กระบวนการยุติธรรม ตายายเก็บเห็ด กระแสสังคม ผิดถูกอยู่ที่จำนวนคนเชื่อ รวย จน มีผลต่อกระบวนการหรือไม่ (By Identity Idea)

กระทู้คำถาม
คดีตายายเก็บเห็ดเป็นคดีที่ได้รับความสนใจในมุมของสังคม กระแสสังคม การหยิบฉวยโอกาส กระแสความสงสาร ถาโถมเข้าประทะความเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรมของประเทศคดีหนึ่ง   แต่เมื่อเปิดคำพิพากษาศาลฏีกา  มุมมองจากเนื้อหาคำพิพากษาก็เป็นข้อบ่งบอกได้ดีบางส่วนว่า กระแสสังคม การหยิบฉวยโอกาส กระแส ความสงสาร มันหักล้างในข้อมูลไม่ได้  


         ผลที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น กระแสสังคม การหยิบฉวยโอกาส กระแส ความสงสาร  ก็ไม่สามารถเอาชนะดุลยพินิจของผู้พิพากษาจากผลของการคำตัดสิน   แต่ความรวย จน มีผล  เพราะสังคม กระแส ความสงสาร ไม่ได้ไปอยู่ ณ ตอนจุดเริ่มต้นของกระบวนการ แต่ความรวยจนเป็นปัจจัยหนึ่ง ตอนเริ่มต้นกระบวนการ

         ความจนหรือรวย ทำให้คนเข้าถึงการช่วยเหลือจากกระบวนการได้แตกต่างกัน ไม่ใช่แค่คดีเก็บเห็ดแต่หลายๆคดี ที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้เข้าถึงกระบวนการอย่างที่ควรจะเป็นที่เป็นผลมาจากปัจจัย รวย หรือ จน หากมีเงินก็จะมีคนช่วยเหลือกจ้างทนาย หรือ ไม่ต้องเข้ากระบวนการหาทางหลบเลี่ยง เช่น คดีลูกหลานกระทิงแดง  ที่มี สโลแกนตำรวจมีไว้พุ่งชน  เป็นผลที่ให้เห็นชัดเจนถึงความรวยความจน ที่หลบเลี่ยง  บางคดีเช่นทุจริตโกงกันหลายพันล้าน ก็หนีออกต่างประเทศ เป็นเหมือนเทรนด์ของคนมีเงินเมื่อทำความผิด

    แต่กลับกัน คนที่จน มักจะถูกบอกให้ยอมรับสารภาพ ไม่มีคนให้ความสนใจ ถ้ากรณีตายายเก็บเห็ดที่เรียกๆกันนั้นไม่มีผลต่อการโจมตีทางการเมือง เพื่อสั่นคลอนกระบวนการโหนกระแส อย่าหวังว่าคดีแบบนี้จะเกิดเป็นข่าวขึ้นมา หรืออยู่ในความสนใจของกระแสถ้าไม่มีคนกระพือ หวังผลบางอย่าง คดีนี้ก็จะเป็นไปแบบอาจไม่มีคนที่รับรู้ แต่ถ้ามองไปที่ตัวคดีตายาย หรือหลายๆคดี สิ่งทีสังเกตุเห็นได้ว่ามีความบิดเบือนอยู่ในกระบวนการตรงไหน ไม่ใช่คำตัดสิน ไม่ใช่อยู่ที่กระบวนการทั้งหมด แต่อยู่ที่บางส่วนของกระบวนการก่อนที่จะเข้าสู่ศาล  นั่นคือ  การรวมรวบหลักฐาน ของเจ้าพนักงาน  ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีผลของความรวย จน เข้ามาเป็นปัจจัย  เจ้าหน้าที่เป็นผู้ช่วยอัยการ ถ้าไม่ใช่คดีดังหรือมีผลด้านชื่อเสียงก็ทำกันไปตามมีตามเกิดก็มี(ไม่ได้เหมารวมทั้งหมด เดี่ยวจะหาว่าตำรวจดีๆ อัยการดีๆไม่มี) แต่เหตุหลายเหตุที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นมา เกิดจากการรวบรวมหลักฐาน ที่จะเป็นผลสืบเนื่องไปยังสำนวนคดี และเข้าไปอยู่ในพยานหลักฐานที่ท่านผู้พิพากษาก็จะตัดสินไปตามพยายหลักฐาน ที่ อัยการ ตำรวจ รวบรวมมา

