สืบเนื่องจากผมได้อ่านถึงความคิดเห็นของคุณสุวิทย์จากที่นี่
https://www.matichon.co.th/news/568915
ทำให้ผมเกิดความรู้สึกไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง จึงขออนุญาตแสดงความคิดเห็นต่างจากคุณสุวิทย์หน่อยนะครับ
คุณสุวิทย์ครับ ผมอ่านดูแล้ว มีความรู้สึกกระบวนการคิดของคุณสุวิทย์น่าจะมีปัญหานะครับ เมื่อนักการเมือง พรรคการเมืองจะมีธรรมาภิบาล นั่นต้องรอให้พระอาทิตย์ขึ้นในทิศตะวันตกเสียก่อน แต่กลับบอกให้มีการเลือกตั้ง หลังจากพรรคการเมือง นักการเมืองมีธรรมาภิบาลเสียก่อน มันฟังดูย้อนแย้งกันพิลึกนะครับคุณสุวิทย์
หรือคุณสุวิทย์กำลังบอกสังคมเป็นนัยๆว่า จะให้มีการเลือกตั้งต้องรอให้พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตกเสียก่อน ใช่อย่างนี้หรือเปล่าครับ
คุณสุวิทย์รู้ไหมครับ ในโลกนี้มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมากมายเหลือเกิน แล้วคุณสุวิทย์คิดว่า ประเทศเหล่านี้ล้วนแต่มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ และทำหน้าที่อย่างสุจริตกันทั่วทุกตัวคน เว้นแต่คนไทยอย่างนั้นหรือครับ
ก่อนสหรัฐฯจะมีประชาธิปไตย ทุกคนล้วนพร้อมจะมีการเลือกตั้ง? ทุกคนล้วนแต่มีจิตสำนึก? ทุกคนล้วนทำหน้าที่การอย่างสุจริต? ป๊าดโธ่ คุณสุวิทย์ดูถูกคนไทยมากไปหรือเปล่าครับ
จริงอยู่ อาจมีบางคน บางเหล่า บางพวกที่ยังปล่อยไม่ไป จึงหลงเชื่อกับคำยุยง หลงใหลกับอุดมคติที่ฝังหัวมา และยังโลกสวย จนถึงกับยอมมอบอำนาจของตัวเอง มอบสิทธิและเสรีภาพของตัวเอง ที่คนรุ่นก่อนๆยอมสละชีพกว่าจะได้มันมา แต่คนเหล่านี้อย่างไรเสียก็เป็นเพียงคนส่วนน้อยของประเทศแหละครับ ไม่อย่างนั้นคงไม่เกิดคำถาม 4 ข้อมาให้คุณสุวิทย์ตอบหรอกครับ จริงไหม
คุณสุวิทย์ครับ ผมเข้าใจครับที่คุณสุวิทย์มองการเลือกตั้งไม่ใช่ส่วนสำคัญของประชาธิปไตย ไม่อย่างนั้นคุณสุวิทย์คงไม่พาคนไปขัดขวางการเลือกตั้ง ไม่พาคนไปขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งๆที่ประชาธิปไตยมันมีกระบวนการแก้ไขของมันอยู่แล้ว นั่นเพราะอะไรหรือครับ
ถ้าไม่ใช่เพราะความไม่เป็นประชาธิปไตยในจิตสำนึกของคุณสุวิทย์ไงครับ จึงเอาความคิดเห็นส่วนตัวมาตัดสินแทนคนอื่นๆ เอาคนคิดของคนส่วนน้อยมาตัดสินแทนคนส่วนมาก ตรงนี้ต่างหากครับที่เป็นปัญหาของประชาธิปไตยแบบไทยๆ
แล้วขอเสียทีเถิดครับคุณสุวิทย์ อย่าเอาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสอนกันผิดๆเลยครับ แม้แต่องคุลิมานตัดนิ้วคนมาร่วมพันนิ้ว ฆ่าคนร่วม 999 ศพ ก็ยังกลับตัวกลายเป็นอรหันต์ในที่สุด นับประสาอะไรกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง มันย่อมมีทั้งดีทั้งเลวคละเคล้าปนกันไป หรือคุณสุวิทย์คิดได้แค่ นักการเมืองที่มาจากการแต่งตั้งล้วนแต่เป็นคนดีบริสุทธิ์ผุดผ่องกระนั้นหรือ
