1,789 จุดคือจุดสูงสุดของตลาดหุ้นไทยที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคมปี 2537
หลังจากนั้นประเทศไทยเกิดวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ทำให้ตลาดหุ้นตกลงไปตํ่าสุดที่ 204 จุดในเดือนสิงหาคมปี 2541
ตลาดหุ้นตกจากจุดสูงสุดถึง 88.5% ภายในระยะเวลา 5 ปี
เงินลงทุน 10 ล้านบาทจะเหลือที่ประมาณ 1,150,000 บาท หากจะกลับไปเท่าทุนเหมือนเดิมที่ 10 ล้านต้องทำผลตอบแทนให้ได้ถึง 870% หรือประมาณเกือบ 9 เด้ง
คำถามคือแล้วมันเกิดอะไรขึ้นในปี 2540? ในฐานะนักลงทุนเราจะป้องกันได้ไหม? แล้วเราควรจะทำอย่างไรเมื่อเจอวิกฤต? มาดูภาพรวมของประเทศไทยในอดีตกันก่อน
ปี 2530 – 2539 อัตราการเติบโตเฉลี่ย 10 ปีของ GDP ประเทศไทยสูงถึง 9.4% อัตราการเติบโตของการส่งออกอยู่ที่ 14.5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4.7% อัตราส่วนเงินลงทุนต่อ GDP เพิ่มจาก 27% ในปี 2530 เป็น 41% ในปี 2539 การลงทุนที่สูงขึ้นและการเติบโตของเศรษฐกิจมาจากการไหลเข้าของเงินลงทุนต่างประเทศซะเป็นส่วนใหญ่
รัฐบาลเองด้วยนโยบายที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น Financial Hub ของ Asia ได้ทำการปฏิรูปภาคการเงินของไทย
ในปี 2533 รับพันธะสัญญาข้อที่ 8 ของไอเอ็มเอฟ เพื่อเปิดเสรีทางการเงินของไทยสู่สากล
ในปี 2536 รัฐบาลอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ (Bangkok International Banking Facilities : BIBF) ให้ธนาคารไทยกู้เงินต่างประเทศมาปล่อยกู้ในประเทศได้ และนี่คือจุดเริ่มต้นของวิกฤตปี 2540
ผลของการเปิดเสรีครั้งนี้ ทำให้เงินสามารถไหลเข้าออกประเทศได้อย่างสะดวกโดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเลยเพราะตอนนั้นประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ๆ 25 บาทต่อดอลลาร์ เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็วประมาณ 8.6% ต่อปี ธนาคารเห็นช่องทางในการทำกำไรอย่างรวดเร็วด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศมา ปล่อยกู้ภายในประเทศ
การปล่อยกู้ในประเทศจะทำให้ธนาคารได้กำไรมหาศาลทันทีเนื่องจากดอกเบี้ยที่ได้มาจากต่างประเทศถูกกว่าดอกเบี้ยในประเทศมาก ดังนั้นสถาบันการเงินจึงทำทุกวิถีทางเพื่อปล่อยกู้ให้ได้มากๆ
เศรษฐกิจก็เลยเติบโตจาก Easy credit หรือเงินกู้ที่ได้มาง่ายๆ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินผู้กู้เป็นไปอย่างหละหลวม ธนาคารในประเทศเริ่มแข่งขันกันอย่างสูงในการปล่อยสินเชื่อจนทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ของอุตสาหกรรมลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 5-7% สภาพคล่องล้นมากๆๆ
เมื่อเงินกู้ได้มาง่ายแทนที่ผู้ประกอบการจะเอาไปลงทุนในกิจการ จะเอาไปลงในกิจการทำไม? กว่าจะได้กำไรกลับมามันช้า เอาไปเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์,ที่ดินหรือซื้อหุ้นดีกว่า รวยง่าย รวยเร็ว ไม่ต้องเหนื่อยดีกว่ากันเยอะ ยิ่งนำไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ ยิ่งดันราคาสูงขึ้นไปอีก
