แม้จะมีความรู้และความเชี่ยวชาญในหุ้นก็ตามที แต่ปัจจัยบางอย่างที่กระทบกับหุ้นก็ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะสถานการณ์ที่อยู่ไกลตัว ทำให้การรับรู้ข่าวสารในข้อมูลเชิงลึกจึงไม่เพียงพอ เหตุการณ์วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หรือซับไพร์ม ปี 2551 ได้ฉุดเศรษฐกิจไทย และ Set Index อยู่ที่ 449.96 จุด ทำให้พอรต์ของ ดร. นิเวศน์ขาดทุนไป 14.6% เหตุเพราะว่าหุ้นที่ซื้อราคาค่อนสูง เกินไป ชนิดที่เรียกว่า แพงลิบลิ่ว และราคาหุ้นก็ปรับฐาน แต่ไม่ได้เปลี่ยนตัวหุ้น
ดร.นิเวศน์ ยอมรับว่าในบางครั้งก็เจ็บตัวจากการลงทุนบ้าง แต่หลายสิบปี ที่ผ่านมาก็ยังทุ่มเงินทั้งหมดลงทุนในหุ้นมาตลอด หากจะมีเงินสดก็เพียงเล็กน้อย เท่านั้น จนกระทั่งเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2556-2557) เริ่มขายหุ้นบางส่วนออกไป เพื่อเก็บเงินสดเอาไว้ เพราะเริ่มเห็นสัญญาณหุ้นมีราคาแพงเกินไป ฉะนั้น ในเวลานี้จึงเป็นช่วงที่ถือเงินสดมากที่สุดประมาณ 20-25%
ส่วนสถานการณ์ SET Index ในปี 2558 ที่ต้นปี ดัชนีอยู่ที่ประมาณ 1,600 จุด ได้ปรับลดลงมาแตะที่ระดับประมาณ 1,300 จุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ในสายตาของ ดร. นิเวศน์มองว่า ราคาหุ้นปรับตัวลดลงเพียง 4-5% เท่านั้น จึงอยู่ในภาวะทรงๆ เมื่อเทียบกับต้นปี แต่วิธีการดูราคาหุ้นจะเปรียบเทียบ ปีต่อปี โดยไม่ดูทุกเดือนเพราะทิศทางของหุ้นจะขึ้น ลง ผันผวนเอาแน่ไม่ได้ และการดูราคาหุ้นเป็นรายปี จะช่วย ลดความผันผวนได้ค่อนข้างมาก
“หลักการบริหารพอร์ตของผม จะไม่แยกหุ้น หรือเงินฝากออกจากกัน จะดูโดยรวม ส่วนหลักการบริหารพอร์ตทั้งหมดพยายามไม่ให้ขาดทุน และหุ้นที่ผมซื้อมีแต้มต่อ เป็นหุ้นเติบโตระยะยาว (Long Term Growth) เพราะเวลายิ่งผ่าน ไปนาน โอกาสขึ้นมากกว่าลง”
ผลการลงทุนตลอด 18 ปีที่ ผ่านมา ดร. นิเวศน์บอกว่าปี 2546 สร้างผลกำไรสูงสุด ที่ 145.5% และมีผลตอบแทนเฉลี่ยการลงทุนที่ ผ่านมามีกำไร 42.9% และผลตอบแทน เฉลี่ยทบต้นอยู่ที่ 36.1%
เลือกหุ้น ที่มีธุรกิจไม่แข่งกันเอง
ประสบการณ์ที่เรียนรู้ด้วยตนเองที่ผ่านมา ผสมกับการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับบุคคลหลากหลาย ทำให้ ดร. นิเวศน์ เลือกลงทุนหุ้นที่ไม่ซ้ำซ้อน อยู่ในหมวดธุรกิจ ที่มีรูปแบบการให้บริการสินค้าที่คล้ายคลึงกัน อย่างเช่น ถ้าเลือกธนาคาร จะเลือกเพียงรายเดียว เพราะเป็นอุตสาหกรรมเดียวกัน กรณีเศรษฐกิจดีสถาบันการเงินก็เติบโต แต่ถ้ามีวิกฤติ ธนาคารทุกแห่งจะได้ผลกระทบจากปัจจัยเดียวกัน
