอยู่ใกล้โรงพยาบาล Heriot
แล้วถูกนำตัวส่งไปที่สุสาน Greyfriars
James Brown ผู้ดูแลสุสานได้ดูแลมันเป็นอย่างดี
แล้วคนท้องถิ่นต่างลือว่ามันกำลังระลึกถึงนายเก่าของมัน
หลังจากเรื่องนี้แพร่กระจาย
มีผู้คนมาเยี่ยมชมสุสานมากกว่าเดิมเป็น 100 เท่า
หลายคนบริจาคเงินให้กับ James Brown
และใช้บริการที่ร้านอาหารท้องถิ่นของ John Trail
สุนัขตัวแรกตายในปี 1867 ตามที่ค้นคว้า
แล้วมีการนำสุนัขตัวใหม่มาแทนโดย
การร่วมมือของ James Brown กับ John Trail
เพื่อให้ผู้คนมาเยี่ยมชมที่สุสานตามเดิม
ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/SJXnZP
ภาพของ Bobby ที่ Greyfriars ก็ยังแตกต่างกัน
ในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน 1867
ตัวแรกดูเหมือนมีอายุมาก ท่าทางเหนื่อยอ่อน
และไม่มีชีวิตชีวามากนัก
ต่างกับตัวที่สองที่มีชีวิตชีวามากกว่า
กับวิ่งไปรอบ ๆ สุสาน/กัดกับสุนัขตัวอื่น
ทั้งนี้การอธิบายถึงอายุของ Bobby
มันอาจจะอายุยืนถึง 18 ปีก็ตาม
แต่อายุสุนัขพันธุ์ Skye terrier ในทุกวันนี้
จะมีอายุระหว่างช่วง 10 ถึง 12 ปี
แน่นอน เรื่องราวแบบนี้มันดีต่อเศรษฐกิจชุมชน
จึงไม่ใช่เรื่องยากลำบากแต่อย่างใดเลย
ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นต่างสมคบคิด
ช่วยกันร่วมมือกันปกปิด(ปิดปากเงียบ)เรื่องนี้ไว้
แม้ว่าจะมีการซุบซิบเล่าลือพาดพิงถึงเรื่องราวของ Bobby
จากชาวบ้าน Edinburgh หลายคนในเรื่องที่ รู้ ๆ กันอยู่
และนักเขียนหนังสือพิมพ์หลายคน
ต่างพยายามจะคลี่คลายข้อสงสัยเกี่ยวกับตำนานเรื่องนี้
แต่ Bobby ก็ได้ทำลายความเชื่อถือทุกคนทิ้งไปหมด
แม้ว่ามีคำอธิบายมากมายเกี่ยวกับต้นกำเนิดของ Bobby
ที่บอกว่า เจ้าของเป็นคนเลี้ยงแกะ
แต่ไม่มีเหตุผลสนับสนุนเลยที่จะให้
คนเลี้ยงแกะถูกฝังอยู่ใจกลางเมือง Edinburgh
และเท่าที่ผมทราบไม่มีหลักฐานอื่นใดเลย
ที่จะสนับสนุน/ยืนยันในเรื่องนี้ได้
ส่วนแนวคิดทฤษฏีเดิมที่ว่า Bobby
เป็นสุนัขของรปภ. John Gray ผู้ตาย
แต่มันก็มีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะเป็นสุนัขตำรวจได้
ตามความเห็นส่วนตัวของผมแล้ว
ทฤษฏีต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตสุนัขตัวนี้
ต่างเต็มไปด้วยรูโหว่คล้ายกับเนยแข็งสวิส
หลังจากผมใช้เวลาศึกษาและวิจัยกว่า 5 ปี
ผมเชื่อว่า มันถูกคนใช้เป็นเครื่องมือหลอกลวงโดยไม่ตั้งใจ
ด้วยการใช้นิสัยใจจงรักภักดี/ซื่อสัตย์ของสุนัข
สร้างความซาบซึ้งและสะเทือนใจต่อผู้คน