      หากทุกคดีทำด้วยความยุติธรรม ไม่มีผลประโยชน์ ไม่มีอิทธิพลใด ไม่มีปัจจัยทางรวยหรือจนมาเป็นปัจจัย กระบวนการไม่มีทางจะเอียงไปได้ เพราะมันตรงตั้งแต่ต้น (ยกเว้นใครจะไปเดินถือถุงขนมสองล้านในศาล แล้วโดนแค่ศาลบอกประพฤติตัวไม่เหมาะสม)  ถ้าเจ้าพนักงานมีความเชี่ยวชาญจริงๆ ไม่มีผลประโยชน์เมื่อใด กระบวนการจะตรงขึ้นเมื่อนั้น  

      ในความเห็นส่วนตัวผม จึงอยากเรียกร้องให้แยกกระบวนการสอบสวน ออกจากตำรวจในท้องที่ ให้มีหน่วยงานที่เป็นกลางเข้าไปรวบรวมหลักฐานแทน  ในขณะที่ตำรวจก็ดูแลความสงบสุขจับโจรผู้ร้ายไป ส่วนเรื่องคดีความก็แยกแผนกไปให้ไปอยู่พื้นที่ส่วนกลาง ให้ยากต่ออิทธิพลใดๆในพื้นที่  แล้วให้แผนกนี้เป็นผู้ช่วยอัยการรวบรวมหลักฐาน   และให้มีทนายกลางเข้ามาทำหน้าที่อธิบายสิทธิขั้นพืนฐานที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ไม่มีเงินโดยไม่ต้องร้องขอ      เพิ่มบทลงโทษเจ้าหน้าที่ที่รับสินบนหรือพยายามบิดเบือนกระบวนการ และลงโทษผู้ที่พยายามให้สินบนบิดเบือนกระบวนการ

   แบบนี้คงไม่มีคดีแบบตายาย กระแสสังคม การหยิบฉวยโอกาส กระแสความสงสาร ที่มาเป็นประเด็นในกระบวนการยุติธรรมให้ตัดสินกันด้วยความรู้สึกเป็นประเด็นกันมากมายขนาดนี้


  อำนาจตุลาการ เป้นหนึ่งในสามอำนาจของอธิปไตย  หากอำนาจนี้สั่งคลอนโดนนำมาเป็นเกมส์อำนาจในการช่วงชิงอีกอำนาจ คือ อำนาจบริหาร แล้วโจมตีแล้ว ประเทศคงมีวาทะกรรมเหมือนที่ผ่านๆมาทีสร้างกันขึ้นมาคือคำว่า สองมาตรฐาน ทีเกิดขึ้นเมื่อการตัดสินจากอำนาจหนึ่งไม่เป็นที่ถุกใจของเหล่าผู้สนับสนุน หากเปลี่ยนได้แบบข้างต้น เรื่องแบบนี้คงเกิดขึ้นได้ยาก  ดูตัวอย่างที่ สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีออกคำสั่งบริหาร เรื่องการห้ามคนมุสลิมบางประเทศเข้าประเทศ แต่โดนยับยั้งโดยศาลที่เป็นศาลมลรัฐ  อำนาจประธานาธิดีถูกยับยยั้งได้ด้วยกระบวนการยุติธรรมที่อยู่แต่ละรัฐ  ซึ่งประชาชนที่สนับสนุนประธานาธิบดีไม่ได้ออกมาต่อว่าคำตัดสินศาล ซึ่งแตกต่างกับประเทศไทยอย่างมาก อำนาจบริหารในครั้งที่เป็นรัฐบาลปรกติ ไม่มีใครจะสามารถแตะต้องได้เพราะจะมีคนบางพวกหรือผู้ที่เป็นเครื่องมือฝ่ายบริหารที่จะโดนตรวจสอบออกมาต่อต้าน นี่คือประเทศไทย กระบวนการในไทยที่ยังคงจะเป็นไปถ้าไม่มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง

         ตึ่งโป๊ะ บ่นไปดูละครไป

        เห็นตรงเห็นต่างสนทนากันได้นะครับ สร้างห้องราชดำเนินด้วยการแลกเปลี่ยนความเห็น แม้เห็นต่างก็คุยกันได้ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่