แสง หลุมดำ กาลอวกาศ กับข้อสงสัย

ตามทฤษฏีแสงเดินทางเร็วที่สุดในจักรวาล วัตถุไหนเดินทางได้เร็วใกล้ความเร็วแสงเวลายิ่งเดินช้าลงจนเหมือนแทบหยุดนิ่ง หรือถ้าอยู่ในที่มีแรงโน้มถ่วงมากจนบิดกาลอวกาศ เวลาก็เหมือนหยุดนิ่ง(หลุมดำ)
สงสัยคือ
     1. สมมุติว่ามีกล้องจับภาพที่คมชัดอยู่ในหลุมดำ (ไม่ต้องหาเหตุผลว่าอยู่ได้อย่างไร)หันกล้องมาหาเอกภพจะเห็นภาพตั้งแต่จุดกำเนิดbigbang จนจุดจบของจักรวาลใช่หรือไม่ ถ้าใช่ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ทั้งที่หลุมดำพึ่งเกิดหลังจาก bigbang หลายล้านปีแต่เห็นจุดกำเนิดได้อย่างไร
     2. ถ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้เคียงกับแสง โดยไม่หยุด จะเห็นจุดกำเนิดbigbang หรือเห็นจุดจบของเอกภพหรือไม่ ถ้าใช่แสดงว่าเราสามารถหนีจากความตายของเอกภพโดยใช้ความเร็วแสงอย่างนั้นหรือ (จะคล้ายๆตามวิดิโอนี้ไหม) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
     3. หลุมดำ คือสิ่งที่ฉีกกาลอวกาศ ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว หลุมดำจะดูดสสารในระนาบแนวนอนเหมือนน้ำวน หรือทรงกลมดูดสสารรอบทิศทาง
     4. หลุมดำหลังจากดูดเข้าไปแล้ว สสารเหล่านั้นหายไปไหน หรือโดนเปลื่ยนแปลงเป็นพลังงาน
     5. หลุมขาว ในทางทฤษฎีเป็นไปได้ แต่ในความเป็นจริงนักวิทยาศาสตร์ได้สนใจตามหาสิ่งนี้เหมือน หลุมดำในสมัยเป็นแค่ทฤษฎีไหม ถ้าเจอหลุมขาวจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทฤษฎีอื่นๆหรือไม่ เช่น จักรวาลคู่ขนาน
     6.ถ้ามีกล้องโทรทัศน์ ที่มีความคมชัดมาก(สมมุติ) ส่องไปดาวเคราะห์ที่อยู่ไกล 100,000ปีแสง และดาวดวงนั้นมีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่สามารถรับรู้การมีอยู่ของจักรวาลเหมือนกับมนุษย์โลก แต่พวกเราส่องกล้องไปเห็นดาวดวงนั้นแค่เป็นดาวที่มีน้ำ เพราะเราเห็นเมื่อ 100,000ปีก่อน มนุษย์จะทำเช่นไร ให้รับรู้ว่าดาวดวงนั้นจริงๆแล้วมีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาเหมือนกับโลก ไม่ใช่แค่ดาวที่มีน้ำ มีวิธีไหนที่สามารถจะมองเป็นภาพปัจจุบันได้หรือไม่ และเราจะติดต่อได้อย่างไรในเมื่อมันไกลมากๆ (ถ้าไม่ได้คงน่าเศร้ามากๆเพราะต่อให้มีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาแต่เรามองเห็นแค่ดาวที่ไร้สิ่งมีชีวิตและติดต่อไม่ได้)
     7.ถ้าสมมุติมนุษย์สามารถประดิษฐ์อุปกรณ์ จับภาพทั่วทั้งเอกภพ เลยขอบของเอกภพที่แสงแรกเดินทางไปอีก(observe universe) เห็นภาพทั้งเอกภพ นักวิทยาศาสตร์จะเข้าใจเอกภพมากขึ้นไหม หรือไม่มีประโยชน์อะไรเลย แค่มีพื้นที่ส่องดาวเพิ่มแค่นั้นเอง
     8.เอกภพโดยมีขอบเขตกับเอกภพที่ไร้ขอบเขต มันจะแตกต่างกันอย่างไร ในแง่ทฤษฎีต่างๆจะต้องเปลี่ยนแปลงไหม อย่างไหนมีประโยชน์และโทษกว่ากัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่