คุณสุวิทย์ครับ นักการเมืองจะดีจะชั่ว ประชาชนอย่างเราๆยังมีสิทธิ์ที่จะให้อยู่หรือไป แต่พระการเมืองนี่สิครับ อย่าว่าแต่ศีลห้ายังถือไม่ครบเลยครับ ขนาดออกมาอาละวาดสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนไปทั่ว ประชาชนอย่างเราๆนี่ยังไม่รู้เลยครับว่า จะกำจัดไปได้อย่างไร นี่อีกหนึ่งความช้ำของประชาชนอย่างผมครับคุณสุวิทย์
ไหนๆก็ไหนๆ คุณสุวิทย์ก็พูดถึงธรรมาภิบาลมาหลายหน ผมก็อยากพูดถึงความหมายของคำว่าธรรมาภิบาลในความเห็นของผมดังนี้ครับคุณสุวิทย์
หลักธรรมาภิบาลหลักๆประกอบด้วย 6 หลักการในความเห็นผม
1.หลักคุณธรรม หลักนี้ก็แล้วแต่ชาติพันธุ์ รวมถึงค่านิยมของคนแต่ละคน เป็นหลักความเชื่อ ความคิด ความเห็นของคนนั้นๆ แต่ควรจะเป็นหลักที่สังคมมีค่านิยมยึดถือร่วมกัน ไม่ใช่จากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง คณะใดคณะหนึ่ง เข้าใจไหมครับคุณสุวิทย์
2.หลักนิติธรรม สำหรับเรื่องนี้ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะถ้าประชาชนมีอำนาจอย่างแท้จริง รัฐบาลจะมาละเมิดหลักนิติธรรมสุ่มสี่สุ่มห้า คงไม่ได้ และคงไม่กล้าปล่อยให้ผู้ต้องหาคดีกบฏ ได้ลอยชายออกมาจิบปากจิบคอเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นอย่างนี้หรอกครับคุณสุวิทย์
3.หลักความโปร่งใส อันนี้แหละสำคัญมาก เพราะต่อให้รัฐบาลจะขาดธรรมข้อนี้ เราก็ยังมีองค์กรตรวจสอบอีกมากมายคอยตรวจสอบ มีอะไรไม่ชอบมาพากล ประชาชนก็ยังสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ดังนั้นจะมาตัดตอนกันง่ายๆ ประชาชนไม่มีทางยอมหรอกครับ
4.หลักความมีส่วนร่วม แน่นอนครับ เมื่อประชาชนมีส่วนร่วม รัฐบาลที่มาจากประชาชนก็ไม่กล้าจะฝืนมติ ฝืนความรู้สึกของประชาชน และยังต้องพยายามเข้าถึงประชาชน เพื่อเข้ามารับรู้ถึงปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง แล้วค่อยหาหนทางขจัดปัดเป่าให้ผ่อนหนักเป็นเบา ทั้งไม่สามารถมาทวงบุญทวงคุณทุกเมื่อเชื่อวันหรอกครับ
5.หลักความรับผิดชอบ สำหรับข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลจะมีความรับผิดชอบกี่มากน้อย แต่ข้อดีก็คือ ประชาชนสามารถที่จะให้อยู่หรือไป สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของกลไกตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งใครจะมาข่มขู่คงไม่ได้อีกนั่นแหละครับ
