อยาก(ให้ลูก)เป็นหมอ กับความเสี่ยงที่(แทบ)ไม่เคยมีใครพูดถึง

ติดแท็กครอบครัวด้วย (ว่าที่)คุณพ่อคุณแม่จะได้อ่านด้วย
อยากเป็นหมอ ประโยคฮิตที่ได้ยินจากโฆษณาบ่อยๆ ได้ยินแล้วรู้สึกแปลกๆนิดหน่อย

อยากเป็นหมอเพราะมั่นคง(ถ้าเทียบกับหลายอาชีพคงใช่ ถ้าไม่โดนฟ้อง)  เงินดี(เงินเยอะจริง แต่หารชั่วโมงการทำงานแล้ว OMG)  ได้ดูแลพ่อแม่(เหรอ พ่อแม่คนอื่นหน่ะใช่ พ่อแม่ตัวเองก็ต้องฝากคนอื่นดูแล)

ช่วงนี้ข่าวน้องหมอ 2 ท่านที่เจ็บป่วยเสียชีวิตเนื่องจาการทำงานไม่ใข่เรื่องใหม่
แต่เป็นเรื่องที่คนทั่วไปไม่ค่อยทราบ การติดเชื้อจากคนไข้เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่จนถึงขั้นเสียชีวิตมีน้อย
เมื่อเข้ามาในวงการนี้ความเสี่ยงมีอะไรบ้าง เอาที่เราและคนรอบข้างเคยเจอ ในช่วงเรียนคลินิก(ปี 4-6) ใช้ทุน 3 ปี ต่อเฉพาะทางศัลยกรรม 4 ปี เอาแค่ 10 ปีแรกของการสัมผัสคนไข้ เราและเพื่อนผ่านอะไรมาบ้าง

การติดเชื้อทางเดินหายใจ

     วัณโรค :  4 คน เป็นวัณโรคปอด 3 คน วัณโรคต่อมน้ำเหลือง 1 คน
                    เพื่อนสนิทเราเป็น 1 นั้น เป็นวัณโรคปอดแบบน้ำท่วมปอด ช่วงนั้นเรียนปี 6 Extern ทำงานเทียบเท่าแพทย์จริงๆ แต่ยังต้องอยู่ในการดูแล เพื่อนวนอยู่อายุรกรรม ตามด้วยสูติกรรม ช่วงที่อยู่สูติกรรม เพื่อนเป็นลมบ่อยมาก เหนื่อย น้ำหนักลด มีวันนึงเพื่อนบ่นว่า
                   “แก ชั้นเหนื่อยหว่ะ แน่นๆ หายใจไม่อิ่ม”
                   “เอา steth ฟัง lung ดิ” (บอกให้เพื่อนฟังเสียงหายปอดตัวเอง)
                    เพื่อนฟังปอดไม่ได้ยินเสียง 1 ข้าง เพื่อนตกใจมาก เดินไปห้องฉุกเฉิน สั่งเอกซเรย์ปอดตัวเอง ปรากฏว่าเป็นผ้าขาวไป 1ข้าง ซึ่งแสดงถึงน้ำที่อยู่ในช่องปอด เพื่อนโดนจับนอนโรงพยาบาลทันทีในห้องแยก  2 อาทิตย์ เจาะปอดระบายน้ำทุกวันวันละลิตรเป็นเวลา 4 วัน กินยาวัณโรค 6 เดือน หลังออกจากรพ ห้ามตรวจคนไ้ข้ ห้ามเข้าห้องผ่าตัด มาเข้าประชุมเช้ากับเข้าเรียนเท่านั้น พอถึงช่วงเปลี่ยนหน่วยมาออโธ บรรดาเพื่อนๆก็ต้องเสียสละแขนขาให้หัดใส่เผือก ข้อดีที่ป่วยมี 2 ข้อ คือ น้ำหนักลด 6  กิโล โดยไม่ต้องพยายาม และของเยี่ยมเยอะมากและแน่นอนเพื่อนๆทั้งหลายเป็นคนจัดการให้เดือนนั้นแทบไม่เสียค่าข้าวกันเลย

    ไข้หวัดใหญ่ : ช่วงไข้หวัดใหญ่ระบาด ช่วงตื่นกลัวกันหนักๆ ใครไอนิดไอหน่อย ไข้นิดไข้หน่อยก็พากันมาโรงพยาบาลกันหมด ต้องจัดแพทย์ไปตรวจมากขึ้น ถึงใส่หน้ากากแล้วก็ตาม แต่หน้ากากก็ไม่ได้กัน 100 %  พอใครมีไข้ไอก็ต้องกินยาต้านไวรัสกัน เพื่อนเราไม่มีใครเป็นหนักถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล

การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย

      เช็มตำนิ้ว : ช่วงที่เย็บฝีเย็บคุณแม่หลังคลอด เนื่องจากมือใหม่ เย็บไม่เก่ง ใช้มือช่วยเยอะ โดนเข็มทิ่มนิ้วบ่อย แต่เนื่องจากโดยปกติ คุณแม่ตรวจคัดกรองโรคกันอยู่แล้วโอกาสติดเชื้อจึงน้อย และถ้าคุณแม่เอชไอวีพี่ผู้เก่งกว่าเราจะเป็นคนรับผิดชอบให้ ถึงอย่างนั้นนานๆทีก็เจอแม่ที่ไม่เคยฝากท้องมาก่อนเลยเป็นระยะๆ ใครโชคร้ายก็ต้องกินยาต้านไวรัสกันไป สภาพช่วงปรับตัวกับการกินยาช่วงแรกของแต่ละคน ดูกันไม่ได้เลย เหนื่อย คลื่นไส้ เบื่ออาหารกันเป็นแถว
                        บางครั้งที่เข็มตำถุงมือ แต่เราไม่รู้สึกเจ็บ เห็นแค่เลือดในถึงมือถึงรู้ว่ามันขาดหรือมีรู ก็ต้องถอดถุงมอมาราดแอลกอฮอล์ดูว่าแสบมั๊ย ถ้าแสบ แสดงว่าได้แผลแน่นอน
      ถุงมือขาด : เวลาทำหัตถการ เช่นการผ่าตัด ใจใส่ถุงมือ sterile ถึงแม้ถุงมือมีความหนาและเหนียว แต่ไม่ได้แปลว่าจะไม่ขาด ดังนั้นเวลาทำเคสที่มีผลเลือดบวกพี่ที่มีความชำนาญกว่าจึงเป็นผู้รับผิดชอบและใส่ถุงมือ 2 ชั้น ถึงแม้ผลเลือดเป็นลบก็ยังต้องให้ความระมัดระวังเพราะมีสิ่งที่เรียกว่า window period คือ รับเชื้อมาแล้ว แต่ยังตรวจไม่พบ ช่วงเวลาประมาณ 3 เดือนหลังรับเชื้อ
                พยาบาลช่วยผ่าตัด Scrub เนื่องจากมีน้องเข้าใหม่ด้วยเลยต้องช่วยระวังเป็นพิเศษ สครับพี่เลี้ยงบอกทุกคนระวังมีดๆ ปรากฏว่าโดนบาดเองกลางฝ่ามือเพราะกันน้อง หลังจากนั้นสครับคนนั้นเปลี่ยนไปเรียนเป็นพยาบาลช่วยดมยาเลยเพราะฝังใจ
      เลือดขึ้นหน้า : จริงๆคือเลือดสัมผัสโดนตัวเรา ที่โดนบ่อยที่สุดคือ แขน หน้า และลำตัว
                           แขน : โดนเพราะเวลาเราต้องล้วงลงไปในตัวคนไข่มันลึกกว่าที่ถุงมือจะกันได้ เสื้อก็เป็นแค่ผ่าสีเขียวธรรมดาไม่ได้กันน้ำ แขนเสี้อเปียกเวลาล้างท้องคนไข้เป็นเรื่องปกติ ดีที่เจือจางจากน้ำแล้ว เสื้อกันน้ำมีมั๊ย มีค่ะ แต่แพงและมีแค่บางโรงพยาบาลที่สามารถจ่ายไหวเท่านั้น และมันก็ไม่ได้กันได้ทั้งหมด
                            หน้า : เลือดที่พุ่งออกมาจากเส้นเลือดโดยตรง เป็นเลือดสดๆ โดนแบบเต็มๆ ที่ช่องว่างที่เหลืออยู่หลังจากใส่หมวกและหน้ากากแล้วคือช่วงดวงตา โดนแล้วใช่ว่าจะออกไปล้างหน้าได้เลยทุกครั้ง ต้องห้ามเลือดให้ได้ก่อน ถ้าคนไข้ดี ก็ออกไปล้างหน้าแล้วกลับมาเข้าเคส ถ้าคนไข้ไม่ดีก็ให้พยาบาลเอาแอลกอฮอล์มาเช็ดก่อน คนไข้ดีแล้วค่อยว่ากัน เมื่อวงปีมากขึ้นความสามารถในการหลบเลือดจะเก่งมากขึ้น โอกาสดดนก็น้อยลง ถึงอย่างนั้นเดือนที่แล้วก็เพิ่งเข้าเต็มๆ 1 ครั้ง ไม่มีวิธีกันเลย? มี คือการใส่แว่น ถึงไม่ 100% แต่ก็ยังดีกว่าไม่ใส่ แต่การใส่แว่นก็มีปัญหาแว่นขึ้นฝ้าบ้าง แว่นเลื่อนบ้าง( ดั้งไม่ค่อยมี ) ต้องติดเทปบนหน้าบนหัวแก้ปัญหากันไป
                          ตัว : นานๆทีถึงจะโดนลึกเข้าไปจนถึงตัว ต้องเปียกมากจริงๆ เคยเปียกต่ำ จนโดนล้อว่าประจำเดือนเปื้อนด้านหน้า ดีนะไม่ทะลุถึงกกน

