ห้องเพลง*คนรากหญ้า* พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสีไม่มีกลุ่มมีแต่เสียง 27/04/2017 "เพลงเพื่อชีวิตที่เปลี่ยนไป"

กระทู้คำถาม
อมยิ้ม17สวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ วันนี้ mc มาริโอ้ มาทำหน้าที่ครับผม

วันนี้ mc จะมาพล่ามเรื่องเพลงเพื่อชีวิตในมุมมองของตัวเองเล็กๆน้อยๆ  เอาเท่าที่พอจะจำความได้ และจำความไม่ได้แต่มารู้เองในภายหลัง ส่วนใครจะเอาสาระเต็มๆไปหาอ่านเอาได้ที่วิกิเอาเองครับ

ตั้งแต่ลืมตาเกิดมาดูโลกแล้วประสาทหูรับรู้ว่าสิ่งใดคือเสียงเพลง ส่วนใหญ่ก็จะฟังพวกเพลงร็อควัยรุ่นตามรุ่นพี่ๆที่เขาชอบฟังกัน อาจมีบ้างประเภทหวานแหววไปตามเนื้อเพลงที่เข้ากับตัวเองบ้าง  แต่อีกแนวหนึ่งที่ mc มักจะได้ยินอยู่เสมอและมีเหล่า FC เพลงแนวนี้ค่อนข้างมากจริงๆในยุคที่ประชาชนไทยกำลังโหยหาสิทธิเสรีภาพในทุกๆด้านให้กับตนเอง เป็นยุคที่หลายคนไม่อายที่จะบอกว่าตัวเองจน ไม่อายที่จะบอกว่าตนเองมีชีวิตที่ลำบากและโหยหาประชาธิปไตย

แนวเพลงต้นแบบของเพลงเพื่อชีวิตส่วนใหญ่ในยุคเบื้องต้นจะแตกต่างจากเพลงลูกทุ่งคือเพลงลุกทุ่งก็จะเป็นกลิ่นอายความเป็นลูกทุ่งไทยจริงๆ  ส่วนเพลงเพื่อชีวิตที่มีการเล่าเรื่องผ่านเนื้อเพลงต่างๆก็มักจะใช้แนวดนตรีโฟล์คทางตะวันตกเป็นแนวดนตรีหลักๆ เพิ่มเติมมากกว่านั้นก็จะมีการใส่กลิ่นอายของความเป็นบลูส์และร็อคแอนโรลแท้ๆเสริมเข้าไป (คนละอย่างกับร็อคเมทัลตั้งแต่ยุคปลาย 80 จนถึงปัจจุบันนะครับ)

เนื้อหาในการเล่าเรื่องของบทเพลงเพื่อชีวิต จากในอดีตที่กล่าวถึงการต่อสู้เรียกร้องหาประชาธิปไตย  หาเสรีภาพ  เล่าเรื่องราวความลำบากยากจนในสาขาอาชีพต่างๆ ความรักระหว่างเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ความรักท่ามกลางความลำบากในการดำรงชีพ การหวนคืนจากป่าสู่เมืองอีกครั้ง การปลุกระดมให้เกิดการต่อสู้อำนาจเผด็จการ การรำลึกความสูญเสียจากการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม ฯลฯ  ทุกๆอย่างบ่งบอกหน้าประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยได้อย่างกลายๆ  จนเพลงเพื่อชีวิตเริ่มจะมาซาเอาตอนปี 40 หลังจากที่ประเทศไทยได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

จากนั้นมาเพลงเพื่อชีวิตแท้ๆก็เริ่มแปรเปลี่ยนไปเป็นแนว ลุกทุ่งเพื่อชีวิต เน้นหนักไปตามกระแสสังคม ความรัก เน้นไปที่การต่อสู้ของเด็กหนุ่มเด็กสาวจากบ้านนอกเข้ามาต่อสู้ชีวิตในเมืองกรุง หรือตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ  เข้าสู่ยุคคนไทยทุกชนชั้นมีโทรศัพท์มือถือใช้ก็เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับโทรศัพท์ +เสียงรอสาย เพราะเป็นรายได้อีกหนึ่งทางที่เอามาเสริมแทนรายได้เดิมที่เจอเทปผีซีดีเถื่อน mp3 ตีตลาดกระจุยกระจาย

