สวัสดีค่ะ วันนี้จะมารีวิวการใช้เครื่องอาหารทางสายยาง ยี่ห้อ Kangaroo รุ่น Epumps พร้อมทั้งบอก tips and tricks ในการใช้เครื่อง ขอเกริ่นสักหน่อยของที่มาว่าทำไมจึงต้องใช้เจ้าเครื่องนี้นะคะ เนื่องจากเพิ่งถอยเครื่องนี้มาให้น้าที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร แล้วไม่สามารถทานอาหารทางปากได้อีกแล้ว จึงจำเป็นต้องให้อาหารทางสายยางหน้าท้อง ก่อนหน้านี้เคยให้อาหารทางสายยางแบบปรับมือ คือซื้อถุงและสายมาประกอบเอง ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง แต่เพราะต้องคอยมานั่งปรับ จึงทำให้ทั้งคนเฝ้าและคนป่วยจะต้องคอยนั่งดูการหยดของอาหารเหลวตลอดเวลา (น้าต้องให้อาหารเหลวหรือนมช้าๆเป็นหยดๆค่ะ) สรุปเลยต้องนั่งเฝ้ากันทั้งวัน ไม่ต้องทำอะไร แถมถ้าให้เร็วไปน้าก็จะท้องอืดอีก สารอาหารที่ให้ก็ไม่เพียงพอ เพราะให้ทีละช้าๆใช้เวลานาน แต่เวลาเรามีจำกัด จึงตัดสินใจซื้อเครื่องมาทุ่นแรงทุ่นเวลาดีกว่า แต่ก็ใช้เวลาตัดสินใจซื้ออยู่นานเนื่องจากสนนราคาไม่ได้ถูกขนาดที่จะตัดสินใจซื้อได้ในทันที แต่พอได้ใช้งานจริงกลับรู้สึกว่า ทำไมฉันไม่ถอยเธอมาตั้งนานก่อนหน้านี้แล้ว ^^ ประหยัดแรงทั้งคนที่ดูแล แถมคนป่วยก็ได้อาหารในปริมาณที่มากขึ้นต่อวันอีกด้วย จากแต่ก่อน น้ารับอาหารทางสายยางได้วันนึงแค่ 800-900 ML เท่านั้นแต่ปัจจุบันนี้ ได้เพิ่มขึ้นมาถึง 1400 ml ต่อวันเลยทีเดียว
ตอนแรกที่จะซื้อเจ้าเครื่องนี้หาอยู่นานมาก ไปเดินตามร้านหน้าโรงพยาบาลศิริราชทุกร้าน ปรากฎว่า มีแต่เครื่องที่ให้อาหารทางสายยางทางจมูกเท่านั้น แต่ของน้าต้องให้ทางหน้าท้อง เลยต้องกลับมาทำการบ้านกันใหม่ น้าเล่าว่าเตียงข้างๆเค้าก็มีเครื่องให้อาหารทางสายยางทางหน้าท้องใช้ แต่ถามเค้าว่าซื้อที่ไหนเค้าก็ไม่บอก เลยต้องมาตามล่าหาเอาเองในอินเตอร์เนต แต่ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น หลังจากที่ค้นหาคำว่า เครื่องให้อาหารทางหน้าท้อง บลา บลา บลา เท่าไหร่ก็ไม่เจอ เลยตัดสินใจ search คำว่า kangaroo ไปเลย แต่เจอเครื่องที่หน้าตาเหมือนที่ ศิริราชใช้ ซี่งเป็นรุ่น NT924 แล้วหาไปเรื่อยๆ จนเจอมา 2-3 ร้านในเนตว่ามีเครื่องนี้ขาย แต่รุ่น NT 924 เลิกผลิตแล้ว มีแต่รุ่น Epumps เลยต้องเริ่มหาข้อมูลใหม่ ประกอบกับต้องไปปรึกษาเพื่อนที่เป็นหมอ เพื่อยืนยันว่าเครื่องรุ่นนี้สามารถให้อาหารทางหน้าท้องได้จริงๆ จึงตัดสินใจถอยเครื่องนี้มาให้น้า ต้องขอชมร้านที่สั่งซื้อจริงๆ เพราะมีเซลมาส่งและประกอบพร้อมทั้งสอนวิธีการใช้งานให้ถึงที่ นั่งเซตเครื่องและสอนการใช้งานอย่างใจเย็น และมีการให้ความรู้ในจุดเล็กๆที่บางทีเราไม่ได้ใส่ใจด้วย แถมเต็มใจที่จะสอน ในตอนแรกที่เริ่มใช้ เจอปัญหาเลยคือ เครื่องร้องเตือน error บ่อยๆ ซึ่งเซลบอกว่า อาจเกิดจากการที่เราชงนมแล้วยังมีเศษนมที่ยังไม่แตกละเอียดพอ มันจะทำให้ไปติดตามสาย เครื่องเลยเตือน เราก็แก้กันสักพัก เครื่องก็ทำงานได้ดี ไม่ร้องจนอาหารเหลวหมดถุง...