บาดเจ็บทางร่างกาย
    จากคนไข้
        คนไข้เมา คนไข้เมามาโรงพยาบาลเราต้องทำการรักษา แต่หลายคนเมาจนครองสติไม่ได้ โวยวายดิ้นไปมา บางครั้งถ้าไม่ถึงตายจริงๆ ต้องปอยให้สรางเมาก่อนค่อยเริ่มเย็บแผลกัน เพราะถ้าเราเย็บตอนคุยไม่รู้เรื่อง อาจโดนมีดบาด เข็มตำกันได้
        คนไข้สับสน คนไข้สับสนมีหลายแบบ และความสับสนนั้นเค้าไม่ได้ต้งใจที่จะโวยวายหรือทำร้ายร่างกายเรา อามีความจำเป็นต้องมัดคนไข้กับเตียง เพื่อป้องกันอันตรายต่อตัวคนไข้เอง ต่อเตียงข้างๆ และต่อบุคลากร ที่เคยโดนคือ ไปเจาะน้ำตาลคุณยาย ยายสับสนจึงโดนมัดมือไ้ว้อยู่แล้วเราเลยไม่ได้ระวังตัว โดนคุณยายเตะเข้าก้านคอ เล่นเอาเซเลยที่เดยว
        คนไข้ปกติ เราไม่เคยเจอ แต่เพื่อนเคย ช่วงนั้นเป็นช่วงสีเสื้อระอุมาก เพื่อนตรวจคนไข้ด้วยการ PR คือต้องล้วงนิ้วเข้าไปในทวารหนักคนไข้ แต่เนื่องจากเพื่อนเราตัวใหญ่นิ้วใหญ่ คนไข้รู้สึกเจ็บ จึงโดนว่าว่าเป็นคนละสีจึงหาทางแกล้งคนไข้ เกือบโดนต่อยแล้ว

    จากญาติและคู่อริของคนไข้ อันนี้ไม่อธิบาย ตามหน้าข่าวมีอยู่เรื่อยๆ

    อุบัติเหตุ เป็นสาเหตุที่เจอได้บ่อยๆจากการขับรถหลับใน ส่วนใหญ่เคยกันเกือบทั้งนั้นไม่เกิดเรื่องก็ดีไป บาดเจ็บเล็กน้อยก็ไม่เป็นข่าวอะไร และเคยเห็นตามหน้าข่าวมีบาดเจ็บหนัก หรือเสียชีวิต เราเองเคยหลับในแค่ครั้งเดียวไม่เกิดเหตุอะไร หลังจากนนั้น เราเตรียมอุปกรณ์อาบน้ำ ชุดเปลี่ยนไว้ในรถเลย ถ้าง่วงถ้าดึกมากเหนื่อยมากก็นอนที่โรงพยาบาลเลยไม่เสี่ยง

ปล ที่พิมพ์มาทั้งหมด ไม่ได้บอกว่ามีแต่เรื่องแย่ๆ เรื่องดีๆก็มี แต่จะเรียนจะเป็นหมอ รู้เรื่องพวกนี้ก่อนตัดสินใจก็ดี ดีกว่ามาเรียนแล้วรับไม่ได้ ไม่ชอบจะเสียเวลาเสียโอกาส สำหรับคนที่มุ่งมั่น ก็เป็นกำลังใจให้ค่ะ สู้ต่อไปทาเคชิ พี่ยินดีต้อนรับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่