สคบ. vs โคเรียคิง กับประเด็น fake original price

ผมฟังที่ สคบ. แถลงว่าโคเรียคิงใช้แทคติก fake original price เพื่อล่อลวงผู้บริโภค และยกตัวอย่างเมืองนอกว่าทำไม่ได้ ผมคิดว่า สคบ. เข้าใจผิดไปอย่างมาก

คดีที่คนฟ้องห้างดังในอเมริกาว่า ตั้งราคาเริ่มต้นเกินจริง หรือที่เรียกว่า fake original price แล้วมาทำทีเป็นลดราคา เพื่อจูงใจลูกค้า เป็นคดีที่เกิดขึ้นจริง และโดนฟ้องจริง แต่อยากให้ดูประโยคสำคัญในเอกสารที่ยื่นฟ้องดังนี้

In some instances, they represented that the listed or original price was two or more times the manufacturer’s suggested retail price (“MSRP”), and then offered the item at a purported 50% or more discount price which was in fact the original MSRP.
http://time.com/money/4171081/macys-jc-penney-lawsuit-original-prices/

ผมอยากเน้นคำ MSRP หรือราคาที่ผู้ผลิตแนะนำให้ขาย ที่อยู่ในข้อความข้างต้น

หมายความว่า คดีนี้ฟ้องได้ เนื่องจากห้างดังกล่าวตั้งราคาเกินผู้ผลิตแนะนำ หรือตั้งราคาเอาเองโดยผู้ผลิตไม่รู้เรื่องด้วย ซึ่งถ้ามีคนซื้อ ห้างก็ฟันกำไรเต็มๆแต่เพียงผู้เดียว ผู้ผลิตได้ตังค์เท่าเดิม และผู้ซื้อก็โดนหลอกเห็นๆ ซึ่งแบบนี้ห้างผิดเต็มๆ ไม่แปลกจึงโดนฟ้อง

แต่กรณีที่ผู้ผลิตรับรู้ราคาขาย ไม่ว่าจะตั้งไว้สูงแค่ไหน เรื่องนี้จะเป็นคนละประเด็นกับ fake original price ทันที

เช่นถ้า โคเรียคิงและบริษัทแม่ ยืนยันว่าราคา MSRP คือ 18000 บาทจริงๆ แบบนี้ทั้งโคเรียคิงและบริษัทแม่เขาไม่ผิด เพราะเขามีสิทธิ์ตั้งราคาขายเท่าไหร่ก็ได้ เพราะเป็นสินค้าของเขา

เทคนิคตั้งราคาสูงๆแล้วลดราคามาเรื่อยๆ เพื่อจูงใจผู้ซื้อ หรือโทรเลย แล้วจะได้โน่นได้นี่ เป็นแทคติกทั่วๆไปในการขายของแบบทีวีไดเร็ค หรือที่เรียกว่า infomercial ซึ่งเมืองนอกเขาก็ทำกัน และทำยิ่งกว่านี้ โดยไม่มีใครมาฟ้องแต่อย่างใด ดูจากเจ้านี้ได้ ที่ตั้งราคาไว้สูงแล้วลดแล้วลดอีกถึง 12 ครั้ง กว่าจะถึงราคาจริง

https://youtu.be/B0NS44D7MYo

ผมคิดว่าถ้าจะห้ามโคเรียคิงทำแบบนี้ ก็ต้องห้ามเจ้าอื่นๆด้วย ซึ่งมันจะยุ่งกันใหญ่ เพราะมันมีหลายเจ้า และทุกเจ้าก็ทำแบบนี้หมด ดีไม่ดี สคบ. อาจถูกฟ้องกลับ ถ้าเปิดกฎหมายสู้กันจริงๆ

เตือนไว้ด้วยความหวังดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่