และหลังจากยุคโทรศัพท์มือถือก็จะกลายเป็นยุค HI-SPEED INTERNET เป็นยุคที่เทปคลาสเซ็ต+CD เพลงล่มสลาย แม้แต่แผ่นผีซีดีเถื่อน mp3 ก็ยังไม่รอดจบเห่ไปตามๆแผ่นแท้  เพลงเพื่อชีวิตจึงเปลี่ยนไปเน้นที่ความสนุกบันเทิง เนื้อหารุนแรงเกี่ยวกับการเมืองถูกตีตกไปเลยเพราะนักร้องนักดนตรีมีรายได้จากการขายโชว์ ทัวร์คอนเสิร์ต นอกเสียจากกลุ่มขุนพลเพลงเพื่อชีวิตรุ่นเก่าๆที่ติดลมบนไปหมดแล้ว ยังคงนำบทเพลงเก่าๆของตนเองออกเดินสายโชว์เพื่อเลี้ยงชีพไปจนกว่าจะหมดแรงไปข้าง

ปัจจุบันนี้กลุ่มเพลงเพื่อชีวิตที่ออกมาโหยหาประชาธิปไตย  โหยหาเสรีภาพให้กับตัวเองและประชาชน เป็นกระบอกเสียงให้กับผู้ทุกข์ยากแรงานและชาวรากหญ้า หาได้ยาก  อาจเนื่องจากสังคมไทยที่เปลี่ยนไป  กลุ่มคนที่เคยโหยหาประชาธิปไตยพอพรรคที่ตัวเองชอบเลือกตั้งแพ้อยู่บ่อยๆมาตลอด มองเห็นอนาคตข้างหน้าอยู่รำไรว่าจะแพ้อีกก็ไม่โหยหามันอีกแล้ว วันดีคืนดีไปสนับสนุนอะไรที่ตรงกันข้ามประชาธิปไตยกันอย่างออกหน้าออกตา  กลุ่มบุคคลที่โหยหาประชาธิปไตยถูกผลักให้ไปเป็นสมุนลิ่วล้อนักการเมืองทันที ทั้งที่โหยหาด้วยความชอบส่วนบุคคล  อีกปัจจัยหนึ่งก็เช่นรสนิยมการฟังเพลงและยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การเข้าถึงบทเพลงแนวใหม่ๆจากชาติตนเองและนานาชาติมีมากขึ้น และเข้าถึงได้ทันที  จึงทำให้บทเพลงที่เกี่ยวกับประชาชนลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด

อยากพล่ามนานกว่านี้แต่ช่วงนี้ mc งานค่อนข้างยุ่งไม่ค่อยมีเวลาครับ  หากจะกล่าวถึงศิลปินในยุปัจจุบันที่ mc ชื่นชอบในการนำเสนอผลงานของตัวเองผ่านเวปยูทูบ แม้มี FC ไม่มากเหมือนศิลปินตามค่ายหลักแต่ mc มั่นใจว่ามองความสามารถคนไม่ผิดแน่ และชื่นชอบเนื้อหาในการเล่าเรื่องผ่านกีต้าร์โปร่งง่ายๆเพียงแค่ตัวเดียว  วันนี้จึงขอเปิดหัวกระทู้ไปด้วยบทเพลงของศิลปินคนนี้ "ปี้หน่อย"

เพลงนี้กล่าวถึงชาวนาไทยครับ  เนื้อเพลงและชื่อเพลงค่อนข้างรุนแรงขออนุญาตไม่พิมพ์ก็แล้วกัน mc เป็นกำลังใจให้ชาวนาไทยรวมถึงทุกสาขาอาชีพที่กำลังดิ้นรนฝ่าฟันอุปสรรคในยุคข้าวยากหมากแพงนี้ไปให้ได้ครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

แถมอีกเพลงก็แล้วกันสำหรับพวกมารศาสนาพุทธจงฟังเอาไว้ เพลงนี้ชื่อว่าเพลง กึ่งพุทธกาล

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ





ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ

1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม

กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน  ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น..



ไปกันโลด  แชร์เพลงกันครับ อย่าได้แคร์  หากไปหนักหัวใครก็ช่างหัวมันเถอะครับ!!!!!
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
เพิ่งอ่านจบเลย copy มาแชร์ต่อคนับ

ขอบคุณเจ้าของบทความ Worapong Keddit facebook 😁😁

เป็นรายละเอียดต่อจากสงคราม ต้าชิง- พม่า และความสัมพันธ์ของพระเจ้าตากกับต้าชิง


ค้นไปค้นมา เจอเบาะแสที่สำคัญเกี่ยวกับ "สมเด็จพระเจ้าตากสิน" ที่น่าสนใจอยู่สองเรื่องครับ
เรื่องแรก ความสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสิน กับพระเจ้ากรุงจีน(ฮ่องเต้เฉียนหลง) แท้จริงเป็นเช่นไร
ใน "ชิงสือเก่า" (清史稿) หรือพงศาวดารราชวงศ์ชิงฉบับสังเขป เล่มที่ 528 บรรพที่ 315 (卷528 列傳三百十五) บทว่าด้วย "สยาม" (暹羅) กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินไว้ว่า