ผลเสียที่เกิดขึ้นคือกระทบศักยภาพการแข่งขันในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกของประเทศเพราะต้นทุนในการทำธุรกิจโดยรวมจะสูงขึ้นทันที ทำให้เกิดปัญหาใหญ่เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นปัจจัยหลัก ยิ่งเก็งกำไรในสินทรัพย์มากขึ้นยิ่งทำให้การทำธุรกิจได้ผลตอบแทนตํ่าลงเรื่อยๆ ยิ่งทำให้ไม่มีใครอยากลงทุนขยายธุรกิจแม้เศรษฐกิจจะเติบโต จำนวนมากเอาเงินกู้ที่ได้ไปเก็งกำไรที่ดินหรือหุ้นแทนกลายเป็นวงจรหายนะที่ไม่มีวันจบ
ด้วยส่วนต่างดอกเบี้ยของต่างประเทศกับในประเทศสูงมาก ทำให้เริ่มมีธนาคารกู้ระยะสั้นมาปล่อยในประเทศ เพราะแม้จะกู้ระยะสั้นที่ดอกเบี้ยสูงขึ้นแต่ดอกเบี้ยในประเทศก็ยังสูงกว่า ก็ยังกำไรอยู่ดี (ในปี 2559 กว่าครึ่งของหนี้สินต่างประเทศของสถาบันการเงินเป็นหนี้สินระยะสั้น) โดยสมมุติฐานที่ทำกำไรได้ตรงนี้ไม่ได้เอาความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไปคิดเพราะยังไงก็ตรึงไว้ให้คงที่อยู่แล้ว
ในปี 2537 IMF กังวลกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ของไทยและแนะนำให้ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ไทยปฏิเสธเพราะตอนนั้นเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งมาก กลัวว่าเปลี่ยนระบบไปแล้วเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นส่งผลเสียต่อการส่งออก
จนถึงปี 2539 เศรษฐกิจก็ยังโตขึ้นไปได้เรื่อยๆแต่มีจุดสังเกตคือ GDP เติบโตน้อยลงจาก 8% เหลือ 5% การส่งออกเริ่มเติบโตติดลบเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ในปี 2536-2539 กระแสการไหลเข้าของเงินลงทุนประเภท FDI ซึ่งเป็นการลงทุนใน Productivity ของประเทศลดลงเหลือเพียงเฉลี่ย 0.8% ของ GDP แล้วเงินต่างประเทศที่ไหลเข้าไทยเยอะๆไปอยู่ไหน? กว่า 7.3% ของ GDP ไปอยู่กับสถาบันการเงินเอาไปปล่อยกู้ให้นักลงทุนในประเทศซึ่งเอาเงินไปเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์, ที่ดิน และหุ้น แต่สุดท้ายการเก็งกำไรก็จบลงช่วงต้นปี 2559
ในเดือน กรกฎาคมของปี 2539 SET เริ่มตกลงไปทำจุดตํ่าสุดใหม่ในรอบ 3 ปีทะลุ 1,223 จุด โดยณ.จุดนี้ SET ตกลงมาจากจุดสูงสุดที่ 1,789 จุดในปลายปี 2536 คิดเป็นการลดลงแล้วถึง 31%
เมื่อศักยภาพของประเทศลดลง การลงทุนเริ่มผิดพลาด นักลงทุนเริ่มจ่ายหนี้ไม่ได้ก็เริ่มมีหนี้เสีย NPL เริ่มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆจาก 7.7% ในปี 2538, 13% ในปี 2539, 22.6% ในปี 2540 เหล่าสถาบันการเงินก็รู้ตัวแต่ไม่กลัวเพราะคิดว่ายังไงยังไงซะรัฐบาลจะไม่ยอมปล่อยให้ล้มกันหมดแน่นอน เดี๋ยวก็ต้องเข้ามาช่วย เจ้าหนี้ต่างประเทศเริ่มสังเกตเห็นสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะมีแนวโน้มหนักขึ้นเรื่อยๆ
