ลูกน้องเป็นโรคซึมเศร้าจนทำงานไม่ได้ เจ้านายเชิญออก ถ้าเขาไปฆ่าตัวตายเจ้านายควรจะรู้สึกผิดไหม #บริษัทไม่ใช่มูลนิธิ

บริษัทไม่ใช่มูลนิธิ คือคติของเจ้านาย
และถ้านายไม่เข้าใจโรคนี้ จะมองว่าลูกน้องที่เป็นโรคอ่อนแอ
ฉันเป็นซึมเศร้านะ จึงทำให้นอนดึก ตื่นสาย
ฉันเป็นซึมเศร้านะ จึงไม่มีสมาธิทำงาน
ฉันเป็นซึมเศร้านะ จึงอยากนอนอย่างเดียว ลางานบ่อย

หากเจ้านายเชิญออกไปรักษาตัวให้ดีก่อน เชิญออก
แล้วลูกน้องตัดพ้ออยากตาย มีแต่เรื่องซ้ำเติม
ถ้าเขาไปฆ่าตัวตายขึ้นมาจริงๆ เจ้านายควรจะรู้สึกผิดไหม
อยากทราบความคิดเห็นของเพื่อนๆครับ
ไล่ออกไปเถอะ ตายก็ตาย บริษัทไม่ใช่มูลนิธิ
หรือ ช่วยๆกันไป เขาจะมาทำงานวันเว้นวัน
จะสายบ่อยบ้าง ก็ช่วยเขาไปก่อน

องค์การอนามัยโลกคาดว่าโรคซึมเศร้าจะสร้างความเสียหายต่อมนุษย์เป็นอันดัง 1 แซงโรคมะเร็ง โรคหัวใจ
จริงเหรอครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
บางทีก็รู้สึกว่าโรคซึมเศร้าคนที่น่าสงสารที่สุดไม่ใช่ผู้ป่วยหรอก แต่เป็นคนรอบข้างมากกว่า พูดอะไรนิดทำอะไรหน่อยต้องมานั่งระแวงว่าจะกระทบกระเทือนจิตใจมั้ย ต้องมานั่งประคบประหงมยิ่งกว่าไข่ในหิน
ความคิดเห็นที่ 16
เราเคยเป็นค่ะ เลยออกจากงานมารักษาอยู่ 2-3 ปี (ค้าขายกับข้าวกับที่บ้านไป) โรคนี้ตัวเองต้องสู้ด้วยนะคะ ต้องอยากหายด้วย เราเองทานยาเดือนละ 5-8 พันบาทระยะนึง เอฟเฟคยาเยอะมาก จนเรารู้สึกแบบเราไม่อยากกินยาแบบนี้ไปตลอดชีวิต เลยหัดมาทำจิจใจให้เข้มแข็ง ปรับทัศนคติตัวเองใหม่

ตอนนี้ไม่ต้องกินยาแล้ว ทำงานมาสิบกว่าปี แต่งงานและกำลังมีน้องในพุงคนนึง มีความสุขมาก แม้บางทีจะเจอสถานการณ์ทำให้เราจิตตก เราจะกลับมาแล้วช่างมันเลยค่ะ นอน ตื่นมาวันใหม่เริ่มใหม่ คิดอย่างนี้ทุกครั้ง

สรุป คนเป็นก็ต้องมีใจอยากลุกขึ้นมาด้วยนะคะ  เพราะคนที่ดูแลเรานานๆไปเค้าก็มีฝ่อค่ะ ทีนี้พังกันไปใหญ่ ต้องพยายามไปด้วยกันนะคะ ทั้งคนป่วยและคนรอบข้างค่ะ