6.หลักความคุ้มค่า อันนี้ชัดเจนที่สุดเลยครับคุณสุวิทย์ เพราะเมื่อมีรัฐบาลที่มาจากความต้องการของประชาชนตามหลักของประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการตอบรับจากนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นการกล้าลงทุนของนักลงทุนทั้งนอกทั้งใน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความคุ้มค่าของประชาชนและประเทศชาติอย่างแน่นอนครับคุณสุวิทย์
สุดท้ายอยากบอกว่าคุณสุวิทย์ว่า การเลือกตัวแทนของประชาชน เพียงต้องการให้ตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่แทน ไม่ใช่การคัดเลือกบุคคลเข้ามาเพื่อกราบไหว้บูชา ดังนั้นเมื่อเลือกแล้วไม่ได้ดี หรือเลือกแล้วดีกว่าเก่าไม่ได้ หรือแม้กระทั่งดีไม่ได้ตามความต้องการ ประชาชนยังมีสิทธิที่จะเลือกใหม่ไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะประสบความสำเร็จครับ
ดังนั้นประชาธิปไตย จึงไม่มีหรอกครับประชาธิปไตยสำเร็จรูป หรือประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ แต่ต้องเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องค่อยๆเรียนรู้ไปตามครรลอง แล้วค่อยๆซึมซับความรู้ สั่งสมประสบการณ์ นำเอาอดีตมาเป็นบทเรียน เมื่อนั้นแหละครับ เราจึงจะได้ประชาธิปไตยดั่งนานาประเทศเขาได้กัน เข้าใจไหมครับคุณสุวิทย์
ปล.บางคนอาจคิดว่า ผมบังอาจสอน จระเข้ไหว้น้ำ ผมก็คงได้แต่บอกว่า บางทีที่ผมพยายามจะสอนอยู่เนี่ย อาจไม่ใช่จระเข้ก็ได้ แม้จะเป็นสัตว์เลื้อยคลานครึ่งบทครึ่งน้ำเหมือนกันก็ตามที
คุณสุวิทย์ครับ ผมขออนุญาตเห็นต่างครับ--------------------ทวดเอง
https://www.matichon.co.th/news/568915
ทำให้ผมเกิดความรู้สึกไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง จึงขออนุญาตแสดงความคิดเห็นต่างจากคุณสุวิทย์หน่อยนะครับ
คุณสุวิทย์ครับ ผมอ่านดูแล้ว มีความรู้สึกกระบวนการคิดของคุณสุวิทย์น่าจะมีปัญหานะครับ เมื่อนักการเมือง พรรคการเมืองจะมีธรรมาภิบาล นั่นต้องรอให้พระอาทิตย์ขึ้นในทิศตะวันตกเสียก่อน แต่กลับบอกให้มีการเลือกตั้ง หลังจากพรรคการเมือง นักการเมืองมีธรรมาภิบาลเสียก่อน มันฟังดูย้อนแย้งกันพิลึกนะครับคุณสุวิทย์
หรือคุณสุวิทย์กำลังบอกสังคมเป็นนัยๆว่า จะให้มีการเลือกตั้งต้องรอให้พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตกเสียก่อน ใช่อย่างนี้หรือเปล่าครับ
คุณสุวิทย์รู้ไหมครับ ในโลกนี้มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมากมายเหลือเกิน แล้วคุณสุวิทย์คิดว่า ประเทศเหล่านี้ล้วนแต่มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ และทำหน้าที่อย่างสุจริตกันทั่วทุกตัวคน เว้นแต่คนไทยอย่างนั้นหรือครับ
ก่อนสหรัฐฯจะมีประชาธิปไตย ทุกคนล้วนพร้อมจะมีการเลือกตั้ง? ทุกคนล้วนแต่มีจิตสำนึก? ทุกคนล้วนทำหน้าที่การอย่างสุจริต? ป๊าดโธ่ คุณสุวิทย์ดูถูกคนไทยมากไปหรือเปล่าครับ