จากนโยบายการเงินที่เปิดอย่างเสรีและอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ทำให้เกิดช่องว่างให้ต่างชาติสามารถเข้าโจมตีค่าเงินบาทได้ จึงเริ่มมีการโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนักในช่วงปี 2539-2540 หลักการคือปกติจะมี Supply เงินไทยในตลาดโลกระดับหนึ่ง ถ้าธปท.อยากให้ค่าอ่อนลงก็ขายเงินไปออก อยากให้แข็งค่าก็ซื้อกลับมาของน้อยลงก็จะราคาสูงขึ้นแข็งค่าขึ้นเอง ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้วิธีซื้อขายเงินบาทในตลาดโลกเพื่อให้มูลค่าของเงินอยู่ในอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมซึ่งก็คือ 25 บาทต่อดอลลาร์ที่ตรึงไว้
หลักการโจมตีค่าเงินบาทก็ตัวอย่างเช่นต่างชาติมากู้เงินธนาคารไทยเสร็จ เอาเงินไทยไปแลกดอลลาร์กับธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท.ก็จะมีดอลลาร์ลดลงเรื่อยๆ เงินทุนสำรองร่อยหรอจนไม่เหลือดอลลาร์แล้ว แต่ยังมีคนต้องการเอาเงินไทยมาแลกอยู่ทีนี้ทำไง? ก็ต้องไปกู้ดอลลาร์มาให้เขาแลก ก็ยังมีคนมาแลกเรื่อยๆจนหมดแล้วหมดอีกกู้เพิ่มจนกู้ไม่ได้แล้ว ทีนี้นักธุรกิจจะทำการค้าต่างประเทศยังไง? ปิดบริษัทไม่ต้องทำ? ก็มีหวังเจ๊งกันทั้งประเทศหนักกว่าเดิม
สุดท้ายธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องยอมลอยตัวค่าเงินบาท จากปกติให้แลกได้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์ คราวนี้บอกไม่ตรึงไว้ที่ 25 แล้วเลิกๆกลายเป็น 50 แทน ต่างชาติที่เคยมากู้เงินธนาคารไทยไว้ก็กลับมาเอาดอลลาร์มาแลกเป็นเงินไทยที่ 50 เอาไปใช้หนี้ธนาคารไทยแค่ครึ่งเดียวที่เหลืออีกครึ่งเป็นกำไร แล้วเอากำไรที่ได้มาลบกับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้ธนาคารที่ไปกู้เงินมาตามระยะเวลาก็จะได้กำไร Net ครับ (หลักการคร่าวๆก็ประมาณนี้แต่รายละเอียดมันลึกกว่านี้ถ้าอยากอ่านก็ลองตามอ่านใน Link ด้านล่างได้ครับ)
ธนาคารแห่งประเทศไทยสู้กับนักเก็งกำไรจนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือ 2,800 ล้านจาก 38,700 ล้าน เงินทุนสำรองหร่อยหรอหมดเงิน ทำให้จำเป็นต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540
ธุรกิจในประเทศไทยที่เคยกู้เงินต่างชาติไว้เท่าไหร่ พอลอยตัวค่าเงินจาก 25 เป็นประมาณ 50 บาทหนี้ก็เพิ่ม 2 เท่าทันที คนที่กู้เงินไปซื้อที่ดินหรือเล่นหุ้นก็ขายที่ไม่ออก ติดดอยหุ้นกันถ้วนหน้า ก็ยิ่งเจ๊งหนักเข้าไปใหญ่ NPL ก็สูงขึ้นปรี๊ดๆไปสูงสุดที่ 47% ในปี 2542 สถาบันการเงินในไทยก็ยิ่งไม่ได้เงินคืนก็ไม่รู้จะเอาที่ไหนไปจ่ายต่างชาติ เจ้าหนี้ต่างชาติหมดความเชื่อมั่นก็มีสิทธิเรียกเงินเพราะปล่อยกู้ไว้เป็นระยะสั้น รัฐบาลก็ช่วยไม่ได้แล้วเพราะถังแตกเหมือนกัน สุดท้ายจึงเกิดเหตุการณ์ปิด 58 ไฟแนนซ์ กระทบกับสถาบันการเงินไปทั่วโลกกลายเป็น “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศและกลายเป็นลูกหนี้ IMF ในที่สุด
จากเหตุการณ์ครั้งนั้น SET ลงไปถึงจุดตํ่าสุดที่ 204 จุดในเดือนสิงหาคม ปี 2541 ซึ่งเป็นเดือนที่รัฐบาลได้ออกมาตรการแก้ไขหนี้และควบรวมกิจการต่างๆที่มีปัญหาเพราะเรื่อง หนี้สิน และการเพิ่มทุน