จากการใช้งานที่ผ่านมาสักพักและสังเกต จึงพบว่า หลักๆแล้วมีข้อที่ต้องใส่ใจอยู่ 2 ข้อหลักๆดังนี้
- ความละเอียดของอาหารเหลวที่เราคน ก่อนหน้ามาใช้เครื่องนี้ เวลาชงนมหรืออาหารเหลวให้น้าจะใช้แต่ตาดูว่า โอเคหล่ะ นมละลายหมดแล้ว ไม่จับตัวเป็นก้อนเป็นพอ แต่ความเป็นจริง ตาเราไม่ได้สแกนได้ละเอียดขนาดนั้น เพราะฉะนั้นควรมีการกรอง (ส่วนนี้ เซลได้เน้นย้ำว่าควรมีตัวกรองเพื่อไม่ให้นมที่ไม่ละลายผ่านเข้าไปเพราะจะทำให้เครื่องทำงานไม่สะดวก) จึงทำให้ได้คำตอบอีกข้อนึงว่า ทำไมสายที่ให้อาหารของน้าที่หน้าท้องถึงเกิดอาการตันบ่อยจัง ก่อนหน้านี้ที่จะมีเครื่อง บางอาทิตย์ต้องไปเข้าฉุกเฉินวันเว้นวันกันเลยทีเดียวเพราะท่อตัน แต่ถ้าเราใส่ใจเพิ่มอีกนิดโดยการกรองนมให้มีแต่ของเหลวจริงๆ ไอ้พวกตะกอนที่คนแล้วไม่ละลาย มันก็จะไม่ไปติดอยู่ในท่อที่ให้อาหารทางหน้าท้องของคนป่วยด้วยเช่นกัน
- ฟองอากาศในสายของถุงให้อาหารทางสายยาง เพราะถ้าเกิดเป็นฟองอากาศประมาณ 1 เซนติเมตรแล้ว เครื่องจะฟ้องและเตือนว่ามี Error เกิดขึ้น tips ว่าทำยังไง จะไม่ให้ฟองอากาศเกิดในสายคือ ตอนปิดวาล์วของสายถุงให้อาหารทางสายยาง ก่อนที่จะใส่เข้าเครื่อง จะต้องปรับให้วาล์ว หันเป็นเส้นตรงคู่ขนานกับพื้น ขอย้ำ ไฮไลท์ ขีดเส้นใต้สองเส้นว่า "ต้องปรับให้วาล์วหันเป็นเส้นตรงคู่ขนานกับพื้น" เพราะเพื่อเวลาใส่กับเครื่องตัวหัวที่เหมือนปลั๊กมันจะอยู่ระดับพอดีกับเส้นที่ขีดไว้ที่เครื่อง จึงไม่ทำให้เกิดฟองอากาศขณะเครื่องทำงาน
นอกจากนี้ ยังมี tips ในการชงอาหารเหลว หรือนมมาฝาก
- ควรใช้น้ำร้อนเครึ่งนึงในการตีนมให้แตกหรือละลาย เพราะถ้าใช้น้ำอุณหภูมิห้อง นมจะไม่ละลายและยังจับตัวเป็นก้อน
การใช้น้ำร้อนกับน้ำอุณหภูมิห้อง คือ 50:50 เพื่อไม่ให้นมร้อนจนเกินไป และไม่ให้น้ำเย็นจนไม่สามารถละลายนมได้
ตัวอย่าง จะชงนม 400 ml ใช้น้ำร้อน 150-200 ml คนจนนมละลายหมดแล้วจึงใส่น้ำอุณหภูมิห้องให้ครบ 400 ml
