ได้รวบรวมเป็นแรงบันดาลใจที่ต่อเนื่องกันมาหลายทศวรรษ ที่เวลาเราไปคุยกับคนญี่ปุ่นเรื่องฟุตบอล แล้วมักจะพูดถึงกันบ่อยๆ แม้แต่ในสมัยที่ฟุตบอลยังไม่ใช่กีฬายอดนิยม (เบสบอล ซูโม่ คือกีฬายอดนิยมอันดับ 1-2 ของญี่ปุ่น) จนกระทั่งเข้ายุค 90 มานี่เองที่ฟุตบอลญี่ปุ่นเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้ฟุตบอลไทยกำลังอยู่ระหว่างปฏิรูปครั้งสำคัญ ซึ่งเรายังตามหลังญี่ปุ่นอยู่หลายช่วงตัว ทั้งในด้านทรัพยากร เงินทุน องค์ความรู้ และที่สำคัญคือ ทัศนคติของคนในวงการ ซึ่งต้องใช้เวลาบ่มกันอีกมาก
มาดูกันว่า แรงบันดาลใจของพวกญี่ปุ่นที่ทำให้พวกเขาเดินเข้าไปมีที่ทางในวงการฟุตบอลโลก กลายเป็นชาติที่ส่งออกนักฟุตบอลไปหลายประเทศในยุโรปและเอเชียได้ในทุกวันนี้ มีอะไรกันบ้าง
การ์ตูน หรือมังงะ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักฟุตบอลชื่อดังญี่ปุ่นหลายคน เช่น ฮิเดโตชิ นากาตะ ชุนสุเกะ นากามูระ ชินจิ คางาวะ ฯลฯ สตาร์ญี่ปุ่นเหล่านี้สารภาพว่าเมื่อวัยเด็ก พวกเขาเป็นแฟนการ์ตูนเรื่องกัปตันซึบาสะ ซึ่งถือว่าเป็นการ์ตูนฟุตอลญี่ปุ่นยุคบุกเบิก ที่ทำให้เด็กหลายคนหันมาเล่นฟุตบอลมากขึ้น เพราะแท้จริงแล้วกีฬายอดนิยมอันดับหนึ่งของคนญี่ปุ่นคือเบสบอล ในขณะที่ฟุตบอลเพิ่งจะได้รับความสนใจมากขึ้นจริงๆในช่วงทศวรรษ 80-90
โอคุเดระ ยาสึฮิโกะ
ชื่อนี้แฟนบอลรุ่นใหม่อาจไม่คุ้น แต่นี่คือตำนานที่ยังมีชีวิตของวงการลูกหนังญี่ปุ่น เขาคือนักบอลญี่ปุ่นและนักบอลจากเอเชียคนแรกที่ได้ไปค้าแข้งในลีกยุโรปในบุนเดสลีกาเยอรมันได้สำเร็จ เจ้าของฉายา "เจแปนนีสบอมเบอร์" ที่สำคัญคือ เขาสามารถยืนระยะการเล่นอาชีพในเยอรมันได้เป็นเวลาค่อนข้างนานพอสมควร แล้วยังเป็นผู้เล่นตัวสำคัญกับทีมด้วย แล้วที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เขาเป็นสมาชิกทีมโคโลญจน์ชุดประวัติศาสตร์ที่คว้าดับเบิลแชมป์บุนเดสลีกาและเดเอฟเบโพคาล ต่อมาเมื่อย้ายไปอยู่กับเบรเมน ก็ยังมีส่วนในทีมชุดได้รองแชมป์ด้วย
เมื่อกลับมาญี่ปุ่น เขาก็มีส่วนร่วมในการพัฒนาวงการฟุตบอลญี่ปุ่นไปมาก โดยเฉพาะในส่วนของงานบริหาร กล่าวได้ว่าเขาคือผู้ที่มีความรู้เรื่องฟุตบอลเป็นอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา กลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับนักฟุตบอลญี่ปุ่นที่จะออกไปค้าแข้งในทวีปยุโรป โดยเฉพาะที่เยอรมัน ซึ่งทุกวันนี้เป็นลีกที่มีนักบอลญี่ปุ่นเข้าไปค้าแข้งอยู่จำนวนมากที่สุด
ในการ์ตูนซึบาสะก็ยังมีการเขียนถึงโอคุเดระให้ออกมาสอนเชิงบอลซึบาสะจนปลิวในช่วงสุดท้ายของภาคแรกหลังจบศึกยุวชนโลกด้วย
การก่อตั้งเจลีก