อย่างไรก็ดี แม้ว่าหุ้นบางตัวจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน อย่างเช่น กลุ่มโมเดิร์นเทรด แต่ผู้ประกอบการจะมีสินค้า และจุดแข็งที่แตกต่างกัน ก็สามารถซื้อหุ้นได้หลายตัว
“การเลือกหุ้นกระจายไปในธุรกิจที่แตกต่าง เพราะจะเป็นการช่วยพยุงพอร์ตรวมทั้งหมด และถ้าศึกษาหุ้นของผมมีบางตัวหุ้นไม่ไปไหนเลย 2 ปี แต่ภาพรวมของพอร์ตยังมีกำไร เพราะหุ้นบางตัวไม่ดี แต่หุ้นตัวอื่นราคามันไป ก็ดึงพอร์ต เป็นหลักการกระจายความเสี่ยง”
หลักการบริหารพอร์ตที่โดยรวมทำให้ ดร. นิเวศน์ ไม่ต้องซื้อ-ขายหุ้น ตลอดเวลา แม้หุ้นบางตัวจะขาดทุนในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็ไม่ขายทิ้ง เพราะการดูภาพรวมจะช่วยกันสร้างความสมดุลของพอร์ตหุ้นทั้งหมด เพราะมีความเชื่อมาตั้งแต่แรกว่าหุ้นที่คัดมาเป็นหุ้นที่ดีมากในความคิดของเขา
สถานการณ์ ทดสอบจิตใจ
แม้ว่าจะเลือกหุ้นและใช้เวลาศึกษามาอย่างดี และมั่นใจว่าเลือกซื้อหุ้นได้ถูกตัว ถูกใจอย่างแน่นอน แต่สถานการณ์บางอย่างจะเข้ามาทดสอบจิตใจของ ดร. นิเวศน์ ให้หวั่นไหวได้เช่นกัน
ดร. นิเวศน์ เล่าถึงเหตุการณ์เลือกหุ้นตัวหนึ่งในอดีต เป็นหุ้นที่ดีมาก มีคุณสมบัติครบทุกอย่าง รายได้ กำไร ปันผลเติบโต แต่ว่าเกิดเหตุการณ์ บางอย่างขึ้น เจ้าของเดิมต้องการทวงแบรนด์คืน ทำให้เขาตกใจกลัว และ คิดไปว่าธุรกิจนี้จะต้องไม่รอด เพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่อิงอยู่กับแบรนด์ และ มองว่าเป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้บริษัทเจริญเติบโต
ทว่าในความเป็นจริงผู้บริหารประกอบธุรกิจมายาวนาน มีคน มีวัฒนธรรม ฉะนั้นธุรกิจดังกล่าวสามารถกลับมาสร้างแบรนด์ได้ และกลับมาเติบโตอีกครั้ง ยิ่งกว่านั้น ราคาหุ้น ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ ซึ่งการพิจารณาคัดเลือกหุ้นของบริษัทที่มีความสามารถเชี่ยวชาญในธุรกิจ จะต้องเชื่อว่าองค์กรไม่ได้เปลี่ยนแปลงกันง่ายๆ แต่ถ้ามีเหตุการณ์บางอย่างเข้ามากระทบทำให้ธุรกิจ สั่นคลอน เปรียบเหมือนคนป่วย สุดท้ายก็จะกลับมาเหมือนเดิมเพราะปัจจัย พื้นฐานที่แข็งแกร่ง ความรู้ ความสามารถของผู้บริหารไม่ได้เปลี่ยนไป
“บทเรียนในครั้งนั้นสอนให้รู้ว่าอย่ากลัวเกินเหตุ ให้มั่นใจในพื้นฐานของกิจการ ตัวนี้สำคัญที่สุด”
แต่ในทางกลับกันหุ้นที่เข้ามาจดทะเบียนใหม่ จะโชว์วิสัยทัศน์มากเกินไป อย่างเช่นธุรกิจพลังงานทางเลือก เป็นเรื่องใหม่มากยังไม่มีการบันทึกข้อมูล หรือความสำเร็จ จึงไม่ควรคาดหวังมากเกินไป
“ผมเป็นคนลงทุนยาว 5 ปี 10 ปี และต้องคาดการณ์ได้ว่าธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร จะเลือกบริษัทที่มีกำไร ไม่เปลี่ยนแปลงทิศทางธุรกิจ ผมเลือกความแน่นอน อยู่กับหุ้นตัวนั้น ธุรกิจไม่ต้องโตเร็วมาก และเมื่อถึงเวลา มันจะไปอยู่ตรงนั้น เลือกแล้วมีความสุข”