- กรณีที่ไม่แน่ใจว่าชงนมละลายหมดไม๊ ให้กรองสัก 2 รอบก็ได้ เพื่อจะได้มั่นใจว่า สิ่งที่เราจะใส่ในถุงนั้นมีแต่น้ำแล้ว
สรุปแล้วเครื่องนี้ที่ถอยมาคุ้มค่ามาก หากมีข้อสงสัยหลังไมค์มาถามได้นะคะ หรือจะแลกเปลี่ยนความรู้กันก็ได้ค่ะ ยินดี เพราะคิดว่า คนที่เจอปัญหาแบบนี้คงมีเยอะแต่ว่า หาคนช่วยแก้ปัญหายาก
[CR] รีวิว เครื่องให้อาหารทางสายยาง kangaroo epumps
ตอนแรกที่จะซื้อเจ้าเครื่องนี้หาอยู่นานมาก ไปเดินตามร้านหน้าโรงพยาบาลศิริราชทุกร้าน ปรากฎว่า มีแต่เครื่องที่ให้อาหารทางสายยางทางจมูกเท่านั้น แต่ของน้าต้องให้ทางหน้าท้อง เลยต้องกลับมาทำการบ้านกันใหม่ น้าเล่าว่าเตียงข้างๆเค้าก็มีเครื่องให้อาหารทางสายยางทางหน้าท้องใช้ แต่ถามเค้าว่าซื้อที่ไหนเค้าก็ไม่บอก เลยต้องมาตามล่าหาเอาเองในอินเตอร์เนต แต่ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น หลังจากที่ค้นหาคำว่า เครื่องให้อาหารทางหน้าท้อง บลา บลา บลา เท่าไหร่ก็ไม่เจอ เลยตัดสินใจ search คำว่า kangaroo ไปเลย แต่เจอเครื่องที่หน้าตาเหมือนที่ ศิริราชใช้ ซี่งเป็นรุ่น NT924 แล้วหาไปเรื่อยๆ จนเจอมา 2-3 ร้านในเนตว่ามีเครื่องนี้ขาย แต่รุ่น NT 924 เลิกผลิตแล้ว มีแต่รุ่น Epumps เลยต้องเริ่มหาข้อมูลใหม่ ประกอบกับต้องไปปรึกษาเพื่อนที่เป็นหมอ เพื่อยืนยันว่าเครื่องรุ่นนี้สามารถให้อาหารทางหน้าท้องได้จริงๆ จึงตัดสินใจถอยเครื่องนี้มาให้น้า ต้องขอชมร้านที่สั่งซื้อจริงๆ เพราะมีเซลมาส่งและประกอบพร้อมทั้งสอนวิธีการใช้งานให้ถึงที่ นั่งเซตเครื่องและสอนการใช้งานอย่างใจเย็น และมีการให้ความรู้ในจุดเล็กๆที่บางทีเราไม่ได้ใส่ใจด้วย แถมเต็มใจที่จะสอน ในตอนแรกที่เริ่มใช้ เจอปัญหาเลยคือ เครื่องร้องเตือน error บ่อยๆ ซึ่งเซลบอกว่า อาจเกิดจากการที่เราชงนมแล้วยังมีเศษนมที่ยังไม่แตกละเอียดพอ มันจะทำให้ไปติดตามสาย เครื่องเลยเตือน เราก็แก้กันสักพัก เครื่องก็ทำงานได้ดี ไม่ร้องจนอาหารเหลวหมดถุง...