"既以緬甸困於中國,鄭昭乘其疲敝擊破之,國復。昭,中國廣東人也。父賈於暹羅,生昭。長有才略,仕暹羅。既破緬軍,國人推昭為主,遷都盤穀,鎮撫綏輯,國日殷富。四十六年,鄭昭遣使朗丕彩悉呢、霞握撫突等入貢,奏稱暹羅自遭緬亂,復土報仇,國人以詔裔無人,推昭為長,遵例貢獻。帝嘉之,宴使臣於山高水長。所貢方物,收象一頭、犀角一石,餘物准在廣東出售,與他貨皆免稅。特賜國長蟒緞、珍物如舊制。"

แปลเป็นไทยก็จะได้ใจความประมาณว่า
"ขณะที่พม่าและจีนกำลังติดพันการศึกระหว่างกัน(หมายถึงสงครามต้าชิง-คองบอง) เจิ้งเจาก็ฉวยโอกาสนี้นำกำลังเข้าสู้รบแตกหักกับข้าศึก(พม่า) เพื่อฟื้นฟู(กอบกู้)แผ่นดิน อันเจิ้งเจานั้น ชาติกำเนิดเดิมเป็นชาวกว่างตง(มณฑลกวางตุ้ง)ของจีน บิดาของเขาทำมาค้าขายอยู่ในสยาม และเจิ้งเจาก็ถือกำเนิด(ในสยาม) เมื่อเจริญวัยขึ้น เขามีสติปัญญาหลักแหลม ได้รับราชการเป็นขุนนางในสยาม ได้เข้าร่วมสงครามต่อต้านพม่า คนในแผ่นดิน(สยาม)พากันยกให้เขาขึ้นเป็นผู้นำ (หลังจากขึ้นผู้นำ)เขาได้ทำการย้ายเมืองหลวง ฟื้นฟูสภาพบ้านเมือง จนแผ่นดินมีความเจริญเฟื่องฟูขึ้น ปีที่ 46 (รัชศกเฉียนหลง) เจิ้งเจาส่งหล่างพีไฉ่ซีเนอะ (朗丕彩悉呢) เป็นทูต พร้อมด้วยเซี่ยว่อฝู่ทู (霞握撫突) และคนอื่นๆ มาจิ้มก้อง(ที่ปักกิ่ง) (ทูต)ได้ถวายฎีกา(น่าจะหมายถึงพระราชสาส์น)ว่า "บัดนี้พม่าได้เข้ามาสร้างความวุ่นวายบนแผ่นดินสยาม (กระหม่อม-หมายถึงพระเจ้าตากสิน)หวังใจจะฟื้นฟูแผ่นดินแลหวังแก้แค้น(พวกพม่า) เวลานี้ราษฎร(ชาวสยาม)ขาดซึ่งผู้นำ พวกเขาจึงยกเจิ้งเจา(คือตัวกระหม่อม-พระเจ้าตากสิน)ขึ้นเป็นกษัตริย์ บัดนี้กระหม่อมหวังจะรักษาไว้ซึ่งราชประเพณี(ทางการทูต)ที่สืบทอดมาแต่บุราณกาล ด้วยการส่งผู้แทนพร้อมราชบรรณาการมาถวายความเคารพต่อฝ่าบาท(ฮ่องเต้เฉียนหลง)" เมื่อฮ่องเต้ทรงทราบ ได้ทรงพระราชทานเลี้ยงรับรองคณะทูตอย่างยิ่งใหญ่ อันเครื่องบรรณาการที่สยามนำมาถวายนั้น มีช้าง 1 เชือก นอแรด 1 ตั้น (石 หน่วยวัดน้ำหนักของจีนโบราณ 1 ตั้นมีค่าเท่ากับ 120 จิน 1 จินมีค่าเท่ากับ 500 กรัม) ฮ่องเต้ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้คณะทูตสยามสามารถค้าขายในกวางตุ้งได้โดยสะดวก แลมิต้องเสียภาษี ทั้งยังพระราชทานผ้าแพรไหมเป็นการตอบแทนตามขนบธรรมเนียมที่มีมาแต่โบราณ"