การมีฟุตบอลอาชีพย่อมเป็นการเพิ่มตัวเลือกสำหรับทีมชาติ แล้วเป็นเวทีให้นักฟุตบอลได้เตะกับคนเก่งๆตลอดเวลา มีการแข่งขัน การพัฒนา ทั้งเรื่องสภาพร่างกาย ความฟิต เทคนิค ระบบทีม ความเข้าใจเกม ที่สำคัญยังเป็นโอกาสให้ได้เตะกับผู้เล่นต่างชาติที่นำเข้ามาแทบทุกอาทิตย์ การก่อตั้งเจลีกอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 1993 (เปลี่ยนจาก JSL) จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทีมชาติญี่ปุ่นในยุค 90 มีตัวเลือกมากขึ้นสำหรับทีมชาติ และไปฟุตบอลโลกได้ในที่สุด แต่การก่อตั้งเจลีกก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะฟุตบอลไม่ใช่กีฬายอดนิยมของคนญี่ปุ่นเท่าไรนักในสมัยนั้น ทำให้หลายทีมในเจลีกต้องมุ่งเน้นไปที่องค์กรหรือบริษัทในท้องถิ่นในการสนับสนุนเป็นหลัก
ทุกวันนี้เจลีกอาจจะไม่ใช่ลีกอันดับหนึ่งของเอเชียก็จริง แต่ก็ถือว่าเป็นฟุตบอลลีกที่แข็งแกร่งเป็นอันดับต้นๆของเอเชียมาตลอดในช่วง 20 ปีหลัง และเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่นักฟุตบอลไทยหลายคนอยากลงเล่น เพราะความที่ญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นชาติลูกหนังยักษ์ใหญ่ของเอเชีย อีกทั้งเจลีกก็มีแมวมองจากทั่วทวีปยุโรปมาสังเกตการณ์อยู่ตลอด ซึ่งช่วงหลังมานี้ เจลีกกลายเป็นแหล่งเพาะและปั้นเยาวชนญี่ปุ่นส่งออกไปยุโรปจำนวนมาก
บ้าบอลกัลโช่และบอลบราซิล
ประมาณยุค 80-90 คนญี่ปุ่นที่ชอบดูบอลต่างประเทศจะชอบบอลกัลโช่ของอิตาลีมากที่สุด มีบอลบุนเดสลีกาของเยอรมันตามมา ถ้าเทียบกับไทยเราแล้ว คนญี่ปุ่นเมื่อก่อนไม่ได้บ้าบอลพรีเมียร์ของอังกฤษเท่าไรนัก การบ้าบอลกัลโช่ในยุคที่เฟื่องฟูสุดๆก็สะท้อนออกมาทางแนวคิดและการเล่นฟุตบอลของคนญี่ปุ่นที่ชอบเล่นตำแหน่งกองกลางตัวทำเกม เล่นบอลสวยงาม และความบ้าบอลบราซิลก็ทำให้ชอบลีลาการเล่นในสไตล์แซมบ้าด้วย ความบ้าบอลที่เน้นเทคนิคเหล่านี้ ทำให้ นักบอลญี่ปุ่นรุ่นเยาว์ชอบที่จะฝึกหัดลีลาแซมบ้า และการเล่นบอลด้วยเท้าตั้งแต่เด็ก
คิงคาซู จักรพรรดิลูกหนังญี่ปุ่นก่อนยุคใหม่
คิงคาซู หรือ มิอุระ คาสุโยชิ เจ้าของฉายา "จักรพรรดิ" ในยุค 80-90 เขาแทบจะสถาปนาตนเองเป็นเทพเจ้าของวงการลูกหนังญี่ปุ่น ชนิดที่ว่าถ้าพูดถึงฟุตบอลในญี่ปุ่นสมัยนั้น ทุกคนต้องนึกถึงคิงคาซูเป็นอันดับแรก ในฐานะสตาร์หมายเลขหนึ่ง
ด้วยความทะเยอทะยานที่จะพัฒนาฝีเท้าในเชิงลูกหนัง เขาออกเดินทางไปฝึกฟุตบอลเองที่บราซิลเมื่ออายุได้แค่ 15 ปี เล่นในระดับเยาวชนให้แอตเลติโกและเซาเปาโล ต่อมาก็เซ็นสัญญาลูกหนังอาชีพครั้งแรกกับทีมดังอย่างซานโต้ส (เรียกว่าเขาคือต้นแบบของกัปตันซึบาสะก็ว่าได้) เมื่อเจลีกเริ่มก่อตั้ง เขาก็กลับมาเล่นให้กับเวอร์ดี้จนกลายเป็นตำนาน จากนั้นจึงได้สัญญายืมตัวไปเล่นให้เจนัว กลายเป็นนักฟุตบอลญี่ปุ่นคนแรกในกัลโช่ซีรีย์อาของอิตาลี แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะยิงได้แค่ประตูเดียวก็ตาม แต่ก็ถือเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้นักฟุตบอลญี่ปุ่นรุ่นเยาว์แทบจะทั่วประเทศ
