สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
คือ ชีสนี่สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภทหลักๆ คือ soft cheese, semi-hard cheese และ hard cheese และนอกจากนั้นก็ยังแบ่งออกเป็นอีก ๒ ประเภทหลักๆ ตามขบวนการผลิต ก็คือ ชีสแบบที่ผลิตตามขบวนการธรรมชาติ (natural cheese) และชีสที่ผลิตด้วยขบวนการที่ไม่ธรรมชาติ (processed cheese) หรือที่บางคน (รวมถึงตัวผมเองด้วย...๕๕๕) เรียกมันว่า ชีสพลาสติก...๕๕๕
Cheddar cheese ที่เราเห็นวางตามชั้นวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตในสยามบ้านเรานั้นเป็นแบบ semi-hard cheese และส่วนใหญ่เป็น processed cheese
และขอขยายความต่ออีกทีว่า processed cheese นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากชีส (เอ๊ะ! ยังไง?...งงไหมครับ?...๕๕๕) บวกกับส่วนผสมอื่นๆ เช่น ผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากนม (dairy by-product ingredients) เช่น เวย์โปรตีน (whey) หรือหางนมที่ไม่มีความเข้มข้นหรือเนื้อของนมอยู่แล้ว, [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ บวกกับ emulsifiers ซึ่งก็คือ สารที่ทำให้วัตถุดิบสองอย่าง(ขึ้นไป) รวมตัวจับตัวกันเป็นเนื้อเดียวไม่แยกออกจากกัน (ยกตัวอย่างเช่น ไข่แดงที่นำมาทำ สลัดเดรสซิง นั่นแหละครับ...มันทำให้น้ำมันสามารถรวมตัวเข้ากับน้ำส้มสายชูโดยไม่แยกเป็นชั้นน้ำมันและชั้นของน้ำส้มสายชู..._/|\_ ขอขอบพระคุณอาจารย์วิชาเคมี...อิอิอิ) บวกกับน้ำมันพืช, เกลือ, สีผสมอาหาร และ/หรือ (บางทีก็มี...) น้ำตาลด้วยครับ
processed cheese นี่ถูกคิดค้นขึ้นโดย Walter Gerber จากรัฐ (Kanton) Thun ประเทศ Switzerland (สวรรค์ของคนรักชีสและช๊อคโกแลต) ในปี 1911 ครับ...ข้อดีของ processed cheese นี่ก็คือ สามารถเก็บรักษาได้นานกว่าชีสที่ผลิตแบบธรรมชาติ
กลับมาที่ Cheddar cheese กันต่อนะครับ...Cheddar cheese สามารถจะเป็น hard cheese ได้เหมือนกันอยู่ที่ระยะเวลาการเก็บบ่ม...บ่มไปนานๆ รสชาติก็จะเข้มข้นขึ้น (บางทีอาจจะมีรสขมอ่อนๆ ติดปลายลิ้น) ความชื้นก็จะน้อยลงและก็มีความแข็งร่วนมากขึ้นตามระยะเวลา Cheddar cheese ที่บ่มไว้นาน เวลาเราซื้อ บนบรรจุภัณฑ์ก็จะเขียนไว้ว่า Strong, extra-mature Cheddar หรือไม่ก็ Vintage (เรียกอย่างกับเป็นของโบราณเลยนะครับนั่น...๕๕๕) ซึ่งนั้นก็หมายถึง Cheddar cheese ที่ผลิตตามขบวนการธรรมชาติ
