คนเก็งกำไรค่าเงินตอนปี 40 ได้ผลประโยชน์มากสุดจริงเหรอ ผมว่าคนที่ให้ฟิกซ์ค่าเงิน 25 บาทนี่ได้ประโยชน์กว่านะ

คือเราทุกคนได้ยินเรื่องเล่ามานานแล้ว เรื่องตอนปี 40 มีคนกลุ่มนึงที่แอบตุนดอลล่าร์ไว้
รอลอยตัวค่าเงินบาท วันที่ 2 ก.ค. แล้วค่อยๆปล่อยมาขาย ทำกำไร

ส่วนนึงคนที่กู้เงิน/นำเข้า ก็ประกันความเสี่ยงไปก็รอด ใครไม่ทำก็แล้วแต่สภาพ ว่าคอนเวอร์ตสัญญาเงินกู้จากดอลล่าร์มาเป็นบาททันเวลาไหม

ผมเริ่มสงสัยว่า ตอนเราใช้ตะกร้าเงิน 25 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์ แล้วทุนรักษาระดับเป็นแผนกที่คอยรักษาอัตราแลกเปลี่ยน ต้องคอยคุมให้มันอยู่แถวๆ 25 บาท (ไม่งั้นจะมีคืนนั้นเหรอที่ทุนรักษาระดับเสียเงินไปแสนล้านเพื่อรักษาค่าเงินในคืนเดียว)

สมมติคนไหนทุนหนาหน่อย ก็ไปดักดูราคา Fx ว่าช่วงไหนจะมีค่าเงินสวิงเยอะๆ

(จากรายงาน ศปร. พบว่าช่วงนั้นเงินบาทนี่ถูกเทรดซื้อ-ขายวันละไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านเหรียญ คนลงทุนนิยมเก็งกำไรกันมาก)

เช่น

วันดีคืนดีค่าเงินแข็งไปอยู่ที่ 24 บาท ยังไงก็ตาม คนๆนี้เค้าก็ต้องรู้ว่าทุนรักษาระดับต้องทำให้เงินบาทอ่อนค่าเป็นแถวๆ 25 บาท แน่ๆ
เค้าก็ Long USD ด้วย Leverage เยอะๆ เค้าก็ได้กำไรแล้ว
ในขณะเดียวกันถ้าเงินบาทอ่อนค่ามากๆ เค้าก็แค่ short USD เพื่อรอมันกลับมาใกล้ๆ 25 แล้วปิดสถานะก็ได้

ผมว่าในช่วงที่เป็นตะกร้าเงินนี่อะ คนได้ผลประโยชน์จากเรื่องพวกนี้มากกว่าคนทำกำไรจากการลอยตัวค่าเงินหรือเปล่า


// อันนี้คือพูดถึงกลุ่มนักเก็งกำไรนะครับ ส่วน real sector นี่ก้อโดนไปตามระเบียบ
   พวกที่กู้เงินมาเอาส่วนต่างดอกเบี้ย พวกที่ส่งลูกเรียนนอก พวกนำเข้าสินค้า พวกกู้เงินจาก BIBF โดนกันหมด
   ไว้อาลัยให้ Fin1, CMIC, BBC, ONE และอื่นๆ//
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่