แล้วทุกวันนี้เสื้อเบอร์ 11 ของคาสุได้กลายเป็นตำนานไปแล้ว เขาร่วมอยู่ในทีมชาติญี่ปุ่นชุดที่เกือบไปฟุตบอลโลกปี 94 และก็ได้กลับมาติดในชุดประวัติศาสตร์ไปบอลโลกปี 98 อีกครั้งในช่วงปลายค้าแข้ง หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า นักเขียนการ์ตูนฟุตบอลของญี่ปุ่นหลายคนก็นำเขาไปใช้เป็นต้นแบบเกือบทั้งนั้น (ตัวอย่างเช่น อิบุ ในการ์ตูนยิงประตูสู่ฝัน หรือ คิตะมูระ ในเรื่องเจดรีม หรือ เคน ในเรื่อง Giant Killing)
นำเข้านักฟุตบอลบราซิลและนักบอลชื่อดังช่วงปลายอาชีพ
ญี่ปุ่นและบราซิลเป็นประเทศที่มีสัมพันธ์กันมายาวนานมาก คนทั้งสองประเทศต่างก็ตั้งรกราก แต่งงานกับคนอีกชาติ และมีการเดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันมาตลอดหลายทศวรรษ ในยุคที่เจลีกกำลังตั้งไข่ นักบอลบราซิลจึงกลายเป็นสินค้านำเข้าที่ทีมในเจลีกต้องมีกันทุกทีม อย่างน้อย 2-3 คน อีกทั้งคนญี่ปุ่นส่วนมากก็มองคนบราซิลว่าเก่งฟุตบอลแน่นอน อีกกลุ่มที่นำเข้ากันมาในช่วงนั้นเพื่อกระตุ้นกระแสคือนักบอลชื่อดังที่กำลังเข้าสู่ช่วงปลายอาชีพแล้ว จึงพอช่วยสร้างสีสันได้ในระยะสั้นๆ แต่ภายหลังแนวคิดนี้ก็ล้มเลิกไป แล้วหันมาให้ความสำคัญกับเยาวชนญี่ปุ่นแทน
หนึ่งในนักบอลบราซิลยุคแรกที่ช่วยเปิดตลาดเจลีกก็คือ รุย รามอส แห่งทีมเวอร์ดี้ คาวาซากิ ซึ่งคว้าแชมป์เจลีกสมัยแรก รามอสมาเล่นฟุตบอลในญี่ปุ่นตั้งแต่อายุ 20 ปี โดยเล่นให้สโมสรโยมิอุริ ซึ่งหลังจากตั้งเจลีกแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็นเวอร์ดี้ เขาจึงเล่นให้กับเวอร์ดี้เพียงทีมเดียวตลอดชีวิต ในช่วงปลายอาชีพค้าแข้ง เขายังติดทีมชาติญี่ปุ่นชุดคว้าแชมป์เอเชียนคัพปี 92 ในวัย 32-33 ปี แล้วแม้ว่าเขาจะไม่สามารถช่วยญี่ปุ่นให้ไปฟุตบอลโลก 94 ได้ก็ตาม แต่รามอสถือว่าเป็นตัวจุดประกายแรกๆที่ทำให้เกิดการนำเข้านักเตะบราซิล รวมไปถึงการโอนสัญชาติมาเพื่อเล่นให้ทีมชาติญี่ปุ่น
ระบบพัฒนาเยาวชนที่ชัดเจน เน้นทักษะมาก่อน
ที่จริงมันก็ไม่มีผิดถูกว่า เน้นเรื่องไหนมาก่อนหลัง เช่นกรณีของฟุตบอลเกาหลีใต้ ซึ่งขึ้นชื่อเหลือเกินเรื่องความอึด นักเตะบ้าพลังวิ่งได้ไม่มีหมด อย่างที่เราเห็นกันมาแล้วจากนักเตะอย่าง ปาร์คชีซอง แต่ของญี่ปุ่นในช่วง 20 ปีก่อน จะมุ่งเน้นพัฒนาทักษะการเล่นกับฟุตบอลของเยาวชนเป็นอันดับแรกๆ ตามมาด้วยเรื่องของทีมเวิร์ค นั่นทำให้นักฟุตบอลญี่ปุ่นที่เริ่มสร้างชื่อขึ้นมาในยุค 90 มีทักษะการเล่นฟุตบอลที่ยอดเยี่ยมและเป็นทีมเวิร์ค มากกว่าทีมอื่นๆในเอเชีย แต่เรื่องพละกำลัง ความฟิต หรือกระทั่งสรีระของนักบอลนั้นก็ยังเป็นรองเกาหลีอยู่ ญี่ปุ่นค่อยมาเริ่มพัฒนาเรื่องนี้ตามทีหลัง ในขณะที่เกาหลีก็หันไปพัฒนาทักษะนักบอลเพิ่มขึ้น ถึงตอนนี้นักบอลญี่ปุ่นรุ่นใหม่ก็มีพร้อมทั้งทักษะฟุตบอลและรูปร่างแข็งแกร่ง เป็นการพัฒนาที่ชัดเจนมาก
ความพ่ายแพ้เสี้ยววินาทีที่โดฮา