สอดคล้องกับบทความพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินในภาษาจีนที่ระบุถึงความสัมพันธ์ของพระองค์กับราชสำนักจีนว่า
"郑信在缅甸入侵的时候同中国清朝建立关系,共抗缅甸。他也派使臣前往清朝,成为清朝的藩屬 แปลไทยก็คือ "เจิ้งซิ่น(สมเด็จพระเจ้าตากสิน) ได้ทรงสร้างความสัมพันธ์กับราชวงศ์ชิงของจีนในช่วงเวลาเดียวกับที่ทำสงครามกับพม่า ร่วมมือกันเป็นพันธมิตรต่อต้านพม่า พระองค์ยังส่งคณะทูตไปยังต้าชิง เพื่อแสดงออกว่าพระองค์คือข้าราชบริพารผู้ภักดีของต้าชิง"

น่าสนใจว่า ในหลักฐานฝ่ายจีนไม่ปรากฎประเด็นเรื่องที่ว่า ฮ่องเต้เฉียนหลงจะทรงไม่ยอมรับฐานะของสมเด็จพระเจ้าตากสินเลย ซึ่งอาจจะต้องมีการทบทวนถึงประเด็นความเป็นไปได้ในเรื่องนี้กันใหม่
เรื่องที่สอง "พระนาม" ของสมเด็จพระเจ้าตากสินในภาษาจีน "ที่ถูกต้อง"
จะเห็นได้ว่าใน "ชิงสือเก่า" ที่ผมยกมาข้างต้นนั้นเอ่ยถึงพระนามของสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า "เจิ้งเจา" (鄭昭) ดังนั้นก็น่าจะเป็นที่ยุติได้ว่า พระนามในภาษาจีนของพระองค์ย่อมต้องเป็นเจิ้งเจา(ดังที่หลายคนเชื่อเช่นนั้น)โดยมิต้องสงสัย

ปรากฎว่าเมื่อไปอ่านดูพระราชประวัติของพระองค์ในภาษาจีน กลับขานพระนามของพระองค์ว่า "เจิ้งซิ่น" (郑信) ทั้งยังมีอรรถาธิบายด้วยว่า คำว่า "เจา" (昭) ในพระนาม "เจิ้งเจา" ตามที่ชิงสือเก่าบันทึกไว้นั้น แท้จริงเป็นการออกเสียงเลียนแบบคำศัพท์ของชาวสยามที่หมายถึง "กษัตริย์" ("昭” 在泰语中意思是 “王”。) ซึ่งน่าจะหมายความว่า คำว่า "เจา" ใน "เจิ้งเจา" มาจากคำว่า "เจ้า" ในภาษาไทย หากเป็นเช่นนั้นแล้ว คำว่า "เจิ้งเจา" จึงไม่น่าจะเป็นพระนามของสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่เป็นคำเรียกพระองค์ว่า "พระเจ้าเจิ้ง" หรือเจ้าแผ่นดินแซ่เจิ้ง

นอกจากนี้ในบทความดังกล่าว ยังอ้างถึง "พระนาม" อื่นๆ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินจากแหล่งข้อมูลของเวียดนามอีกสองแหล่ง ได้แก่
1. 河仙鎮葉鎮鄚氏家譜 หรือ "สาแหรกตระกูลเม่าแห่งฮาเตียน" ซึ่งเป็นปูมสาแหรกวงศ์ตระกูลของ "เม่าจิ่ว" (鄚玖) อดีตขุนนางราชวงศ์หมิงที่อพยพหลบหนีการรุกรานของแมนจูมาอาศัยรับราชการอยู่กับเวียดนามจนได้เป็นเจ้าเมืองฮาเตียน โดยในปูมบันทึกดังกล่าวเอ่ยถึงพระนามของสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า "เจิ้งซิน" (郑新)
2.大南實錄 หรือ "จดหมายเหตุรายวันแห่งไดนัม" ซึ่งเป็นจดหมายเหตุราชการรายวันในสมัยราชวงศ์เหงียน (越南阮朝) อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองเวียดนาม ในบันทึกดังกล่าวเอ่ยถึงพระนามของสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า "เจิ้งกั๋วอิง" (郑国英)
ทั้งสองเรื่องนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจใคร่ศึกษาค้นคว้าต่อไปอย่างยิ่ง