นอกจาก SET แล้วหุ้นอื่นๆก็ตกหนักมากๆเช่น
KBANK 136.24 -> 10.25
LH 41.57 -> 0.56
CPF 13.11 -> 1.33
SCC 154 -> 17.2
บทเรียนสำคัญในครั้งนี้คือต้องจำไว้เสมอว่า “งานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา” แล้วส่วนใหญ่ก็มักจะเลิกโดยไม่ค่อยมีคำเตือนหรือสัญญาณ “อันตราย” บอกก่อนด้วย ตอบคำถามแรกว่าวิกฤตป้องกันได้ไหม? คำตอบก็คือป้องกันได้แต่ไม่ได้ตลอดเวลา หากเราเป็นนักลงทุนในระยะเวลานานพอ
แล้วเราควรจะทำอย่างไร? สิ่งแรกที่ต้องทำเลยคือ “ทำใจ” เพราะถ้าเป็นนักลงทุนแล้ววิกฤตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ต้องทำอย่างที่สองคือการเตรียมพร้อมตลอดเวลา ปรับสภาพพอร์ทการลงทุนให้พร้อมรับมือกับวิกฤตเสมอๆ เพราะเราจะไม่มีวันรู้ว่าวิกฤตจะมาตอนไหน บางทีณ.วันนี้เราอาจจะกำลังอยู่ในวิกฤตแล้วก็ได้เพียงแต่ยังไม่มีใครรู้ตัวเท่านั้นเอง
ข้อมูลเพิ่มเติม:
http://www.columbia.edu/cu/thai/html/financial97_98.html
http://ashbrook.org/wp-content/uploads/2016/08/Ranttila-Printable.pdf
http://oknation.nationtv.tv/blog/benz/2007/06/28/entry-1/comment
http://oknation.nationtv.tv/blog/benz/2007/06/29/entry-3/comment
http://oknation.nationtv.tv/blog/benz/2007/07/01/entry-2
http://oknation.nationtv.tv/blog/benz/2007/07/02/entry-1
http://hisuthiwat.blogspot.com/2015/04/blog-post_12.html
Credit :
http://buffettcode.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95-2540/
เกิดอะไรขึ้นในวิกฤต 2540? SET ลงจาก 1,789 จุด เหลือ 204 จุด
หลังจากนั้นประเทศไทยเกิดวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ทำให้ตลาดหุ้นตกลงไปตํ่าสุดที่ 204 จุดในเดือนสิงหาคมปี 2541
ตลาดหุ้นตกจากจุดสูงสุดถึง 88.5% ภายในระยะเวลา 5 ปี
เงินลงทุน 10 ล้านบาทจะเหลือที่ประมาณ 1,150,000 บาท หากจะกลับไปเท่าทุนเหมือนเดิมที่ 10 ล้านต้องทำผลตอบแทนให้ได้ถึง 870% หรือประมาณเกือบ 9 เด้ง
คำถามคือแล้วมันเกิดอะไรขึ้นในปี 2540? ในฐานะนักลงทุนเราจะป้องกันได้ไหม? แล้วเราควรจะทำอย่างไรเมื่อเจอวิกฤต? มาดูภาพรวมของประเทศไทยในอดีตกันก่อน
ปี 2530 – 2539 อัตราการเติบโตเฉลี่ย 10 ปีของ GDP ประเทศไทยสูงถึง 9.4% อัตราการเติบโตของการส่งออกอยู่ที่ 14.5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4.7% อัตราส่วนเงินลงทุนต่อ GDP เพิ่มจาก 27% ในปี 2530 เป็น 41% ในปี 2539 การลงทุนที่สูงขึ้นและการเติบโตของเศรษฐกิจมาจากการไหลเข้าของเงินลงทุนต่างประเทศซะเป็นส่วนใหญ่
รัฐบาลเองด้วยนโยบายที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น Financial Hub ของ Asia ได้ทำการปฏิรูปภาคการเงินของไทย
ในปี 2533 รับพันธะสัญญาข้อที่ 8 ของไอเอ็มเอฟ เพื่อเปิดเสรีทางการเงินของไทยสู่สากล
ในปี 2536 รัฐบาลอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ (Bangkok International Banking Facilities : BIBF) ให้ธนาคารไทยกู้เงินต่างประเทศมาปล่อยกู้ในประเทศได้ และนี่คือจุดเริ่มต้นของวิกฤตปี 2540