ปล.เจ้านายเราเค้ารู้ว่าเราเคยป่วย เค้าจะประคองแต่ไม่โอ๋ค่ะ ให้งานเยอะแต่คอยถามคอยข่วยแก้ตลอด สอนให้เราโต รู้จักรับความเปบี่ยนแปลง แถมสอนมาถึงการใช้ชีวิตครอบครัวด้วย โชคดีมากๆ
ความคิดเห็นที่ 8
อย่างที่ว่าล่ะครับบริษัทไม่ใช่มูลนิธิ โรคจิตเวชก็ไม่ใช่เรื่องที่จะไปเอาเปรียบคนอื่น เคสแบบนี้ผมคิดว่าควรเจอกันครึ่งทาง ตกลงกันลาป่วยไปรักษาโดยรับหรือไม่รับเงินเดือน กี่วันว่าไป กลับมาไม่หายก็ต้องลาออกไปรักษาจริงจัง ถ้าไม่ทำอะไรเลยปล่อยไป หยุดๆลาๆสายๆงานไม่เดินมันคือการใช้ความผิดปกติของตัวเองมาเอาเปรียบผู้อื่น องค์กรก็เสียหาย ผมเคยทำงานกับกลุ่มคนพิการจากอุบัติเหตุ พวกเค้ายังไปรักษาตัวแล้วกลับมาพยายามใช้ชีวิตเท่าเทียบกับคนปกติไม่เอาความพิการของตัวเองมารับสิทธิพิเศษเลย
ความคิดเห็นที่ 3
ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ขึ้นกับบริษัทเองว่ามีแนวนโยบายอย่างไร สิ่งแรกที่ต้องทำคือประชุมกันเองในหมู่ผู้บริหาร ฝ่ายบุคคล หัวหน้างานของเขาหรือเธอว่าแต่ละส่วนมีความคิดเห็นอย่างไร ซึ่งตามปกติแล้ว ผู้บริหารคงเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย ในกรณีที่จะให้เขาหรือเธอ ซึ่งเป็นพนักงาน ที่เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ ออก ขั้นตอนและวิธีการทั้งหลาย ต้องถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน ในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานที่เป็นผู้ป่วย บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบก็ควรให้ความเมตตากับเขาหรือเธอตามสมควร รักษาและถนอมน้ำใจ สื่อสารบอกกล่าวกันให้ชัดว่าการตัดสินใจนี้ นอกจากความจำเป็นของบริษัทแล้ว ยังหวังว่าจะเป็นโอกาสให้เขาหรือเธอออกไปรักษาเต็มที่ เพื่อจะได้หายป่วย และเมื่อหายแล้ว ก็อาจบอกไปด้วยได้ว่า ก็ลองสมัครกลับเข้ามาทำงานใหม่ก็อาจเป็นได้

หากมีนโยบายจะให้ทำงานต่อไป เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนงานของบริษัท และการทำงานของส่วนงาน และเพื่อนร่วมงาน ก็อาจจำเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนหน้าที่ให้ทำ เลือกให้ทำงานในส่วนที่เขาหรือเธอพอจะทำได้ ลักษณะของงาน ไม่ควรเป็นงานยาก ซับซ้อน ใช้สมาธิมาก พร้อมกับจะต้องกำกับดูแลการทำงานใกล้ชิดยิ่งขึ้น การทำงานสำเร็จลงได้ตามแผนเล็ก ๆ ที่วางไว้ในแต่ละวัน จะช่วยให้ผู้ป่วยค่อย ๆ เรียกความมั่นใจตนเองกลับขึ้นมาได้ อมยิ้ม29
ความคิดเห็นที่ 27
ว่าด้วยสิทธิของพนักงานก่อน พนักงานสามารถลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง บริษัทจ่ายเงินค่าจ้างให้ในช่วงที่ลาป่วย ตามจริงแต่ไม่เกิน 30 วัน การลาป่วยส่วนที่เกิน 30 วัน ใช้สิทธิผู้ประกันตนขอรับเงินชดเชยแทนการขาดรายได้ได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และครั้งละไม่เกิน 90 วัน และในรอบปีหนึ่ง ๆ ไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นกรณีเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ปีหนึ่งไม่เกิน 365 วัน

ว่าด้วยหน้าที่ของนายจ้างก็ต้องเข้าไปดูแลตามสมควร ไปเยี่ยมเยียนดูอาการบ้าง ถ้าจำเป็นก็จัดรถรับส่งให้ หรือถ้าในกรณีที่สุดจริงๆพนักงานโดนญาติพี่น้องทิ้งไม่ดูแลก็จัดคนพาไปพบแพทย์ตามกำหนดเสีย

สุดท้ายหากพิจารณาแล้วว่าพนักงานไม่สามารถทำงานได้ ก็เรียกพนักงานมาพูดคุยทำความเข้าใจเพื่อเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชย โดยดูแลให้เขาได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดจากสวัสดิการขององค์กร

ดูแลพนักงานในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง ถ้าดูแลเขาได้ดีพนักงานคนอื่นก็จะยอมรับ วางใจ และทุ่มเททำงานให้กับองค์กรเพราะรู้ว่าถ้าถึงคราวของเขา เราก็จะดูแลเขาได้ดีในแบบเดียวกันครับ

ผมเคยคุยยื้อพนักงานที่จะลาออกให้ใช้สิทธิลาป่วยของบริษัทให้ครบ 30 วันก่อน พี่ๆท่านอื่นในแผนกก็รับลูกต่อกัน บางท่านก็ดูแลประสานงานรถรับส่งไปหาหมอให้ บางท่านก็ไปแวะหาเยี่ยมถึงบ้าน สุดท้ายพนักงานท่านนี้ก็ลาออกเพราะปัญหาสุขภาพแต่การดูแลพนักงานท่านนี้เต็มที่ส่งผลดีต่อเรื่องแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรมากครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่