แบงก์คาดปีนี้แบงก์ชาติขาดทุนหนัก เหตุต้องซื้อดอลลาร์อุ้มผู้ส่งออก เผยตั้งแต่ต้นปีขาดทุนค่าเงินจากบาทแข็งแล้ว 5 % แนะกระจายพอร์ตถือสกุลเงินอื่นๆเพิ่มขึ้น “อภิศักดิ์” รับได้ ชี้มีหน้าที่ต้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)รายงานผลประกอบการประจำปี 2559 ขาดทุนเบ็ดเสร็จ1.39 แสนล้านบาท ทำให้ขาดทุนสะสมเพิ่มเป็น 7.25 แสนล้านบาท สินทรัพย์จำนวน 4.21ล้านล้านบาท ขณะที่หนี้สิน 4.96 ล้านล้านบาท
นางจันทวรรณ สุจริตกุลผู้ช่วยผู้ว่าการสายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กรธปท.ชี้แจงว่าผลขาดทุน 1.39 แสนล้านบาท เป็นผลจากการตีราคาเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวน 5.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดทุนทางบัญชี และผลจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยรับจ่ายโดยปี 2559 ดอกเบี้ยเงินสกุลสำคัญของโลกตํ่ากว่าดอกเบี้ยเงินบาทจึงทำให้เกิดขาดทุนจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย
ธปท.วางแนวทางเพื่อลดผลขาดทุนในอนาคต โดยส่งเสริมเอกชนไทยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้วยการนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศตลอดจนให้กองทุนรวมลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าการขาดทุนจำนวนมากของธปท.ไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือมีประเด็นที่น่ากังวลแต่อย่างใดเพราะต้องเข้าใจว่า ธปท. มีหน้าที่แตกต่างกับธนาคารพาณิชย์คือ ต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดูแลอัตรานโยบายการเงิน ดูแลดอกเบี้ย ดูแลการไหลเข้า-ออกของเงิน
“แม้แบงก์ชาติจะขาดทุนแต่เป็นการขาดทุนทางบัญชีที่มาจากภารกิจ แบงก์ชาติจะขาดทุนหรือกำไรก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติเพราะที่ผ่านมาก็มีหลายเหตุการณ์ที่แบงก์ชาติมีกำไรตรงนี้ ก็ยังไม่มีใครออกมาพูดถึง แต่กลับมองจุดที่ขาดทุนเท่านั้น”
นอกจากนี้ทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงถึง 1.71 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯสามารถดูดซับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้แสดงให้เห็นว่าไทยมีความพร้อมแม้จะมีความผันผวนจากต่างประเทศก็ตาม
แหล่งข่าวในตลาดเงินกล่าวว่า ช่วงที่เหลือของปี 2560 มีแนวโน้มตลาดเงินยังผันผวนได้อีก ซึ่งเห็นได้จากต้นปี 3-4 เดือนธปท.ขาดทุนจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าแล้วอย่างน้อย 5% แม้ค่าเงินแข็งค่าจะเป็นสถานการณ์ไม่ปกติและอาจจะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วย่อมสะท้อนปีนี้ไม่ต่างจากปีก่อนคือช่วงที่เหลือธปท.และผู้ประกอบการเตรียมรับขาดทุนได้เลย
“เราคงทำอะไรได้ไม่มากเพราะปัจจุบันธปท.มีต้นทุนอัตราดอกเบี้ยจากการออกบอนด์เพื่อดูดซับสภาพคล่องและการเข้าซื้อดอลลาร์ ยังมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ดอลลาร์อ่อนค่าอย่างที่เห็นยิ่งภาวะการเมืองต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐ ยิ่งเศรษฐกิจไทยดีย่อมดึงเงินไหลเข้ายิ่งกดดันเงินบาทแข็งได้อีกด้วย Out Look เหล่านี้ธปท.จะรับขาดทุนได้นานแค่ไหน”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ประเด็นที่ธปท.ดำเนินการได้ คือการลดการถือครองเงินดอลลาร์ และกระจายไปถือสกุลหลักอื่นๆมากขึ้น เช่นเดียวกับผู้ส่งออกเองควรทำการค้ากับสกุลเงินอื่นๆ เช่นหยวน หรือเยน และทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า โดยปัจจุบันธปท.ถือสินทรัพย์ต่างประเทศในสกุลต่างๆอาทิ ดอลลาร์สหรัฐฯ ยูโร เยน และบอนด์ เป็นต้น
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยกดดันธปท.ในการดูแลค่าเงินขึ้นอยู่กับระยะเวลาการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ โจทย์นี้กระทบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผู้ส่งออกต้องหาตลาดอื่นที่พอมีกำไรหรือสินค้าตัวอื่นช่วย
“กรณีจะให้ธปท.ฝืนระดับค่าเงินให้นิ่ง ก็จะยิ่งสร้างปัญหาอีกรูปแบบ ธปท.ทำมากกว่านี้ก็ไม่ดี เพราะผลขาดทุนของธปท.ปีที่แล้วสะท้อนให้เห็นว่าธปท.ขาดทุนช่วยผู้ส่งออกมาตลอดถ้าจะให้ธปท.กระหนํ่าซื้อดอลลาร์ขณะที่ยังอ่อนค่าก็จะยิ่งขาดทุนหนักในปีนี้”