ผลของการเปิดเสรีครั้งนี้ ทำให้เงินสามารถไหลเข้าออกประเทศได้อย่างสะดวกโดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเลยเพราะตอนนั้นประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ๆ 25 บาทต่อดอลลาร์ เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็วประมาณ 8.6% ต่อปี ธนาคารเห็นช่องทางในการทำกำไรอย่างรวดเร็วด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศมา ปล่อยกู้ภายในประเทศ
การปล่อยกู้ในประเทศจะทำให้ธนาคารได้กำไรมหาศาลทันทีเนื่องจากดอกเบี้ยที่ได้มาจากต่างประเทศถูกกว่าดอกเบี้ยในประเทศมาก ดังนั้นสถาบันการเงินจึงทำทุกวิถีทางเพื่อปล่อยกู้ให้ได้มากๆ
เศรษฐกิจก็เลยเติบโตจาก Easy credit หรือเงินกู้ที่ได้มาง่ายๆ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินผู้กู้เป็นไปอย่างหละหลวม ธนาคารในประเทศเริ่มแข่งขันกันอย่างสูงในการปล่อยสินเชื่อจนทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ของอุตสาหกรรมลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 5-7% สภาพคล่องล้นมากๆๆ
เมื่อเงินกู้ได้มาง่ายแทนที่ผู้ประกอบการจะเอาไปลงทุนในกิจการ จะเอาไปลงในกิจการทำไม? กว่าจะได้กำไรกลับมามันช้า เอาไปเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์,ที่ดินหรือซื้อหุ้นดีกว่า รวยง่าย รวยเร็ว ไม่ต้องเหนื่อยดีกว่ากันเยอะ ยิ่งนำไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ ยิ่งดันราคาสูงขึ้นไปอีก
ผลเสียที่เกิดขึ้นคือกระทบศักยภาพการแข่งขันในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกของประเทศเพราะต้นทุนในการทำธุรกิจโดยรวมจะสูงขึ้นทันที ทำให้เกิดปัญหาใหญ่เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นปัจจัยหลัก ยิ่งเก็งกำไรในสินทรัพย์มากขึ้นยิ่งทำให้การทำธุรกิจได้ผลตอบแทนตํ่าลงเรื่อยๆ ยิ่งทำให้ไม่มีใครอยากลงทุนขยายธุรกิจแม้เศรษฐกิจจะเติบโต จำนวนมากเอาเงินกู้ที่ได้ไปเก็งกำไรที่ดินหรือหุ้นแทนกลายเป็นวงจรหายนะที่ไม่มีวันจบ
ด้วยส่วนต่างดอกเบี้ยของต่างประเทศกับในประเทศสูงมาก ทำให้เริ่มมีธนาคารกู้ระยะสั้นมาปล่อยในประเทศ เพราะแม้จะกู้ระยะสั้นที่ดอกเบี้ยสูงขึ้นแต่ดอกเบี้ยในประเทศก็ยังสูงกว่า ก็ยังกำไรอยู่ดี (ในปี 2559 กว่าครึ่งของหนี้สินต่างประเทศของสถาบันการเงินเป็นหนี้สินระยะสั้น) โดยสมมุติฐานที่ทำกำไรได้ตรงนี้ไม่ได้เอาความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไปคิดเพราะยังไงก็ตรึงไว้ให้คงที่อยู่แล้ว
ในปี 2537 IMF กังวลกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ของไทยและแนะนำให้ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ไทยปฏิเสธเพราะตอนนั้นเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งมาก กลัวว่าเปลี่ยนระบบไปแล้วเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นส่งผลเสียต่อการส่งออก