Cheddar cheese เป็นชีสสัญชาติอังกฤษที่มีสีไปตั้งแต่ สีขาวเหลืองครีมๆ อ่อนๆ และสีออกสีส้มๆ (อันนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องเทศที่ผสมเข้าไปในขั้นตอนการผลิต) และรสชาตินุ่มนวลไปจนถึงรสแบบเข้มข้น บ้างก็มีรสออกขมๆ นิดนึง (สำหรับ Cheddar cheese ที่ผลิตแบบขบวนการตามธรรมชาติ และมีระยะเวลาเก็บบ่มยาวนาน)...คนสยามบ้านเราไม่ชอบชีสรสชาติเข้มข้นหรอกครับ เขาก็เลยเอา Cheddar cheese แบบรสชาตินุ่มนวลมาขายให้กับเรา บวกกับ...ครับ...ใช่แล้วครับ...บวกกับพ่อค้าเขารู้ว่า บ้านเราไม่มีวัฒนธรรมการกินชีสเหมือนทางชาติตะวันตก ขืนเอาชีสแบบธรรมชาติมาวางขาย ก็คงเก็บได้ไม่กี่วัน เน่าบูดกันเสียพอดีกว่าจะขายออก...เขาก็เลยเอาชีสพลาสติก...เอ๊ย!...๕๕๕...processed cheese มาวางขาย เก็บไว้ได้นานเป็นเดือนแรม...เอ๊ย...ไม่ใช่ๆ...เป็นแรมเดือนต่างหากครับ
ส่วนมากเรานำ Cheddar cheese มาใช้เป็นส่วนประกอบของ burger (ชอบชีสรักชีสมากๆ ก็สั่งไปเลยครับ double หรือ triple cheese burger...ก็ว่ากันไป) เอามากินกับขนมปังหรือแครกเกอร์ก็ได้ครับ แล้วแต่ถนัดแล้วแต่ชอบ...อิอิอิ
ส่วน Mozzarella นี่ เป็นชีสสัญชาติอิตาเลี่ยน...ที่ทำมาจากนมควาย (ของแท้ดั้งเดิมต้องเป็นนมควายเท่านั้นครับ) และทำมาจากนมวัว รสชาติ...เอ่อ...จืดชืด มันๆ หนึบๆ รสอ่อนๆ แบบนมๆ และมีลักษณะเป็นชีสอ่อนและสด ในถุงเขาจึงมีน้ำหล่อไว้ไงครับ...นิยมนำมาใช้วางบนหน้าพิซซา หรือไม่ก็นำมาใส่ในสลัด หรือไม่ก็กินแบบนั้นเลยกับมะเขือเทศสไลค์ (ขอประทานโทษที่พาดพิงนะครับ...ขำๆ นะครับ คงไม่ว่ากัน)...ไม่ใช่สิ...ต้องสะกดว่า มะเขือเทศสไลด์ (slide tomato)* หรือพูดให้เป็นภาษาไทยก็คือ มะเขือเทศฝานเป็นชิ้นๆ นั่นแหละครับ และเพิ่มเติมน้ำส้มสายชู Balsamic ลงไปนิดนึง โรยเกลือลงไปหน่อยก็สามารถจะอร่อยจนแถบเหาะได้แล้วหล่ะครับ
ส่วนเจ้า Parmesan เป็นชีสสัญชาติอิตาเลี่ยน หรือที่คนอิตาเลี่ยนเรียกว่า Parmigiano...ออกเสียงประมาณ "พาเม่จิอาโน่" หรือฟังแบบเขาพูดเร็วๆ ก็จะได้ยินว่า "พาเม่จาโน่" เป็นชีสแบบเนื้อแข็ง เนื้อออกร่วนๆ มีรสเค็มปานกลาง สีเหลืองนวลอ่อนๆ...เขาเอามาโรยหน้าทุกอย่างตั้งแต่สลัด พาสต้า พิซซา หรือตัดเป็นชิ้นเล็กๆ จากก้อนเบ้อเริ่มเทิ่ม...เอาไว้กินเล่นเรียกน้ำย่อย บ้างก็กินแกล้มกับไวน์หวาน (sweet wine) รสชาติตัดกันฉุบฉัน หวานๆ จากไวน์และเค็มๆ มันๆ จาก Parmesan...คนอิตาเลี่ยนมักจะมีไว้ติดตู้เย็นเสมอ...บางคนเขาก็ขูดเป็นผงเก็บไว้ในช่องฟิต...แว้!...ผมพิมพ์ผิดอีกแล้ว...ผมหมายถึง ช่องฟรีซ (freezer) อ่ะครับ...อิอิอิ...หมายถึงว่า ต้องการจะเอามาใช้งานเมื่อไหร่ ก็หยิบออกมาจากช่องฟรีซได้เลย เอามาโรยหน้าอะไรก็ว่ากันไป มันไม่จับตัวเป้นก้อนๆ หรือแข็งโป๊กหรอกครับ เพราะมันมีเนื้อร่วน เมื่อนำมาขูดแล้ว