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ธปท.ส่อขาดทุนหนัก แนะหยุดอุ้มส่งออก อภิศักดิ์ชี้ทำเพื่อชาติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)รายงานผลประกอบการประจำปี 2559 ขาดทุนเบ็ดเสร็จ1.39 แสนล้านบาท ทำให้ขาดทุนสะสมเพิ่มเป็น 7.25 แสนล้านบาท สินทรัพย์จำนวน 4.21ล้านล้านบาท ขณะที่หนี้สิน 4.96 ล้านล้านบาท
นางจันทวรรณ สุจริตกุลผู้ช่วยผู้ว่าการสายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กรธปท.ชี้แจงว่าผลขาดทุน 1.39 แสนล้านบาท เป็นผลจากการตีราคาเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวน 5.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดทุนทางบัญชี และผลจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยรับจ่ายโดยปี 2559 ดอกเบี้ยเงินสกุลสำคัญของโลกตํ่ากว่าดอกเบี้ยเงินบาทจึงทำให้เกิดขาดทุนจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย
ธปท.วางแนวทางเพื่อลดผลขาดทุนในอนาคต โดยส่งเสริมเอกชนไทยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้วยการนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศตลอดจนให้กองทุนรวมลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าการขาดทุนจำนวนมากของธปท.ไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือมีประเด็นที่น่ากังวลแต่อย่างใดเพราะต้องเข้าใจว่า ธปท. มีหน้าที่แตกต่างกับธนาคารพาณิชย์คือ ต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดูแลอัตรานโยบายการเงิน ดูแลดอกเบี้ย ดูแลการไหลเข้า-ออกของเงิน
“แม้แบงก์ชาติจะขาดทุนแต่เป็นการขาดทุนทางบัญชีที่มาจากภารกิจ แบงก์ชาติจะขาดทุนหรือกำไรก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติเพราะที่ผ่านมาก็มีหลายเหตุการณ์ที่แบงก์ชาติมีกำไรตรงนี้ ก็ยังไม่มีใครออกมาพูดถึง แต่กลับมองจุดที่ขาดทุนเท่านั้น”
นอกจากนี้ทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงถึง 1.71 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯสามารถดูดซับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้แสดงให้เห็นว่าไทยมีความพร้อมแม้จะมีความผันผวนจากต่างประเทศก็ตาม
แหล่งข่าวในตลาดเงินกล่าวว่า ช่วงที่เหลือของปี 2560 มีแนวโน้มตลาดเงินยังผันผวนได้อีก ซึ่งเห็นได้จากต้นปี 3-4 เดือนธปท.ขาดทุนจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าแล้วอย่างน้อย 5% แม้ค่าเงินแข็งค่าจะเป็นสถานการณ์ไม่ปกติและอาจจะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วย่อมสะท้อนปีนี้ไม่ต่างจากปีก่อนคือช่วงที่เหลือธปท.และผู้ประกอบการเตรียมรับขาดทุนได้เลย
“เราคงทำอะไรได้ไม่มากเพราะปัจจุบันธปท.มีต้นทุนอัตราดอกเบี้ยจากการออกบอนด์เพื่อดูดซับสภาพคล่องและการเข้าซื้อดอลลาร์ ยังมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ดอลลาร์อ่อนค่าอย่างที่เห็นยิ่งภาวะการเมืองต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐ ยิ่งเศรษฐกิจไทยดีย่อมดึงเงินไหลเข้ายิ่งกดดันเงินบาทแข็งได้อีกด้วย Out Look เหล่านี้ธปท.จะรับขาดทุนได้นานแค่ไหน”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ประเด็นที่ธปท.ดำเนินการได้ คือการลดการถือครองเงินดอลลาร์ และกระจายไปถือสกุลหลักอื่นๆมากขึ้น เช่นเดียวกับผู้ส่งออกเองควรทำการค้ากับสกุลเงินอื่นๆ เช่นหยวน หรือเยน และทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า โดยปัจจุบันธปท.ถือสินทรัพย์ต่างประเทศในสกุลต่างๆอาทิ ดอลลาร์สหรัฐฯ ยูโร เยน และบอนด์ เป็นต้น
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยกดดันธปท.ในการดูแลค่าเงินขึ้นอยู่กับระยะเวลาการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ โจทย์นี้กระทบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผู้ส่งออกต้องหาตลาดอื่นที่พอมีกำไรหรือสินค้าตัวอื่นช่วย
“กรณีจะให้ธปท.ฝืนระดับค่าเงินให้นิ่ง ก็จะยิ่งสร้างปัญหาอีกรูปแบบ ธปท.ทำมากกว่านี้ก็ไม่ดี เพราะผลขาดทุนของธปท.ปีที่แล้วสะท้อนให้เห็นว่าธปท.ขาดทุนช่วยผู้ส่งออกมาตลอดถ้าจะให้ธปท.กระหนํ่าซื้อดอลลาร์ขณะที่ยังอ่อนค่าก็จะยิ่งขาดทุนหนักในปีนี้”