เรียกกันว่า โศกนาฏกรรมที่กรุงโดฮา คือถ้าพูดคำนี้ให้คนญี่ปุ่น เขาจะรู้เลยว่าหมายถึงการพ่ายแพ้ของทีมชาติญี่ปุ่นต่อทีมชาติอิรักในช่วงทดเวลาบาดเจ็บจากจังหวะลูกเตะมุม ทำให้เสมอกัน 2-2 ซึ่งการจบสกอร์นี้จะทำให้ญี่ปุ่นพลาดไม่ได้ไปฟุตบอลโลกในปี 1994 ทั้งๆที่ในระหว่างเกมที่นำ 2-1 พวกเขาคุมเกมมาได้ดีมาก
เมื่อถึงช่วง 20 นาทีสุดท้าย ก็พยายามใช้การต่อบอลคุมเกมตั้งรับ เพื่อรักษาสกอร์ไว้ ในเกมนั้น ผู้เล่นสำคัญของญี่ปุ่นทั้งคาซูและรามอสต่างก็ทำผลงานกันได้ดี แต่สภาพร่างกายก็ไม่เอื้อแล้ว ผู้รักษาประตูมือเก๋าอย่างมัตสึนากะก็เซฟมาได้ดีตลอด กองหลังสุดแกร่งอย่างอิฮาระที่คุมเกมรับได้ดีมาก แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสภาพอากาศร้อน สภาพความฟิตของนักเตะ และอื่นๆ ก็ทำให้ไม่สามารถป้องกันลูกเตะมุมสุดท้ายไว้ได้ ผลสกอร์ที่เกิดขึ้นทำให้เกาหลีใต้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้เข้ารอบไปแทนอย่างปาฏิหาริย์ ซึ่งหลังจากจบเกม ผู้จัดการทีมชาวฮอลแลนด์ ฮัน ออฟท์ ก็ประกาศลาออกเพื่อขอรับผิดชอบ เหตุการณ์นี้จึงกลายเป็นปาฏิหาริย์ของเกาหลีใต้ แต่กลายเป็นโศกนาฏกรรมของวงการฟุตบอลญี่ปุ่นไป
จากเกมนัดนี้ ก็นำไปสู่การถ่ายเลือดทีมชาติญี่ปุ่นครั้งสำคัญ มีกลุ่มนักเตะสายเลือดใหม่หลายคนขึ้นมาแทนที่รุ่นพี่ แล้วช่วยกันพาทีมไปฟุตบอลโลกปี 98 ได้สำเร็จในอีก 4 ปีต่อมา เรียกว่า ถึงจะแพ้แล้วแต่ก็ลุกขึ้นมาสู้ใหม่อีกครั้ง
ไม่ยอมให้โดนตราหน้าว่าใช้เงินเพื่อไปเตะบอลโลก
จะเก่งแค่ไหน ถ้าไม่มีเงินทุนหรือบุคลากรและระบบจัดการที่ดีคอยสนับสนุน ก็ไม่มีทางสำเร็จ เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นชาติมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจจากยุค 70-90 ที่แม้ว่าตอนนี้จะชะลอตัวไปมาก แต่พวกเขาก็ทุ่มเงินในการไปฟุตบอลโลกและได้รับความร่วมมือจากแทบทุกส่วนอย่างเต็มที่ แม้ว่าญี่ปุ่นจะเคยโดยค่อนขอดอยู่บ้างหลังจากพวกเขาขอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2002 ร่วมกับเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้ฟีฟ่าไม่สามารถตัดสินได้จนต้องประกาศให้พวกเขาเป็นเจ้าภาพร่วมไป ผลคือจะทำให้พวกเขาได้ไปฟุตบอลโลกโดยอัตโนมัติเป็นครั้งแรก แต่สุดท้ายแล้ว พวกเขาก็ลบคำสบประมาทว่าใช้เงินเพื่อไปฟุตบอลโลก ด้วยการคว้าตั๋วไปด้วยตัวเองในปี 98 ได้ด้วยตัวเองสำเร็จ
จะเห็นกว่าญี่ปุ่นซึ่งเป็นชนชาติที่ขยัน มุ่งมั่น รักชาติสุดโต่ง มีวินัยสูง ไม่กลัวความลำบาก ยังต้องใช้เวลานาน ล้มลุกคลุกคลานกว่าจะทำสำเร็จในเวทีฟุตบอลโลก ดังนั้นชนชาวไทย ก็จำเป็นต้องอดทนรอคอยเช่นกัน เพราะความสำเร็จทุกอย่างมันคือตัวสะท้อนทัศนคติในการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศนั้นๆด้วย ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
รวบรวม 9 แรงบันดาลใจก่อนญี่ปุ่นได้ไปฟุตบอลโลก หนึ่งในประวัติศาสตร์โลกฟุตบอล
บทความนี้ลงไว้ที่ http://www.gypzyworld.com/article/view/583