สำหรับเรื่องราคานั้น...ผมไม่ทราบจริงๆ ครับ อันไหนราคาถูกแพงกว่าอันไหน หรืออะไรยังไง...แต่ผมคิดว่า ชีสในสยามประเทศนั้นมีราคาค่อนข้างแพงครับ เพราะว่า เป็นสินค้านำเข้าที่มีด่านภาษีตั้งไว้รอบวกราคาเพิ่ม (เอ๊ะ! ทำไมเราไม่ทำชีสกันบ้างหล่ะครับ เรามีวัวนมนี่...สั่งนำเข้ามาลูกเดียว แถมราคาแพง ทำให้คนก็เข้าไม่ถึงมากนัก...น่าคิดนะครับ...ผมว่า)...จริงๆ แล้ว ผมว่า"ชีส"เป็นอาหารที่สุดยอดที่มนุษย์ชาติค้นพบและคิดค้นขึ้นมานะครับ เรียว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งก็ว่าได้...พอๆ กับ กาแฟ ชา เหล้า เบียร์ นั่นแหละครับ...มีมากมายหลากหลายเป็นพันเป็นหมื่นชนิด หลายรสหลายชาติ หลายสัญชาติ อันนั้นเหมาะที่จะกินหรือปรุงกับอาหารแบบนั้น อันนี้เหมาะที่จะเอามากินแกล้มกับไวน์ อันโน่นกลิ่นราชาติอ่อนโยน อันนั้นอีกหลายๆ อัน รสชาติเข้มข้นกลิ่นเหม็นเน่ายังกับของเน่าของเสีย (แต่อร่อยเหาะ...๕๕๕) อันนี้เนื้ออ่อน เนื้อกึ่งแข็ง อันนั้นดูแห้ง อ้าว! อีกอันหนึ่งดูเยิ้มๆ เมือกๆ ยังไงชอบกล...๕๕๕
สำหรับคนรักชีสอย่างผม...ผมว่า ผมค่อนข้างจะโชคดีที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งชีสที่มีชีสให้เลือกกิน เลือกลิ้มลองมากมาย ทั้งชีสสัญชาติของประเทศที่ผมอยู่ และชีสต่างด้าวจากฝรั่งเศสบ้าง อิตาลีบ้าง กรีซบ้าง สเปนบ้าง อังกฤษบ้าง ฮอลแลนด์บ้าง เดนมาร์คบ้าง และ ฯลฯ...ส่วนวัตถุดิบก็มีตั้งแต่ นมวัวแบบที่พาสเจอร์ไรซ์แล้ว (pasteurized milk), นมวัวดิบ, นมแพะ, นมแกะ, นมควาย, แม้กระทั้งเอานมหลายๆ ชนิดมารวมกัน...๕๕๕...ในขนาดที่ว่า กินวันละหนึ่งชีส...ชาตินี้ก็ได้ลองกินไม่ครบหมดทุกชีส...และที่สำคัญราคาของมันก็อนุมาณได้ว่า...เหมือนกับเราเดินเข้าร้านขายของชำในสยามประเทศ หยิบน้ำตาลมาหนึ่งกิโล แล้วเดินไปจ่ายสตางค์ให้เจ้าของร้านนั่นแหละครับ
ขอให้สนุกกับการกินชีสนะครับทุกๆ ท่าน
ผมเอง...สามีของไฮดี้
*แก้ไข+หมายเหตุ (11.06.2017)
๕๕๕...เพิ่งกลับมาอ่านดู ผมก็เพิ่งจะรู้ว่า ผมมัวจะหยิกแกมหยอกคนอื่นๆ ที่สะกดคำกันผิดๆ...จนผมตกลงไปในหลุมที่ผมขุดไว้เอง...๕๕๕...จริงๆ แล้วผมต้องการจะพิมพ์แบบนี้ต่างหากครับ...
"...หรือไม่ก็กินแบบนั้นเลยกับมะเขือเทศสไลค์ (ขอประทานโทษที่พาดพิงนะครับ...ขำๆ นะครับ คงไม่ว่ากัน)...ไม่ใช่สิ...ต้องสะกดว่า มะเขือเทศสไลด์ (slide tomato)...เอ๊ย!...ไม่ใช่ๆ...๕๕๕...มะเขือเทศสไลซฺทฺ (sliced tomato) หรือพูดให้เป็นภาษาไทยก็คือ มะเขือเทศฝานเป็นชิ้นๆ นั่นแหละครับ..."