เบื้องหลังความสำเร็จการลงทุน คือการอ่านหนังสือและติดตามข้อมูลข่าวสารทุกวัน และเลือกอ่านหนังสือหลากหลายไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ศาสนา สงคราม วิวัฒนาการของมนุษย์ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เข้าใจหุ้น และ ธุรกิจหลากหลายแง่มุม ซึ่ง ดร.นิเวศน์ เริ่มมาอ่านหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุ 50 ปีต้นๆ เป็นช่วงเวลาเดียวกับ ที่ตัดสินใจหันหลังให้กับงานประจำ และ มาเป็นนักลงทุนที่มีอิสรภาพทางด้านการเงิน
ใช้ชีวิตเหมือนเดิม
วัย 62 ปี ของ ดร. นิเวศน์ แม้ว่าจะมีเงินเพิ่มมากขึ้น แต่การใช้ชีวิตกลับไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แม้ในวัยเด็กจะยากจนแต่ก็สามารถขวนขวายไปเรียนต่อปริญญาเอกในต่างประเทศ และช่วงวัยทำงานก็ได้ไปท่องเที่ยวทุกปีในฐานะผู้บริหาร และ ณ เวลานี้ อยู่ก็อยู่สุขสบาย ไม่ขัดสน
“ผมย้อนดูตัวเองแล้วก็พบว่า ผมยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม กินก๋วยเตี๋ยว ข้างทาง หรือกินอาหารแถวบ้าน แต่จะให้หาอะไรพิเศษหน่อยก็ทำได้ จากที่เคยนั่งเครื่องบินอีโคโนมี ก็เป็นบิซิเนส ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ผมคิดว่าความสุขของพวกเรา พระเจ้าให้มาแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หรือเปล่า และใช้ด้วยวิธีไหน”
แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไป เหมือนคำพูดของ จอร์จ โซรอส ที่บอกว่า คนจะฟังเรามากขึ้น ซึ่ง ดร. นิเวศน์ เห็นด้วยกับเรื่องนี้ร้อยเปอร์เซ็นต์
ความคาดหวังของ ดร. นิเวศน์ ปรารถนาที่จะให้ลูกเข้ามาเป็นนักลงทุน เพราะสามารถสร้างผลตอบแทน ทำให้มีชีวิตที่ดี มีเวลาได้ทำในสิ่งที่รัก และ สิ่งที่หวังไม่น่าจะไกลความเป็นจริงมากนัก เพราะพิสชา ลูกสาว ณ ปัจจุบันทำงานเป็นพิธิกรภาคภาษาอังกฤษ สถานีโทรทัศน์ Money Channel รายการ “Stocks Around Us” และปัจจุบันมีหุ้นอยู่ 2 ตัว คือ HMPRO จำนวน 86,616,884 ล้านหุ้น หรือ 0.79% และ IRC จำนวน 5,400,000 หุ้น หรือ 2.70% ขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์สอนที่นิด้าด้วย
แต่ด้วยการเลี้ยงดูที่ไม่ได้บังคับ เป็นบ้านประชาธิปไตย ทุกคนจึงมี ทางเลือกเป็นของตนเอง ชีวิตของ ดร. นิเวศน์ และภรรยายอมรับว่ามีความสุข เหมือนกับบทกลอนที่ติดอยู่บนหัวเตียงนอนที่เขียนไว้ว่า
Work like you don’t need the money
Sing like no one is listening
Laugh like you’ll never laugh again
Love like there is no end ……
Link :
http://www.moneychannel.co.th/news_detail/17126/