ป.ล.ชิงสือเก่า (清史稿) เป็นหนังสือพงศาวดารหลวงของราชวงศ์ชิง ซึ่งเรียบเรียงขึ้นในช่วงต้นยุคหมินกั๋ว (民国 ยุคสาธารณรัฐ) โดยหยวนซื่อข่าย (袁世凱) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน(ในขณะนั้น) ได้แต่งตั้งให้ "เจ้าเอ่อซวิ่น" (趙爾巽) ซึ่งเป็นชาวฮั่นธงเหลือง และเป็นอดีตขุนนางผู้ใหญ่ในรัชสมัยกวงสวี่แห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้อำนวยการเรียบเรียงขึ้นในปีหมินกั๋วที่ 3 (ค.ศ.1914) และเสร็จสมบูรณ์ในปีหมินกั๋วที่ 16 (ค.ศ.1927)
ป.ล.2 จริงๆ ผมยังไม่ได้ถึงกับทิ้งประเด็นเรื่อง "การไม่ยอมรับสถานะของพระเจ้าตากสิน" ของราชสำนักชิงไปเสียทีเดียวนะครับ เพียงแต่ผมเริ่มกลับมาตั้งคำถามในช่วงที่เขียนบทความ "สงครามต้าชิง-คองบอง" ตอนที่สี่ ซึ่งในแหล่งข้อมูลภาษาจีนมีอยู่ข้อความนึง(ซึ่งต้นทางระบุว่าอ้างมาจากชิงสือเก่า) ข้อความนั้นคือ "放下天朝面子开始考虑联系暹罗等国共同出兵,暹罗国破消息传来后才死心。" ประมาณว่าก่อนจะทำศึกครั้งที่สี่นี้ ราชสำนักชิงเริ่มมีการติดต่อกับสยามเพื่อชักชวนเป็นพันธมิตรร่วมรบกับพม่าด้วย

ทีนี้คำถามคือ ในช่วงนั้น (ค.ศ.1768) พระเจ้าตากสินเพิ่งจะครองราชย์เลย ถ้าหากว่าต้าชิงไม่ยอมรับสถานะของพระองค์ ไยจึงต้องการเป็นพันธมิตรกับสยามเพื่อทำศึกกับพม่า แล้วการติดต่อกันครั้งนี้ ต้าชิงมองสถานะของพระเจ้าตากสินอย่างไร? ถ้าหากตอนนั้นต้าชิงยังมองว่า กษัตริย์ที่มีความชอบธรรมในการครองสยาม ต้องเป็นราชวงศ์บ้านพลูหลวง ต้าชิงก็น่าจะติดต่อกับก๊กเจ้าพิมายที่นำโดยกรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์บ้านพลูหลวงจะดีกว่าหรือไม่? ทีนี้ผมก็เลยลองไปค้นเพิ่มจนเอามาโพสนี่ละครับ

ป.ล.3 มิตรสหายหลายท่านให้ข้อมูลเพิ่มเติมยืนยันถึง "การไม่ยอมรับสถานะของพระเจ้าตากสิน" ของต้าชิงว่า "มีอยู่จริง" ทั้งนี้ต้องขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ(ทั้งพี่ Kornkit Disthan พี่ ภาณุเมศวร์ บุนนาค (Bhanumet Bunnag) และท่าน ชัยชาญ ปรางค์ประทานพร )แต่ทั้งนี้ ปริศนาคาใจใน ป.ล.2 ของผมก็ยังไม่ถูกขจัดไปอยู่ดี แหะๆ หรือท้ายสุดข้อสังเกตที่อาจารย์ Charnvit Kasetsiri เคยตั้งไว้ ประมาณว่าต้าชิง "ปากว่าตาขยิบ" คือภายนอกแสดงออกว่า "ไม่ยอมรับ" สถานะของพระเจ้าตากสิน แต่ในทางลับ (ทางการทหาร) มีการติดต่อสื่อสาร ให้ข้อมูลด้านการข่าวโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับพม่ามาโดยตลอด? ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น สมมติฐานที่หลายคนเชื่อกันว่า ต้าชิงให้การสนับสนุนทุนและยุทโธปกรณ์แก่สยามเพื่อต่อสู้กับพม่าอย่างลับๆ ก็จะมีน้ำหนักมากขึ้น?

อ้างอิง :
ชิงสือเก่า เล่มที่ 528 บรรพที่ 315
https://zh.wikisource.org/…/%E6%B8%85%E5%8F%B2…/%E5%8D%B7528
พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินในเวอร์ชั่นภาษาจีน
https://zh.wikipedia.org/wiki/%E9%83%91%E4%BF%A1

****เพิ่ม link เจ้าของบทความครับ❤️❤️
https://web.facebook.com/worapong.keddit/posts/1397556906968618
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่