ขออนุญาติ...เอ๊ย!...อนุญาตตอบในฐานะที่เป็นคนรักชีส (cheese lover) คนหนึ่งนะครับ
คือ ชีสนี่สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภทหลักๆ คือ soft cheese, semi-hard cheese และ hard cheese และนอกจากนั้นก็ยังแบ่งออกเป็นอีก ๒ ประเภทหลักๆ ตามขบวนการผลิต ก็คือ ชีสแบบที่ผลิตตามขบวนการธรรมชาติ (natural cheese) และชีสที่ผลิตด้วยขบวนการที่ไม่ธรรมชาติ (processed cheese) หรือที่บางคน (รวมถึงตัวผมเองด้วย...๕๕๕) เรียกมันว่า ชีสพลาสติก...๕๕๕
Cheddar cheese ที่เราเห็นวางตามชั้นวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตในสยามบ้านเรานั้นเป็นแบบ semi-hard cheese และส่วนใหญ่เป็น processed cheese
และขอขยายความต่ออีกทีว่า processed cheese นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากชีส (เอ๊ะ! ยังไง?...งงไหมครับ?...๕๕๕) บวกกับส่วนผสมอื่นๆ เช่น ผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากนม (dairy by-product ingredients) เช่น เวย์โปรตีน (whey) หรือหางนมที่ไม่มีความเข้มข้นหรือเนื้อของนมอยู่แล้ว, [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ บวกกับ emulsifiers ซึ่งก็คือ สารที่ทำให้วัตถุดิบสองอย่าง(ขึ้นไป) รวมตัวจับตัวกันเป็นเนื้อเดียวไม่แยกออกจากกัน (ยกตัวอย่างเช่น ไข่แดงที่นำมาทำ สลัดเดรสซิง นั่นแหละครับ...มันทำให้น้ำมันสามารถรวมตัวเข้ากับน้ำส้มสายชูโดยไม่แยกเป็นชั้นน้ำมันและชั้นของน้ำส้มสายชู..._/|\_ ขอขอบพระคุณอาจารย์วิชาเคมี...อิอิอิ) บวกกับน้ำมันพืช, เกลือ, สีผสมอาหาร และ/หรือ (บางทีก็มี...) น้ำตาลด้วยครับ
processed cheese นี่ถูกคิดค้นขึ้นโดย Walter Gerber จากรัฐ (Kanton) Thun ประเทศ Switzerland (สวรรค์ของคนรักชีสและช๊อคโกแลต) ในปี 1911 ครับ...ข้อดีของ processed cheese นี่ก็คือ สามารถเก็บรักษาได้นานกว่าชีสที่ผลิตแบบธรรมชาติ
กลับมาที่ Cheddar cheese กันต่อนะครับ...Cheddar cheese สามารถจะเป็น hard cheese ได้เหมือนกันอยู่ที่ระยะเวลาการเก็บบ่ม...บ่มไปนานๆ รสชาติก็จะเข้มข้นขึ้น (บางทีอาจจะมีรสขมอ่อนๆ ติดปลายลิ้น) ความชื้นก็จะน้อยลงและก็มีความแข็งร่วนมากขึ้นตามระยะเวลา Cheddar cheese ที่บ่มไว้นาน เวลาเราซื้อ บนบรรจุภัณฑ์ก็จะเขียนไว้ว่า Strong, extra-mature Cheddar หรือไม่ก็ Vintage (เรียกอย่างกับเป็นของโบราณเลยนะครับนั่น...๕๕๕) ซึ่งนั้นก็หมายถึง Cheddar cheese ที่ผลิตตามขบวนการธรรมชาติ
