ศิลปะของเทพกับการตีความ

เคยอ่านบทความหนึ่งมา เห็นเขาตีความศิลปะของเทพฮินดู ว่าแท้จริงที่วาดออกมาแบบนั้นก็เพราะมีความหมายแฝงที่เป็นคติธรรมสอนใจ อย่างเช่น

พระพิฆเนศ
1. มีเศียรเป็นช้าง
คือมีหัวใหญ่ แปลว่า ต้องคิดให้มาก
มีปากเล็ก แปลว่า พูดให้น้อย
หูใหญ่ คือ ฟังให้มาก
ตาคม คือ จงมองพิจารณาสิ่งใดๆอย่างละเอียด
2. มีสี่กร ถืออาวุธและประทานพรไปซะสามกร ถือขนมหนึ่งกร(แต่ก็เป็นจานใหญ่) แปลว่า ทำงานให้มาก กินหรือเล่นให้น้อย(แต่เมื่อกินหรือพักผ่อนก็ให้เต็มที่เท่าความจำเป็น)
3. ลักษณะท่านเป็นเด็กตลอด แปลว่า จงใช้ชีวิตให้บริสุทธิ์เบิกบานเหมือนเด็กเล็กไม่คิดกังวลสิ่งใด
4. ท่านมีงาข้างเดียว คือข้างหนึ่งคือความดี ข้างหนึ่งคือความชั่ว จงหักความชั่วทิ้งไปให้เหลือเพียงความดี (พระคเณศหักงาข้างหนึ่งไปปราบอสูร)


พระพรหม
มีสี่หน้า คือ พรหมวิหารสี่ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

เลยอยากรู้อีกว่ามีการตีความ ศิลปะของเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์องค์ใดๆทั้งในและนอกศาสนาพุทธไว้อย่างไรอีกบ้าง องค์ไหนตีความว่าอย่างไร มีความคิดอย่างไรก็มาแชร์กันบ้างนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่