จริงอยู่ อาจมีบางคน บางเหล่า บางพวกที่ยังปล่อยไม่ไป จึงหลงเชื่อกับคำยุยง หลงใหลกับอุดมคติที่ฝังหัวมา และยังโลกสวย จนถึงกับยอมมอบอำนาจของตัวเอง มอบสิทธิและเสรีภาพของตัวเอง ที่คนรุ่นก่อนๆยอมสละชีพกว่าจะได้มันมา แต่คนเหล่านี้อย่างไรเสียก็เป็นเพียงคนส่วนน้อยของประเทศแหละครับ ไม่อย่างนั้นคงไม่เกิดคำถาม 4 ข้อมาให้คุณสุวิทย์ตอบหรอกครับ จริงไหม
คุณสุวิทย์ครับ ผมเข้าใจครับที่คุณสุวิทย์มองการเลือกตั้งไม่ใช่ส่วนสำคัญของประชาธิปไตย ไม่อย่างนั้นคุณสุวิทย์คงไม่พาคนไปขัดขวางการเลือกตั้ง ไม่พาคนไปขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งๆที่ประชาธิปไตยมันมีกระบวนการแก้ไขของมันอยู่แล้ว นั่นเพราะอะไรหรือครับ
ถ้าไม่ใช่เพราะความไม่เป็นประชาธิปไตยในจิตสำนึกของคุณสุวิทย์ไงครับ จึงเอาความคิดเห็นส่วนตัวมาตัดสินแทนคนอื่นๆ เอาคนคิดของคนส่วนน้อยมาตัดสินแทนคนส่วนมาก ตรงนี้ต่างหากครับที่เป็นปัญหาของประชาธิปไตยแบบไทยๆ
แล้วขอเสียทีเถิดครับคุณสุวิทย์ อย่าเอาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสอนกันผิดๆเลยครับ แม้แต่องคุลิมานตัดนิ้วคนมาร่วมพันนิ้ว ฆ่าคนร่วม 999 ศพ ก็ยังกลับตัวกลายเป็นอรหันต์ในที่สุด นับประสาอะไรกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง มันย่อมมีทั้งดีทั้งเลวคละเคล้าปนกันไป หรือคุณสุวิทย์คิดได้แค่ นักการเมืองที่มาจากการแต่งตั้งล้วนแต่เป็นคนดีบริสุทธิ์ผุดผ่องกระนั้นหรือ
คุณสุวิทย์ครับ นักการเมืองจะดีจะชั่ว ประชาชนอย่างเราๆยังมีสิทธิ์ที่จะให้อยู่หรือไป แต่พระการเมืองนี่สิครับ อย่าว่าแต่ศีลห้ายังถือไม่ครบเลยครับ ขนาดออกมาอาละวาดสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนไปทั่ว ประชาชนอย่างเราๆนี่ยังไม่รู้เลยครับว่า จะกำจัดไปได้อย่างไร นี่อีกหนึ่งความช้ำของประชาชนอย่างผมครับคุณสุวิทย์
ไหนๆก็ไหนๆ คุณสุวิทย์ก็พูดถึงธรรมาภิบาลมาหลายหน ผมก็อยากพูดถึงความหมายของคำว่าธรรมาภิบาลในความเห็นของผมดังนี้ครับคุณสุวิทย์
หลักธรรมาภิบาลหลักๆประกอบด้วย 6 หลักการในความเห็นผม
1.หลักคุณธรรม หลักนี้ก็แล้วแต่ชาติพันธุ์ รวมถึงค่านิยมของคนแต่ละคน เป็นหลักความเชื่อ ความคิด ความเห็นของคนนั้นๆ แต่ควรจะเป็นหลักที่สังคมมีค่านิยมยึดถือร่วมกัน ไม่ใช่จากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง คณะใดคณะหนึ่ง เข้าใจไหมครับคุณสุวิทย์
2.หลักนิติธรรม สำหรับเรื่องนี้ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะถ้าประชาชนมีอำนาจอย่างแท้จริง รัฐบาลจะมาละเมิดหลักนิติธรรมสุ่มสี่สุ่มห้า คงไม่ได้ และคงไม่กล้าปล่อยให้ผู้ต้องหาคดีกบฏ ได้ลอยชายออกมาจิบปากจิบคอเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นอย่างนี้หรอกครับคุณสุวิทย์