Cheddar cheese เป็นชีสสัญชาติอังกฤษที่มีสีไปตั้งแต่ สีขาวเหลืองครีมๆ อ่อนๆ และสีออกสีส้มๆ (อันนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องเทศที่ผสมเข้าไปในขั้นตอนการผลิต) และรสชาตินุ่มนวลไปจนถึงรสแบบเข้มข้น บ้างก็มีรสออกขมๆ นิดนึง (สำหรับ Cheddar cheese ที่ผลิตแบบขบวนการตามธรรมชาติ และมีระยะเวลาเก็บบ่มยาวนาน)...คนสยามบ้านเราไม่ชอบชีสรสชาติเข้มข้นหรอกครับ เขาก็เลยเอา Cheddar cheese แบบรสชาตินุ่มนวลมาขายให้กับเรา บวกกับ...ครับ...ใช่แล้วครับ...บวกกับพ่อค้าเขารู้ว่า บ้านเราไม่มีวัฒนธรรมการกินชีสเหมือนทางชาติตะวันตก ขืนเอาชีสแบบธรรมชาติมาวางขาย ก็คงเก็บได้ไม่กี่วัน เน่าบูดกันเสียพอดีกว่าจะขายออก...เขาก็เลยเอาชีสพลาสติก...เอ๊ย!...๕๕๕...processed cheese มาวางขาย เก็บไว้ได้นานเป็นเดือนแรม...เอ๊ย...ไม่ใช่ๆ...เป็นแรมเดือนต่างหากครับ
ส่วนมากเรานำ Cheddar cheese มาใช้เป็นส่วนประกอบของ burger (ชอบชีสรักชีสมากๆ ก็สั่งไปเลยครับ double หรือ triple cheese burger...ก็ว่ากันไป) เอามากินกับขนมปังหรือแครกเกอร์ก็ได้ครับ แล้วแต่ถนัดแล้วแต่ชอบ...อิอิอิ
ส่วน Mozzarella นี่ เป็นชีสสัญชาติอิตาเลี่ยน...ที่ทำมาจากนมควาย (ของแท้ดั้งเดิมต้องเป็นนมควายเท่านั้นครับ) และทำมาจากนมวัว รสชาติ...เอ่อ...จืดชืด มันๆ หนึบๆ รสอ่อนๆ แบบนมๆ และมีลักษณะเป็นชีสอ่อนและสด ในถุงเขาจึงมีน้ำหล่อไว้ไงครับ...นิยมนำมาใช้วางบนหน้าพิซซา หรือไม่ก็นำมาใส่ในสลัด หรือไม่ก็กินแบบนั้นเลยกับมะเขือเทศสไลค์ (ขอประทานโทษที่พาดพิงนะครับ...ขำๆ นะครับ คงไม่ว่ากัน)...ไม่ใช่สิ...ต้องสะกดว่า มะเขือเทศสไลด์ (slide tomato)* หรือพูดให้เป็นภาษาไทยก็คือ มะเขือเทศฝานเป็นชิ้นๆ นั่นแหละครับ และเพิ่มเติมน้ำส้มสายชู Balsamic ลงไปนิดนึง โรยเกลือลงไปหน่อยก็สามารถจะอร่อยจนแถบเหาะได้แล้วหล่ะครับ
ส่วนเจ้า Parmesan เป็นชีสสัญชาติอิตาเลี่ยน หรือที่คนอิตาเลี่ยนเรียกว่า Parmigiano...ออกเสียงประมาณ "พาเม่จิอาโน่" หรือฟังแบบเขาพูดเร็วๆ ก็จะได้ยินว่า "พาเม่จาโน่" เป็นชีสแบบเนื้อแข็ง เนื้อออกร่วนๆ มีรสเค็มปานกลาง สีเหลืองนวลอ่อนๆ...เขาเอามาโรยหน้าทุกอย่างตั้งแต่สลัด พาสต้า พิซซา หรือตัดเป็นชิ้นเล็กๆ จากก้อนเบ้อเริ่มเทิ่ม...เอาไว้กินเล่นเรียกน้ำย่อย บ้างก็กินแกล้มกับไวน์หวาน (sweet wine) รสชาติตัดกันฉุบฉัน หวานๆ จากไวน์และเค็มๆ มันๆ จาก Parmesan...คนอิตาเลี่ยนมักจะมีไว้ติดตู้เย็นเสมอ...บางคนเขาก็ขูดเป็นผงเก็บไว้ในช่องฟิต...แว้!...ผมพิมพ์ผิดอีกแล้ว...ผมหมายถึง ช่องฟรีซ (freezer) อ่ะครับ...อิอิอิ...หมายถึงว่า ต้องการจะเอามาใช้งานเมื่อไหร่ ก็หยิบออกมาจากช่องฟรีซได้เลย เอามาโรยหน้าอะไรก็ว่ากันไป มันไม่จับตัวเป้นก้อนๆ หรือแข็งโป๊กหรอกครับ เพราะมันมีเนื้อร่วน เมื่อนำมาขูดแล้ว