จากการใช้งานที่ผ่านมาสักพักและสังเกต จึงพบว่า หลักๆแล้วมีข้อที่ต้องใส่ใจอยู่ 2 ข้อหลักๆดังนี้
- ความละเอียดของอาหารเหลวที่เราคน ก่อนหน้ามาใช้เครื่องนี้ เวลาชงนมหรืออาหารเหลวให้น้าจะใช้แต่ตาดูว่า โอเคหล่ะ นมละลายหมดแล้ว ไม่จับตัวเป็นก้อนเป็นพอ แต่ความเป็นจริง ตาเราไม่ได้สแกนได้ละเอียดขนาดนั้น เพราะฉะนั้นควรมีการกรอง (ส่วนนี้ เซลได้เน้นย้ำว่าควรมีตัวกรองเพื่อไม่ให้นมที่ไม่ละลายผ่านเข้าไปเพราะจะทำให้เครื่องทำงานไม่สะดวก) จึงทำให้ได้คำตอบอีกข้อนึงว่า ทำไมสายที่ให้อาหารของน้าที่หน้าท้องถึงเกิดอาการตันบ่อยจัง ก่อนหน้านี้ที่จะมีเครื่อง บางอาทิตย์ต้องไปเข้าฉุกเฉินวันเว้นวันกันเลยทีเดียวเพราะท่อตัน แต่ถ้าเราใส่ใจเพิ่มอีกนิดโดยการกรองนมให้มีแต่ของเหลวจริงๆ ไอ้พวกตะกอนที่คนแล้วไม่ละลาย มันก็จะไม่ไปติดอยู่ในท่อที่ให้อาหารทางหน้าท้องของคนป่วยด้วยเช่นกัน
- ฟองอากาศในสายของถุงให้อาหารทางสายยาง เพราะถ้าเกิดเป็นฟองอากาศประมาณ 1 เซนติเมตรแล้ว เครื่องจะฟ้องและเตือนว่ามี Error เกิดขึ้น tips ว่าทำยังไง จะไม่ให้ฟองอากาศเกิดในสายคือ ตอนปิดวาล์วของสายถุงให้อาหารทางสายยาง ก่อนที่จะใส่เข้าเครื่อง จะต้องปรับให้วาล์ว หันเป็นเส้นตรงคู่ขนานกับพื้น ขอย้ำ ไฮไลท์ ขีดเส้นใต้สองเส้นว่า "ต้องปรับให้วาล์วหันเป็นเส้นตรงคู่ขนานกับพื้น" เพราะเพื่อเวลาใส่กับเครื่องตัวหัวที่เหมือนปลั๊กมันจะอยู่ระดับพอดีกับเส้นที่ขีดไว้ที่เครื่อง จึงไม่ทำให้เกิดฟองอากาศขณะเครื่องทำงาน
นอกจากนี้ ยังมี tips ในการชงอาหารเหลว หรือนมมาฝาก
- ควรใช้น้ำร้อนเครึ่งนึงในการตีนมให้แตกหรือละลาย เพราะถ้าใช้น้ำอุณหภูมิห้อง นมจะไม่ละลายและยังจับตัวเป็นก้อน
การใช้น้ำร้อนกับน้ำอุณหภูมิห้อง คือ 50:50 เพื่อไม่ให้นมร้อนจนเกินไป และไม่ให้น้ำเย็นจนไม่สามารถละลายนมได้
ตัวอย่าง จะชงนม 400 ml ใช้น้ำร้อน 150-200 ml คนจนนมละลายหมดแล้วจึงใส่น้ำอุณหภูมิห้องให้ครบ 400 ml
- กรณีที่ไม่แน่ใจว่าชงนมละลายหมดไม๊ ให้กรองสัก 2 รอบก็ได้ เพื่อจะได้มั่นใจว่า สิ่งที่เราจะใส่ในถุงนั้นมีแต่น้ำแล้ว
สรุปแล้วเครื่องนี้ที่ถอยมาคุ้มค่ามาก หากมีข้อสงสัยหลังไมค์มาถามได้นะคะ หรือจะแลกเปลี่ยนความรู้กันก็ได้ค่ะ ยินดี เพราะคิดว่า คนที่เจอปัญหาแบบนี้คงมีเยอะแต่ว่า หาคนช่วยแก้ปัญหายาก