จนถึงปี 2539 เศรษฐกิจก็ยังโตขึ้นไปได้เรื่อยๆแต่มีจุดสังเกตคือ GDP เติบโตน้อยลงจาก 8% เหลือ 5% การส่งออกเริ่มเติบโตติดลบเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ในปี 2536-2539 กระแสการไหลเข้าของเงินลงทุนประเภท FDI ซึ่งเป็นการลงทุนใน Productivity ของประเทศลดลงเหลือเพียงเฉลี่ย 0.8% ของ GDP แล้วเงินต่างประเทศที่ไหลเข้าไทยเยอะๆไปอยู่ไหน? กว่า 7.3% ของ GDP ไปอยู่กับสถาบันการเงินเอาไปปล่อยกู้ให้นักลงทุนในประเทศซึ่งเอาเงินไปเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์, ที่ดิน และหุ้น แต่สุดท้ายการเก็งกำไรก็จบลงช่วงต้นปี 2559
ในเดือน กรกฎาคมของปี 2539 SET เริ่มตกลงไปทำจุดตํ่าสุดใหม่ในรอบ 3 ปีทะลุ 1,223 จุด โดยณ.จุดนี้ SET ตกลงมาจากจุดสูงสุดที่ 1,789 จุดในปลายปี 2536 คิดเป็นการลดลงแล้วถึง 31%
เมื่อศักยภาพของประเทศลดลง การลงทุนเริ่มผิดพลาด นักลงทุนเริ่มจ่ายหนี้ไม่ได้ก็เริ่มมีหนี้เสีย NPL เริ่มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆจาก 7.7% ในปี 2538, 13% ในปี 2539, 22.6% ในปี 2540 เหล่าสถาบันการเงินก็รู้ตัวแต่ไม่กลัวเพราะคิดว่ายังไงยังไงซะรัฐบาลจะไม่ยอมปล่อยให้ล้มกันหมดแน่นอน เดี๋ยวก็ต้องเข้ามาช่วย เจ้าหนี้ต่างประเทศเริ่มสังเกตเห็นสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะมีแนวโน้มหนักขึ้นเรื่อยๆ
จากนโยบายการเงินที่เปิดอย่างเสรีและอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ทำให้เกิดช่องว่างให้ต่างชาติสามารถเข้าโจมตีค่าเงินบาทได้ จึงเริ่มมีการโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนักในช่วงปี 2539-2540 หลักการคือปกติจะมี Supply เงินไทยในตลาดโลกระดับหนึ่ง ถ้าธปท.อยากให้ค่าอ่อนลงก็ขายเงินไปออก อยากให้แข็งค่าก็ซื้อกลับมาของน้อยลงก็จะราคาสูงขึ้นแข็งค่าขึ้นเอง ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้วิธีซื้อขายเงินบาทในตลาดโลกเพื่อให้มูลค่าของเงินอยู่ในอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมซึ่งก็คือ 25 บาทต่อดอลลาร์ที่ตรึงไว้
หลักการโจมตีค่าเงินบาทก็ตัวอย่างเช่นต่างชาติมากู้เงินธนาคารไทยเสร็จ เอาเงินไทยไปแลกดอลลาร์กับธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท.ก็จะมีดอลลาร์ลดลงเรื่อยๆ เงินทุนสำรองร่อยหรอจนไม่เหลือดอลลาร์แล้ว แต่ยังมีคนต้องการเอาเงินไทยมาแลกอยู่ทีนี้ทำไง? ก็ต้องไปกู้ดอลลาร์มาให้เขาแลก ก็ยังมีคนมาแลกเรื่อยๆจนหมดแล้วหมดอีกกู้เพิ่มจนกู้ไม่ได้แล้ว ทีนี้นักธุรกิจจะทำการค้าต่างประเทศยังไง? ปิดบริษัทไม่ต้องทำ? ก็มีหวังเจ๊งกันทั้งประเทศหนักกว่าเดิม
สุดท้ายธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องยอมลอยตัวค่าเงินบาท จากปกติให้แลกได้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์ คราวนี้บอกไม่ตรึงไว้ที่ 25 แล้วเลิกๆกลายเป็น 50 แทน ต่างชาติที่เคยมากู้เงินธนาคารไทยไว้ก็กลับมาเอาดอลลาร์มาแลกเป็นเงินไทยที่ 50 เอาไปใช้หนี้ธนาคารไทยแค่ครึ่งเดียวที่เหลืออีกครึ่งเป็นกำไร แล้วเอากำไรที่ได้มาลบกับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้ธนาคารที่ไปกู้เงินมาตามระยะเวลาก็จะได้กำไร Net ครับ (หลักการคร่าวๆก็ประมาณนี้แต่รายละเอียดมันลึกกว่านี้ถ้าอยากอ่านก็ลองตามอ่านใน Link ด้านล่างได้ครับ)