สำหรับเรื่องราคานั้น...ผมไม่ทราบจริงๆ ครับ อันไหนราคาถูกแพงกว่าอันไหน หรืออะไรยังไง...แต่ผมคิดว่า ชีสในสยามประเทศนั้นมีราคาค่อนข้างแพงครับ เพราะว่า เป็นสินค้านำเข้าที่มีด่านภาษีตั้งไว้รอบวกราคาเพิ่ม (เอ๊ะ! ทำไมเราไม่ทำชีสกันบ้างหล่ะครับ เรามีวัวนมนี่...สั่งนำเข้ามาลูกเดียว แถมราคาแพง ทำให้คนก็เข้าไม่ถึงมากนัก...น่าคิดนะครับ...ผมว่า)...จริงๆ แล้ว ผมว่า"ชีส"เป็นอาหารที่สุดยอดที่มนุษย์ชาติค้นพบและคิดค้นขึ้นมานะครับ เรียว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งก็ว่าได้...พอๆ กับ กาแฟ ชา เหล้า เบียร์ นั่นแหละครับ...มีมากมายหลากหลายเป็นพันเป็นหมื่นชนิด หลายรสหลายชาติ หลายสัญชาติ อันนั้นเหมาะที่จะกินหรือปรุงกับอาหารแบบนั้น อันนี้เหมาะที่จะเอามากินแกล้มกับไวน์ อันโน่นกลิ่นราชาติอ่อนโยน อันนั้นอีกหลายๆ อัน รสชาติเข้มข้นกลิ่นเหม็นเน่ายังกับของเน่าของเสีย (แต่อร่อยเหาะ...๕๕๕) อันนี้เนื้ออ่อน เนื้อกึ่งแข็ง อันนั้นดูแห้ง อ้าว! อีกอันหนึ่งดูเยิ้มๆ เมือกๆ ยังไงชอบกล...๕๕๕
สำหรับคนรักชีสอย่างผม...ผมว่า ผมค่อนข้างจะโชคดีที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งชีสที่มีชีสให้เลือกกิน เลือกลิ้มลองมากมาย ทั้งชีสสัญชาติของประเทศที่ผมอยู่ และชีสต่างด้าวจากฝรั่งเศสบ้าง อิตาลีบ้าง กรีซบ้าง สเปนบ้าง อังกฤษบ้าง ฮอลแลนด์บ้าง เดนมาร์คบ้าง และ ฯลฯ...ส่วนวัตถุดิบก็มีตั้งแต่ นมวัวแบบที่พาสเจอร์ไรซ์แล้ว (pasteurized milk), นมวัวดิบ, นมแพะ, นมแกะ, นมควาย, แม้กระทั้งเอานมหลายๆ ชนิดมารวมกัน...๕๕๕...ในขนาดที่ว่า กินวันละหนึ่งชีส...ชาตินี้ก็ได้ลองกินไม่ครบหมดทุกชีส...และที่สำคัญราคาของมันก็อนุมาณได้ว่า...เหมือนกับเราเดินเข้าร้านขายของชำในสยามประเทศ หยิบน้ำตาลมาหนึ่งกิโล แล้วเดินไปจ่ายสตางค์ให้เจ้าของร้านนั่นแหละครับ
ขอให้สนุกกับการกินชีสนะครับทุกๆ ท่าน
ผมเอง...สามีของไฮดี้
*แก้ไข+หมายเหตุ (11.06.2017)
๕๕๕...เพิ่งกลับมาอ่านดู ผมก็เพิ่งจะรู้ว่า ผมมัวจะหยิกแกมหยอกคนอื่นๆ ที่สะกดคำกันผิดๆ...จนผมตกลงไปในหลุมที่ผมขุดไว้เอง...๕๕๕...จริงๆ แล้วผมต้องการจะพิมพ์แบบนี้ต่างหากครับ...
"...หรือไม่ก็กินแบบนั้นเลยกับมะเขือเทศสไลค์ (ขอประทานโทษที่พาดพิงนะครับ...ขำๆ นะครับ คงไม่ว่ากัน)...ไม่ใช่สิ...ต้องสะกดว่า มะเขือเทศสไลด์ (slide tomato)...เอ๊ย!...ไม่ใช่ๆ...๕๕๕...มะเขือเทศสไลซฺทฺ (sliced tomato) หรือพูดให้เป็นภาษาไทยก็คือ มะเขือเทศฝานเป็นชิ้นๆ นั่นแหละครับ..."
แสดงความคิดเห็น
ทำไมเชดด้าชีส (Cheddar Cheese) ถึงมีสีต่างกัน ??