ก่อนอื่นขอย้อนกลับไปในอดีตสมัยยังเด็ก (ประมาณ 30 ปีมาแล้ว) ตอนนั้นที่ไม่รู้จักว่ากีฬากอล์ฟคืออะไร รู้แต่ในทุก ๆ คืนเวลาประมาณ 4 ทุ่ม ที่หน้าจอทีวีช่อง 7 ผมจะได้พบคุณอาคนหนึ่งที่จะมาพูดเรื่องกอล์ฟและมาสอนเทคนิคต่าง ๆ เป็นภาพจำที่ยังคงจำได้มาตลอดว่าคุณอาคนนี้เก่งจริง ๆ แกสามารถถ่ายแบบ Long Take แล้วซูมออกมาตีลูกตามที่แกสอน และบ่อยครั้งที่ลูกไม่เข้าไปใกล้หลุมมาก ๆ ก็มักจะลงไปเลย และเป็นภาพจำที่ประทับใจมาถึงทุกวันนี้และดูเหมือนจะเป็นสื่อเดียวที่มีการสอนกอล์ฟทางทีวี (มีอีกรายการคือรายการดึก ๆ ทางช่อง 3 แต่จะเป็นรายการสั้น ๆ แค่ 10-15 นาที)
ตัดกลับมาในช่วง 9-10 ที่แล้ว ตอนที่เริ่มเรียนกอล์ฟจำได้ว่าเป็นยุคทองของวงการกอล์ฟในบ้านเรา วัดได้จากจำนวนสนามไดร์ฟในบ้านเราที่มีอยู่ทั่วมุมเมือง เอาง่าย ๆ แค่ละแวกเหม่งจ๋าย-พระรามเก้า มีสนามไดร์ฟอยู่ถึง 6 สนาม โดยเฉพาะแค่ซอยสถานฑูตลาวที่มีระยะทางแค่ 500-600 เมตรมีสนามไดร์ฟอยู่ถึง 3 แห่ง แต่ถึงแม้จะเป็นยุคทองของวงการกอล์ฟแต่สื่อต่าง ๆ ที่ให้ความรู้ในกีฬากอล์ฟกับมีอยู่อย่างจำกัด ในยุคที่ Internet speed ว่ากันในระดับ Kbps (ในปัจจุบันว่ากันเป็น Mbps หรือ 1,000 เท่าของความเร็วในอดีต) สื่อต่าง ๆ ที่ให้ความรู้ก็จะมีแค่หนังสือนิตยสารกอล์ฟ (ที่นับหัวได้) ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (แปล) ในยุคนั้นโปรแต่ละท่านที่สอนนักเรียนก็จะมีองค์ความรู้ที่ต่างกันออกไปตามแต่การถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา หรือความเชื่อ "Myth" (ที่ผมจะขยายความที่อีกว่าทำไมถึงเรียกว่าความเชื่อ) ถ้าใครที่อยู่ในยุคนั้นคงจะมีคำพูดคลาสสิกที่ยังคงได้ยินบ้างในการสอนของโปรบางท่านในปัจจุบัน เช่น "หน้านิ่ง" "หมุนไหล่" "แขนตึง" "มองลูก" เรียกได้ว่าใครอยากสอนอย่างไรก็ได้ ขอให้ตีบอลให้ลูกศิษย์ดูแล้วบอลออกไปดีเป็นวงที่ถูกต้องหมด เพราะว่ามันก็พิสูจน์ค่าตัวเลขอะไรออกมาไม่ได้เลยในสมัยนั้น ผมจำได้ว่าที่ห้าง Super Sport ในสมัยนั้นจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Simulator เป็นแสงเส้นแดง ๆ และแสดงค่าตัวเลขอะไรก็ไม่รู้ ๆ แต่ว่ามันบอกระยะได้ และบ่อยครั้งที่เวลาเราลองตีไม้แล้วมันจะได้ระยะที่ไกลว่าระยะจริงเสมอ (555) แต่นั้นก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างหรูมากแล้วสำหรับสมัยนั้น แหล่งความรู้ก็เริ่ม ๆ จะมี web site ที่เป็นของคนไทยที่ตัดเอาบทความต่าง ๆ มาแปะไว้ให้อ่าน รวมถึง ppantip.com ห้องกอล์ฟ ที่เป็นแหล่งความรู้หลักของกีฬากอล์ฟในสมัยนั้นเลย เช่น ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ Old Ball Flight Law ก็เรียนรู้จากห้องนี้แหละ หรือเทคนิคต่าง ๆ เช่น การ Chip, Pitch ต่างกันอย่างไร และเล่นแบบไหน เรียกว่าเป็นยุคสมัยที่ตื่นตาตื่นใจมาก และโปรสอนกอล์ฟก็เป็นดั่งมนุษย์ทองคำ
กลับมาในยุคปัจจุบัน ยุคที่เรามีนักกอล์ฟหญิงที่ขึ้นไปถึงอันดับ 2 ของโลก และมีลุ้นจะขึ้นไปได้ดึงอันดับ 1 แต่ความเฟื่องฟูในกีฬากอล์ฟช่างสวนทางกันโดยสิ้นเชิง สนามไดร์ฟทยอยปิดตัวลงจาก 6 แห่งที่อยู่ในละแวกเดียวกันปัจจุบันเหลืออยู่แค่ 2 แห่ง (และดูแนวโน้มแล้ว อาจจะเหลือแค่ 1) ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าโปรสอนกอล์ฟของสนาม 4 แห่งที่ปิดตัวไป และไปกองรวมกันอยู่ที่ไหน? และเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เข้ามาพร้อมกับความเร็ว Internet ที่เพิ่มขึ้น (ความเร็ว 100 Mbps ตามบ้านในราคาหลักร้อย) ทำให้เรามีทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้นมาที่เรียกว่า YouTube หรือโปรยูทูปนั่นเอง โปรยูทูปนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงมากมายในวงการเรียน/สอนกอล์ฟในบ้านเรา