ดร.นิเวศน์ ในวันที่ขาดทุน "นักปราชญ์ ยังรู้พลั้ง"
แม้จะมีความรู้และความเชี่ยวชาญในหุ้นก็ตามที แต่ปัจจัยบางอย่างที่กระทบกับหุ้นก็ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะสถานการณ์ที่อยู่ไกลตัว ทำให้การรับรู้ข่าวสารในข้อมูลเชิงลึกจึงไม่เพียงพอ เหตุการณ์วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หรือซับไพร์ม ปี 2551 ได้ฉุดเศรษฐกิจไทย และ Set Index อยู่ที่ 449.96 จุด ทำให้พอรต์ของ ดร. นิเวศน์ขาดทุนไป 14.6% เหตุเพราะว่าหุ้นที่ซื้อราคาค่อนสูง เกินไป ชนิดที่เรียกว่า แพงลิบลิ่ว และราคาหุ้นก็ปรับฐาน แต่ไม่ได้เปลี่ยนตัวหุ้น
ดร.นิเวศน์ ยอมรับว่าในบางครั้งก็เจ็บตัวจากการลงทุนบ้าง แต่หลายสิบปี ที่ผ่านมาก็ยังทุ่มเงินทั้งหมดลงทุนในหุ้นมาตลอด หากจะมีเงินสดก็เพียงเล็กน้อย เท่านั้น จนกระทั่งเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2556-2557) เริ่มขายหุ้นบางส่วนออกไป เพื่อเก็บเงินสดเอาไว้ เพราะเริ่มเห็นสัญญาณหุ้นมีราคาแพงเกินไป ฉะนั้น ในเวลานี้จึงเป็นช่วงที่ถือเงินสดมากที่สุดประมาณ 20-25%
ส่วนสถานการณ์ SET Index ในปี 2558 ที่ต้นปี ดัชนีอยู่ที่ประมาณ 1,600 จุด ได้ปรับลดลงมาแตะที่ระดับประมาณ 1,300 จุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ในสายตาของ ดร. นิเวศน์มองว่า ราคาหุ้นปรับตัวลดลงเพียง 4-5% เท่านั้น จึงอยู่ในภาวะทรงๆ เมื่อเทียบกับต้นปี แต่วิธีการดูราคาหุ้นจะเปรียบเทียบ ปีต่อปี โดยไม่ดูทุกเดือนเพราะทิศทางของหุ้นจะขึ้น ลง ผันผวนเอาแน่ไม่ได้ และการดูราคาหุ้นเป็นรายปี จะช่วย ลดความผันผวนได้ค่อนข้างมาก
“หลักการบริหารพอร์ตของผม จะไม่แยกหุ้น หรือเงินฝากออกจากกัน จะดูโดยรวม ส่วนหลักการบริหารพอร์ตทั้งหมดพยายามไม่ให้ขาดทุน และหุ้นที่ผมซื้อมีแต้มต่อ เป็นหุ้นเติบโตระยะยาว (Long Term Growth) เพราะเวลายิ่งผ่าน ไปนาน โอกาสขึ้นมากกว่าลง”
ผลการลงทุนตลอด 18 ปีที่ ผ่านมา ดร. นิเวศน์บอกว่าปี 2546 สร้างผลกำไรสูงสุด ที่ 145.5% และมีผลตอบแทนเฉลี่ยการลงทุนที่ ผ่านมามีกำไร 42.9% และผลตอบแทน เฉลี่ยทบต้นอยู่ที่ 36.1%
เลือกหุ้น ที่มีธุรกิจไม่แข่งกันเอง
ประสบการณ์ที่เรียนรู้ด้วยตนเองที่ผ่านมา ผสมกับการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับบุคคลหลากหลาย ทำให้ ดร. นิเวศน์ เลือกลงทุนหุ้นที่ไม่ซ้ำซ้อน อยู่ในหมวดธุรกิจ ที่มีรูปแบบการให้บริการสินค้าที่คล้ายคลึงกัน อย่างเช่น ถ้าเลือกธนาคาร จะเลือกเพียงรายเดียว เพราะเป็นอุตสาหกรรมเดียวกัน กรณีเศรษฐกิจดีสถาบันการเงินก็เติบโต แต่ถ้ามีวิกฤติ ธนาคารทุกแห่งจะได้ผลกระทบจากปัจจัยเดียวกัน