3.หลักความโปร่งใส อันนี้แหละสำคัญมาก เพราะต่อให้รัฐบาลจะขาดธรรมข้อนี้ เราก็ยังมีองค์กรตรวจสอบอีกมากมายคอยตรวจสอบ มีอะไรไม่ชอบมาพากล ประชาชนก็ยังสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ดังนั้นจะมาตัดตอนกันง่ายๆ ประชาชนไม่มีทางยอมหรอกครับ
4.หลักความมีส่วนร่วม แน่นอนครับ เมื่อประชาชนมีส่วนร่วม รัฐบาลที่มาจากประชาชนก็ไม่กล้าจะฝืนมติ ฝืนความรู้สึกของประชาชน และยังต้องพยายามเข้าถึงประชาชน เพื่อเข้ามารับรู้ถึงปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง แล้วค่อยหาหนทางขจัดปัดเป่าให้ผ่อนหนักเป็นเบา ทั้งไม่สามารถมาทวงบุญทวงคุณทุกเมื่อเชื่อวันหรอกครับ
5.หลักความรับผิดชอบ สำหรับข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลจะมีความรับผิดชอบกี่มากน้อย แต่ข้อดีก็คือ ประชาชนสามารถที่จะให้อยู่หรือไป สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของกลไกตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งใครจะมาข่มขู่คงไม่ได้อีกนั่นแหละครับ
6.หลักความคุ้มค่า อันนี้ชัดเจนที่สุดเลยครับคุณสุวิทย์ เพราะเมื่อมีรัฐบาลที่มาจากความต้องการของประชาชนตามหลักของประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการตอบรับจากนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นการกล้าลงทุนของนักลงทุนทั้งนอกทั้งใน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความคุ้มค่าของประชาชนและประเทศชาติอย่างแน่นอนครับคุณสุวิทย์
สุดท้ายอยากบอกว่าคุณสุวิทย์ว่า การเลือกตัวแทนของประชาชน เพียงต้องการให้ตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่แทน ไม่ใช่การคัดเลือกบุคคลเข้ามาเพื่อกราบไหว้บูชา ดังนั้นเมื่อเลือกแล้วไม่ได้ดี หรือเลือกแล้วดีกว่าเก่าไม่ได้ หรือแม้กระทั่งดีไม่ได้ตามความต้องการ ประชาชนยังมีสิทธิที่จะเลือกใหม่ไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะประสบความสำเร็จครับ
ดังนั้นประชาธิปไตย จึงไม่มีหรอกครับประชาธิปไตยสำเร็จรูป หรือประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ แต่ต้องเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องค่อยๆเรียนรู้ไปตามครรลอง แล้วค่อยๆซึมซับความรู้ สั่งสมประสบการณ์ นำเอาอดีตมาเป็นบทเรียน เมื่อนั้นแหละครับ เราจึงจะได้ประชาธิปไตยดั่งนานาประเทศเขาได้กัน เข้าใจไหมครับคุณสุวิทย์
ปล.บางคนอาจคิดว่า ผมบังอาจสอน จระเข้ไหว้น้ำ ผมก็คงได้แต่บอกว่า บางทีที่ผมพยายามจะสอนอยู่เนี่ย อาจไม่ใช่จระเข้ก็ได้ แม้จะเป็นสัตว์เลื้อยคลานครึ่งบทครึ่งน้ำเหมือนกันก็ตามที