ได้รวบรวมเป็นแรงบันดาลใจที่ต่อเนื่องกันมาหลายทศวรรษ ที่เวลาเราไปคุยกับคนญี่ปุ่นเรื่องฟุตบอล แล้วมักจะพูดถึงกันบ่อยๆ แม้แต่ในสมัยที่ฟุตบอลยังไม่ใช่กีฬายอดนิยม (เบสบอล ซูโม่ คือกีฬายอดนิยมอันดับ 1-2 ของญี่ปุ่น) จนกระทั่งเข้ายุค 90 มานี่เองที่ฟุตบอลญี่ปุ่นเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้ฟุตบอลไทยกำลังอยู่ระหว่างปฏิรูปครั้งสำคัญ ซึ่งเรายังตามหลังญี่ปุ่นอยู่หลายช่วงตัว ทั้งในด้านทรัพยากร เงินทุน องค์ความรู้ และที่สำคัญคือ ทัศนคติของคนในวงการ ซึ่งต้องใช้เวลาบ่มกันอีกมาก
มาดูกันว่า แรงบันดาลใจของพวกญี่ปุ่นที่ทำให้พวกเขาเดินเข้าไปมีที่ทางในวงการฟุตบอลโลก กลายเป็นชาติที่ส่งออกนักฟุตบอลไปหลายประเทศในยุโรปและเอเชียได้ในทุกวันนี้ มีอะไรกันบ้าง
กัปตันซึบาสะ
การ์ตูน หรือมังงะ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักฟุตบอลชื่อดังญี่ปุ่นหลายคน เช่น ฮิเดโตชิ นากาตะ ชุนสุเกะ นากามูระ ชินจิ คางาวะ ฯลฯ สตาร์ญี่ปุ่นเหล่านี้สารภาพว่าเมื่อวัยเด็ก พวกเขาเป็นแฟนการ์ตูนเรื่องกัปตันซึบาสะ ซึ่งถือว่าเป็นการ์ตูนฟุตอลญี่ปุ่นยุคบุกเบิก ที่ทำให้เด็กหลายคนหันมาเล่นฟุตบอลมากขึ้น เพราะแท้จริงแล้วกีฬายอดนิยมอันดับหนึ่งของคนญี่ปุ่นคือเบสบอล ในขณะที่ฟุตบอลเพิ่งจะได้รับความสนใจมากขึ้นจริงๆในช่วงทศวรรษ 80-90
โอคุเดระ ยาสึฮิโกะ
ชื่อนี้แฟนบอลรุ่นใหม่อาจไม่คุ้น แต่นี่คือตำนานที่ยังมีชีวิตของวงการลูกหนังญี่ปุ่น เขาคือนักบอลญี่ปุ่นและนักบอลจากเอเชียคนแรกที่ได้ไปค้าแข้งในลีกยุโรปในบุนเดสลีกาเยอรมันได้สำเร็จ เจ้าของฉายา "เจแปนนีสบอมเบอร์" ที่สำคัญคือ เขาสามารถยืนระยะการเล่นอาชีพในเยอรมันได้เป็นเวลาค่อนข้างนานพอสมควร แล้วยังเป็นผู้เล่นตัวสำคัญกับทีมด้วย แล้วที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เขาเป็นสมาชิกทีมโคโลญจน์ชุดประวัติศาสตร์ที่คว้าดับเบิลแชมป์บุนเดสลีกาและเดเอฟเบโพคาล ต่อมาเมื่อย้ายไปอยู่กับเบรเมน ก็ยังมีส่วนในทีมชุดได้รองแชมป์ด้วย
เมื่อกลับมาญี่ปุ่น เขาก็มีส่วนร่วมในการพัฒนาวงการฟุตบอลญี่ปุ่นไปมาก โดยเฉพาะในส่วนของงานบริหาร กล่าวได้ว่าเขาคือผู้ที่มีความรู้เรื่องฟุตบอลเป็นอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา กลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับนักฟุตบอลญี่ปุ่นที่จะออกไปค้าแข้งในทวีปยุโรป โดยเฉพาะที่เยอรมัน ซึ่งทุกวันนี้เป็นลีกที่มีนักบอลญี่ปุ่นเข้าไปค้าแข้งอยู่จำนวนมากที่สุด
ในการ์ตูนซึบาสะก็ยังมีการเขียนถึงโอคุเดระให้ออกมาสอนเชิงบอลซึบาสะจนปลิวในช่วงสุดท้ายของภาคแรกหลังจบศึกยุวชนโลกด้วย
การก่อตั้งเจลีก