อย่างไรก็ดี แม้ว่าหุ้นบางตัวจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน อย่างเช่น กลุ่มโมเดิร์นเทรด แต่ผู้ประกอบการจะมีสินค้า และจุดแข็งที่แตกต่างกัน ก็สามารถซื้อหุ้นได้หลายตัว
“การเลือกหุ้นกระจายไปในธุรกิจที่แตกต่าง เพราะจะเป็นการช่วยพยุงพอร์ตรวมทั้งหมด และถ้าศึกษาหุ้นของผมมีบางตัวหุ้นไม่ไปไหนเลย 2 ปี แต่ภาพรวมของพอร์ตยังมีกำไร เพราะหุ้นบางตัวไม่ดี แต่หุ้นตัวอื่นราคามันไป ก็ดึงพอร์ต เป็นหลักการกระจายความเสี่ยง”
หลักการบริหารพอร์ตที่โดยรวมทำให้ ดร. นิเวศน์ ไม่ต้องซื้อ-ขายหุ้น ตลอดเวลา แม้หุ้นบางตัวจะขาดทุนในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็ไม่ขายทิ้ง เพราะการดูภาพรวมจะช่วยกันสร้างความสมดุลของพอร์ตหุ้นทั้งหมด เพราะมีความเชื่อมาตั้งแต่แรกว่าหุ้นที่คัดมาเป็นหุ้นที่ดีมากในความคิดของเขา
สถานการณ์ ทดสอบจิตใจ
แม้ว่าจะเลือกหุ้นและใช้เวลาศึกษามาอย่างดี และมั่นใจว่าเลือกซื้อหุ้นได้ถูกตัว ถูกใจอย่างแน่นอน แต่สถานการณ์บางอย่างจะเข้ามาทดสอบจิตใจของ ดร. นิเวศน์ ให้หวั่นไหวได้เช่นกัน
ดร. นิเวศน์ เล่าถึงเหตุการณ์เลือกหุ้นตัวหนึ่งในอดีต เป็นหุ้นที่ดีมาก มีคุณสมบัติครบทุกอย่าง รายได้ กำไร ปันผลเติบโต แต่ว่าเกิดเหตุการณ์ บางอย่างขึ้น เจ้าของเดิมต้องการทวงแบรนด์คืน ทำให้เขาตกใจกลัว และ คิดไปว่าธุรกิจนี้จะต้องไม่รอด เพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่อิงอยู่กับแบรนด์ และ มองว่าเป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้บริษัทเจริญเติบโต
ทว่าในความเป็นจริงผู้บริหารประกอบธุรกิจมายาวนาน มีคน มีวัฒนธรรม ฉะนั้นธุรกิจดังกล่าวสามารถกลับมาสร้างแบรนด์ได้ และกลับมาเติบโตอีกครั้ง ยิ่งกว่านั้น ราคาหุ้น ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ ซึ่งการพิจารณาคัดเลือกหุ้นของบริษัทที่มีความสามารถเชี่ยวชาญในธุรกิจ จะต้องเชื่อว่าองค์กรไม่ได้เปลี่ยนแปลงกันง่ายๆ แต่ถ้ามีเหตุการณ์บางอย่างเข้ามากระทบทำให้ธุรกิจ สั่นคลอน เปรียบเหมือนคนป่วย สุดท้ายก็จะกลับมาเหมือนเดิมเพราะปัจจัย พื้นฐานที่แข็งแกร่ง ความรู้ ความสามารถของผู้บริหารไม่ได้เปลี่ยนไป
“บทเรียนในครั้งนั้นสอนให้รู้ว่าอย่ากลัวเกินเหตุ ให้มั่นใจในพื้นฐานของกิจการ ตัวนี้สำคัญที่สุด”
แต่ในทางกลับกันหุ้นที่เข้ามาจดทะเบียนใหม่ จะโชว์วิสัยทัศน์มากเกินไป อย่างเช่นธุรกิจพลังงานทางเลือก เป็นเรื่องใหม่มากยังไม่มีการบันทึกข้อมูล หรือความสำเร็จ จึงไม่ควรคาดหวังมากเกินไป
“ผมเป็นคนลงทุนยาว 5 ปี 10 ปี และต้องคาดการณ์ได้ว่าธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร จะเลือกบริษัทที่มีกำไร ไม่เปลี่ยนแปลงทิศทางธุรกิจ ผมเลือกความแน่นอน อยู่กับหุ้นตัวนั้น ธุรกิจไม่ต้องโตเร็วมาก และเมื่อถึงเวลา มันจะไปอยู่ตรงนั้น เลือกแล้วมีความสุข”