=== มีต่อ ===
โปรยูทูป เพื่อน ๆ มีความคิดเห็นกันอย่างไร
ตัดกลับมาในช่วง 9-10 ที่แล้ว ตอนที่เริ่มเรียนกอล์ฟจำได้ว่าเป็นยุคทองของวงการกอล์ฟในบ้านเรา วัดได้จากจำนวนสนามไดร์ฟในบ้านเราที่มีอยู่ทั่วมุมเมือง เอาง่าย ๆ แค่ละแวกเหม่งจ๋าย-พระรามเก้า มีสนามไดร์ฟอยู่ถึง 6 สนาม โดยเฉพาะแค่ซอยสถานฑูตลาวที่มีระยะทางแค่ 500-600 เมตรมีสนามไดร์ฟอยู่ถึง 3 แห่ง แต่ถึงแม้จะเป็นยุคทองของวงการกอล์ฟแต่สื่อต่าง ๆ ที่ให้ความรู้ในกีฬากอล์ฟกับมีอยู่อย่างจำกัด ในยุคที่ Internet speed ว่ากันในระดับ Kbps (ในปัจจุบันว่ากันเป็น Mbps หรือ 1,000 เท่าของความเร็วในอดีต) สื่อต่าง ๆ ที่ให้ความรู้ก็จะมีแค่หนังสือนิตยสารกอล์ฟ (ที่นับหัวได้) ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (แปล) ในยุคนั้นโปรแต่ละท่านที่สอนนักเรียนก็จะมีองค์ความรู้ที่ต่างกันออกไปตามแต่การถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา หรือความเชื่อ "Myth" (ที่ผมจะขยายความที่อีกว่าทำไมถึงเรียกว่าความเชื่อ) ถ้าใครที่อยู่ในยุคนั้นคงจะมีคำพูดคลาสสิกที่ยังคงได้ยินบ้างในการสอนของโปรบางท่านในปัจจุบัน เช่น "หน้านิ่ง" "หมุนไหล่" "แขนตึง" "มองลูก" เรียกได้ว่าใครอยากสอนอย่างไรก็ได้ ขอให้ตีบอลให้ลูกศิษย์ดูแล้วบอลออกไปดีเป็นวงที่ถูกต้องหมด เพราะว่ามันก็พิสูจน์ค่าตัวเลขอะไรออกมาไม่ได้เลยในสมัยนั้น ผมจำได้ว่าที่ห้าง Super Sport ในสมัยนั้นจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Simulator เป็นแสงเส้นแดง ๆ และแสดงค่าตัวเลขอะไรก็ไม่รู้ ๆ แต่ว่ามันบอกระยะได้ และบ่อยครั้งที่เวลาเราลองตีไม้แล้วมันจะได้ระยะที่ไกลว่าระยะจริงเสมอ (555) แต่นั้นก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างหรูมากแล้วสำหรับสมัยนั้น แหล่งความรู้ก็เริ่ม ๆ จะมี web site ที่เป็นของคนไทยที่ตัดเอาบทความต่าง ๆ มาแปะไว้ให้อ่าน รวมถึง ppantip.com ห้องกอล์ฟ ที่เป็นแหล่งความรู้หลักของกีฬากอล์ฟในสมัยนั้นเลย เช่น ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ Old Ball Flight Law ก็เรียนรู้จากห้องนี้แหละ หรือเทคนิคต่าง ๆ เช่น การ Chip, Pitch ต่างกันอย่างไร และเล่นแบบไหน เรียกว่าเป็นยุคสมัยที่ตื่นตาตื่นใจมาก และโปรสอนกอล์ฟก็เป็นดั่งมนุษย์ทองคำ
กลับมาในยุคปัจจุบัน ยุคที่เรามีนักกอล์ฟหญิงที่ขึ้นไปถึงอันดับ 2 ของโลก และมีลุ้นจะขึ้นไปได้ดึงอันดับ 1 แต่ความเฟื่องฟูในกีฬากอล์ฟช่างสวนทางกันโดยสิ้นเชิง สนามไดร์ฟทยอยปิดตัวลงจาก 6 แห่งที่อยู่ในละแวกเดียวกันปัจจุบันเหลืออยู่แค่ 2 แห่ง (และดูแนวโน้มแล้ว อาจจะเหลือแค่ 1) ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าโปรสอนกอล์ฟของสนาม 4 แห่งที่ปิดตัวไป และไปกองรวมกันอยู่ที่ไหน? และเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เข้ามาพร้อมกับความเร็ว Internet ที่เพิ่มขึ้น (ความเร็ว 100 Mbps ตามบ้านในราคาหลักร้อย) ทำให้เรามีทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้นมาที่เรียกว่า YouTube หรือโปรยูทูปนั่นเอง โปรยูทูปนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงมากมายในวงการเรียน/สอนกอล์ฟในบ้านเรา
=== มีต่อ ===