การมีฟุตบอลอาชีพย่อมเป็นการเพิ่มตัวเลือกสำหรับทีมชาติ แล้วเป็นเวทีให้นักฟุตบอลได้เตะกับคนเก่งๆตลอดเวลา มีการแข่งขัน การพัฒนา ทั้งเรื่องสภาพร่างกาย ความฟิต เทคนิค ระบบทีม ความเข้าใจเกม ที่สำคัญยังเป็นโอกาสให้ได้เตะกับผู้เล่นต่างชาติที่นำเข้ามาแทบทุกอาทิตย์ การก่อตั้งเจลีกอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 1993 (เปลี่ยนจาก JSL) จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทีมชาติญี่ปุ่นในยุค 90 มีตัวเลือกมากขึ้นสำหรับทีมชาติ และไปฟุตบอลโลกได้ในที่สุด แต่การก่อตั้งเจลีกก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะฟุตบอลไม่ใช่กีฬายอดนิยมของคนญี่ปุ่นเท่าไรนักในสมัยนั้น ทำให้หลายทีมในเจลีกต้องมุ่งเน้นไปที่องค์กรหรือบริษัทในท้องถิ่นในการสนับสนุนเป็นหลัก
ทุกวันนี้เจลีกอาจจะไม่ใช่ลีกอันดับหนึ่งของเอเชียก็จริง แต่ก็ถือว่าเป็นฟุตบอลลีกที่แข็งแกร่งเป็นอันดับต้นๆของเอเชียมาตลอดในช่วง 20 ปีหลัง และเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่นักฟุตบอลไทยหลายคนอยากลงเล่น เพราะความที่ญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นชาติลูกหนังยักษ์ใหญ่ของเอเชีย อีกทั้งเจลีกก็มีแมวมองจากทั่วทวีปยุโรปมาสังเกตการณ์อยู่ตลอด ซึ่งช่วงหลังมานี้ เจลีกกลายเป็นแหล่งเพาะและปั้นเยาวชนญี่ปุ่นส่งออกไปยุโรปจำนวนมาก
บ้าบอลกัลโช่และบอลบราซิล
ประมาณยุค 80-90 คนญี่ปุ่นที่ชอบดูบอลต่างประเทศจะชอบบอลกัลโช่ของอิตาลีมากที่สุด มีบอลบุนเดสลีกาของเยอรมันตามมา ถ้าเทียบกับไทยเราแล้ว คนญี่ปุ่นเมื่อก่อนไม่ได้บ้าบอลพรีเมียร์ของอังกฤษเท่าไรนัก การบ้าบอลกัลโช่ในยุคที่เฟื่องฟูสุดๆก็สะท้อนออกมาทางแนวคิดและการเล่นฟุตบอลของคนญี่ปุ่นที่ชอบเล่นตำแหน่งกองกลางตัวทำเกม เล่นบอลสวยงาม และความบ้าบอลบราซิลก็ทำให้ชอบลีลาการเล่นในสไตล์แซมบ้าด้วย ความบ้าบอลที่เน้นเทคนิคเหล่านี้ ทำให้ นักบอลญี่ปุ่นรุ่นเยาว์ชอบที่จะฝึกหัดลีลาแซมบ้า และการเล่นบอลด้วยเท้าตั้งแต่เด็ก
คิงคาซู จักรพรรดิลูกหนังญี่ปุ่นก่อนยุคใหม่
คิงคาซู หรือ มิอุระ คาสุโยชิ เจ้าของฉายา "จักรพรรดิ" ในยุค 80-90 เขาแทบจะสถาปนาตนเองเป็นเทพเจ้าของวงการลูกหนังญี่ปุ่น ชนิดที่ว่าถ้าพูดถึงฟุตบอลในญี่ปุ่นสมัยนั้น ทุกคนต้องนึกถึงคิงคาซูเป็นอันดับแรก ในฐานะสตาร์หมายเลขหนึ่ง
ด้วยความทะเยอทะยานที่จะพัฒนาฝีเท้าในเชิงลูกหนัง เขาออกเดินทางไปฝึกฟุตบอลเองที่บราซิลเมื่ออายุได้แค่ 15 ปี เล่นในระดับเยาวชนให้แอตเลติโกและเซาเปาโล ต่อมาก็เซ็นสัญญาลูกหนังอาชีพครั้งแรกกับทีมดังอย่างซานโต้ส (เรียกว่าเขาคือต้นแบบของกัปตันซึบาสะก็ว่าได้) เมื่อเจลีกเริ่มก่อตั้ง เขาก็กลับมาเล่นให้กับเวอร์ดี้จนกลายเป็นตำนาน จากนั้นจึงได้สัญญายืมตัวไปเล่นให้เจนัว กลายเป็นนักฟุตบอลญี่ปุ่นคนแรกในกัลโช่ซีรีย์อาของอิตาลี แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะยิงได้แค่ประตูเดียวก็ตาม แต่ก็ถือเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้นักฟุตบอลญี่ปุ่นรุ่นเยาว์แทบจะทั่วประเทศ
