สำหรับผู้ที่จ่ายเงิน ประกันสังคม เกิน 180 เดือน (15ปี) ควรรู้!!! คุณอาจโดนโกงไม่รู้ตัว

พระราชบัญญัติประกันสังคม มาตราที่ 77 ทวิ กล่าวไว้ว่า
“มาตรา ๗๗ ทวิ ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือนให้มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่อายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ เว้นแต่เมื่อมีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตนยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๘ หรือ มาตรา ๔๑ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ในกรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบหนึ่งร้อยแปดสิบเดือนและความเป็น ผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๔๑ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ”

ความหมายคือ หากเราส่งประกันสังคมมากกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี จะทำให้เราได้ แค่เงินบำนาญ ซึ่งไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพในปัจจุบัน  และเมื่อรับเงินบำนาญแล้ว ก็จะไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลฟรี อีกด้วย ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ส่งเงินประกัน อย่างต่อเนื่องและยาวนาน อันที่จริง ตอนอายุครบ 55 ปี เราควรมีสิทธิเลือกเองว่าจะรับเงินสงเคราะห์แบบบำนาญ หรือบำเหน็จเอง จริงไหมค่ะ?

ตัวอย่างเช่น
CASE 1
คุณป้าของข้าพเจ้า ได้จ่ายเงินค่าประกันสังคมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 19 ปี ในปีนี้ท่านจะเกษียณอายุงาน 55 ปี ซึ่งทำให้ไม่ได้เงินสงเคราะห์ ชราภาพ เนื่องจากต้องอายุ 60 ปี ขึ้นไป
หากเลือกได้ ว่าต้องการรับเงินบำเหน็จหรือ บำนาญ  
1.    หากได้เป็นเงินบำเหน็จ ท่านจะได้รับเงิน จำนวน 140,167.65 บาท
2.    หากได้เป็นเงินบำนาญ ท่านจะได้รับเงิน โดยมีวิธีคิดดังนี้
จำนวนเงินสะสม = เงินเดือน 24 เดือนสุดท้ายคิดเป็นค่าเฉลี่ย 12,000 บาท
ท่านจะได้เงินบำนาญ รายเดือนเดือนละ 2,400 บาท เป็นเวลา 60 เดือน ( 5 ปี )
รวมเงิน ได้ 144,000 บาท

หมายเหตุ ในกรณี ที่ท่านเสียชีวิตก่อน (ภายใน 60 เดือน) ผู้มีสิทธิได้เงินสมทบมีเพียง บิดา มารดา และลูกเท่านั้น จึงจะมีสิทธิรับเงินทดแทนจำนวน 10 เท่าของเงิน บำนาญ (หากไม่ได้ระบุผู้ได้รับผลประโยชน์)
เช่น หากเสียชีวิต หลัง 1 ปี จากที่ได้รับเงิน บำนาญ จะเท่ากับ เงินบำนาญที่ได้รับแล้ว จำนวน 1 ปี (28,800บาท) + เงินทดแทนจำนวน 10 เท่าของเงิน บำนาญ (24,000บาท) รวมเงิน 52,800 บาท
คำถาม??? เงินอีกจำนวน 91,200 บาท ควรตกเป็นของประกันสังคม หรือลูกของคุณป้า…

ในความเป็นจริง ท่านอยากนำเงินที่ตนเองสะสมมาลงทุนเล็กๆน้อยๆ (เปิดร้านขายโจ๊กหน้าบ้าน) แต่ก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากกฎหมายประกันสังคมบังคับให้ผู้ที่จ่ายเกิน 180 เดือน รับเป็นบำนาญเท่านั้น จึงต้องเตรียมตัวใช้ชีวิตอยู่กับเงิน 2,400 บาท ต่อเดือนต่อไป

CASE 2
ข้าพเจ้า ได้ลองคำนวณประมาณการจ่ายค่าประกันสังคม ในกรณี ที่ อยู่ในมาตรา 33 จำนวน 8 ปี และอยู่ใน มาตรา 39 จำนวน 26 ปี รวมจ่ายค่าประกันสังคม 34 ปี
หากเลือกได้ ว่าต้องการรับเงินบำเหน็จหรือ บำนาญ  
1.    หากได้เป็นเงินบำเหน็จ ท่านจะได้รับเงิน จำนวน 132,341.72 บาท
2.    หากได้เป็นเงินบำนาญ ท่านจะได้รับเงิน โดยมีวิธีคิดดังนี้
จำนวนเงินสะสม = เงินเดือน 24 เดือนสุดท้ายคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4,500 บาท (ยอดขั้นต่ำ เนื่องจากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39)
ท่านจะได้เงินบำนาญ รายเดือนเดือนละ 1,912.50 บาท เป็นเวลา 60 เดือน ( 5 ปี )
รวมเงิน ได้ 114,750 บาท
คำถาม??? เงินอีกจำนวน 17,592 บาท หายไปไหน? ควรตกไปเป็นเงินประกันสังคมหรือไม่?

ดังนั้น ให้ทุกท่านลองคิดคำนวณดูคร่าวๆ ว่าพระราชบัญญัติประกันสังคม มาตราที่ 77 ทวิ สำควรแก่ การแก้ไขหรือไม่
เพราะเรา ควรมีสิทธิที่จะเลือกได้ว่าเงินที่เราสะสมมานั้น เราควรจะทำอย่างไรกับมันต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถดำรงชีพต่อไปได้หลังเกษียณอายุงาน

ช่วยกันเรียกร้อง ให้มีการแก้ มาตรา 77 ทวิ โดยร้องเรียนไปที่
1. โทร.1111  
2. ไปที่ทำเนียบรัฐบาล ประตู4 ตรงข้าม ปปช. ถ.พิษณุโลก ครับ
3. ศูนย์ดำรงธรรม ของทุกจังหวัด

รายละเอียดเพิ่มเติม และขอขอบคุณผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันค่ะ https://ppantip.com/topic/32327642
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่