เบื้องหลังความสำเร็จการลงทุน คือการอ่านหนังสือและติดตามข้อมูลข่าวสารทุกวัน และเลือกอ่านหนังสือหลากหลายไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ศาสนา สงคราม วิวัฒนาการของมนุษย์ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เข้าใจหุ้น และ ธุรกิจหลากหลายแง่มุม ซึ่ง ดร.นิเวศน์ เริ่มมาอ่านหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุ 50 ปีต้นๆ เป็นช่วงเวลาเดียวกับ ที่ตัดสินใจหันหลังให้กับงานประจำ และ มาเป็นนักลงทุนที่มีอิสรภาพทางด้านการเงิน
ใช้ชีวิตเหมือนเดิม
วัย 62 ปี ของ ดร. นิเวศน์ แม้ว่าจะมีเงินเพิ่มมากขึ้น แต่การใช้ชีวิตกลับไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แม้ในวัยเด็กจะยากจนแต่ก็สามารถขวนขวายไปเรียนต่อปริญญาเอกในต่างประเทศ และช่วงวัยทำงานก็ได้ไปท่องเที่ยวทุกปีในฐานะผู้บริหาร และ ณ เวลานี้ อยู่ก็อยู่สุขสบาย ไม่ขัดสน
“ผมย้อนดูตัวเองแล้วก็พบว่า ผมยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม กินก๋วยเตี๋ยว ข้างทาง หรือกินอาหารแถวบ้าน แต่จะให้หาอะไรพิเศษหน่อยก็ทำได้ จากที่เคยนั่งเครื่องบินอีโคโนมี ก็เป็นบิซิเนส ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ผมคิดว่าความสุขของพวกเรา พระเจ้าให้มาแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หรือเปล่า และใช้ด้วยวิธีไหน”
แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไป เหมือนคำพูดของ จอร์จ โซรอส ที่บอกว่า คนจะฟังเรามากขึ้น ซึ่ง ดร. นิเวศน์ เห็นด้วยกับเรื่องนี้ร้อยเปอร์เซ็นต์
ความคาดหวังของ ดร. นิเวศน์ ปรารถนาที่จะให้ลูกเข้ามาเป็นนักลงทุน เพราะสามารถสร้างผลตอบแทน ทำให้มีชีวิตที่ดี มีเวลาได้ทำในสิ่งที่รัก และ สิ่งที่หวังไม่น่าจะไกลความเป็นจริงมากนัก เพราะพิสชา ลูกสาว ณ ปัจจุบันทำงานเป็นพิธิกรภาคภาษาอังกฤษ สถานีโทรทัศน์ Money Channel รายการ “Stocks Around Us” และปัจจุบันมีหุ้นอยู่ 2 ตัว คือ HMPRO จำนวน 86,616,884 ล้านหุ้น หรือ 0.79% และ IRC จำนวน 5,400,000 หุ้น หรือ 2.70% ขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์สอนที่นิด้าด้วย
แต่ด้วยการเลี้ยงดูที่ไม่ได้บังคับ เป็นบ้านประชาธิปไตย ทุกคนจึงมี ทางเลือกเป็นของตนเอง ชีวิตของ ดร. นิเวศน์ และภรรยายอมรับว่ามีความสุข เหมือนกับบทกลอนที่ติดอยู่บนหัวเตียงนอนที่เขียนไว้ว่า
Work like you don’t need the money
Sing like no one is listening
Laugh like you’ll never laugh again
Love like there is no end ……
Link : http://www.moneychannel.co.th/news_detail/17126/