แล้วทุกวันนี้เสื้อเบอร์ 11 ของคาสุได้กลายเป็นตำนานไปแล้ว เขาร่วมอยู่ในทีมชาติญี่ปุ่นชุดที่เกือบไปฟุตบอลโลกปี 94 และก็ได้กลับมาติดในชุดประวัติศาสตร์ไปบอลโลกปี 98 อีกครั้งในช่วงปลายค้าแข้ง หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า นักเขียนการ์ตูนฟุตบอลของญี่ปุ่นหลายคนก็นำเขาไปใช้เป็นต้นแบบเกือบทั้งนั้น (ตัวอย่างเช่น อิบุ ในการ์ตูนยิงประตูสู่ฝัน หรือ คิตะมูระ ในเรื่องเจดรีม หรือ เคน ในเรื่อง Giant Killing)
นำเข้านักฟุตบอลบราซิลและนักบอลชื่อดังช่วงปลายอาชีพ
ญี่ปุ่นและบราซิลเป็นประเทศที่มีสัมพันธ์กันมายาวนานมาก คนทั้งสองประเทศต่างก็ตั้งรกราก แต่งงานกับคนอีกชาติ และมีการเดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันมาตลอดหลายทศวรรษ ในยุคที่เจลีกกำลังตั้งไข่ นักบอลบราซิลจึงกลายเป็นสินค้านำเข้าที่ทีมในเจลีกต้องมีกันทุกทีม อย่างน้อย 2-3 คน อีกทั้งคนญี่ปุ่นส่วนมากก็มองคนบราซิลว่าเก่งฟุตบอลแน่นอน อีกกลุ่มที่นำเข้ากันมาในช่วงนั้นเพื่อกระตุ้นกระแสคือนักบอลชื่อดังที่กำลังเข้าสู่ช่วงปลายอาชีพแล้ว จึงพอช่วยสร้างสีสันได้ในระยะสั้นๆ แต่ภายหลังแนวคิดนี้ก็ล้มเลิกไป แล้วหันมาให้ความสำคัญกับเยาวชนญี่ปุ่นแทน
หนึ่งในนักบอลบราซิลยุคแรกที่ช่วยเปิดตลาดเจลีกก็คือ รุย รามอส แห่งทีมเวอร์ดี้ คาวาซากิ ซึ่งคว้าแชมป์เจลีกสมัยแรก รามอสมาเล่นฟุตบอลในญี่ปุ่นตั้งแต่อายุ 20 ปี โดยเล่นให้สโมสรโยมิอุริ ซึ่งหลังจากตั้งเจลีกแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็นเวอร์ดี้ เขาจึงเล่นให้กับเวอร์ดี้เพียงทีมเดียวตลอดชีวิต ในช่วงปลายอาชีพค้าแข้ง เขายังติดทีมชาติญี่ปุ่นชุดคว้าแชมป์เอเชียนคัพปี 92 ในวัย 32-33 ปี แล้วแม้ว่าเขาจะไม่สามารถช่วยญี่ปุ่นให้ไปฟุตบอลโลก 94 ได้ก็ตาม แต่รามอสถือว่าเป็นตัวจุดประกายแรกๆที่ทำให้เกิดการนำเข้านักเตะบราซิล รวมไปถึงการโอนสัญชาติมาเพื่อเล่นให้ทีมชาติญี่ปุ่น
แกรี่ ลินิเกอร์, แพทรคิ เอ็มโบม่า, ดราแกน สตอยโควิช, ออสวัลโด้ อาดิเลส, ซิโก้, คาร์ลอส ดุงก้า, ปิแอร์ ลิทบาสกี้, รามอนดิแอซ และ รุย รามอส
ที่มาของภาพ https://armchairjapanophile.wordpress.com/2014/07/13/sakka-the-j-league-revolution-ii/
ระบบพัฒนาเยาวชนที่ชัดเจน เน้นทักษะมาก่อน
ที่จริงมันก็ไม่มีผิดถูกว่า เน้นเรื่องไหนมาก่อนหลัง เช่นกรณีของฟุตบอลเกาหลีใต้ ซึ่งขึ้นชื่อเหลือเกินเรื่องความอึด นักเตะบ้าพลังวิ่งได้ไม่มีหมด อย่างที่เราเห็นกันมาแล้วจากนักเตะอย่าง ปาร์คชีซอง แต่ของญี่ปุ่นในช่วง 20 ปีก่อน จะมุ่งเน้นพัฒนาทักษะการเล่นกับฟุตบอลของเยาวชนเป็นอันดับแรกๆ ตามมาด้วยเรื่องของทีมเวิร์ค นั่นทำให้นักฟุตบอลญี่ปุ่นที่เริ่มสร้างชื่อขึ้นมาในยุค 90 มีทักษะการเล่นฟุตบอลที่ยอดเยี่ยมและเป็นทีมเวิร์ค มากกว่าทีมอื่นๆในเอเชีย แต่เรื่องพละกำลัง ความฟิต หรือกระทั่งสรีระของนักบอลนั้นก็ยังเป็นรองเกาหลีอยู่ ญี่ปุ่นค่อยมาเริ่มพัฒนาเรื่องนี้ตามทีหลัง ในขณะที่เกาหลีก็หันไปพัฒนาทักษะนักบอลเพิ่มขึ้น ถึงตอนนี้นักบอลญี่ปุ่นรุ่นใหม่ก็มีพร้อมทั้งทักษะฟุตบอลและรูปร่างแข็งแกร่ง เป็นการพัฒนาที่ชัดเจนมาก
