ขอถามทนายอาสา และผู้รู้ครับ
ได้ฟ้องผู้รับเหมายักยอกแบบไปขาย เป็นคดีอาญา เนื่องจากไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร จึงจะอาศัยคำพิพากษาในการฟ้องอาญาเพื่อฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย ศาลต้นพิจารณาว่าไม่ผิด จึงยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ เนื่องจากการคัดค้านคำพิพากษา เป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง แต่ทนายไม่ขออนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ศาลต้นจึงไม่รับ โจทก์ได้หาผู้รู้หลายคนช่วยเตือน ทนายก็ดื้อด้าน ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ พร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ใหม่ โดยไม่ยอมขออนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงอีก บอกกับโจทก์ว่า ถ้าอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเท่ากับยอมรับว่าตนเองผิดจริง ในการไม่ขออนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ศาลต้นจึงส่งศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า อุทธรณ์มีน้ำหนักฟังว่า จำเลยผิดจริง แต่เนื่องจากไม่ขออนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงจึงยกคำร้อง โจทก์จึงยื่นกล่าวหาต่อประธานกรรมการมรรยาททนายความ สภาทนายความ ข้อหาจงใจทำให้คดีล้มเลิกก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณา (การล้มตอนก่อนเข้ากระบวนการพิจารณา เป็นเรื้องง่าย และไม่มีประวัติ เป็นข้อดีสำหรับจำเลย) ตอนนี้เรื่องยังอยู่ที่สภาทนาย อีกทางหนึ่ง มีสองทางเลือก 1.)จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทนายความคนนี้ 2)และ/หรือ ฟ้องแพ่งผู้รับเหมาต่อไป ปัญหาจะถามคือ
1.1 ถ้าฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทนาย ทนายก็อาจแย้งกลับว่า คดีที่ฟ้องป็นคดีอาญา ความเสียหายไม่ใช่ตัวเงิน เหตุใดมาเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงิน
1.2 จะสามารถเรียกค่าเสียหายได้เท่ากับที่ตั้งใจจะเรียกจากผู้รับเหมาได้หรือไม่
2.1 ถ้าฟ้องผู้รับเหมาคดีแพ่งต่อ ศาลอาจยกเอาคำพิพากษาศาลต้นมายกฟ้อง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ มีเพียงว่า "มีน้ำหนักฟังว่าจำเลยกระทำผิดจริง" โดยยังไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณา จึงทำให้การฟ้องแพ่งเสียเปรียบมาก ซึ่งสุดท้าย ฟ้องเอาผิดอะไรไม่ได้ เสียเงินเปล่าประโยชน์ ทั้งหมดตั้งแต่ต้น
3.คดีนี้ จะฟ้องเป้นคดีผู้บริโภคได้ไหม มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
จึงขอคำแนะนำจากท่านและผู้รู้ ช่วยเลือกและเปรียบเทียบแต่ละทางเลือกด้วย ขอบคุณ
ทนายสร้างปัญหา
ได้ฟ้องผู้รับเหมายักยอกแบบไปขาย เป็นคดีอาญา เนื่องจากไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร จึงจะอาศัยคำพิพากษาในการฟ้องอาญาเพื่อฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย ศาลต้นพิจารณาว่าไม่ผิด จึงยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ เนื่องจากการคัดค้านคำพิพากษา เป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง แต่ทนายไม่ขออนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ศาลต้นจึงไม่รับ โจทก์ได้หาผู้รู้หลายคนช่วยเตือน ทนายก็ดื้อด้าน ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ พร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ใหม่ โดยไม่ยอมขออนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงอีก บอกกับโจทก์ว่า ถ้าอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเท่ากับยอมรับว่าตนเองผิดจริง ในการไม่ขออนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ศาลต้นจึงส่งศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า อุทธรณ์มีน้ำหนักฟังว่า จำเลยผิดจริง แต่เนื่องจากไม่ขออนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงจึงยกคำร้อง โจทก์จึงยื่นกล่าวหาต่อประธานกรรมการมรรยาททนายความ สภาทนายความ ข้อหาจงใจทำให้คดีล้มเลิกก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณา (การล้มตอนก่อนเข้ากระบวนการพิจารณา เป็นเรื้องง่าย และไม่มีประวัติ เป็นข้อดีสำหรับจำเลย) ตอนนี้เรื่องยังอยู่ที่สภาทนาย อีกทางหนึ่ง มีสองทางเลือก 1.)จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทนายความคนนี้ 2)และ/หรือ ฟ้องแพ่งผู้รับเหมาต่อไป ปัญหาจะถามคือ
1.1 ถ้าฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทนาย ทนายก็อาจแย้งกลับว่า คดีที่ฟ้องป็นคดีอาญา ความเสียหายไม่ใช่ตัวเงิน เหตุใดมาเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงิน
1.2 จะสามารถเรียกค่าเสียหายได้เท่ากับที่ตั้งใจจะเรียกจากผู้รับเหมาได้หรือไม่
2.1 ถ้าฟ้องผู้รับเหมาคดีแพ่งต่อ ศาลอาจยกเอาคำพิพากษาศาลต้นมายกฟ้อง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ มีเพียงว่า "มีน้ำหนักฟังว่าจำเลยกระทำผิดจริง" โดยยังไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณา จึงทำให้การฟ้องแพ่งเสียเปรียบมาก ซึ่งสุดท้าย ฟ้องเอาผิดอะไรไม่ได้ เสียเงินเปล่าประโยชน์ ทั้งหมดตั้งแต่ต้น
3.คดีนี้ จะฟ้องเป้นคดีผู้บริโภคได้ไหม มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
จึงขอคำแนะนำจากท่านและผู้รู้ ช่วยเลือกและเปรียบเทียบแต่ละทางเลือกด้วย ขอบคุณ