เพื่อทำให้พวกตนเองมีชีวิตที่ดีกว่า
ทั้งที่ความจริงสุนัขสองตัวนั้น
ตัวแรกกับตัวปลอมทีหลัง
ต่างอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ยืนรอให้อาหารกับมัน
ที่สุสานในช่วงเวลานั้น
เมื่อผู้คนได้เห็นสุนัขเหล่านี้แล้ว
ต่างเชื่อว่ามันกำลังเฝ้าหลุมศพของเจ้าของ
พวกเขาจึงได้ดูแลมันตลอดมา
เรื่องนี้ก็ไม่น่าจะแปลกใจแต่อย่างใด
ที่สุนัขที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีที่นั่น
ต่างเลือกที่จะอยู่ที่สุสานแห่งนั้นตลอดมา
Greyfriars Bobby ได้รับความนิยมอย่างมาก
ทั้งในหนังสือและภาพยนตร์ต่าง ๆ
รวมทั้งภาพยนตร์ดิสนีย์เรื่อง 1961
แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้หักล้างหรือทำลาย
ตำนานเรื่องราวของ Greyfriars Bobby
เพราะมันเป็นตำนานชีวิตสุนัขที่ซื่อสัตย์ที่สุดในโลก
และยิ่งใหญ่กว่าพวกเราทุกคน "
Greyfriars Kirkyard
A Night Watchman. By Thomas Dekker from The Belman of London (1608)
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/vqUDIU
https://goo.gl/itpg24
https://goo.gl/Z7RSEO
https://goo.gl/eC5KBK
หมายเหตุ
Bobby ตาย 14 มกราคม 1872
ส่วน Hachikō ตาย 8 มีนาคม 1935
เรื่องเดิม https://ppantip.com/topic/30228532 หมาเฝ้าหลุมศพเจ้าของนานกว่าหกปี
เรื่องเล่าไร้สาระ
การยิงปืนบอกเวลาในไทยสมัยก่อนก็มี
แต่ยิงกันในเมืองหลวงเพื่อบอกเวลาเที่ยงวัน
ทำให้คนที่อยู่หัวเมืองห่างไกลจะไม่ได้ยินเสียงปืน
จึงเกิดคำพังเพยที่ว่า พวกไกลปืนเที่ยง
ต่อมี การยกเลิกในรัชสมัยรัชกาลที่ 4
ด้วยการเปิดหวูดสัญญาณเรือแทน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/Hglgk9
ส่วนการตีระฆังยามบอกเวลาในไทย
จริง ๆ ไม่ใช่ระฆังแต่เป็นแผ่นเหล็กหนาหรือท่อเหล็กขนาดใหญ่
แต่ชาวบ้านมักจะเรียกติดปากว่า ระฆัง
สมัยก่อนจะมีกันตีกันมาก
ตามสถานที่ราชการหรือเอกชน
ที่มีเวรยามหรือจ้างยามรักษาการในเวลากลางคืน
ส่วนหนึ่งเพื่อบอกเวลาว่ากี่โมงแล้ว
กับป้องกันการหลับยามในเวลาดึก
แต่ในปัจจุบันบางหน่วยงานจะบังคับให้
คนอยู่เวรยามต้องเดินไปขันนาฬิกาทุกชั่วโมงแทน
ซึ่งจะมีการบันทึกลงบนแผ่นกระดาษด้านใน
เพื่อนำมาตรวจสอบย้อนหลังได้ว่า
มีการมาขันนาฬิกาตามกำหนดหรือไม่
แต่ในอดีตของแถวบ้านจะมีการตีระฆัง
เพื่อบอกเวลากรีดยางตอนกลางคืน
ตามกงสียาง/สวนยางของชาวบ้าน
ตำนานแถวบ้านเกิด https://ppantip.com/topic/36036756 ย้ายวัดหนีเสียงระฆังบอกเวลา