ความพ่ายแพ้เสี้ยววินาทีที่โดฮา
เรียกกันว่า โศกนาฏกรรมที่กรุงโดฮา คือถ้าพูดคำนี้ให้คนญี่ปุ่น เขาจะรู้เลยว่าหมายถึงการพ่ายแพ้ของทีมชาติญี่ปุ่นต่อทีมชาติอิรักในช่วงทดเวลาบาดเจ็บจากจังหวะลูกเตะมุม ทำให้เสมอกัน 2-2 ซึ่งการจบสกอร์นี้จะทำให้ญี่ปุ่นพลาดไม่ได้ไปฟุตบอลโลกในปี 1994 ทั้งๆที่ในระหว่างเกมที่นำ 2-1 พวกเขาคุมเกมมาได้ดีมาก
เมื่อถึงช่วง 20 นาทีสุดท้าย ก็พยายามใช้การต่อบอลคุมเกมตั้งรับ เพื่อรักษาสกอร์ไว้ ในเกมนั้น ผู้เล่นสำคัญของญี่ปุ่นทั้งคาซูและรามอสต่างก็ทำผลงานกันได้ดี แต่สภาพร่างกายก็ไม่เอื้อแล้ว ผู้รักษาประตูมือเก๋าอย่างมัตสึนากะก็เซฟมาได้ดีตลอด กองหลังสุดแกร่งอย่างอิฮาระที่คุมเกมรับได้ดีมาก แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสภาพอากาศร้อน สภาพความฟิตของนักเตะ และอื่นๆ ก็ทำให้ไม่สามารถป้องกันลูกเตะมุมสุดท้ายไว้ได้ ผลสกอร์ที่เกิดขึ้นทำให้เกาหลีใต้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้เข้ารอบไปแทนอย่างปาฏิหาริย์ ซึ่งหลังจากจบเกม ผู้จัดการทีมชาวฮอลแลนด์ ฮัน ออฟท์ ก็ประกาศลาออกเพื่อขอรับผิดชอบ เหตุการณ์นี้จึงกลายเป็นปาฏิหาริย์ของเกาหลีใต้ แต่กลายเป็นโศกนาฏกรรมของวงการฟุตบอลญี่ปุ่นไป
จากเกมนัดนี้ ก็นำไปสู่การถ่ายเลือดทีมชาติญี่ปุ่นครั้งสำคัญ มีกลุ่มนักเตะสายเลือดใหม่หลายคนขึ้นมาแทนที่รุ่นพี่ แล้วช่วยกันพาทีมไปฟุตบอลโลกปี 98 ได้สำเร็จในอีก 4 ปีต่อมา เรียกว่า ถึงจะแพ้แล้วแต่ก็ลุกขึ้นมาสู้ใหม่อีกครั้ง
ไม่ยอมให้โดนตราหน้าว่าใช้เงินเพื่อไปเตะบอลโลก
จะเก่งแค่ไหน ถ้าไม่มีเงินทุนหรือบุคลากรและระบบจัดการที่ดีคอยสนับสนุน ก็ไม่มีทางสำเร็จ เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นชาติมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจจากยุค 70-90 ที่แม้ว่าตอนนี้จะชะลอตัวไปมาก แต่พวกเขาก็ทุ่มเงินในการไปฟุตบอลโลกและได้รับความร่วมมือจากแทบทุกส่วนอย่างเต็มที่ แม้ว่าญี่ปุ่นจะเคยโดยค่อนขอดอยู่บ้างหลังจากพวกเขาขอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2002 ร่วมกับเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้ฟีฟ่าไม่สามารถตัดสินได้จนต้องประกาศให้พวกเขาเป็นเจ้าภาพร่วมไป ผลคือจะทำให้พวกเขาได้ไปฟุตบอลโลกโดยอัตโนมัติเป็นครั้งแรก แต่สุดท้ายแล้ว พวกเขาก็ลบคำสบประมาทว่าใช้เงินเพื่อไปฟุตบอลโลก ด้วยการคว้าตั๋วไปด้วยตัวเองในปี 98 ได้ด้วยตัวเองสำเร็จ
จะเห็นกว่าญี่ปุ่นซึ่งเป็นชนชาติที่ขยัน มุ่งมั่น รักชาติสุดโต่ง มีวินัยสูง ไม่กลัวความลำบาก ยังต้องใช้เวลานาน ล้มลุกคลุกคลานกว่าจะทำสำเร็จในเวทีฟุตบอลโลก ดังนั้นชนชาวไทย ก็จำเป็นต้องอดทนรอคอยเช่นกัน เพราะความสำเร็จทุกอย่างมันคือตัวสะท้อนทัศนคติในการใช้ชีวิตของผู้คนในประเทศนั้นๆด้วย ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