ธนาคารแห่งประเทศไทยสู้กับนักเก็งกำไรจนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือ 2,800 ล้านจาก 38,700 ล้าน เงินทุนสำรองหร่อยหรอหมดเงิน ทำให้จำเป็นต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540
ธุรกิจในประเทศไทยที่เคยกู้เงินต่างชาติไว้เท่าไหร่ พอลอยตัวค่าเงินจาก 25 เป็นประมาณ 50 บาทหนี้ก็เพิ่ม 2 เท่าทันที คนที่กู้เงินไปซื้อที่ดินหรือเล่นหุ้นก็ขายที่ไม่ออก ติดดอยหุ้นกันถ้วนหน้า ก็ยิ่งเจ๊งหนักเข้าไปใหญ่ NPL ก็สูงขึ้นปรี๊ดๆไปสูงสุดที่ 47% ในปี 2542 สถาบันการเงินในไทยก็ยิ่งไม่ได้เงินคืนก็ไม่รู้จะเอาที่ไหนไปจ่ายต่างชาติ เจ้าหนี้ต่างชาติหมดความเชื่อมั่นก็มีสิทธิเรียกเงินเพราะปล่อยกู้ไว้เป็นระยะสั้น รัฐบาลก็ช่วยไม่ได้แล้วเพราะถังแตกเหมือนกัน สุดท้ายจึงเกิดเหตุการณ์ปิด 58 ไฟแนนซ์ กระทบกับสถาบันการเงินไปทั่วโลกกลายเป็น “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศและกลายเป็นลูกหนี้ IMF ในที่สุด
จากเหตุการณ์ครั้งนั้น SET ลงไปถึงจุดตํ่าสุดที่ 204 จุดในเดือนสิงหาคม ปี 2541 ซึ่งเป็นเดือนที่รัฐบาลได้ออกมาตรการแก้ไขหนี้และควบรวมกิจการต่างๆที่มีปัญหาเพราะเรื่อง หนี้สิน และการเพิ่มทุน
นอกจาก SET แล้วหุ้นอื่นๆก็ตกหนักมากๆเช่น
KBANK 136.24 -> 10.25
LH 41.57 -> 0.56
CPF 13.11 -> 1.33
SCC 154 -> 17.2
บทเรียนสำคัญในครั้งนี้คือต้องจำไว้เสมอว่า “งานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา” แล้วส่วนใหญ่ก็มักจะเลิกโดยไม่ค่อยมีคำเตือนหรือสัญญาณ “อันตราย” บอกก่อนด้วย ตอบคำถามแรกว่าวิกฤตป้องกันได้ไหม? คำตอบก็คือป้องกันได้แต่ไม่ได้ตลอดเวลา หากเราเป็นนักลงทุนในระยะเวลานานพอ
แล้วเราควรจะทำอย่างไร? สิ่งแรกที่ต้องทำเลยคือ “ทำใจ” เพราะถ้าเป็นนักลงทุนแล้ววิกฤตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ต้องทำอย่างที่สองคือการเตรียมพร้อมตลอดเวลา ปรับสภาพพอร์ทการลงทุนให้พร้อมรับมือกับวิกฤตเสมอๆ เพราะเราจะไม่มีวันรู้ว่าวิกฤตจะมาตอนไหน บางทีณ.วันนี้เราอาจจะกำลังอยู่ในวิกฤตแล้วก็ได้เพียงแต่ยังไม่มีใครรู้ตัวเท่านั้นเอง
ข้อมูลเพิ่มเติม:
http://www.columbia.edu/cu/thai/html/financial97_98.html
http://ashbrook.org/wp-content/uploads/2016/08/Ranttila-Printable.pdf
http://oknation.nationtv.tv/blog/benz/2007/06/28/entry-1/comment
http://oknation.nationtv.tv/blog/benz/2007/06/29/entry-3/comment
http://oknation.nationtv.tv/blog/benz/2007/07/01/entry-2
http://oknation.nationtv.tv/blog/benz/2007/07/02/entry-1
http://hisuthiwat.blogspot.com/2015/04/blog-post_12.html
Credit : http://buffettcode.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95-2540/